• Tidak ada hasil yang ditemukan

3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.4 การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ 3.5 การออกแบบและเก็บรวบรวมข้อมูล 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล

3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย 3.1 รูปแบบการวิจัย

การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี เป็นวิจัย แบบวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม เป็นการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลัง โดยใช้แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิต ปริญญาตรี และสร้างทดลองใช้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2543: 109)

ตารางที่ 4 แผนการทดลอง One Group Pretest-Posttest Design

กลุ่ม สอบก่อน ทดลอง สอบหลัง

E O1 X O2

สัญลักษณ์ที่ใช้

E แทน กลุ่มทดลอง

O1 แทน การทดสอบความรู้ ทัศนคติ จริยธรรมสิ่งแวดล้อม ก่อนการสอน O2 แทน การทดสอบความรู้ ทัศนคติ จริยธรรมสิ่งแวดล้อม หลังการสอน X แทน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับ นิสิตปริญญาตรี

90 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นิสิตปริญ ญ าตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ านวน 372 คน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนิสิตปริญ ญ าตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ านวน 50 คน ได้มาโดยการ เจาะจง

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1) แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้

2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา 3) แบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม

4) แบบวัดจริยธรรมสิ่งแวดล้อม 3.4 การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี ผู้วิจัยได้

ก าหนดการสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือดังต่อไปนี้

1) แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้

1.1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา 1.2) ก าหนดขอบเขตและโครงสร้างเนื้อหาของแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา 1.3) น าเสนอโครงร่างเนื้อหาเกี่ยวกับแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาและน ามาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา

1.4) น าเสนอ แผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วน าเสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 5 ท่าน

พิจารณาความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความถูกต้อง ครบถ้วนและครอบคลุม ตามหลักการสร้างแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ และตรวจสอบความ เที่ยงตรงตามเนื้อหาเกี่ยวกับแผนการสอนสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ โดยพิจารณา ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ลักษณะ

91 ของแบบประเมิน ที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ถือว่าใช้ได้ ผู้วิจัยได้ก าหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังต่อไปนี้

คะแนน +1 หมายถึง เนื้อหามีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าเนื้อหามีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ของการวิจัย

คะแนน –1 หมายถึง เนื้อหาไม่มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

น าผลที่ได้ไปค านวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง โดยใช้สูตร IOC (Index of Item Objective Congruence) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545: 115) ดังนี้

IOC = Σ R N

เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องของแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้กับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

ΣR แทน ผลรวมคะแนนจากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ N แทน จ านวนผู้เชี่ยวชาญ

ส าหรับการประเมินความเหมาะสมของแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้

วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี ด้วยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย และเหมาะสมน้อยที่สุด แล้วน าคะแนนประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญมาให้ค่าน้ าหนัก ก าหนดเกณฑ์ค่าเฉลี่ยของ ความเหมาะสม คือตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป จึงจะถือว่ามีความเหมาะสมสามารถน าไปเก็บรวบรวมข้อมูลได้

(ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2543: 138) โดยก าหนดเกณฑ์ดังต่อไปนี้

คะแนน 5 มีค่าระหว่าง 4.51 – 5.00 เหมาะสมมากที่สุด คะแนน 4 มีค่าระหว่าง 3.51 – 4.50 เหมาะสมมาก คะแนน 3 มีค่าระหว่าง 2.51 – 3.50 เหมาะสมปานกลาง คะแนน 2 มีค่าระหว่าง 1.51 – 2.50 เหมาะสมน้อย คะแนน 1 มีค่าระหว่าง 1.00 – 1.50 เหมาะสมน้อยที่สุด

92 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

2.1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากต ารา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางใน การสร้างแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

2.2) น าข้อมูลที่ศึกษามาสร้างแบบทดสอบความรู้ที่เป็นค าถามปลายปิดมีลักษณะ เป็นแบบตรวจรายการ (Checklist) 4 ตัวเลือก คือ ก. ข. ค. และ ง. จ านวน 80 ข้อ เนื้อหาค าถาม ประกอบด้วยเรื่อง ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ า มลพิษทางอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่า การเกษตรเชิงอนุรักษ์การเกษตร และการจัดการขยะมูลฝอย โดยก าหนดเกณฑ์การให้คะแนน คือ ตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดให้ 0 คะแนน เน้นความสามารถในด้านความรู้ ความจ า การวิเคราะห์

2.3) น าแบบทดสอบความรู้ที่สร้างขึ้นน าไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา แล้วน ามาปรับปรุงแก้ไข

2.4) น าแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญจ านวน 5 ท่าน

เพื่อพิจารณาความสอดคล้อง เที่ยงตรงของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม มีลักษณะของแบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ คือ มีความ สอดคล้อง ไม่แน่ใจ และไม่มีความสอดคล้อง ที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ถือว่าใช้ได้

2.5) ปรับปรุงแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์หลังจาก ได้รับค าแนะน าจากผู้เชี่ยวชาญ

2.6) น าแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ที่ท าการปรับปรุงแล้วจัดพิมพ์แล้ว น าไปทดลองใช้ (Try Out) กับนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ านวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้

เพื่อปรับปรุงแบบทดสอบความรู้ให้สมบูรณ์ หลังจากได้รับค าแนะน าจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาค่าอ านาจ จ าแนกรายข้อ และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ถือว่า แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ สามารถน าไปเก็บข้อมูลได้

2.7) น าแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ไปปรับปรุงแก้ไขท าเป็นฉบับ สมบูรณ์ แล้วน าเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อน าไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

3) แบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม

3.1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากต ารา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์

วัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการก าหนดรูปแบบของเนื้อหาในการสร้างแบบวัดทัศนคติต่อ สิ่งแวดล้อม ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ และวิธีการสร้างแบบวัดทัศนคติ

เพื่อน ามาเป็นแนวทางในการสร้างแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม

93 3.2) น าข้อมูลที่ศึกษามาสร้างแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม จ านวน 80 ข้อ ที่มี

ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ก าหนดการตอบ 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่าง ยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ซึ่งแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมใช้มาตราวัด จากความรู้สึก โดยก าหนดมีเป้าหมายในการวัด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความคิด ด้านความรู้สึก และด้าน พฤติกรรม

3.3) น าแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นน าไปให้อาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา แล้วน ามาปรับปรุงแก้ไข

3.4) น าแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจ านวน 5 ท่าน พิจารณาความสอดคล้อง เที่ยงตรงของแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ลักษณะ ของแบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ คือ มีความสอดคล้อง ไม่แน่ใจ และไม่มี

ความสอดคล้อง ที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป

3.5) ปรับปรุงแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์หลังจากได้รับ ค าแนะน าจากผู้ทรงคุณวุฒิ

3.6) น าแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ที่ท าการปรับปรุงแล้วจัดพิมพ์แล้ว น าไป ทดลองใช้ (Try Out) กับนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ านวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อปรับปรุงแบบ วัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์ หลังจากได้รับค าแนะน าจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาค่าอ านาจจ าแนก รายข้อ และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ถือว่าวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ฉบับนี้ สามารถน าไปเก็บข้อมูลได้

3.7) น าแบบวัดทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม เสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ แล้ว น ามาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ แล้วน าไปท าการเก็บข้อมูลกับ กลุ่มตัวอย่างต่อไป

4) แบบวัดจริยธรรมสิ่งแวดล้อม

4.1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากต ารา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์

วัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการก าหนดรูปแบบของเนื้อหาในการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัย เป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็น การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี และสร้างแผนการ สอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้ ส าหรับนิสิตปริญญาตรี

Dokumen terkait