• Tidak ada hasil yang ditemukan

ผลการวิจัย

ความยากจนและปัญหาสังคม ที่มีทั้งการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐด าเนินงาน ด้านเศรษฐกิจสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้ภาคประชาชน องค์กรชุมชน เป็นผู้คิดค้นปัญหา และหาทางแก้ไขด้วยตนเอง โดยมีการสนับสนุนงบประมาณตรงไปที่ชุมชนให้ชุมชนจัดการด้วยตนเอง (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, 2557)

ผลจากการขับเคลื่อนของกลุ่ม ขบวนองค์กรชุมชนดังกล่าวท าให้เกิดกระแสผลักดันให้มี

การยกร่างกฎหมายเพื่อรับรองสถานภาพการขับเคลื่อนของกลุ่ม องค์กรชุมชน จนน าไปสู่กระบวนการ ยกร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนในปี 2549 โดยเครือข่ายองค์กรชุมชนร่วมกับวิทยาลัยการ จัดการทางสังคมจัดสรุปบทเรียน “ประชาธิปไตยชุมชน...การเมืองสมานฉันท์” และจัดเวทีสังคม สนทนา “การเมืองสมานฉันท์ สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่น” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้มีการ จัดเวทีระดมความคิดเห็นในระดับภูมิภาคทั้ง 8 ภาค เพื่อพัฒนาข้อเสนอของภาคประชาชนต่อการ ปฏิรูปสังคมและการเมือง โดยสาระหลักเป็นการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารโดยกระจายอ านาจไปที่

ชุมชนท้องถิ่นให้มีอิสระในการจัดการตนเอง พร้อมกับพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อ น าพาชุมชนและท้องถิ่นไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง จากนั้นในเดือน พฤศจิกายน 2549 มีผู้แทน องค์กรชุมชนทั่วประเทศจ านวน 200 คน ได้เข้าพบและน าเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนต่อ นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) ณ ท าเนียบรัฐบาล ต่อด้วยการยกร่างหลักคิดและเนื้อหา สาระพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน และได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้น าชุมชนสี่ภาคจนเกิด คณะท างานเครือข่ายองค์กรชุมช นที่ร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องนี้ ซึ่งภายหลังได้จัดตั้ง เป็นสมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย (สอท)

ต่อมาได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 10 เวที

สรุปเป็นร่างพระราชบัญญัติองค์กรชุมชนท้องถิ่นเสนอต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนมีนาคม 2550 และในเดือนเมษายนปีดังกล่าว ได้เสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ (ครูชบ ยอดแก้ว เป็นประธาน และครูมุกดา อินต๊ะสาร เป็นรองประธาน) ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สภานิติบัญญัติ (สนช) ซึ่งครูหยุย (วัลลภ ตังคณานุรักษ์) เป็นประธาน ในช่วงเดือนเดียวกันก็ได้มีการสัมมนาเปิดภาพการขับเคลื่อนสภา องค์กรชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีเครือข่ายชุมชนจกทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 1,800 คน โดยรองนายกรัฐมนตรี

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

(นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป) เข้าร่วมเวที ซึ่งสรุปผลการสัมมนาเครือข่ายจะปฏิบัติการน าร่องสภา องค์กรชุมชน 200 ต าบล และจะผลักดันให้พระราชบัญญัติผ่านในรัฐบาลชุดปัจจุบัน แต่หลังจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าพิจารณา ในคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 มิถุนายน 2550 ปรากฏว่าในคณะรัฐมนตรีมีความมีความเห็นที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่สนับสนุนแต่บางส่วนคัดค้าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาท าให้สื่อมวลชนน าเสนอข่าวเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2550 สถาบันวิชาการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีการจัด เวทีประชาคมเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ในส่วนของเครือข่ายองค์กรชุมชน จึงได้ไปท างานร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ และในคณะกรรมาธิการกิจการ เด็กฯ สภานิติบัญญัติ ซึ่งประธานสภานิติบัญญัติ (นายมีชัย ฤชุพันธ์) ได้เข้ามาช่วยซักถามเจตนารมณ์

ของกฎหมาย และปรับร่างพระราชบัญญัติ จนน าเสนอ สนช. ได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 จากนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดระดมความคิดเห็นของหน่วยงานและผู้ที่

