• Tidak ada hasil yang ditemukan

5.2 สรุปผล

5.3 อภิปรายผล 5.4 ข้อเสนอแนะ 5.1 ความมุ่งหมายของการวิจัย

1) เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้

วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี มีประสิทธิภาพและสิทธิผลตามเกณฑ์

2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และ จริยธรรมสิ่งแวดล้อม จากกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้

ของนิสิตก่อนเรียนและหลังเรียน

3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และจริยธรรม สิ่งแวดล้อม จากกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับ นิสิตปริญญาตรี ของนิสิตที่มีเพศต่างกัน

4) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และจริยธรรม สิ่งแวดล้อม จากกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ส าหรับ นิสิตปริญญาตรี ของนิสิตที่มีผลการเรียนต่างกัน

5.2 สรุปผล

การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี สามารถ สรุปได้ดังนี้

1) การสอนสิ่งแวดล้อมโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า มี

ประสิทธิภาพเท่ากับ 92.43/86.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และดัชนีประสิทธิผล พบว่า

134 แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.7813 แสดงว่านิสิตมี

ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ร้อยละ 78.13

2) การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม จริยธรรม สิ่งแวดล้อม ของนิสิตก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า

2.1) นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง (𝑥̅ = 30.44) และหลังเรียนนิสิตมีคะแนนเฉลี่ยความรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 69.16) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน พบว่า นิสิต มีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P<.05)

2.2) นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วย (𝑥̅ = 3.41) และหลังเรียนนิสิตมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (𝑥̅ = 4.34) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน พบว่า นิสิตมี

คะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P<.05)

2.3) นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อมก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับเพื่อ สังคม (𝑥̅ = 2.59) และหลังเรียนนิสิตมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับเพื่อความถูกต้องดีงาม (𝑥̅ = 3.33) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน พบว่า นิสิตมี

คะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P<.05)

3) ผลการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และจริยธรรม สิ่งแวดล้อม ของนิสิตที่มีเพศแตกต่างกัน พบว่า นิสิตที่มีเพศแตกต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P<.05)

3.1) นิสิตที่มีเพศแตกต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมสิ่งแวดล้อม แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงได้ทดสอบ Univariate Test พบว่า นิสิตที่มีเพศแตกต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และจริยธรรม สิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน (p > .05) ส่วนทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (P<.05)

4) ผลการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และจริยธรรม สิ่งแวดล้อม ของนิสิตที่มีผลการเรียนต่างกัน พบว่า นิสิตที่มีผลการเรียนต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน (p > .05)

135 5.3 อภิปรายผล

การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี ผู้วิจัยมี

ประเด็นที่จะน ามาอภิปรายผลดังต่อไปนี้

1)การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยเน้น การสอดแทรกความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตั้งแต่

สังเกตปัญหา ตั้งค าถาม รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา ระบุปัญหาที่แท้จริง ได้อย่างชัดเจน ตั้งสมมติฐาน หาสาเหตุคาดเดาค าตอบของปัญหาอย่างมีหลักการ มีหลักฐานรองรับและตั้งสมมติฐาน ได้อย่างเหมาะสม พิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน น ากระบวนการและวิธีการในการออกแบบ การพิสูจน์

หรือทดสอบสมมติฐานที่เหมาะสม ค้นคว้าแสวงหาแหล่งข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการ สร้างเครื่องมือที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติต่างๆ การก าหนดเกณฑ์วัดและประเมิน สรุปผล พร้อมน าเสนอข้อมูลจากการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้

ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2555: 14) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นการวิจัย เป็นฐานถือเป็นวิธีการสอนที่สนับสนุนแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้

ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยลักษณะการจัดการเรียนรู้โดยอาศัยการวิจัยเป็นฐานเน้นการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานที่จ าเป็นส าหรับด าเนินการวิจัย ด้วยการน าเนื้อหาที่ได้จากการวิจัย มาใช้ควบคู่กับการสอนกระบวนการวิจัยทีละขั้นตอนอย่างเป็นล าดับ จนผู้เรียนเกิดทักษะในการ ด าเนินการท าวิจัยอย่างถูกต้อง ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2538: 47) กล่าวว่า เป็น กระบวนการสืบหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุมการสังเกต การบันทึก การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และตีความหมายเพื่อให้ได้เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถ น ามาสร้างเป็นข้อสรุปเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์นั้นๆ และน าผลที่ได้มาพัฒนาหรือสร้าง กฎ ทฤษฎีที่ท าให้ควบคุมหรือท านายเหตุการณ์ต่างๆ ได้และจรัส สุวรรณเวลา (2546: 16) กล่าวว่า เป็นการได้มาซึ่งความรู้ที่ท าให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในแต่ละสาขาและกระบวนการวิจัยยังท าให้ผู้วิจัยได้

