• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความส าคัญของการบริหารการศึกษา

สารบัญภาพประกอบ

2. ความส าคัญของการบริหารการศึกษา

ส านักงานปฏิรูปการศึกษา (2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 6 ได้ก าหนดความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด ารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี

ความสุข ดังนั้นการบริหารจัดการศึกษาจึงมีความส าคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคนไทยให้บรรลุ

ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของประเทศ

ปรัชญา เวสารัชช์ (2554) ให้ความส าคัญของการบริหารการศึกษา ไว้ว่า การบริหาร จัดการที่มีระบบและด าเนินการอย่างต่อเนื่อง มีบุคคลและหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าร่วมด าเนินการ มีรูปแบบ ขั้นตอน กติกา และวิธีด าเนินการ มีทรัพยากรสนับสนุน และมีกระบวนการประเมินผล การศึกษาเที่ยงตรงและเชื่อถือได้

อนุรัตน์ อนันทนาธร (2559) ให้ความส าคัญของการบริหารการศึกษาไว้ว่า เป็นกระบวนการเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการแปรเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นภารกิจในการพัฒนา ท าให้การด าเนินงานขององค์กรมีความต่อเนื่อง ท าให้องค์กรปรับตัวได้ สร้างความมั่นคง ยั่งยืน

15 William (2008) ให้ความส าคัญของการบริหารการศึกษา ไว้ว่า มนุษย์เราเป็นสมาชิก ของสังคม เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันมากเป็นหมู่หรือเป็นกลุ่มมีหัวหน้าปกครองบังคับบัญชา มีการแบ่งงาน กันท าตามลักษณะความรู้ความสามารถ ซับซ้อนมากมนุษย์ก็เริ่มสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ต่าง ๆ ขึ้น โดยเรียนรู้จากประสบการณ์และความเชื่อถือ เพื่อมุ่งให้เกิดความส าเร็จเรียบร้อยเกิดขึ้นใน องค์การและความสุขในสังคมได้ ฉะนั้น ความส าคัญของการบริหาร สรุปได้ดังนี้

1. การบริหารนั้นได้เจริญเติบโตควบคู่กับการด ารงชีวิตของมนุษย์ และเป็นสิ่งช่วยให้

มนุษย์ด ารงชีวิตร่วมกันอยู่ได้อย่างผาสุก

2. จ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลท าให้องค์กรต่าง ๆ ต้องขยายงาน ด้านบริหารให้กว้างขวางเพิ่มขึ้น

3. การบริหารเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญกว้างหน้าของสังคม 4. การบริหารเป็นวิธีที่ส าคัญในอันที่จะน าสังคมแลโลกไปสู่ความเจริญกว้าหน้า 5. การบริหารจะช่วยให้ทราบถึงแนวโน้นทั้งในด้านความเจริญและความเสื่อมของ สังคมในอนาคต

6. การบริหารมีลักษณะเป็นการท างานร่วมกันของกลุ่มบุคคลในองค์การความส าเร็จ ของการบริหารจึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองอยู่เป็นอันมาก

7. การบริหารมีลักษณะต้องใช้การวินิจฉัยสั่งการเป็นเครื่องมือและการวินิจฉัยสั่งการ เป็นเครื่องมือแสดงให้ทราบถึงความสามารถของนักบริหารและความเจริญเติบโตของการบริหาร

8. ชีวิตประจ าวันของมนุษย์ไม่ว่าในครอบครัว หรือในองค์การย่อมมีส่วนเกี่ยวพันกับ การบริหารอยู่เสมอ

9. การบริหารกับการเมืองเป็นสิ่งคู่กัน ไม่อาจแยกจากกันโดยเด็ดขาด

Drucker (2010) ให้ความส าคัญของการบริหารการศึกษาไว้ว่า การบริหารการศึกษา มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อความเจริญต่อคุณภาพของผลิตทางการศึกษาและต่อการพัฒนาการ ทุก ๆ ด้านของมนุษย์ที่เป็นทรัพยากรที่ส าคัญของชาติ เพราะถ้าหากไม่มีการบริหารแล้ว การด าเนินงานของสถานศึกษาอาจจะต้องพบกับอุปสรรคมากมายจนไม่สามารถด าเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้

จากความส าคัญของการบริหารการศึกษาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การบริหาร การศึกษามีความส าคัญอย่างยิ่งต่อความเจริญต่อคุณภาพของผลิตทางการศึกษา เป็นกระบวนการ ตัดสินใจใช้บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการด าเนินงานของผู้น าให้เหมาะสมกับสถานการณ์