เกี่ยวข้องเพื่อปรับร่างที่จะเสนอโดยรัฐบาล วันที่ 23 สิงหาคม 2550 แต่เมื่อยังมีผู้คัดค้าน นายกรัฐมนตรีจึงเห็นสมควรให้ออกเป็นระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีไปก่อน โดยรัฐบาลไม่ได้ส่งร่าง พระราชบัญญัติประกบร่าง พ.ร.บ. ฉบับที่เสนอโดย สนช. เหมือนกฎหมายฉบับอื่น ๆ

ในส่วนของคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สภานิติบัญญัติ ก็ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ผู้เกี่ยวข้อง จากนั้นได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

รับหลักการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2550 และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 22 ท่าน ไปพิจารณา รายละเอียด คณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวได้พิจารณาเรื่องนี้ต่อเนื่อง 11 ครั้ง จึงน าเสนอสภานิติ

บัญญัติแห่งชาติพิจารณาวาระที่สองและลงมติวาระที่ 3 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งที่ประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, ม.ป.ป.)

การเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติเรียกว่า พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พุทธศักราช 2551 และได้ประกาศใน พระราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 มีผลบังคับใช้ 2551 โดยเหตุผลในการประกาศใช้

พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยชุมชนเป็นสังคมฐานรากที่มีความส าคัญทางประวัติศาสตร์ มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมแตกต่างหลากหลายตามภูมินิเวศน์ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอประสบปัญหาความยากจน เกิดปัญหาสังคมมากขึ้น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนถูกท าลายจนเสื่อมโทรมเพื่อให้ชุมชน มีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีบทบาทส าคัญในการพัฒนาประเทศ การสร้างระบอบประชาธิปไตยและระบบธรรมาภิบาลซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติ

รับรองสิทธิชุมชนและประชาชนให้มีบทบาทส าคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลาย ของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่นจึงเห็นสมควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชน และประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจ าเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ (พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551)

ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้ มีเนื้อหา และใจความส าคัญในการให้การสนับสนุนส่งเสริมจิตส านึกความเป็นพลเมือง สิทธิ และหน้าที่

ของพลเมือง ตลอดจนการเรียนรู้ของประชาชน ชุมชน และเครือข่าย ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

สมานฉันท์ในความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภูมินิเวศน์ และวัฒนธรรม รวมทั้งการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวด 1 มาตรา 6 (จ) ของพระราชบัญญัติฉบับนี้

ให้สภาพัฒนาการเมืองร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชน

เพื่อด าเนินการตามพระราชบัญญัติ โดยใน (5) ก ากับดูแลการบริหารทั่วไป รวมทั้งด าเนินการต่อไปนี้

(ก) วางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน และหลักเกณฑ์วิธีการ ในการใช้จ่ายเงินกองทุน (ข) ก าหนดนโยบายและเป้าหมายในการด าเนินงานของส านักงาน (ค) จัดท ารายงานประจ าปีเสนอ ต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 ยังมีบทบัญญัติส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการส่งเสริมโดยจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือด าเนินกิจกรรมสาธารณะ ของชุมชนและให้ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนต าบลระดับจังหวัดเลือกสมาชิกจังหวัดละหนึ่งคน เพื่อเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ตามมาตรา 7 เป็นต้น (สภาพัฒนาการเมือง, 2555)

ส าหรับภาพรวมการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนทั้งประเทศพบว่า การด าเนินงานสนับสนุน การขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชนในช่วงที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ก าหนดแนวทาง ส าคัญให้กับขบวนองค์กรชุมชนที่มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มีบทบาทส าคัญในการทบทวน และส่งเสริมการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนต าบล โดยสนับสนุนให้สภาองค์กรชุมชนเป็นเวทีกลาง ในการเชื่อมโยงงานพัฒนาด้านต่าง ๆ ของชุมชนทั้งในระดับต าบลและจังหวัด ประสานความร่วมมือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่รวมถึงสนับสนุนการทบทวนและสอบทานสถานะ สภาองค์กรชุมชนต าบลที่จัดตั้งแล้ว จึงแสดงภาพรวมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึง ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ให้เห็นเป็นตารางดังนี้

ตารางที่ 1 ภาพรวมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนทั่วประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึง ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2558

จ านวน ต าบล/เทศบาล/เขต สมาชิก/คน กลุ่ม/องค์กรชุมชน/

เครือข่าย

4,902 159,380 114,865

ที่มา: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (2558)

การขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนดังกล่าว พบว่า มีการจดแจ้งองค์กรสมาชิกและจัดตั้งสภา องค์กรชุมชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็น ภาพรวมการขับเคลื่อนเพื่อการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกได้

เป็นรายภาคตั้งแต่ พ.ศ. 2551-2559 ดังนี้