• Tidak ada hasil yang ditemukan

7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

7.2 งานวิจัยต่างประเทศ

การบริหารจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีที่มาและความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเนื้อหาจาก การศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

1. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นนโยบายส าคัญของรัฐบาล ซึ่ง ก าหนดให้มี “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ โดยริเริ่ม ให้มีโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor: EEC) เป็นยุทธศาสตร์ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นการต่อยอด ความส าเร็จของแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) ซึ่งได้ด าเนินการ มาแล้วกว่า 30 ปี มีส านักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ) เป็น ผู้รับผิดชอบ ก าหนดเป้าหมายไว้เพื่อการเติมเต็มภาพรวมการส่งเสริมการลงทุน ยกระดับ อุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และท าให้เศรษฐกิจของไทยเติบโต ได้ในระยะยาว ในระยะแรกยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัด คือชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็น พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่รองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ บริหารจัดการ ภายใต้การก ากับดูแลของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก (คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, 2560) ในปัจจุบันมี

ความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ตราพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.

2561 เป็นกฎหมายหลักและน าสู่การปฏิบัติต่อไป (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135. 2561, น. 1) รัฐบาลก าหนดให้มีเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC: Eastern Economic Corridor) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ส าคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสามารถ แก้ไขปัญหาและออกจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มุ่งสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วและมี

รายได้สูง ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560 เห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนาก าลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560-2564) ให้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดท าแผนบูรณาการการพัฒนาบุคลากร เพื่อ เป็นการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคตของประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้ง ในส่วนของภาครัฐและเอกชน ให้ครอบคลุมการศึกษาทั้งระบบ ให้เห็นความเชื่อมโยงของแผนงาน และโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาก าลังคนกับเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาของ แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจฯ (พ.ศ.2560-2564) และยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี

(พ.ศ.2561-2580) รวมทั้งให้ส่งยุทธศาสตร์พัฒนาก าลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาค

ตะวันออก (พ.ศ.2560-2564) ให้แก่คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติทราบ เพื่อเป็นข้อมูล ประกอบพิจารณาด าเนินการเกี่ยวกับการเตรียมการยุทธศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

สาระส าคัญของยุทธศาสตร์พัฒนาก าลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560 -2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและพัฒนาก าลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพและ มาตรฐานสากล รองรับการพัฒนาของเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนให้มีความรู้ มีทักษะนิสัยอุตสาหกรรม มี

คุณธรรมจริยธรรม และมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องการประกอบ อาชีพและการด ารงชีวิตในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ส่งเสริมร่วมมือกับสถานประกอบการ และประชาสังคมในรูปแบบประชารัฐ เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดอาชีวศึกษาในทุกมิติ ให้

สอดคล้องกับบริบทของภาคการผลิตและบริการใน EEC เพิ่มขีดความสามารถของคณาจารย์ ครู

และ บุคลากรทางการศึกษา ครูฝึกในสถานประกอบการ และเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอน สอดคล้องกับการพัฒนาภาคการผลิตและบริการตามนโยบายประเทศไทย 4.0 อันประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการอาชีวศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตและพัฒนาก าลังคนระดับอาชีวศึกษาการวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพก าลังคนด้านอาชีวศึกษาทุกช่วงวัยและการ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันด้าน อาชีวศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสอน การแนะน า ทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อสร้างการ เติบโตของคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การขับเคลื่อนธุรกิจเศรษฐกิจ ประเทศ ด้วยงานวิจัยทุกระดับ เพื่อ ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการจัดการบริหารจัดการภาครัฐ

ประกาศส านักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.

