• Tidak ada hasil yang ditemukan

ปรับวิธีการท างานเข้ากับสถานการณ์

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. ปรับวิธีการท างานเข้ากับสถานการณ์

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด าเนินมาจนถึงจุดที่จ านวนผู้ติดเชื้อ ลดลงสามารถควบคุมปริมาณผู้ป่วยในแต่ละวันได้ ส่งผลให้การจัดสรรอัตราก าลังผู้ปฏิบัติงานเริ่ม มีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ปกติ พยาบาลวิชาชีพเกิดการเรียนรู้ มีทักษะ ความมั่นใจและ ความช านาญในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น เชื่อมั่นในการปฏิบัติตัวตามแนวทางการป้องกันการ แพร่กระจายเชื้อโรค และแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ดังค ากล่าวที่ว่า

“ตอนแรกที่กลัว เพราะมันเป็นของใหม่ แต่เวลามันจะช่วยเรา เรารู้สึกว่า เฮ่ย มัน ไม่ได้น่ากลัวนะ ช่วงแรกฝั่ง ICU เขาเป็นคนรับ เราก็ได้คุยกับเขา เขาอยู่กันเป็นเดือนเขาก็ไม่ติด นะ เราก็เลยไม่กลัว ก็เลยรู้สึกว่าเวลาเป็นตัวช่วยส าหรับเราไม่ให้กลัว” (พยาบาลคนที่ 2)

“การดูคนไข้ก็เคยมีประสบการณ์ดูแลคนไข้โรคทางเดินหายใจสมัยอยู่อายุรกรรม หญิงมาก่อนแล้ว ก็ป้องกันตัวเองให้ดีแบบนั้นมากกว่า” (พยาบาลคนที่ 3)

“เจอทุกวัน จนไม่กลัว ท าทุกอย่างตามขั้นตอน ชินไปแล้ว เพราะมันก็ต่อเนื่องมาซัก พักแล้วอ่ะ กลัวลดลง แบบว่าใส่อุปกรณ์ป้องกันทุกอย่างเต็มที่ ถอดให้ถูกวิธี ล้างมือบ่อยจนมือ แห้งแต่แลกกับความปลอดภัย กลับห้องรีบอาบน ้าสระผม แล้วทุกคนในที่ท างานก็เคร่งครัดจริงๆ ไม่มีใครติดนะ เลยมั่นใจเรื่องการป้องกัน” (พยาบาลคนที่ 5)

การปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตามแนวทางที่หน่วยงานวางไว้ ช่วยให้พยาบาล วิชาชีพเกิดการเรียนรู้ทักษะและประสบการณ์จากสถานการณ์จริง มีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย มากขึ้น ความกลัวและความวิตกกังวลต่อการติดเชื้อและการเป็นพาหะแพร่เชื้อสู่สมาชิกครอบครัว ลดลง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้พยาบาลวิชาชีพกล้าเผชิญกับการปฏิบัติงานในลักษณะใกล้เคียงได้

อย่างมั่นใจ

ตอนที่ 2.4 แก่นประสบการณ์การท างานภายใต้พลวัตของโรคโควิด-19

การค้นหาแก่นประสบการณ์การสร้างสมดุลงานและชีวิตของพยาบาลวิชาชีพครั้งนี้

ผู้วิจัยใช้แนวทางการศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา แบบอุตรวิสัยในการท าความเข้าใจ ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพ และท าการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางของมุสทากัส (Moustakas) 4 ขั้นตอน ได้แก่ การขจัดความคิดล่วงหน้า (Bracketing) การลดทอนประสบการณ์

(Phenomenological Reduction) การจินตนาการที่แตกต่าง (Imaginative Variation) และการ สังเคราะห์ข้อมูล (Synthesis) ซึ่งผู้วิจัยใช้กระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนตามแนวทางวิเคราะห์ข้อมูลใน การค้นหาแก่นประสบการณ์การท างานของพยาบาลวิชาชีพ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พยาบาลวิชาชีพมีการปรับตัวบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองทั้งในส่วนของ บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบต่อบทบาทการดูแลสมาชิก ครอบครัว ถึงแม้การท าหน้าที่ทั้ง 2 บทบาทจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน แต่ทั้ง 2 บทบาทถูก ก าหนดให้ด าเนินภายใต้บริบทสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการ ด ารงวิถีชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ต้องมีการปรับตัวเพื่อสร้างสมดุลชีวิตระหว่างความรับผิดชอบ ต่องานและความรับผิดชอบต่อครอบครัว

จากประสบการณ์การท างานภายใต้พลวัตของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการแพร่

ระบาด ด าเนินมาถึงช่วงที่มีการแพร่ระบาดหนัก และเข้าสู่ช่วงที่สามารถควบคุมความรุนแรงของ โรคได้ ท าให้ค้นพบแก่นประสบการณ์การสร้างสมดุลงานและชีวิตของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่

