• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

1. งานวิจัยในประเทศ

พัชนี เจียระผกานนท์ (2558) ได้ศึกษา การใช้สื่อสังคมด้วยเทคนิคการสร้างความคิด ใหม่ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์

เพื่อ 1) พัฒนาการเรียนบนสื่อสังคมด้วยเทคนิคการสร้างความคิดใหม่ ( SCAMPER) ที่พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ให้มีคุณภาพพร้อมทั้งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนผ่านสื่อสังคมด้วยเทคนิคการสร้าง ความคิดใหม่ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อสังคมด้วยเทคนิคการสร้างความคิด ใหม่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดศีลขันธาราม

74 (วิทยาคม) จังหวัดอ่างทอง ที่ก าลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการสุ่ ม แบบกลุ่ม จ านวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อสังคมด้วยเทคนิคการสร้างความคิดใหม่

เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ แบบประเมินคุณภาพสื่อสังคมด้วยเทคนิคการสร้างความคิดใหม่

แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินผลงานของผู้เรียนโดยการให้

คะแนนแบบรูบริค และแบบสอบถามความพึงพอใจส าหรับนักเรียน พบว่า 1) สื่อสังคมด้วยเทคนิค การสร้างความคิดใหม่ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพอยู่

ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.27/82.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) คะแนน ทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังจากการเรียนผ่านสื่อสังคมด้วยเทคนิคการสร้างความคิด ใหม่ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนผ่านสื่อสังคมด้วยเทคนิคการสร้างความคิดใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด

ภัสสร ติดมา (2558) ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ระบบร่างกาย มนุษย์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จ านวน 48 คน ของโรงเรียนอุดรมดรุณี จังหวัดสุโขทัย เครื่องมือที่ใช้

ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ 3) แผนการ จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีกระบวนการ จัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตั้งค าถาม ขั้นจิตนาการ ขั้นวางแผน ขั้นสร้าง และขั้นปรับปรุง โดย มุ่งเน้นให้นักเรียนสร้างชิ้นงาน ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบเชิง วิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ โดยนักเรียนได้

คะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 79 ขึ้นไป ซึ่งมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพิ่มสูงขึ้น ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมแผนการเรียนรู้ใหม่

มีนกาญจน์ แจ่มพงษ์ (2559) ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษาโดย การสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง พลังงานรอบตัวเรา พบว่า การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนา ชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องพลังงานรอบตัวเรา (2) วัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์จากการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะและ (3) ศึกษาระดับความสามารถใน การสร้างสรรค์ชิ้นงานหลังจากที่ได้เรียนจากการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ านวน 26 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษา เพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องพลังงานรอบตัวเรา (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์เป็นแบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบจ านวน 10 ข้อ (3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สถิติที่ใช้

ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษาโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องพลังงานรอบตัวเรา เป็นการ

75 เรียนรู้แบบบูรณาการหลายวิชากับกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้ง 5 ศาสตร์ คือ (1.1) วิทยาศาสตร์

ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟูา การเปลี่ยนรูปพลังงาน การเสียดสีของพื้นผิว (1.2) เทคโนโลยี ด้านการใช้อุปกรณ์ การยึดติดตั้งอุปกรณ์อย่างแม่นย าและปลอดภัย (1.3) ศิลปะ ด้านการ ผสมสี การตกแต่ง ความสวยงามของผลงาน (1.4) วิศวกรรม ด้านการวางแผนสร้างสรรค์ชิ้นงานและ แก้ไขปัญหาตามกระบวนการทางวิศวกรรม (1.5) คณิตศาสตร์ ด้านการค านวณระยะทาง เวลา การคาดคะเน โดยชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 80.76/81.52 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความสามารถ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะพบว่านักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์

ชิ้นงานอยู่ในระดับดี

บุญลอย มูลน้อย และคณะ (2559) ได้วิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่เพิ่มทักษะการคิดสร้างสรรค์

ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟูาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ส าหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟูาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟูา 3) เปรียบเทียบความคิด สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตาม แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) และ 4) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เรื่อง 5 วงจรไฟฟูา ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟูามีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.64/80.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟูา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด

สุชานาฏ สุวรรณพิบูลย์ (2559) ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ STEM Education เรื่อง บ้านพักเชิงนิเวศ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ STEM Education เรื่อง บ้านพักเชิงนิเวศ ส าหรับนักเรียน

76 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย หน่วยการเรียนรู้ STEM Education เรื่อง บ้านพักเชิงนิเวศ และ 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการ คิดสร้างสรรค์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้ STEM Education เรื่อง บ้านพักเชิงนิเวศ ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้ STEM Education เรื่อง บ้านพัก เชิงนิเวศ ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เท่ากับ 82.35/84.10 2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกวาก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

ที่ระดับ .01