• Tidak ada hasil yang ditemukan

ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในวงรอบที่ 1

ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา

1. การสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดกับสมาชิกใน กลุ่ม

1. ผู้วิจัยใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนได้อธิบาย สถานการณ์ปัญหาโดยไม่มีถูกผิด ไม่ปิดกั้น ความคิด เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นกันภายในกลุ่มเป็นการกระตุ้นให้

นักเรียนสร้างความเข้าใจร่วมกัน เช่น ปัญหา เกี่ยวข้องกับอะไร ภาระงานที่ต้องทำมี

อะไรบ้าง มีเวลาในการทำนานแค่ไหน จะแบ่ง หน้าที่กันอย่างไรเพราะอะไร เป็นต้น 2. ผู้วิจัยคอยกำชับเรื่องการสร้างความเข้าใจ ร่วมกันเป็นระยะ

3. ผู้วิจัยคอยเป็นสื่อกลางในการช่วยกระตุ้นให้

สมาชิกในกลุ่มแสดงความคิดเห็น

97 ตาราง 16 ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในวงรอบที่ 1 (ต่อ)

ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา

4. ผู้วิจัยคอยกระตุ้นให้นักเรียนสื่อสารกัน เกี่ยวกับภาระงานที่เสร็จแล้วและภาระงานที่ยัง ต้องทำต่อไป

5. ผู้วิจัยทำข้อตกลงกับหัวหน้ากลุ่มเพื่อให้คอย ทำหน้าที่กระตุ้นให้สมาชิกในกลุ่มพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน 2. การแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความถนัด 1. ผู้วิจัยชี้แจงให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่ง

บทบาทหน้าที่ในการทำงานโดยให้อยู่บน พื้นฐานของความสามารถและความถนัดของ แต่ละคน

2. ผู้วิจัยมอบหมายให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาความ ถนัด และความสนใจของสมาชิกแต่ละคนใน กลุ่ม เช่น ใครถนัดคำนวณ ลงมือปฏิบัติ บันทึก ผล ประสานงาน เป็นต้น

3. การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาให้น่าสนใจ ผู้วิจัยปรับปรุงการนำเสนอสถานการณ์ให้มี

ความน่าสนใจมากขึ้นโดยนำอุปกรณ์วัดความ เข้มเสียงที่ใช้จริงมาประกอบการนำเสนอ สถานการณ์ปัญหา

4. การควบคุมชั้นเรียน ผู้วิจัยสร้างความเข้าใจร่วมกับนักเรียนว่าหาก กลุ่มไหนที่เสียงดังระหว่างที่ครูกำลังนำเสนอ สถานการณ์ปัญหาจะถูกหักคะแนน 5. การกระตุ้นด้วยคำถามเพื่อเชื่อมโยงกับ

เนื้อหา

ผู้วิจัยใช้คำถามในการกระตุ้นให้นักเรียนคิด เชื่อมโยงระหว่างสถานการณ์ปัญหากับความรู้ที่

ต้องนำมาใช้ เช่น ปัญหาคืออะไร เกี่ยวข้องกับ เนื้อหาที่เรากำลังเรียนอย่างไร เราสามารถหา คำตอบจากที่ไหนได้บ้าง อะไรคือสิ่งที่เรายังไม่รู้

ตัวแปรแต่ละตัวในสมการมีความหมายว่า อะไรบ้าง เป็นต้น

98 ตาราง 16 ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในวงรอบที่ 1 (ต่อ)

ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา

6. การกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของ การทำงานร่วมกัน

ผู้วิจัยชี้แจงให้นักเรียนเห็นว่าการทำงานร่วมกัน มีข้อดีกว่าการทำงานคนเดียวอย่างไรบ้าง เช่น ใช้เวลาน้อยกว่า มีภาระหน้าที่ที่ต้องทำน้อย กว่า มีเพื่อนช่วยคิด มีวิธีการแก้ปัญหาที่

หลากหลายกว่า เป็นต้น

วงรอบที่ 2

1. ขั้นวางแผน

ผู้วิจัยได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวงรอบที่ 1 มาดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน ดังนี้

1.1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ความเข้มเสียง ผู้วิจัยได้แก้ไขเกี่ยวกับการสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดกับสมาชิกในกลุ่มของนักเรียนโดยใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนได้อธิบาย