ไม่แปรเปลี่ยนไปตามบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป คือ การปรับตัวต่อความรับผิดชอบ โดย แบ่งความรับผิดชอบในการปรับตัวออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ การปรับตัวต่อความรับผิดชอบในการ ปฏิบัติงานพยาบาล และการปรับตัวต่อความรับผิดชอบในการดูแลสมาชิกครอบครัว โดยการ น าเสนอแต่ละด้าน ดังนี้

1. การปรับตัวต่อความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานพยาบาล

การปฏิบัติหน้าที่พยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยและการปฏิบัติในสิ่งที่หัวหน้างาน มอบหมาย คือความรับผิดชอบในฐานะผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาศัยความรู้และทักษะการปฏิบัติตามที่

ศึกษามา รวมถึงการประยุกต์ใช้ประสบการณ์การท างานในอดีตดูแลผู้ป่วยในปัจจุบัน การ ปฏิบัติงานภายใต้พลวัตของโรคโควิด-19 เป็นสถานการณ์หนึ่งที่ส่งผลให้พยาบาลเกิดการปรับตัว ในการท างาน ตั้งแต่การทบทวนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ การใช้งานอุปกรณ์

ป้องกันส่วนบุคคลที่ท าให้รู้สึกไม่สุขสบาย ความกลัวต่อการติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ในหน่วยงาน และความวิตกกังวลต่อการเป็นพาหะแพร่เชื้อสู่สมาชิกครอบครัว ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น สิ่งที่พยาบาลวิชาชีพประสบและเกิดการปรับตัวโดยยึดถือความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมาย และการตระหนักคุณค่าวิชาชีพเป็นหลักส าคัญ ดังค ากล่าวที่ว่า

“คุณค่าหรือความส าคัญเหรอ อืม ก็คือการท าตามหน้าที่อ่ะ เราดูแลคนไข้ เราจะ หยุดดูแลคนไข้ไม่ได้ คนไข้มาหาเราที่โรงพยาบาล เราจะหยุดไม่ดูแลแค่เพราะมีโควิดระบาดก็

เป็นไปไม่ได้ คนไข้ไม่สบายเขาก็ยังต้องการการดูแลจากเรา ก็หยุดไม่ได้นะ” (พยาบาลคนที่ 3)

“มันเป็นหน้าที่อ่ะ ยังไงก็ต้องท า ต่อให้คุณอึดอัด แต่ถ้ามันเป็น assign คุณก็ต้องท า คิดอย่างนี้นะ ยังไงงานก็เป็นหน้าที่ ถ้ายังรับราชการอยู่ก็ต้องท าตามหน้าที่ ต่อให้เหนื่อย หนักแค่

ไหนก็ต้องท าให้ได้อ่ะ เพราะมันเป็นความรับผิดชอบของเรา อาจจะต้องให้เวลากับมันนิดนึง เราก็

พยายามท าให้มันดีที่สุดเวลาที่เราท าอ่ะ อย่างเราขึ้นเวรก็ท าให้เรียบร้อยที่สุดไม่ให้เป็นภาระต่อไป ที่เราจะต้องแก้ไขทีหลัง” (พยาบาลคนที่ 4)

นอกเหนือจากการปรับตัวของพยาบาลวิชาชีพที่ยึดมั่นต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมายจาก หัวหน้างานแล้วนั้น การเรียนรู้ประสบการณ์การท างานจนสามารถก้าวผ่านความกลัวต่อการติด เชื้อจากการดูแลผู้ป่วยส่งผลให้เกิดมุมมองที่น าไปสู่การเปิดรับประสบการณ์ใหม่ และเกิดการ ปรับตัวต่อความรับผิดชอบหน้าที่ใหม่ๆ ที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ดังค ากล่าวที่ว่า

“ตอนแรกที่กลัว เพราะมันเป็นของใหม่ แต่เวลามันจะช่วยเรา พอเราเจอเคสเยอะขึ้น เยอะขึ้น เรารู้สึกว่า เฮ่ย มันไม่ได้น่ากลัวนะ ช่วงแรกฝั่ง ICU เขาเป็นคนรับ เราก็ได้คุยกับเขา เขา อยู่กันเป็นเดือนเขาก็ไม่ติดนะ สิ่งที่ดีขึ้นคือเราไม่กลัวแล้ว ตอนนั้นสมัครไปโรงพยาบาลสนามนะที่

สมุทรสาครอ่ะ ไม่ได้กังวลอะไรมากก็เลยสมัคร” (พยาบาลคนที่ 2)

“เราเต็มใจจะไปช่วยนะ แล้วก็เพราะว่าเอาแค่ 1 คนไปช่วยไง ถามว่าท้าทายมั้ย ท้า ทาย เพราะไม่เคยเจอเคสแล้วก็ต้องเจอ ตื่นเต้นมั้ย ตื่นเต้นตรงที่ว่ามีน้องค่อนข้างเยอะ พี่เป็นพี่ที่

