• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปถึงการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองประชาธิปไตยของ

ที่มา: Standards, I. C. (2016).IDAHO CONTENT STANDARDS SOCIAL STUDIES จึงสามารถสรุปได้ว่าการจัดเรียนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพลเมือง ประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกาในระดับประถมศึกษาจะเน้นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ และการมีส่วน ร่วมทางการเมือง กฎระเบียบและความเท่าเทียมกันซึ่งในแต่ละเนื้อหาจะขึ้นอยู่กับรัฐแต่ละรัฐที่จะ ก าหนดรูปแบบของการส่งเสริมคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตยให้สอดคล้องกับท้องถิ่นของ ตนเองอย่างอิสระ และมีการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการเข้ากับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ กฎหมาย

คุณลักษณะเป้าหมายพลเมือง สหรัฐอเมริกา

การจัดการเรียนการสอนพลเมือง ของรัฐไอดาโอ

1.พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ

- อธิบายถึงกฎระเบียบพื้นฐานตั้งแต่บ้าน โรงเรียน ชุมชน รัฐจนถึง รัฐบาลกลาง

- ศึกษาความรู้และระบุถึงคุณลักษณะของพลเมืองที่ดี

2.พลเมืองที่มีส่วนร่วมทางการเมือง

- ระบุและอธิบายบทบาทเจ้าหน้าที่รัฐ และท้องถิ่น

- แสดงออกสัญลักษณ์เกี่ยวกับวันส าคัญของชาติ

- อธิบายถึงช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐ

- ระบุรูปแบบการปกครองที่ส าคัญของซีกโลกตะวันออก-ตะวันตก และเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา

3. เคารพสิทธิและความแตกต่างผู้อื่น

- การแสดงความคิดเห็นถึงสิทธิความเสมอภาคและความเท่าเทียม

- เรียนรู้ในการอภิปรายเรื่องอธิปไตย ความเคารพในความแตกต่าง ความเสนอภาคและเสรีภาพส่วนบุคคล

- ศึกษาและอธิบายถึงรูปแบบการกระจายอ านาจของรัฐ

4. มีความรู้และคิดอย่างมีเหตุผล

- อธิบายได้ถึงเหตุผลของการมีกฎหมายในชุมชน

- มีการแยกแยะเปรียบเทียบความรับผิดชอบระหว่างรัฐระดับชาติ

และรัฐระดับท้องถิ่น

- อธิบายและวิเคราะห์ถึงอิทธิพลทางการเมืองต่าง ๆที่หล่อหลอม อารยธรรมในการปกครอง

อีกทั้งก าหนดเป็นมาตรฐานตัวชี้วัดโดยแบ่งเป็นเรื่องที่ท าการสอน เพื่อให้เกิดคุณลักษณะตาม เป้าหมายคือ 1) พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ 2) มีส่วนร่วมทางการเมือง 3) เคารพสิทธิและความ แตกต่างผู้อื่น 4) มีความรู้และคิดอย่างมีเหตุผล เป็นสิ่งที่ส าคัญของการส่งเสริมความเป็นพลเมือง ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา

1.4.3 ประเทศอังกฤษ

Department for Education (2014, pp.227-228) การจัดการเรียนวิชาความ เป็นพลเมือง ของประเทศอังกฤษถูกจัดอยู่ในวิชาพื้นฐานตามหลักสูตร ในส่วนของระดับ ประถมศึกษาตามหลักสูตรของประเทศอังกฤษนั้นพบว่า ในหลักสูตรจะไม่มีการจัดการสอน ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระดับชั้นประถมศึกษา โดยจะเริ่มมีการเรียนการสอนใน ระดับช่วงชั้นที่ 3 (อายุ 11-14ปี) และช่วงชั้นที่ 4 (14-16 ปี) เมื่อเทียบเกณฑ์อายุของไทยใน ระดับชั้นประถมศึกษาจะพบได้ว่าเป็นช่วงอายุที่อยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แต่ในขณะเดี่ยว กันทุกระดับชั้นในโรงเรียน จะต้องจัดให้มีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาศาสนาในการเรียนการสอนใน หลักสูตร ซึ่งจากการศึกษาถึงเนื้อหาในหลักสูตรที่เป็นวิชาเกี่ยวกับการปลูกฝังความเป็นพลเมือง ประชาธิปไตยในช่วงชั้นที่ 3 ที่มีช่วงอายุใกล้เคียงกับระดับประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผู้เรียนจะได้

เรียนรู้ถึงพัฒนาการทางการเมืองของรัฐบาล บทบาทหน้าที่ของพลเมือง รัฐสภา และสถาบัน พระมหากษัตริย์ ระบบการเลือกตั้ง สิทธิเสรีภาพ กระบวนการกฎหมายและระบบยุติธรรมบทบาท ผู้บังคับใช้กฎหมาย บทบาทหน่วยงานสาธารณะหรือกลุ่มอาสาที่พัฒนาชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วม ในด าเนินงานในโรงเรียน รวมไปถึงเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารงานงบประมาณการใช้จ่ายทาง การเงิน จากเนื้อหานี้ท าให้เห็นว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองของ ประเทศอังกฤษต้องการให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะพลเมืองที่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยตาม วัตถุประสงค์ของการศึกษาพลเมืองดังนี้คือ

