• Tidak ada hasil yang ditemukan

วิธีการด�าเนินการวิจัย

ในการดำาเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้ที่มีส่วนร่วม ในการวิจัยประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่าย กล่าว คือ นักวิชาการศึกษาจากพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม จำานวน 5 คน และนิสิตที่ลงทะเบียน ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภาควิชา ประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำานวน 60 คน 1. ให้ผู้เกี่ยวข้องอ่านเอกสารที่เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์เมืองมหาสารคาม อาทิงานเขียน เรื่อง ประวัติศาสตร์อีสาน โดย เติม วิภาคย์พจนกิจ พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ โดย หม่อมอมร วงษ์วิจิตร ( ม.ร.ว. ปฐม คเนจรฯ) ประวัติศาสตร์ภา คอิสาณและเมืองมหาสารคามและผลงานต่างๆ โดย บุญช่วย อัตถากร

2. ทำาแบบสัมภาษณ์ โดยให้ผู้ที่จะลงสนาม ไปสัมภาษณ์ทำาแบบสัมภาษณ์ถึงเรื่องการขยายตัว ของชุมชนในแต่ละอำาเภอ โดยแบ่งกลุ่มคนไปตาม อำาเภอต่างๆ ประชากรหรือผู้ให้ข้อมูล ปรากฏใน สองลักษณะคือ ผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง และผู้ให้

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 47 ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน พ.ศ.2561

ข้อมูลแบบเสี่ยง ผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงได้เลือก ผู้รู้ในท้องที่ ได้แก่ ครู ข้าราชการ และข้าราชการ บำานาญ ปราชญ์ท้องถิ่น ในการคัดเลือกผู้ให้

ข้อมูลหลัก ผู้วิจัยได้กำาหนดคุณสมบัติไว้คือ มี

ประสบการณ์ในพื้นที่เป็นเวลานาน (ไม่น้อยกว่า สามสิบปี )หรือ มีประสบการณ์ในการบริหารพื้นที่

นั้นๆ หรือ เป็นผู้ที่เคยทำาการศึกษาเรื่องพื้นที่นั้นๆ และเป็นผู้ที่ชุมชนยอมรับว่าเป็นผู้รู้

ในเขตอำาเภอเมือง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่

นางทองเลี่ยม เวียงแก้ว ข้าราชการบำานาญ และ นายธีรชัย บุญมาธรรม ซึ่งท่านแรกเป็นผู้มี

ประสบการณ์ตรงกับเหตุการณ์ในเมืองมหาสารคาม กว่า 90 ปีที่ผ่านมา ส่วนท่านที่สอง เป็นผู้ศึกษาเรื่อง ราวเมืองมหาสารคามอย่างแตกฉาน นอกจากนั้น ยังได้คัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์กับเมือง มหาสารคามในด้านต่างๆ เช่น นายประพิส ทอง โรจน์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นต้น ในอำาเภออื่นๆ ได้เลือกผู้ให้ข้อมูลที่มี

คุณสมบัติและมีประสบการณ์ในพื้นที่ในแต่ละ อำาเภอ อาทิ อำาเภอกันทรวิชัย ได้เลือก นายศีลธรรม รอบวงจันทร์ เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก อำาเภอเชียงยืน ได้เลือก นางเรียน โพธิ์หล้า เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก อำาเภอวาปีปทุม มีนางรัชดา ทองสมบูรณ์ และ นายสมาน ภวภูตานนท์ อำาเภอโกสุมพิสัย คือ นายพรชัย สัจจพงษ์ และนายเคน เจริญราษฎร์

อำาเภอบรบือ คือนางสาวยุวดี ตปนียากร และ นางนงลักษณ์ ศิริเกษมทรัพย์ อำาเภอนาดูน มี

นายประเสริฐ ธนาเดชาวัฒนกูล และนางมะลิ ประ ทีตะนัง อำาเภอพยัคฆภูมิพิสัย มี นายไพรัตน์ แย้ม โกสุม และ นายสมบัติ ทองไกรรัตน์ อำาเภอชื่นชม มี นายกัน จันทะหนู อำาเภอกุดรัง มี นายล้วน มัช ชิมา อำาเภอยางสีสุราช มี นายศร จันทะเสน อำาเภอ แกดำา มี นายสำาเนียง รัตตสนธิกุล และอำาเภอ นาเชือก มี นายปิง แซ่ตั้ง

3. เตรียมทำาเวทีชาวบ้าน โดยให้ผู้ที่จะลง สัมภาษณ์ค้นหาข้อมูลของผู้รู้ในอำาเภอต่าง ๆ เพื่อ จัดเวทีชาวบ้าน

4. ในการสัมภาษณ์ข้อมูลที่ได้ ได้มีการ ตรวจสอบ โดยวิธีการ cross –check และเมื่อได้