เพื่อให้ องค์การประสบความส าเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

16 3. หลักการบริหารการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ (2550) ได้ก าหนดหลักการบริหารการศึกษาที่ส าคัญไว้ ดังนี้

1. มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ อันได้แก่

ความเป็นเอกภาพในการก าหนดนโยบายในการจัดการศึกษา มีมาตรฐานและทิศทางในการจัด การศึกษาเหมือนกัน โดยส่วนกลางก าหนดนโยบาย ให้ค าปรึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การจัดการศึกษา

2. มีการกระจายอ านาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นก าหนดให้มีการกระจายอ านาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปสู่คณะกรรมการ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไปโดยคณะกรรมการ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเป็น

ผู้รับผิดชอบโดยตรง

3. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษาเป็นการเปิดโอกาสให้

บุคคล ชุมชน สถาบันสังคมต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยมีการระดมทรัพยากรต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหา หรือหาแนวทางการพัฒนาการศึกษา เช่น ความคิด ความรู้ ความสามารถ แรงงาน เงินทุน วัสดุและอื่น ๆ เป็นต้น

Gulick และ Urwick (1937) ได้ก าหนดหลักการบริหาร ซึ่งสามารถน ามาประยุกต์ใช้กับ การบริหารการศึกษา ที่เรียกว่า POSDCORB 7 ประการ ดังนี้

1. Planning (P) หมายถึง การวางแผนหรือวางโครงการอย่างกว้าง ๆ ว่า

มีงานอะไรบ้างที่จะปฏิบัติตามล าดับวางแผนวิธีการปฏิบัติพร้อมด้วยวัตถุประสงค์ของการปฏิบัตินั้น ๆ ก่อนลงมือปฏิบัติการ

2. Organizing (O) หมายถึง การจัดรูปโครงการหรือเค้าโครงของการบริหารก าหนด อ านาจหน้าที่ของหน่วยงานย่อยหรือต าแหน่งต่าง ๆ ของหน่วยงานให้ชัดเจนพร้อมด้วยก าหนด ลักษณะและวิธีการติดต่อกัน

3. Staffing (S) หมายถึงการบริหารงานอันเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือเจ้าหน้าที่

ทุกประเภทของหน่วยงานตั้งแต่การแสวงหาคนมาท างานการบรรจุแต่งตั้งการฝึกอบรมและพัฒนา บุคคลที่จะบรรจุแต่งตั้งไว้แล้วการบ ารุงขวัญการเลื่อนขั้น ตลอดจนการพ้นจากงานและบ ารุงรักษา สภาพการท างานที่ดีมีประสิทธิภาพให้คงอยู่ตลอดไป

4. Directing (D) หมายถึงการวินิจฉัยสั่งการหลังจากได้วิเคราะห์และพิจารณา วางแผนงานโดยรอบคอบแล้ว รวมทั้งการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามค าสั่งนั้น ๆ ในฐานะผู้บริหาร เป็นผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน

17 5. Coordinating (Co) หมายถึง การประสานงานหรือสื่อสัมพันธ์หน่วยงานย่อย หรือต าแหน่งต่าง ๆ ภายในองค์การหรือส านักงานใหญ่เพื่อก่อให้เกิดการท างานที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการซ้ าซ้อนหรือขัดแย้งกัน

6. Reporting (R) หมายถึง การเสนอรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาหรือ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างการเสนอรายงานท าให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ความก้าวหน้าของงานทุกระยะสะดวกแก่การประสานงานกับหน่วยงานอื่น

7. Budgeting (B) หมายถึง การจัดท างบประมาณการเงินการวางแผนหรือ โครงการในการใช้จ่ายเงินการบัญชีและการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินหรือตรวจสอบบัญชี

โดยรอบคอบและรัดกุม

จากหลักการบริหารการศึกษาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า หลักการบริหารการศึกษา มีหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแล้วมีองค์ประกอบหรือขั้นตอนส าคัญที่จะช่วยให้การบริหารบรรลุ

วัตถุประสงค์ตามที่วางไว้ประกอบด้วย การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การวางแผน การจัดองค์การ การจัดงบประมาณ การสั่งการ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การควบคุม การจูงใจ การบ ารุง ขวัญกาลังใจ การประเมินผล และการรายงานผล

หลักการแนวคิดการบริหารสถานศึกษา

Garis besar

Dokumen terkait