1. เป็นพลเมืองตื่นรู้และมีส่วนร่วมในสังคม 2. เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ

3. เป็นพลเมืองที่มีความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย 4. เป็นพลเมืองที่รักษากฎหมาย

5. เป็นพลเมืองที่มีเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องการเงินได้ดี

สรุปได้ว่าการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของ ประเทศอังกฤษเป็นการเรียนรู้ที่จัดไว้ในวิชาพื้นฐานที่ให้ผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 เมื่อเทียบระดับชั้นประถมศึกษาของไทยโดยใช้เกณฑ์ตามอายุในช่วงชั้นที่ 3 จะสอดคล้องกับ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ พลเมืองประชาธิปไตยที่ประกอบไปด้วย 1) การเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และมีส่วนร่วมในสังคม 2) เป็น พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ 3) เป็นพลเมืองที่มีความรู้ในระบอบประชาธิปไตย 4) เป็นพลเมือง รักษากฎหมายและ 5) เป็นพลเมืองที่มีเหตุผลในการตัดสินใจในเรื่องการเงินได้ดี

1.4.4. ประเทศไทย

ในส่วนของคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของประเทศไทย ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น.4-7) พบว่าหลักสูตรแกนกลางได้มีการก าหนด คุณลักษณะของ พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยของไทยไว้ในรูปแบบของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่มีความ สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายในหลักสูตร ที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองไทยและโลก ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ประกอบกับ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2560 ได้มีการก าหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่

ต้องการส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่สามารถสรุปได้ 4 แนวทางคือ

1. จัดในรูปแบบของ รายวิชาเพิ่มเติม อยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

2. บูรณาการกับวิชาในกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ ในสาระที่ 2 หน้าที่

พลเมือง วัฒนธรรมและการด าเนินชีวิต

3. บูรณาการกับรายวิชาพื้นฐานหรือรายวิชาเพิ่มเติมร่วมกับกลุ่มสาระ วิชา อื่น ๆ

4. จัดในรูปแบบของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

จากแนวทางในข้างต้นจะเห็นถึงความสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ในหลักสูตรแกนกลางทั้งหมด 8 ประการประกอบไปด้วย 1) รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการ ท างาน 7) รักความเป็นไทย และ 8) มีจิตสาธารณะ รวมถึง ส านักนโยบายและยุทธศาสตร์ และ ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2560, น.11) ได้ท าการสรุปคุณลักษณะความเป็นพลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในระดับ

ประถมศึกษารวมไปถึงมัธยมศึกษาและระดับประกาศวิชาชีพชั้นสูงหรือระดับปริญญาตรี พบว่า คุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตยที่ก าหนดมีความสอดคล้องกับคุณลักษณะในหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานที่แบ่งเป็น 2 ลักษณะ

1.ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม หมายถึง การพึ่งพาตนเอง และรับผิดชอบตนเองได้ มีอิสรภาพ สิทธิเสรีภาพ ตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม ไม่ว่ากระท าการใด ๆ ของตนเอง ย่อมส่งผลต่อสังคมและต้องรู้จักการแก้ไขปัญหา โดยผ่าน กฎกติกาและเคารพซึ่งกฎหมาย ไม่ใช้ก าลังความรุนแรง รวมไปถึงยอมรับซึ่งผลการกระท าที่เกิด จากการละเมิดกฎหมาย

2.ความเคารพผู้อื่น หมายถึง การรู้จักในค าว่าสิทธิ เสรีภาพ ที่ต้องไม่

น าไปใช้ในการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น อีกทั้งต้องรู้จักเคารพผู้อื่นบนความแตกต่างจาก ตนเอง ไม่จะว่าเป็นความเชื่อหรือวิถีชีวิต รู้จักการเคารพซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มองทุกคน เท่าเทียมกันและมีความเสมอภาคกัน

จึงสามารถสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ในการส่งเสริมคุณลักษณะความเป็น พลเมืองประชาธิปไตยของประเทศไทย มีการจัดการเรียนรู้ในหลากหลายแนวทางทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ รวมไปถึงมีการก าหนดคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยที่

ชัดเจนถึงสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และต้องมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ต้องเป็นไปตามหลักสูตรได้

ก าหนดเพื่อมุ่งสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตยที่อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

จากการศึกษาถึงหลักสูตรทั้งในประเทศและต่างประเทศจนได้คุณลักษณะความ เป็นพลเมืองประชาธิปไตยและแนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็น พลเมืองประชาธิปไตยในข้างต้น น ามาสู่การสรุปถึงตัวบ่งชี้องค์ประกอบย่อยของคุณลักษณะ ความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยร่วมกับทฤษฎีจิตวิทยาการศึกษาของโคลเบิร์กและหลักสูตรใน ต่างประเทศได้ดังนี้