• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.2 อภิปรายผล

จากการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม การผลิต ผลิตภัณฑ์อาหาร ในจังหวัดนนทบุรี มีสาระส าคัญที่สามารถน ามาอภิปรายผลได้ดังนี ้ 1. ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ระดับ รายได้ และประสบการณ์ในการท างาน ที่แตกต่างกันมีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของ พนักงาน

จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยลักษณะทางประชากร อันประกอบไปด้วย เพศ สถานภาพการสมรส และรายได้ ไม่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน อันเนื่องจาก ปัจจัยดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมาก ซึ่งท าให้ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรไม่

แตกต่างกันส่วน อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการท างานกลับมีผลต่อความ จงรักภักดีต่อองค์กรแตกต่างกัน

เพศ จากการศึกษา พบว่า พนักงานที่มีเพศต่างกัน มีความจงรักภักดีต่อองค์กร แตกต่างกันในเรื่องของพฤติกรรมที่แสดงออก และความรู้สึก แต่ในด้านการรับรู้นั้นพนักงานทั้ง

เพศชายและเพศหญิงมีความจงรักภักดีต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน น่าจะเป็นเพราะพนักงานแต่ละ เพศย่อมมีความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงสิ่งที่พวกเขาแสดงต่อสิ่งต่างๆ ออกมาจาก ความรู้สึกนึกคิดของคนนั้นๆ โดยได้รับผลมาจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัว ซึ่งสอดคล้องกับ บทความของ ส านักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ที่อ้างอิงมาจาก ผศ. นาถฤดี เด่นดวง ว่าด้วยเรื่องเพศหญิงและชาย ถึงบทบาทหน้าที่ที่ต่างกันออกไปตามค่านิยมต่างๆที่สังคมเป็นผู้

ก าหนดขึ้นตามลักษณะทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ครอบครัวและค่านิยมต่างๆที่

เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยท าให้แนวคิด บทบาทหน้าที่ของเพศชายและเพศหญิงเปลี่ยนแปลงไป อายุ จากการศึกษา พบว่า พนักงานที่มีอายุแตกต่างกัน มีความจงรักภักดีต่อองค์กร ด้านพฤติกรรมที่แสดงออก ด้านความรู้สึกและด้านการรับรู้ แตกต่างกัน โดยพนักงานที่มีอายุ

มาก จะมีความจงรักภักดีมากกว่า พนักงานที่มีอายุน้อย เนื่องจากคนที่มีอายุแตกต่างกันจะมี

ประสบการณ์ เป้าหมาย ความเชื่อ ค่านิยมแตกต่างกัน (Ivancevich and Matteson,1999 อ้างอิงจาก ขะธิณยา หล้าสุวงษ์ 2545 : 24)บุคคลที่มีอายุมากจะมีความจงรักภักดีต่อองค์กร มากกว่าคนที่มีอายุน้อย เนื่องจากอายุท าให้คนตระหนักถึงทางเลือกในการท างานของตนลดลง โดยปกติคนที่มีอายุมากขึ้นย่อมมีการเรียนรู้มากขึ้นมีประสบการณ์ในการท างานมากขึ้นมี

ต าแหน่งหน้าที่การงานที่สูง และมีความพึงพอใจในงานมากขึ้น คิดว่าการอยู่กับองค์กรต่อไป เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ท าให้มีความสนใจต่อองค์กรอื่นลดลง และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธนัชพร กบิลฤทธิวัฒน์ (2557) ได้ศึกษาเรื่อง แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กร ของพนักงานไทยในบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งศึกษาความ จงรักภักดีต่อองค์กรทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมที่แสดงออก ด้านความรู้สึก และด้าน การรับรู้ ซึ่งพบว่า พนักงานที่มาอายุที่แตกต่างกันมีความจงรักภักดีต่อองค์กรแตกต่างกัน

ระดับการศึกษา จากการศึกษา พบว่า พนักงานที่มีการศึกษาต่างกัน มีความจงรักภักดี

ต่อองค์กรด้านพฤติกรรมที่แสดงออก ไม่แตกต่างกัน ส่วนในด้านความรู้สึกและด้านการรับรู้ มี

ความจงรักภักดีต่อองค์กรแตกต่างกัน หากพิจารณาในภาพรวมพนักงานที่มีอายุแตกต่างกันมี

ความจงรักภักดีต่อองค์กรแตกต่างกันโดยพนักงานที่มีระดับการศึกษาต ่ากว่าปริญญาตรี มีความ จงรักภักดีต่อองค์กรมากกว่าพนักงานที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และในระดับปริญญาตรี

ขึ้นไป

ระดับรายได้ จากการศึกษา พบว่า พนักงานที่มีระดับรายได้ที่แตกต่างกัน มีความ จงรักภักดีต่อองค์กรแตกต่างกัน โดยมีความจงรักภักดีต่อองค์กรด้านพฤติกรรมที่แสดงออก และ ด้านการรับรู้ แตกต่างกัน แต่ความจงรักภักดีต่อองค์กรด้านความรู้สึกไม่แตกต่างกัน โดยที่

107

พนักงานที่มีระดับรายได้มากกว่า 15,000 บาทขึ้นไป มีความจงรักภักดีต่อองค์กรโดยรวมแล้ว มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธนัชพร กบิลฤทธิวัฒน์ (2557)ได้ศึกษาเรื่อง แรงจูงใจที่

มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานไทยในบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ท าการศึกษาทั้งหมด 3 ด้านคือ ด้านพฤติกรรมที่แสดงออก ด้านความรู้สึก ด้านการรับรู้ พบว่า พนักงานที่มีรายได้ที่แตกต่างกันมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ด้านการรับรู้ แตกต่างกัน

ประสบการณ์ในการท างาน จากการศึกษา พบว่า พนักงานที่มีประสบการณ์ในการ ท างานที่แตกต่างกัน มีความจงรักภักดีต่อองค์กรโดยรวมทั้งสามด้านแล้วแตกต่างกัน โดย พนักงานที่มีประสบการณ์ในการท างานมากกว่า 7 ปี มีความจงรักภักดีต่อองค์กรโดยรวมแล้ว มากกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ในการท างานน้อยกว่า 7 ปี กล่าวคือ (ขะธิณยา หล้าสุวงษ์

2545, น.25 )ผู้ที่อยู่กับองค์กรมาเป็นเวลานาน จะมีความรู้สึกว่าแก่เกินที่จะเริ่มต้นใหม่กับบริษัท อื่นจึงท าให้เกิดความรู้สึกจงรักภักดีต่อองค์กร

2. ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านความส าเร็จของงาน ด้านการได้รับการ ยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงาน ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ด้านความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน ด้านความเจริญเติบโต ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านการปกครองบังคับ บัญชา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์กร ด้านสภาพการท างาน ด้านค่าตอบแทน ทั้งหมด 11 ด้าน แต่เมื่อน ามาวิเคราะห์ถึงปัจจัยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร ของพนักงาน พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสามารถร่วมกันพยากรณ์ความจงรักภักดี

ต่อองค์กรร่วมกันได้ร้อยละ 73.1 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ .05 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ จงรักภักดีมากที่สุดได้แก่ด้านลักษณะของงาน รองลงมาเป็นด้านความรับผิดชอบในหน้าที่การ งาน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความส าเร็จของงาน ด้าน การได้รับการยอมรับนับถือ ด้านค่าตอบแทน ด้านความเจริญเติบโต และด้านที่มีอิทธิพลต่อ ความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานน้อยที่สุด คือ ด้านสภาพการท างาน ในเรื่องของ สภาพแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวกับการท างานอย่างความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน วัดสุ อุปกรณ์ที่

อ านวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ที่องค์กรก็ไม่ควรมองข้ามแต่ควรให้ความสนใจ เพราะ พนักงานเองต่างก็ต้องการความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทั้งนั้น องค์กรจึงควรวางมาตรฐาน ความปลอดภัยในเรื่องของการปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย รวมถึง

อ านวยวัสดุ อุปกรณ์ ในการปฏิบัติงาน เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความพร้อมในการ ปฏิบัติงานเพื่อความเจริญเติบโตก้าวหน้าขององค์กร แล้วพนักงานก็จะมีบรรยากาศที่ดีในการ ท างาน ด้านความเจริญเติบโต ก็เป็นอีกด้านที่ไม่ค่อยมีมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรซึ่ง จะเป็นในเรื่องของการที่พนักงานจะมีโอกาสจะเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน องค์กรจึงควรส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความสามารถเพิ่มมากยิ่งขึ้น อย่างส่งตัวแทนพนักงาน ไปเพิ่มความรู้ในสายงานที่ปฏิบัติหากมีองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นต่อสายงานนั้น แล้วจึงมาส่งต่อ ความรู้ให้กับเพื่อนร่วมงานเป็นการเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานให้เพิ่ม มากขึ้นที่จะส่งผลดีต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน และ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ จงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานมากที่สุดคือ ด้านลักษณะของงาน เป็นสิ่งที่องค์กรควรรักษา และให้ความส าคัญไปไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ จะเป็นในเรื่องของความน่าสนใจ ความท้าทายต่อ งานที่ปฏิบัติ ควรมอบหมายให้พนักงานท าให้ส าเร็จตามเป้าหมายโดยสามารถให้พนักงาน สามารถก าหนดรายละเอียดของการปฏิบัติงานได้เองเพื่อให้งานส าเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้จะ เป็นการท้าทายความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงานเองด้วย เพิ่มความน่าสนใจในการ ปฏิบัติงานลดความน่าเบื่อหน่ายและความไม่พอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความรับผิดชอบใน หน้าที่การงานเองเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลรองลงมา องค์กรควรสร้างความรู้สึกและความเข้าใจกับ พนักงานในเรื่องของเป้าหมายขององค์กร โดยการมอบหมายงานให้ท าในลักษณะการมอบ เป้าหมาย เป็นการสร้างความคิดให้พนักงานได้ทราบและเห็นเป้าหมายของงาน เพื่อให้พนักงาน ทุกคนมีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายร่วมกัน ให้ความเป็นอิสระกับพนักงานในการสร้างสรรค์

ความคิดในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยที่พนักงานบางกลุ่มอาจจะต้อง ก าหนดหน้าที่อย่างชัดเจนว่าต้องปฏิบัติงานอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรเช่นเดียวกัน เป็นการเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่จะส่งผลกระทบทางบวกต่อความจงรักภักดี

ต่อองค์กรของพนักงานให้เพิ่มมากขึ้น