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ได้นำามาตรวจสอบกับ ข้อมูลจากเอกสาร ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ หลังจาก นั้น นำาข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบอีกครั้งกับเวทีชาว บ้าน

การศึกษาประวัติศาสตร์การขยายตัวของ เมืองในจังหวัดมหาสารคามอาจแบ่งได้เป็น 5 ยุค นับตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง ปัจจุบัน (ทศวรรษ 2550)

1. ยุคแรก สภาพทั่วไปก่อนตั้งเมือง มหาสารคาม พ.ศ. 2408

บริเวณที่เป็นจังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน เดิมเคยมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้วมาแล้วนับ พันปี จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีผู้คนมา ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคโลหะตอนปลาย หรือประมาณ 2,000 ปีที่ผ่านมา รายงานการขุดค้นที่อำาเภอ กันทรวิชัย รายงานการขุดค้นที่บ้านเชียงเหียน ใน ปี พ.ศ. 2522 พบแคปซูลที่ฝังศพคน ภาชนะดินเผา พวกหม้อไห สำาริด เหล็ก ลูกปัด กระดูกสัตว์ โดย เฉพาะ ควาย (กรมศิลปากร. 2531: 235-238) นอกจากนี้ยังพบพื้นที่ที่มีคูนำ้าคันดินลักษณะรูปวงรี

หรือรูปไข่ บนเนินสูง พบซากเจดีย์ พระพุทธรูปศิลา พระพิมพ์ดินเผา รวมทั้งพระธาตุและพระบรม สารีริกธาตุ ในหลายพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม อาทิ อำาเภอกันทรวิชัย อำาเภอนาดูน อำาเภอเมือง อำาเภอพยัคฆภูมิพิสัย ซึ่งทำาให้ทราบว่าเป็นศิลปะ และวัฒนธรรมสมัยทวาราวดี หรือ ประมาณ 1,200 ปีที่ผ่านมา (กรมศิลปากร. 2531: 46) นอกจาก ศิลปะแบบทวาราวดีแล้วยังพบหลักฐานที่แสดงถึง ศิลปะและวัฒนธรรมแบบเขมรซึ่งมีอายุประมาณ 800 – 1,000 ปีที่ผ่านมา หลักฐานในวัฒนธรรม เขมรที่โดดเด่นได้แก่ โบราณสถานที่เป็นปราสาท หิน หรือ กู่ โบราณสถานเหล่านี้มักเป็นอาคาร ก่อสร้างด้วยหินประเภทต่าง ๆ อาทิ หินทราย ศิลา แลง นอกจากนั้นยังพบรูปเคารพในลัทธิพราหมณ์

ที่พบเสมอ ๆ คือ รูปเคารพในการบูชา พระศิวะ ได้แก่ ศิวะลึงค์ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้า

48 ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ และคณะ การขยายตัวของชุมชนจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2408 – 2560

ชัยวรมันที่ 7 โปรดให้เปลี่ยนมาบูชาพระโพธิสัตว์

ในลัทธิพุทธศาสนา แบบ มหายานแทน ดังนั้นจึง พบรูปเคารพทั้งในลัทธิพราหมณ์ และพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน โบราณสถานที่เป็นที่ทราบกันดีเช่น กู่สันตรัตน์ที่อำาเภอนาดูน กู่บ้านเขวาที่อำาเภอเมือง กู่บัวมาศ ที่อำาเภอบรบือ กู่แก้วที่อำาเภอกันทรวิชัย เป็นต้น (โปรดศึกษาเพิ่มเติมใน อรุณศักดิ์ กิ่งมณี.

2543) และตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา พวก กลุ่มลาวได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานมั่นคงจนตั้งเมือง มหาสารคามขึ้นในปี พ.ศ. 2408 มหาสารคามจึง เป็นดินแดนที่มีผู้คนตั้งหลักแหล่งมานานกว่าสอง พันปี มีทั้งความเก่าและมีวัฒนธรรมหลายยุคสมัย

2. ยุ ค ที่ ส อ ง ก า ร ข ย า ย ตั ว เ มื อ ง มหาสารคามยุคแรก โดยบทบาทของเจ้าเมือง พ.ศ. 2408-2455

เมืองมหาสารคามตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ราชสำานักที่กรุงเทพฯได้แต่งตั้งท้าวกวด บุตรของอุปฮาต (สิงห์) เมืองร้อยเอ็ดให้เป็น พระ เจริญราชเดช เจ้าเมืองมหาสารคามพร้อมกับแบ่ง ไพร่พลประมาณ 9,000 คน (เติม วิภาคย์พจนกิจ.

