• Tidak ada hasil yang ditemukan

ค่าความยากง่ายและค่าอำานาจจำาแนก ของแบบทดสอบ

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ค่าความยากง่ายและค่าอำานาจจำาแนก ของแบบทดสอบ

จากการทดสอบครั้งที่ 1 แบบทดสอบวัด คุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานายการศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำานวน 72 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.09 - 0.87 มีค่าอำานาจ รายข้อตั้งแต่ 0.05 ถึง 0.50 ผลการวิเคราะห์ พบว่า ช่วงค่าอำานาจจำาแนกกระจายมาก แสดงว่าข้อสอบที่

สร้างขึ้นมีคุณภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเนื่องมา จากเป็นการทดสอบครั้งแรก แบบทดสอบยังไม่ได้

ผ่านการวิเคราะห์มาก่อนจึงอาจมีความบกพร่องเกิด ขึ้นได้ เช่น การใช้ภาษาในข้อคำาถามกำากวมทำาให้ผู้

สอบเกิดความสับสนวุ่นว่ายในการตอบ สถานการณ์

ไม่เหมาะสม หลังจากวิเคราะห์แล้ว ผู้วิจัยได้พิจารณา ปรับปรุงคำาถามและตัวเลือกใหม่ แล้วนำาไปทดสอบ ครั้งที่ 2 กับกลุ่มตัวอย่างใหม่

จากการทดสอบครั้งที่ 2 แบบทดสอบวัด คุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานายการศึกษา ต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำานวน 45 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.88 และ มีค่าอำานาจจำาแนกรายข้อตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.45 ผล การวิเคราะห์พบว่า บางข้อค่าอำานาจจำาแนกตำ่า ถึง แม้ว่าข้อสอบในแบบทดสอบจะได้รับการปรับปรุง จากครั้งที่ 1 มาแล้ว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการสอบ ไม่มีผลต่อผลการเรียนของผู้สอบ จึงให้ความสำาคัญ

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 137 ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน พ.ศ.2561

ค่อนข้างน้อยและไม่ตั้งใจทำาแบบทดสอบเท่าที่ควร จึงทำาให้ผลการวิเคราะห์ปรากฏดังกล่าว ซึ่งหลัง จากวิเคราะห์แล้ว ผู้วิจัยได้นำาข้อสอบมาจัดเรียง เป็นแบบทดสอบ ฉบับใหม่ แล้วนำาไปทดสอบครั้ง ที่ 3 กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

จากการทดสอบครั้งที่ 3 แบบทดสอบวัด คุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานายการศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำานวน ข้อสอบ 45 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.77 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ และมีค่าอำานาจจำาแนกราย ข้อตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.47 ซึ่งสูงกว่าการทดสอบสองครั้ง แรก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะได้ผ่านการปรับปรุงมาและ คัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพและการมีกลุ่มตัวอย่าง ขนาดใหญ่มาก จึงทำาให้มีค่าอำานาจจำาแนกสูงขึ้น

2. ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัด คุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานายการศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ละด้าน มีค่าตั้งแต่ 0.59 ถึง 0.66 และทั้งฉบับมีค่าความเชื่อ มั่นเท่ากับ 0.69 คุณลักษณะด้านที่มีความเชื่อมั่นสูง คือ การคิดวิเคราะห์ (0.66) คุณลักษณะด้าน ที่มี

ความเชื่อมั่นตำ่าสุด คือ การสังเกต (0.59) เนื่องจาก มีการกระจายของคะแนนน้อย ดูได้จากค่าเฉลี่ย 13.43 จากข้อสอบ 16 ข้อ และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 2.57 สอดคล้องกับคำากล่าวของ (บุญเชิด ภิญโญอนันต์พงษ์. 2521 : 256) ที่ได้กล่าวไว้ว่า ค่า ความยากง่ายของแบบทดสอบมีอิทธิพลต่อความ เชื่อมั่นในแง่ที่จะทำาให้การกระจายของคะแนนมี

การกระจายน้อย ข้อสอบที่ยากง่ายเกินไปนักเรียน ส่วนใหญ่จะได้ในลักษณะเหมือนๆกัน คะแนนแต่ละ คนจะไม่ต่างกันเป็นเหตุทำาให้ความเชื่อมั่นตำ่าลง และ ค่าความเชื่อมั่นทักษะอื่นที่มีค่าตำ่าเนื่องจากจำานวน ข้อแบบทดสอบน้อย จะทำาให้ค่าความแปรปรวนของ แบบทดสอบน้อยไปด้วย ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นตำ่า

3. ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างขอบแบบ ทดสอบ จากการทดสอบครั้งที่ 3 ผู้วิจัยใช้วิธีวิเคราะห์

องค์ประกอบในการตรวจสอบ ซึ่งเป็นวิธีการหาความ เที่ยงตรงเชิงโครงสร้างที่ตรงประเด่นที่สุด เป็นเทคนิค

ที่ละเอียดสำาหรับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลพฤติกรรมต่างๆ (Anastasi, 1968 : 116) ค่า คอมมูนาลิตี้ตั่งแต่ 0.47 ถึง 0.58 ค่าไอเกนมีค่าเท่ากับ 3.09 ร้อยละความแปรปรวนสะสมเท่ากับ 61.85 และ ค่านำ้าหนักองค์ประกอบแต่ละคุณลักษณะอยู่ระหว่าง 0.68 ถึง 0.76 จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบวัด คุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานายการศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วัดองค์

ประกอบร่วมกันเพียงหนึ่งองค์ประกอบ แสดงว่าแบบ ทดสอบวัดคุณลักษณะเดียวกัน

4. คะแนนเกณฑ์ปกติ ผู้วิจัยได้สร้างเกณฑ์

ปกติอยู่ในรูปคะแนน T ปกติ เพื่อใช้เปรียบเทียบ ระดับของคุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานาย การศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ต้น ให้เป็นหน่วยเดียวกัน ผลจากการทดสอบครั้ง ที่ 3 คะแนนดิบของแบบทดสอบกระจายคะแนนไม่

ครอบคลุมครบทุกช่วงคะแนนทั้งหมด ผู้วิจัยจึงได้

ขยายขอบเขตของคะแนน โดยการเขียนกราฟจาก คู่อันดับระหว่างคะแนนดิบกับคะแนน T ปกติ ที่

คำานวณได้

สรุปผลการวิจัย

จากการวิเคราะห์ข้อมูล จากแบบทดสอบวัด คุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานายการศึกษา ต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้

1. การทดสอบคุณภาพเบื้องต้น ผู้วิจัยได้

นำาแบบทดสอบวัดลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ สำาหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่สร้างขึ้นจำานวน 89 ข้อไปทดสอบความเที่ยงตรง โดยผู้เชียวชาญ จำานวน 5 ท่าน เป็นผู้พิจารณาความสอดคล้องของ ข้อความ คำาถาม สถานการณ์ แต่ละด้านเป็นราย ข้อ ผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่า ได้

ข้อคำาถามที่สามารถใช้ได้จำานวน 78 ข้อ จึงคัดเลือก ให้เหลือ 72 ข้อ ตามต้องการ ซึ่งทุกข้อผ่านการ พิจารณาตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00

138 ธัญญลักษณ์ จันทร์เปล่ง, สมนึก ภัททิยธนี, ฐิตาภรณ์ เวียงวิเศษ การสร้างแบบทดสอบวัดคุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์...

2. การทดสอบครั้งที่ 1 นำาแบบทดสอบ 4 ฉบับ จำานวน 72 ข้อ ที่ได้มาทดสอบกับกลุ่ม ตัวอย่าง 100 คน มีค่าความยากง่ายตั่งแต่ 0.20 ถึง 0.88 มีค่าอำานาจจำาแนกรายข้อตั้งแต่ 0.05 ถึง 0.50 จึงคัดเลือกเฉพาะข้อที่เข้าเกณฑ์ 27 ข้อ และ ปรับปรุง 18 ข้อ รวมทั้งหมด 45 ข้อ

3. การทดสอบครั้งที่ 2 นำาแบบทดสอบ 4 ฉบับ จำานวน 45 ข้อ ที่ได้มาทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 148 คน มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.88 และ มีค่าอำานาจจำาแนกรายข้อ 0.20 ถึง 0.45 จำานวน 45 ข้อ โดยเป็นข้อที่เข้าเกณฑ์ 39 ข้อ และ ปรับปรุง 6 ข้อ

4. การทดสอบครั้งที่ 3 มีรายละเอียด ดังนี้

4.1 ค่าความยากง่ายรายข้อและค่า อำานาจจำาแนกรายข้อจากการทดสอบครั้งที่ 3 ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน มีค่าความยาก ง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.77 และค่าอำานาจ จำาแนกรายข้อตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.47 จำานวน 4 ฉบับ 45 ข้อ ซึ่งเข้าเกณฑ์ทุกข้อ