2561 - 2580) (2562, p. น. 216) ได้ก าหนดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และเกี่ยวข้อง โดยตรงกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไว้ว่า นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นการ วางจุดยืนของประเทศไทยส าหรับการพัฒนาระยะยาว ตอบสนองต่อความท้าทายภายในประเทศ และระดับโลก การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นต้นแบบการ

พัฒนาเชิงพื้นที่ที่สมบูรณ์แบบ ช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่

ระดับประเทศพัฒนาโดยเร็วที่สุด ปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศ กระจายความเจริญออกสู่

พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูงเป็นฐานการสะสม เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง และมีศักยภาพในการ แข่งขันสูงให้สอดรับกับบริบทโลกบนฐานกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ น่าอยู่ และมีความทันสมัยระดับ นานาชาติและสามารถประกอบกิจการอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะท าให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถ ในการแข่งขันสูงขึ้นและยกระดับการพัฒนาแบบก้าวกระโดด เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ ประเทศไทยในฐานะประตูของภูมิภาคเอเชีย โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภคที่ส าคัญเพื่อให้

สามารถท างานได้อย่างรวดเร็ว และต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานทุกระบบให้เชื่อมโยงเข้าสู่พื้นที่

เศรษฐกิจ เพื่อรองรับความต้องการลงทุน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

2. พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินหลักของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับสินค้า และประสิทธิภาพการบริหารจัดการของท่าเรือแหลม ฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือสัตหีบ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย

3. ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ รวมทั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ พิเศษเพื่อให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ให้

สามารถสร้างเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง เกิดการสะสมทุนทางเทคโนโลยีในเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออกและในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

4. พัฒนาศักยภาพและคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว ทั้งเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เชิงนิเวศและอนุรักษ์เชิงสุขภาพ แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวิทยาการ แหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสร้างใหม่ พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาเส้นทางกิจกรรมท่องเที่ยว จัดพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ จัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างบรรยากาศที่ดี

ส าหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ทั้งสามจังหวัดของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

5. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ส าหรับการท า วิจัยต่อยอดเพื่อขยายผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และศูนย์บริการ รวมทั้งจัดท าหลักสูตรการเรียนการสอนและฝึกอบรม ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นแหล่ง

สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบของ ภูมิภาคอาเซียน

6. พัฒนาเมืองในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ที่มีความน่า อยู่และทันสมัยระดับนานาชาติ เป็นกลไกส าคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนและเศรษฐกิจ สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณและแผนการลงทุนตามยุทธศาสตร์

เพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชั้นน าของ อาเซียน และส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ด าเนินการในจังหวัดชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา แผนงานพัฒนาประกอบด้วย1) แผนงาน พัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ 2) แผนงานพัฒนาคมนาคมและโลจิสติกส์ 3) แผนงานพัฒนาเมือง ระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมเมืองท่องเที่ยว และการบริหารจัดการ รวม 173 โครงการ ใน กรอบวงเงินลงทุนรวม 712,645 ล้านบาท ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการวางแผนพัฒนา ก าลังคนให้มีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ EEC เน้นการเพิ่มขีดความสามารถครู บุคลากรทางการศึกษา และครูฝึกในสถานประกอบการ ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง Super Cluster/ Cluster New Engine of Growth เน้นหลักสูตร เชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน น านวัตกรรมการสอนใหม่ ๆ มา ปรับใช้เพิ่มหลักสูตรทักษะเฉพาะทาง ต่อยอดทักษะก าลังคนในสถานประกอบการ ให้มีทักษะ อาชีพสอดคล้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 ซึ่งผู้ประกอบการต้องการบุคลากรด้าน อาชีวศึกษาสูงมากในอนาคต

นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนาก าลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกระดับภาค 1 ศูนย์ และระดับจังหวัด 3 ศูนย์ เพื่อให้เป็นศูนย์อ านวย ความสะดวกด้านก าลังคน เพื่อรองรับปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การสร้าง เครือข่ายด้านการอาชีวศึกษา และพัฒนาทักษะฝีมือในภูมิภาคอาเซียนตามมาตรฐานสากล เพื่อ รองรับ EEC

1.1 อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ

อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษที่มีศักยภาพเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New-Growth Engine) ของประเทศเพื่อสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ (ส านักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (2560)