ต้อง manage เอง มีปัญหาพี่ต้องแก้ไขเอง สถานการณ์โควิดเราเป็นหนึ่งในตัวแทนของวอร์ดที่ได้

ไปช่วยเขา เพราะว่าเราเป็นพี่สุดที่จะได้ไปเทรนน้อง แล้วก็ให้น้องๆ ได้มาฝึกกับเรา ได้ช่วยเหลือ คนที่เป็นโควิดที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจนอกเหนือจาก ICU มาที่ intermediate cohort” (พยาบาล คนที่ 6)

ในส่วนของเวลาการท างานของพยาบาลวิชาชีพ เป็นสิ่งที่พยาบาลวิชาชีพมีการปรับตัว อยู่เสมอตามตารางงานที่ก าหนดเนื่องจากผู้ป่วยต้องการการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ระบบงานจึง เป็นการหมุนเวียนมอบหมายความรับผิดชอบหน้าที่แก่พยาบาลในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสถานการณ์

ช่วงการแพร่ระบาดหนักของโรคโควิด-19 ส่งผลให้อัตราก าลังในการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ พยาบาลต้องปฏิบัติงานในวันหยุด หรือเลิกงานล่าช้ากว่าสถานการณ์ปกติซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยน แผนจากที่ได้วางไว้ก่อนหน้า ดังค ากล่าวที่ว่า

“ช่วงนั้นโควิด มันก็จะเยอะ แล้วเสร็จที่ศูนย์มีโควิดเนี่ย คนไข้ก็จะต้องไปฟอกที่ไต 1 วันหนึ่งเราก็ต้องเอาเจ้าหน้าที่ของเราเนี่ยคนไข้เราเป็น เราก็ต้องไปฟอกคนไข้โควิด ที่ไตเทียม 1 ซึ่ง ตอนนั้นอัตราก าลังเราก็จะเสียไปด้วย เหมือนเดิมจากเดิมที่เรามีอยู่ 5 คน ต่อเวรเราก็จะเหลือ ประมาณ 4 คน ทีนี้ งานมันก็จะโหลด งานก็จะเสร็จช้าลงเวลาเวลาก็จะยืดขึ้น งานก็จะหนักขึ้น”

(พยาบาลคนที่ 1)

“อยาก vacation อยากลาพักร้อนก็ไม่ได้ลา อะไรอย่างนี้ คือยิงยาวอ่ะ เป็นปีเลย มัน ก็เลยเหมือนเราต้องเสียสละอ่ะ แค่นั้นแหละ เพราะว่าปกติปีๆ นึงพี่ต้องไปต่างจังหวัด หรือกลับ กรุงเทพฯ แต่โควิดทั้งปีก็ไม่ได้ไปไหนเลย พอเราจะลาพักร้อนเอ้าคนขาด แล้วเขาก็ไม่อยากให้ลา บ้างอะไรแบบนี้ ต้องเสียสละอ่ะเนาะ ถามว่าเครียดไหมก็ไม่ถึงกับเครียด แต่ก็อยากพักอ่ะนึกออก ไหม แต่สถานการณ์ต้องมีพวกเราช่วยอะไรแบบนี้” (พยาบาลคนที่ 6)

การปรับตัวของพยาบาลวิชาชีพต่อบริบทความรับผิดชอบในการปฎิบัติงาน ด้วยการ เรียนรู้ ฝึกทักษะและปฏิบัติตามแนวทางของหน่วยงาน เป็นสิ่งส าคัญที่ส่งเสริมให้พยาบาลท างาน ได้อย่างปลอดภัย ร่วมกับการประยุกต์ใช้ประสบการณ์การท างานดูแลผู้ป่วยที่มีในอดีตช่วยให้

ความกลัวและความวิตกกังวลต่อการติดเชื้อและการเป็นพาหะแพร่เชื้อสู่สมาชิกครอบครัวลดลง สามารถท างานด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

2. การปรับตัวต่อความรับผิดชอบในการดูแลสมาชิกครอบครัว

การปฏิบัติหน้าที่ดูแลสมาชิกครอบครัว คือความรับผิดชอบในฐานะคู่ชีวิต และบุพการี

ซึ่งอาศัยการปรับตัวและเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในครอบครัว เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ท าให้สมาชิกครอบครัวมีเวลาท ากิจกรรมร่วมกันภายในบ้านมากขึ้นเนื่องจาก ปฏิบัติตามมาตรการล็อคดาวน์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ใช้เวลานอกเหนือจากการท างานใน การเรียนรู้พฤติกรรมสมาชิกครอบครัวร่วมกัน และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดลดลงก็ใช้เวลา ร่วมกับสมาชิกครอบครัวในการท ากิจกรรมนอกสถานที่มากขึ้น ซึ่งถือเป็นการปรับตัวให้เข้าบริบท สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ ดังค ากล่าวที่ว่า