4.2 ค่าสถิติพื้นฐานของแบบทดสอบวัด คุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานายการศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำานวน 4 ฉบับ 45 ข้อ ค่าเฉลี่ยของคะแนนแต่ละคุณลักษณะ มีค่าตั่งแต่ 6.53 ถึง 9.02 รวมทั้งฉบับมีค่า 32.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทั้งฉบับมีค่า 5.76

4.3 ค่าความเชื่อมั่นและค่าความคลาด เคลื่อนในการวัด ของแบบทดสอบแต่ละคุณลักษณะ ผลการวิเคราะห์ที่ได้ดังนี้ ค่าความเชื่อมั่นแต่ละ ทักษะมีค่าตั้งแต่ 0.59 ถึง 0.66 และทั้งฉบับมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.69 สำาหรับค่าความคลาด เคลื่อนมาตรฐานในการวัดแต่ละคุณลักษณะมีค่าอยู่

ระหว่าง ±0.93 ถึง ±1.33 ทั้งฉบับมีค่า ±3.21 4.4 ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของ แบบทดสอบวัดคุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อ ทำานายการศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น จากการวิเคราะห์พบว่า แบบ ทดสอบวัดองค์ประกอบร่วมกัน หนึ่งองค์ประกอบ

โดยค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบ ทดสอบในองค์ประกอบมีค่าเรียงลำาดับ ดังนี้ การ สังเกต 0.757 การคำานวณ 0.733 การวิเคราะห์

0.718 และการจินตนาการ 0.677

4.5 เกณฑ์ปกติ (Norms) ขอบแบบ ทดสอบวัดคุณลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ เพื่อทำานาย การศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ต้น รวม 4 ฉบับ 45 ข้อ พบว่ามีค่า T ปกติ ตั้งแต่ 0 ถึง 74 แสดงว่ามีทักษะกระบวนการทางฟิสิกส์พอใช้

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำาผลการวิจัยไปใช้

1.1 แบบทดสอบวัดคุณลักษณะเด่นด้าน ฟิสิกส์ เพื่อทำานายการศึกษาต่อ สำาหรับนักเรียนชั้น มัธยมตอนต้น ที่สร้างขึ้น สามารถนำาไปใช้ประโยชน์

ในการแนะแนวสำาหรับครู การวิเคราะห์ตนเองของ นักเรียนในการใช้ศึกษาต่อ แต่อย่างไรก็ตามควรใช้

ประกอบกับการปฏิบัติงานจริงของนักเรียนด้วย จะ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ระดับความสามารถของ นักเรียนได้ถูกต้องมากขึ้น

1.2 ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนเพิ่มพูนความรู้

ทั้ง 4 ด้าน โดยอาศัยการเรียนการสอนแบบโครง งานเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองทั้งด้าน ความคิดและทักษะการปฏิบัติรวมทั้งใช้แบบ ทดสอบวัดความรู้กันไป จะทำาให้เกิดประสิทธิภาพ มากขึ้น

1.3 เนื่องจากการประเมินผลการ ทดสอบในครั้งนี้ พบว่ามีค่า มีค่า T ปกติ ตั้งแต่ 0 ถึง 74 ถือว่ามีทักษะกระบวนการทางด้านฟิสิกส์

อยู่ในเกณฑ์พอใช้ และมีทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ตำ่ามาก ผู้วิจัยจึงคิดว่าควรจะมีการเพิ่ม การเรียนการสอนด้านการทดลองเพื่อให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม

1.4 แบบทดสอบนี้ผู้ปกครองและ นักเรียนสามารถนำาไปทดลองวัดคุณลักษณะ

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 139 ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน พ.ศ.2561

ลักษณะเด่นด้านฟิสิกส์ได้ และ ยังสามารถนำาแบบ ทดสอบทั้ง 4 ฉบับ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ซึ่งได้แก่

ด้านการสังเกต ด้านการพิจารณา ด้านการคำานวณ และด้านการวิเคราะห์ เมื่อทำาการทดสอบแล้วทราบ ว่าตัวเองมีความบกพร่องด้านใดก็จะสามมารถ ปรับปรุงในด้านนั้นต่อไป

Garis besar

Dokumen terkait