• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทบาทครูและนักเรียนจากการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี

Based AR) ซึ่งสามารถใช้ภาพสัญลักษณ์ของบทเรียนหรือ Maker มาส่องผ่านหน้ากล้องของ อุปกรณ์ ที่รองรับทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเลต โดยเมื่อกล้องจับภาพสัญลักษณ์ได้ ตัวโปรแกรมก็จะ สะท้อนภาพกราฟิกปรากฏขึ้นมาให้ผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์กับภาพเหล่านั้นได้ โดยจะเชื่อมโยง ไปยังสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของการให้ค าอธิบายประกอบภาพเคลื่อนไหว ผ่านเว็บไซต์ยูทูบ (Youtube) , เฟซบุ๊ก (Facebook) , หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รวมถึง Google form ใน ลักษณะของแบบฝึกหัดและเกมออนไลน์ในรูปแบบข้อสอบ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการ ท างานของแอปพลิเคชันและองค์ประกอบภายในบทเรียน ดังปรากฏในภาพที่ 11-14 ตามล าดับ

ภาพประกอบ 11 โครงสร้างการท างานของแอปพลิเคชัน Vidinoti

ภาพประกอบ 12 โครงสร้างการท างานโดยภาพรวมของแอปพลิเคชัน Vidinoti

ภาพประกอบ 13 องค์ประกอบรายละเอียดของบทเรียน

ภาพประกอบ 14 รูปแบบการแสดงผลรายละเอียดของบทเรียน จากสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม

จากภาพข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า สื่อการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งในส่วนของการเรียนรู้และประเมินผล ซึ่งต่างจากสื่อ อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องกระท าการในแต่ละขั้นตอนแบบแยกส่วน โดยอาจสร้างความสับสนให้

เกิดแก่ตัวผู้เรียนได้ ในขณะที่สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมนั้น

รูปแบบการแสดงผลรายละเอียดของบทเรียน จากสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี

ความเป็นจริงเสริม

รูปแบบการแสดงผล

ส่วนที่ 1-2 เป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์การเรียนรู้

และผู้เรียนด าเนินการศึกษารายละเอียดของ บทเรียน โดยใช้รูปแบบการน าเสนอข้อมูล ใน ลักษณะของการให้ค าอธิบายประกอบภาพนิ่งและ ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อ เชื่อมโยงสู่การท าความเข้าใจมโนทัศน์

รูปแบบการแสดงผล

ส่วนที่ 3 ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความรู้ความ เข้าใจของตนเองจากข้อค าถามของแบบทดสอบ หรือแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับมโนทัศน์ทาง ภูมิศาสตร์ในรูปแบบเกมออนไลน์หรือเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งหากผู้เรียนมีข้อค าถามเพิ่มเติมสามารถ ปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้ทันที (Real time) โดย ผู้สอนจะรวบรวมข้อค าถามนั้นมาอภิปรายร่วมกัน ในชั้นเรียน หรือหากมีข้อเสนอแนะจากการใช้สื่อ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมก็สามารถแสดง ความเห็นเข้ามายังระบบได้

ผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์กับภาพกราฟฟิกได้

โดยการคลิก (Click) ไปยังภาพเหล่านี้

เพื่อเข้าถึงเนื้อหาในส่วนต่าง ๆ ของบทเรียน

มีแนวทางการออกแบบและพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ง่ายผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นล าดับขั้น ที่ชัดเจน ซึ่งมีส่วนช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ รวมถึงการท ากิจกรรมต่าง ๆ ด าเนินไปอย่างเป็น ระบบ

การออกแบบลักษณะของการวัดและประเมิน ในการวิจัยนี้ได้ท าการวัดและการ ประเมินทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเรียน เพื่อชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการน าสื่อการเรียนรู้ด้วย ตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมมโน ทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของผู้เรียน ซึ่งในช่วงของการประเมินก่อนและหลังเรียนนั้น ได้ออกแบบข้อ ค าถามตามหลักการพัฒนามโนทัศน์ ซึ่งมีระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ ตั้งแต่การจ าแนกประเภท ค า จ ากัดความ และสรุปหลักการ ที่ครอบคลุมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ ทั้งในเรื่องของที่ตั้ง สถานที่

ความสัมพันธ์ภายในพื้นที่ การเคลื่อนย้าย และภูมิภาค ส่วนการประเมินระหว่างเรียน ได้เน้น ออกแบบวิธีวัดและประเมินผลในลักษณะแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ของแต่

ละบทเรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังปรากฏในภาคผนวก จ

2.3 ขั้นการพัฒนา (D : Development) เป็นขั้นตอนของการพิจารณาและตรวจสอบ คุณภาพของสื่อการเรียนรู้ ซึ่งครอบคลุมการสร้างเนื้อหา การล าดับขั้นการเรียนรู้ รูปแบบการ น าเสนอ รวมถึงการวัดและประเมินของสื่อการเรียนรู้ เพื่อน าข้อผิดพลาดไปปรับปรุงและพัฒนา แก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ได้ผ่านการ พิจารณาและประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญจ านวน 3 ท่าน ซึ่งใช้แบบประเมินคุณภาพ ของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม โดยพิจารณาค่าดัชนีความ สอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ในเรื่องของจุดประสงค์การเรียนรู้

สาระการเรียนรู้ รวมถึงรูปแบบวิธีการน าเสนอเนื้อหา ตลอดจนข้อบกพร่องต่าง ๆ เพื่อน ามา ปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีประเด็นการประเมินดังนี้