สถานการณ์ปัญหา เช่น ปัญหาเกี่ยวข้องกับอะไร จะแบ่งหน้าที่กันอย่างไรเพราะอะไร เป็นต้น นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ชี้แจงให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานโดยให้อยู่บนพื้นฐาน ของความสามารถและความถนัดของแต่ละคนพร้อมทั้งมอบหมายให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาความถนัด และความสนใจของสมาชิกแต่ละคนด้วย รวมถึงมีการปรับปรุงการนำเสนอสถานการณ์ให้มีความ น่าสนใจมากขึ้นโดยนำอุปกรณ์วัดความเข้มเสียงที่ใช้จริงมาประกอบการนำเสนอสถานการณ์ปัญหา

1.2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระดับเสียงและความถี่เสียงกับการเริ่มได้ยิน ผู้วิจัยได้มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนได้อธิบายสถานการณ์ปัญหามากขึ้น เช่น ภาระงานที่ต้องทำ มีอะไรบ้าง มีเวลาในการทำนานแค่ไหน เป็นต้น และคอยเป็นสื่อกลางในการช่วยกระตุ้นให้สมาชิกใน กลุ่มแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ผู้วิจัยได้สร้างความเข้าใจร่วมกับนักเรียนว่ากลุ่มที่ส่งเสียงดังรบกวน ขณะครูผู้สอนอธิบายสถานการณ์ปัญหากลุ่มนั้นจะถูกหักคะแนนเพื่อเป็นการควบคุมชั้นเรียนให้มี

ความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้

1.3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ระดับสูง-ต่ำของเสียงและคุณภาพเสียง ผู้วิจัยมี

การแก้ไขปัญหาการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดกับสมาชิกในกลุ่มของนักเรียนโดยทำข้อตกลงกับ หัวหน้ากลุ่มเพื่อให้คอยทำหน้าที่กระตุ้นให้สมาชิกในกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งกระตุ้นให้นักเรียนสื่อสารกันเกี่ยวกับภาระงานที่เสร็จแล้วและภาระงานที่ยังต้องทำต่อไป นอกจากนี้ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาที่นักเรียนขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนกับสถานการณ์ปัญหาที่ได้รับ โดยใช้คำถามในการกระตุ้นให้นักเรียนคิดเชื่อมโยงระหว่างสถานการณ์ปัญหากับความรู้ที่ต้องนำมาใช้

99 เช่น ปัญหาคืออะไร เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรากำลังเรียนอย่างไร เป็นต้น และผู้วิจัยได้กระตุ้นให้

นักเรียนเห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกันโดยชี้แจงให้นักเรียนเห็นว่าการทำงานร่วมกันมีข้อ ดีกว่าการทำงานคนเดียวอย่างไรบ้าง เช่น มีภาระหน้าที่ที่ต้องทำน้อยกว่า ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาที่

หลากหลาย เป็นต้น

2. ขั้นลงมือปฏิบัติตามแผน

หลังจากผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัยแล้วได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ได้แก่

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ความเข้มเสียง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระดับเสียงและความถี่เสียงกับการเริ่มได้ยิน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ระดับสูง-ต่ำของเสียงและคุณภาพเสียง 3. ขั้นสังเกตการณ์

ผู้ร่วมวิจัยได้ใช้แบบสังเกตการแก้ปัญหาแบบร่วมมือบันทึกพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบ ร่วมมือของนักเรียนในระหว่างการจัดการเรียนรู้ และผู้วิจัยได้ให้นักเรียนทำแบบประเมินการ

แก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ความเข้มเสียงและระดับเสียง จำนวน 1 ชุด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.1 ผลจากการทำแบบประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในวงรอบที่ 2

หลังจากสิ้นสุดการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวงรอบที่ 2 ผู้วิจัยได้ให้นักเรียน ทำแบบประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ความเข้มเสียงและระดับเสียง โดยมีนักเรียนที่ผ่าน เกณฑ์ระดับกลางเพิ่มขึ้นจากวงรอบที่ 1 จำนวน 2 คน ทำให้มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ระดับกลางจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดและไม่ผ่านเกณฑ์ระดับกลางจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีผลคะแนนในแต่ละด้านของการ แก้ปัญหาแบบร่วมมือ ดังนี้

100

Garis besar

Dokumen terkait