2542: 180) จากเมืองร้อยเอ็ดมายังเมืองใหม่ เจ้า เมืองมหาสารคามมีหน้าที่ดูแลปกครองผู้คนในเมือง ให้อยู่ในความสงบ เก็บภาษี ตัดสินความ ส่งส่วย ตามความต้องการของกรุงเทพฯ ที่สำาคัญได้แก่ เร่ว ตามที่ปรากฏในสารตรา เจ้าพระยาจักรีฯมาถึงพระ ขัติยวงษา (ธีรชัย บุญมาธรรม. 2558: 38-41) นอกจากนี้ยังต้องส่งกองทัพไปช่วยรบเมื่อราช สำานักที่กรุงเทพฯแจ้งมา ดังกรณีที่พระเจริญราช เดช (กวด) เจ้าเมืองคนแรกและพระพิทักษ์นรากร (อุ่น) ที่นำาผู้คนเมืองมหาสารคามไปร่วมทำาสงคราม ปราบฮ่อ ในช่วงปี พ.ศ. 2418-2419 (เติม วิภาคย์

พจนกิจ. 2542: 184) เจ้าเมืองทั้งสามคน คือ พระ เจริญราชเดช (กวด) (พ.ศ. 2408-2421) พระเจริญ ราชเดช (ฮึง) (พ.ศ. 2422-2443) และ พระเจริญ ราชเดช (อุ่น) (พ.ศ. 2443-2462) ได้สนองพระเดช พระคุณตามนโยบายราชสำานักสยามตลอดมาจน

กระทั่งได้มีพระบรมราชโองการโปรดให้เลิก ตำาแหน่งเจ้าเมืองในปี พ.ศ. 2455 (เติม วิภาคย์พจน กิจ. 2542: 182)

เมื่อแรกตั้งเมืองมหาสารคาม ท้าวมหาชัย (กวด) ได้คิดตั้งเมืองบริเวณที่เป็นเนินสูง คือบริเวณ ที่เป็นโรงเรียนหลักเมืองในปัจจุบัน โดยได้ลงเสา หลักเมืองไว้และหวังว่าเมืองจะขยายไปจนจรดเส้น ทางทางนำ้าธรรมชาติ กล่าวคือ ทางทิศตะวันตกจด ห้วยคะคาง ส่วนทางทิศตะวันออกจะขยายเมืองมา ถึงบริเวณที่เป็นกุดนางใยและหนองกระทุ่ม ประมาณ 6 เดือนต่อมาท้าวมหาชัย (กวด) พบว่า บริเวณดังกล่าวเป็นที่ดอน ขาดแคลนนำ้าจึงหาที่ตั้ง เมืองใหม่ (บุญช่วย อัตถากร. 2522 :70) โดยย้าย ที่ตั้งไปทางทิศตะวันออกคือบริเวณกุดนางใย และ หนองกระทุ่ม ซึ่งมีชุมชนจำานวนหนึ่งตั้งบ้านเรือน บริเวณแถบนี้อยู่ก่อนแล้ว ส่วนที่อาศัยเดิมนั้นต่อมา ได้สร้างวัดขึ้นแทน คือ “วัดดอนเมือง” แต่ชาวเมือง เรียกว่า “วัดเข้าเฮ่า” และต่อมากลายเป็น วัดธัญญา วาส ในปัจจุบัน ดังนั้นความเจริญของมืองมหาสาร คามระยะแรกๆ จึงเริ่มจากบริเวณกุดนางใยจนถึง หนองกระทุ่ม และทิ้งที่ตั้งเดิมบริเวณศาลหลักเมือง เป็นป่าทึบอยู่เป็นเวลานาน ((นางทองเลี่ยม เวียง แก้ว. 2557 : สัมภาษณ์)

ชุมชนใหม่ของเมืองมหาสารคามอยู่บริเวณ กุดนางใยจนถึงบริเวณทางทิศเหนือของหนองก ระท่ม หรือหนองท่ม หรือหนองกระทุ่มซึ่งเป็นที่ตั้ง วัดโพธิ์ศรีในปัจจุบัน (วัดโพธิ์ศรีสร้างขึ้นในปี พ.ศ.

2425 สมัยของพระเจริญราชเดช (ฮึง) เจ้าเมือง มหาสารคามคนที่สอง พ.ศ. 2422-2443) โดยทั่วไป ชุมชนอาศัยอยู่เป็นคุ้มโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง พระ เจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองคนแรกได้สร้างวัด หลายแห่ง ได้แก่ วัดกลาง หรือ วัดอภิสิทธิ์ (ชื่อ

“อภิสิทธิ์” เป็นนามของหลวงอภิสิทธิ์มหาสารคาม นายอำาเภอคนแรกของเมืองมหาสารคาม) ตั้งอยู่

บริเวณฝั่งตะวันตกกุดนางใย และวัดเหนือ (วัด มหาชัย) บริเวณหนองกระทุ่มทางทิศเหนือ (คุ้มวัด โพธิ์ศรีปัจจุบัน) เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ คุ้ม

Garis besar

Dokumen terkait