1) กระตุ้นความสนใจให้เกิดการใฝ่รู้ในเรื่องที่เรียน

2) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ /กระตุ้นกระบวนการคิดของนักเรียน 3) มีวิธีการที่หลากหลายในการน าเสนอเนื้อหาของบทเรียน

4) สามารถน ามาประยุกต์ใช้ได้ ทั้งในการจัดการเรียนการสอนแบบ Online/Onsite 5) สื่อมีความทันสมัย เหมาะส าหรับน ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้

6) รูปแบบของสื่อมีความสะดวก ส าหรับใช้ศึกษาเรียนรู้และทบทวนเนื้อหาได้ด้วย ตนเอง

7) รูปแบบของสื่อเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด 8) เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้

9) สามารถเข้าถึงบทเรียนได้ โดยไร้ข้อจ ากัดในเรื่องของสถานที่และเวลา 10) สื่อที่น ามาใช้เน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ที่เป็นรูปธรรมทางความคิด

โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ใช้

เกณฑ์พิจารณาดังนี้

+1 หมายถึง แน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องและเหมาะสม 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องและเหมาะสม -1 หมายถึง แน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความสอดคล้องและเหมาะสม จากที่กล่าวมาข้างต้นพบว่า ผลการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละองค์ประกอบมีค่า IOC ตั้งแต่ระดับ 0.67 – 1.00 ซึ่งมีรายละเอียดดังปรากฏในภาคผนวก ค

2.4 ขั้นการน าไปใช้ (I : Implementation) และ ขั้นการประเมิน (E : Evaluation)

เมื่อปรับปรุงแก้ไขตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญแล้ว จากนั้นจึงน าไปทดลองใช้กับ นักเรียนรายบุคคล (Individual Tryout) และกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) รวมถึงในรูปแบบ ภาคสนาม (Field Tryout) ของโรงเรียนสังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดพัทลุง ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมให้มีประสิทธิภาพ (ชัยยงค์ พรมวงศ์, 2556, น.14) อ้างถึงใน มาเรียม นิลพันธุ์ (2558, น. 249) โดยการหาค่าประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี

ความเป็นจริงเสริมนั้น มีขั้นตอนดังรายละเอียดต่อไปนี้

1) หาค่าประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แบบรายบุคคล (Individual Tryout) ได้ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 จ านวน 3 คน ที่มีระดับความสามารถ เก่ง ปานกลาง และอ่อน อย่างละ 1 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากการจับสลากโดยใช้ระดับความสามารถของนักเรียนเป็นหน่วย สุ่ม ซึ่งให้ผู้เรียนทดลองใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แล้วน า คะแนนที่ได้จากการท าแบบฝึกหัดในแต่ละบทระหว่างเรียนมาค านวณค่าประสิทธิภาพ ได้ค่า E1 และคะแนนจากการท าแบบทดสอบหลังเรียนมาค านวณค่าประสิทธิภาพ ได้ค่า E2 และปรับปรุง แก้ไข

2) หาค่าประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) ได้ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จ านวน 9 คน ที่มีระดับความสามารถ เก่ง ปานกลาง และอ่อน อย่างละ 3 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากการจับสลากโดยใช้ระดับความสามารถของนักเรียนเป็นหน่วย สุ่ม ซึ่งให้ผู้เรียนทดลองใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แล้วน า คะแนนที่ได้จากการท าแบบฝึกหัดในแต่ละบทระหว่างเรียนมาค านวณค่าประสิทธิภาพ ได้ค่า E1 และคะแนนจากการท าแบบทดสอบหลังเรียนมาค านวณค่าประสิทธิภาพ ได้ค่า E2 และปรับปรุง แก้ไข

3) หาค่าประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แบบภาคสนาม (Field Tryout) ได้ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จ านวน 29 คน ที่มี

ระดับความสามารถ เก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกัน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ซึ่งให้ผู้เรียนทดลองใช้สื่อการ เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แล้วน าคะแนนที่ได้จากการท าแบบฝึกหัดใน แต่ละบทระหว่างเรียนมาค านวณค่าประสิทธิภาพ ได้ค่า E1 และคะแนนจากการท าแบบทดสอบ หลังเรียนมาค านวณค่าประสิทธิภาพ ได้ค่า E2

จากรายละเอียดข้างต้นพบว่า การก าหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระท าได้โดยการ ประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ส่วนคือ พฤติกรรมต่อเนื่อง ซึ่งก าหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E1

= Efficiency of Process (ประสิทธิภาพของกระบวนการ) และพฤติกรรมสุดท้าย ได้ก าหนดค่า ประสิทธิภาพเป็น E2 = Efficiency of Product (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์) โดยได้ก าหนดค่า ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมไว้ที่เกณฑ์ 80/80 ซึ่ง สามารถแปลความหมายในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ (ชัยยงค์ พรมวงศ์ และคณะ, 2556, น. 8)

80 ตัวแรก (E1) หมายถึง ค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 ของคะแนนที่นักเรียนท าได้จาก แบบทดสอบระหว่างเรียน โดยการน าสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของผู้เรียน

80 ตัวหลัง (E2) หมายถึง ค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 ของคะแนนที่นักเรียนท าได้จาก แบบทดสอบหลังเรียน โดยการน าสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เข้า มามีบทบาทในการส่งเสริมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของผู้เรียน