มีการวางแผนเตรียมการและด าเนินการอย่างเป็นระบบจนค้นพบความจริง สร้างความรู้ใหม่ที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของมณฑา ชุ่มสุคนธ์ และนิลมณี พิทักษ์ (2559: 41-52) พบว่า ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในการสอน รายวิชาการศึกษาเพื่อการ พัฒนาสิ่งแวดล้อม ท าให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ (2557: 54-62) พบว่า ผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อความรู้ เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของ นักศึกษาท าให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มมากขึ้น สิรจิตต์ เดชอมรชัย และชนยา ด่านสวัสดิ์ (2555:

49-64) พบว่า ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้การวิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษา ฝรั่งเศสระดับกลาง 1 ส าหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความรู้เพิ่มมากขึ้น

136 อัญชลี ทองเอม (2561: 40-54) พบว่า การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะการท าวิจัยของ นักศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีความรู้เพิ่มมากขึ้น และบรรณรักษ์

คุ้มรักษา และปริศนา รักบ ารุง (2563: 118-137) พบว่า การศึกษาแบบแผนพฤติกรรมการเรียนรู้โดย ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของ นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ : ทักษะการตั้งสมมติฐานและทักษะการทดลอง มีความรู้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น กระบวนการถ่ายทอดที่มีการใช้แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ที่มี

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสามารถท าให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

2) ผลการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และ จริยธรรมสิ่งแวดล้อมของนิสิต ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิต ปริญญาตรี พบว่า

2.1) นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่ง เป็นผลมาจากกิจกรรมการเรียนการสอนมีการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมี

ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม 2) การตั้งสมมติฐานการเรียนรู้ 3) พิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน การเรียนรู้ 4) รวบรวมข้อมูลจากการเรียนรู้ 5) วิเคราะห์ข้อมูล และ 6) สรุปผลการเรียนรู้ ตามเนื้อหา ตามหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้นี้ช่วยกระตุ้นให้ ผู้เรียนสนใจวิชา ที่เรียนมากขึ้นท าให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชานั้นสูงขึ้น เพราะเป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อไม่จ าเจ สนุกสนานได้แสดงศักยภาพของผู้เรียนแต่ที่ส าคัญเป็นการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ เปลี่ยนมุมมอง ทัศนะของบุคคลให้คิดเป็น ซึ่งแตกต่างจากการเรียนแบบอื่นๆ การเรียนแบบนี้น าไปสู่การ เปลี่ยนแปลง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของทิศนา แขมมณี (2552: 144-145) กล่าวว่า เป็นสภาพการณ์

ของการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัย หรือผลการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

เนื้อหาสาระต่างๆ โดยอาจใช้ การประมวลผลงานวิจัย (Research Review) มาประกอบการสอน เนื้อหาสาระ ใช้ผลการวิจัยมาเป็นเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาเนื้อหา สาระ หรือให้ผู้เรียนลงมือท าวิจัย โดยตรงหรือช่วยฝึกฝนทักษะการวิจัยต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน ปรียนันท์

สิทธิจินดา (2560: เว็บไซต์) กล่าวว่า การน ากระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยมาเป็นพื้นฐานในการ จัดการ เรียนรู้หรือน าเอากระบวนการวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อให้นักเรียนได้

พัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยและการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยผู้สอนหรือครูใช้วิธีการสอนที่

หลากหลายอัน น าไปสู่การสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ลัดดา ภู่เกียรติ (2552:

146) กล่าวว่า เป็นกระบวนการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้ คิดค้นค าตอบและตัดสินใจในการเรียนรู้ของตนเองและเป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้

และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่หรือค้นหาค า ตอบที่เชื่อถือได้ โดยอาศัย กระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัยในการด าเนินการสืบค้น พิสูจน์ ทดสอบ

Dokumen terkait