• Tidak ada hasil yang ditemukan

แบบสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม

ระเบียบวิธีวิจัย

3) แบบสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม

การใช้แบบสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมนี้ ผู้วิจัยใช้สังเกตการณ์การจัดประชุมของสมาชิก สภาองค์กรชุมชนของพื้นที่ต้นแบบตามกรณีศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้เข้าร่วมประชุมในฐานะพี่เลี้ยง (Mentor) กล่าวคือ ในสถานภาพของการได้รับเลือกเป็นตัวแทนคณะกรรมการขับเคลื่อนสภาองค์กร ชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชและเป็นตัวแทนคณะกรรมการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนภาคใต้

ตอนบน ซึ่งมีแนวในการสังเกตการณ์ตามประเด็นหัวข้อของการศึกษา คือ บริบทการก่อตั้งของสภา องค์กรชุมชนและบทบาทที่น าไปสู่การจัดการตนเองของชุมชน

การตรวจสอบแนวค าถาม

ในการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research) นอกจากนักวิจัยจะเป็น เครื่องมือส าคัญของกระบวนการศึกษาแล้ว ผู้วิจัยยังได้มีการประสานงานเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วน ร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stake Holder) ตลอดขั้นตอนส าคัญของการวิจัยตั้งแต่

การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อน ามาใช้ก าหนดเลือกพื้นที่ต้นแบบตามกรณีศึกษา การเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล การขยายกลุ่มผู้ให้ข้อมูล การสร้างเครื่องมือ ซึ่งเป็นขั้นตอนส าคัญเพื่อให้เกิดแนวค าถาม ของการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการจัดการตนเอง ทั้งนี้เพื่อน ามาใช้ใน

การออกแบบสัมภาษณ์ ออกแบบแนวทางการสนทนากลุ่มย่อย และแบบแนวทางในการสังเกตการณ์

อย่างมีส่วนร่วม การออกแบบเวทีประชาคม ทั้งนี้แนวค าถามที่เตรียมไว้จึงเป็นแนวค าถามกว้าง ๆ จะต้องมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ และตามสภาพของพื้นที่ต้นแบบที่ใช้เป็นกรณีศึกษาในเชิงลึก อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการออกแบบแนวค าถามเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือส าหรับ การศึกษาวิจัย ที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยได้เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยชุมชน นักพัฒนา ชุมชน และอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม กรรมการสอบโครงร่างงานวิจัย และประธานสอบ โครงร่างงานวิจัยเป็นผู้ตรวจสอบความสอดคล้อง เหมาะสม เพื่อให้นักวิจัยน าข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาประมวลปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาจนเป็นเครื่องมือที่มีความสมบูรณ์ ก่อนน าไปใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลของการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้

การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลนั้น ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาวิจัยข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย บทความ วิทยานิพนธ์ และเอกสาร หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อน ามาช่วยเติมเต็ม ในการสร้างกรอบแนวคิดทฤษฎีให้กับผู้วิจัย ในประเด็นการศึกษาเรื่องการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการจัดการตนเอง

ในการลงพื้นที่ศึกษาวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามนั้น ผู้วิจัยได้มีขยายทีมกลุ่มผู้ให้

ข้อมูลแบบมีส่วนร่วม เช่น ประธานสภาองค์กรชุมชน ตัวแทนคณะกรรมการขับเคลื่อนสภาองค์กร ชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน รวมทั้งประธานสภาองค์กร ชุมชน คณะกรรมการสภาองค์กรชุมชน เลขานุการสภาองค์กรชุมชนผู้ทรงคุณวุฒิของสภาองค์กร ชุมชน และตัวแทนสมาชิกกลุ่ม เครือข่ายองค์กรชุมชนของพื้นที่ต้นแบบ เป็นต้น เพื่อช่วยติดต่อ ประสานงานเชิงพื้นที่ ช่วยเป็นผู้ให้ข้อมูลและเก็บข้อมูล ช่วยออกแบบเวทีประชาคม ช่วยบันทึกข้อมูล ในการประชุมกลุ่มต่าง ๆ ช่วยเก็บภาพกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ได้กับบางสถานการณ์ของกระบวนการวิจัย เป็นต้น

การวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะมีขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล จ าแนกข้อมูลและอภิปรายผลการศึกษาจะถูกน าเสนอเชิงพรรณนา ภายใต้การจัดระบบระเบียบ ตามแบบการเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นซึ่งเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์

เพื่อบอกเรื่องราวหรือผลการศึกษา ตามความหมายของข้อมูลที่จัดระเบียบไว้แล้ว ก่อนการน าเสนอ ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์อย่างเป็นทางการ ผู้วิจัยจะจัดเวทีประชาคมรวมอีกครั้ง เพื่อใช้ยืนยัน ข้อมูลที่ได้จาการศึกษาพร้อมทั้งเปิดให้มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเติมเต็มข้อมูลที่ได้

จากการวิเคราะห์ ก่อนสรุปผลและอภิปรายผลการศึกษา การสรุปและอภิปรายผล

ผู้วิจัยได้ด าเนินการสรุปและอภิปรายผลการศึกษาจากขั้นตอนของการศึกษาวิจัย แบบมีส่วนร่วมที่วางไว้แล้วข้างต้นโดยการเขียนเรียบเรียงเชิงพรรณนาเชื่อมโยงผลการศึกษา กับกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ได้ศึกษาไว้แล้ว

การน าเสนอรายงานการวิจัย

เมื่อผู้วิจัยได้ด าเนินการศึกษาตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ในการน าเสนอ รายงานการวิจัยนั้นได้ก าหนดแบบแผนการเสนอรายงานการวิจัยเป็นล าดับ ตามแผนภูมิดังนี้

แผนภาพที่ 4 แบบแผนการเสนอรายงานการวิจัย

การวิจัยแบบมีส่วนร่วม Step 1 ก าหนดปัญหา การวิจัย พร้อมทั้งศึกษา แนวคิดทฤษฎี/ทบทวน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไป

ด้วย

Step 2 สร้างแบบส ารวจ ข้อมูลเพื่อเลือกพื้นที่

ศักยภาพใช้เป็นต้นแบบ ของกรณีศึกษา

Step 3 สร้างเครื่องมือ สัมภาษณ์ แบบสนทนา

กลุ่มย่อย และ สังเกตการณ์ แบบมีส่วน

ร่วม

Step 4 จัดเวทีประชาคม Step 5 วิเคราะห์ข้อมูล

Step 6 เปิดเวที

ประชาคมในพื้นที่และผู้มี

ส่วนใด้ส่วนเสีย ร่วม ยืนยัน ตรวจสอบข้อมูล

Step 7 เขียนราย งานวิจัย