• Tidak ada hasil yang ditemukan

เกิดขบวนการประชาสังคม

การจัดการตนเอง

5) เกิดขบวนการประชาสังคม

เมื่อพิจารณาผลจากการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อการจัดการตนเอง ยังวิเคราะห์ได้ว่า การขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชน ดังกล่าว ส่งผลให้เกิด ขบวนการประชาสังคมและช่วยเสริมสร้างขบวนการประชาสังคมของชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง ตามความหมายและหลักการของขบวนการประชาสังคม ดังที่ ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2544) อธิบายว่า หัวใจของการเมืองแบบใหม่ อยู่ที่การสร้างการเมืองแบบที่ให้ประชาชนธรรมดามีบทบาท อย่างแข็งขัน ไม่ว่าจะด้วยวิธีการปฏิวัติรุนแรงของชนชั้นแรงงานแบบมาร์กซิสต์ในอดีต หรือชนชั้น กลางทั้ง “เก่า” และ “ใหม่” สอดคล้องกับ ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ (2545) มองว่า ขบวนการ ทางสังคมใหม่ มิได้มาจากชนชั้นกรรมกรหรือชาวนาเท่านั้น และมิได้มีจุดมุ่งหมายล้มล้างอ านาจรัฐที่มี

อยู่ ขบวนการใหม่มีนัยยอมรับกรอบการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยม บางกลุ่มต้องการสร้าง อัตลักษณ์

ด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่าง (Cultural identity) อีกด้วย

ประเด็นดังกล่าวนี้ ประภาส ปิ่นตบแต่ง (2552) กล่าวย้ าให้เห็นว่า ขบวนการแรงงาน หรือขบวนการทางสังคมแบบเก่าสอดคล้องกับลักษณะของสังคมอุตสาหกรรม ขบวนการทางสังคม แบบใหม่จะสะท้องภาพตัวแทนของสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม ขณะที่ขบวนการทางสังคม ยุคพฤติกรรมรวมหมู่สะท้อนสภาวการณ์ว้าวุ่นทางสังคม (Social unrest) ที่เกิดขึ้นช่วงหลัง สงครามโลกและจากกรณีดังกล่าวนี้ นักทฤษฎีว่าด้วยขบวนการทางสังคมแบบใหม่

ชาวเยอรมัน ชื่อว่า เยอเก็น ฮาเบอร์มัส (Jurgen Habermas) ชี้ให้เห็นว่า ภาคประชาชน ในฐานะ ถูกรัฐเป็นผู้กระท าการ โดยการบังคับใช้ระเบียบ หรือข้อกฎหมาย (อ้างใน มณีมัย ทองอยู่, 2557) โดยเขาได้ยกตัวอย่าง ความสัมพันธ์ของลูกค้าในระบบรัฐสวัสดิการ ว่าเป็นกรณีตัวอย่างของการ ควบคุมโลกชีวิตโดยรัฐ ซึ่ง ประภาส ปิ่นตบแต่ง (2552) ได้สรุปกรอบการวิเคราะห์ขบวนการทาง สังคมใหม่ได้พยายามจะตอบค าถามที่ว่า “เหตุใดจึงเกิดขบวนการทางสังคม” โดยชี้ให้เห็นว่า การเกิดขึ้นของขบวนการทางสังคมนั้นมีเงื่อนไขความจ าเป็นด้านโครงสร้าง เช่น งานของ Habermas (1973) และ Offe (1985) มองเหตุกระตุ้นที่น ามาสู่การกระท าการรวมหมู่ (Collective Action) และเห็นว่า วิกฤตการณ์ของรัฐและการพัฒนาที่เกิดขึ้นในโลกที่สาม ได้ก่อให้เกิดการรุกรานวิถีชีวิต ปกติของประชาชน จนท าให้ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น รวมตัวกันเป็นขบวนการ ทางสังคมเพื่อกระท าการร่วมตอบโต้ต่อวิกฤตดังกล่าว ดังเช่น งานของ Escobar (1992) และ Palajuri (1991) เป็นต้น

น อ ก จ า ก นั้ น เ มื่ อ พิ จ า ร ณ า ผ ล จ า ก ก า ร ขั บ เ ค ลื่ อ น ส ภ า อ ง ค์ ก ร ชุ ม ช น จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อการจัดการตนเอง ยังวิเคราะห์ได้ว่า เป็นการส่งเสริมการสร้างขบวนการ ขับเคลื่อนทางสังคมที่ บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา (2553) พบว่า วิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ของชุมชน ล้วนเป็นทุนทางสังคม หรือทุนทางวัฒนธรรม ที่มีส่วนส าคัญในการสร้างประชาสังคม ดังเช่นที่ ณรงค์ บุญสวยขวัญ (2549) พบว่า ขบวนการประชาสังคมในพื้นที่ลุ่มน้ าปากพนัง ใช้กลุ่มองค์กรชุมชนหรือกลุ่มประชาชน ซึ่งเป็นขบวนการที่เคลื่อนไหว เกี่ยวกับสิทธิของชุมชนท้องถิ่น ในด้านอาชีพ ด้านศิลปะ และวัฒนธรรม เป็นต้น และการขับเคลื่อนของขบวนการประชาสังคม ในพื้นที่ดังกล่าว ยังส่งเสริมการแก้ไขปัญหาเชิงสาธารณะอื่น ๆ ให้กับท้องถิ่น เช่น การศึกษาอ่างเก็บ น้ ากระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี ของ Kumnerdpet Wachiraporn (2010) ซึ่งพบว่า ต่อเมื่อมีการ บริหารจัดการร่วมกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ชลประทาน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคชุมชนเข้า มามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการ จึงแก้ไขปัญหาการจัดการอ่างเก็บน้ า ดังกล่าวได้

บทบาทของประชาสังคมที่เกิดขึ้นดังกล่าวยังสามารถพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ดังที่ วิจิตรา ศรีสอน (2553) พบว่า ประชาสังคมพื้นที่มีบทบาทส าคัญในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 3 ระดับ คือ 1) วิสาหกิจชุมชนมีการพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 2) วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายที่มี

ความพร้อม และพัฒนาสินค้า บริการ เพื่อสร้างรายได้ และ 3) วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายมี

การพัฒนาสินค้า บริการ เพื่อสร้างรายได้หลัก และสร้างสวัสดิการให้แก่สมาชิก ซึ่งสอดคล้องกับ พรรณภัทร ใจเอื้อ (2553) ที่พบว่า การขับเคลื่อนประชาสังคมจังหวัดนครสวรรค์พบว่า เกิดผลด้าน การพัฒนา 6 ประเด็น คือ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาวะ ด้านเยาวชน ด้านการปฏิรูป การศึกษา ด้านเกษตรกรผู้ท านา และด้านการสื่อสารวิทยุชุมชน ซึ่ง วิเชียร รุจิธ ารงกุล (2557) พบว่า

ขบวนการประชาสังคมยังแก้ไขปัญหาชุมชนที่สลับซับซ้อนได้ด้วยการสร้างกลไกความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมและผลการศึกษของ ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ (2550) พบว่า การท างานของขบวนการประชาสังคม มีผลกระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและการเมือง ในชุมชน และความเข้มแข็งของขบวนการประชาสังคมมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจการสาธารณะของชุมชน