• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยสรุปตามความมุ่งหมายของงานวิจัยได้ดังนี้

1. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยก่อนและหลัง เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า คุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของผู้เรียนสูงกว่า ก่อนเรียน โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน x̅ = 60.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D = 6.96 สูงกว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย x̅ = 51.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D = 10.60 เป็นไปตามสมมติฐานอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ 0.05

2.ระดับพัฒนาการคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยโดยใช้ปัญหา เป็นฐาน พบว่า ผู้เรียนมีระดับพัฒนาการคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยอยู่ในระดับ ปานกลางไปจนถึงระดับมาก

2.อภิปรายผล

จากสรุปผลการวิจัย น ามาสู่การอภิปรายผลได้ดังนี้

2.1 ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยก่อนและ หลังเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า ผู้เรียนมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เป็นเพราะการใช้การจัดการ เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานทั้งหมด 6 ขั้นตอนที่ผู้วิจัยน ามาใช้จากการสรุปได้จากเอกสารของ นักวิชาการและนักการศึกษา (Delisle, 1997; Duch, 1996; IOWA, n.d.; Savoil and Hugle ,1994 อ้างถึงในวัชรา เล่าเรียนดี, 2554; ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2550) มีส่วนช่วยใน การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ที่ผู้วิจัยน ามาอภิปรายผลได้ดังนี้

2.1.1 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริม คุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย

2.1.1.1 ขั้นส ารวจและระบุประเด็นปัญหา เป็นขั้นที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นโดย ผู้สอนจากการตั้งค าถามร่วมกับการใช้ภาพหรือสื่อวิดีทัศน์ที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในสังคม ที่ท าให้

ผู้เรียนต้องหาค าตอบ และร่วมกันคิดพิจารณาจนเกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์ทางความรู้ ที่

ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถระบุประเด็นปัญหาที่ตนสนใจ จนน าไปสู่การศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา (ม.ป.ป., น.5-6) ที่กล่าวว่าผู้สอน ต้องใช้ปัญหามากระตุ้นผู้เรียนให้ได้ศึกษาในประเด็นปัญหาในสังคมและปัญหาที่น ามาใช้ต้องมี

ลักษณะที่ยังไม่มีความชัดเจนมากพอเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลหาค าตอบได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังสอคล้องกับแนวทางของ ทิศนา แขมมณี (2556, น.138) ที่กล่าวว่าการใช้ประเด็นปัญหา ต้องเลือกปัญหาที่ผู้เรียนได้ออกไปพบเจอกับสภาพปัญหาจริงหรืออาจมีการจัดสถาณการณ์

ปัญหาที่น่าสนใจและลักษณะของปัญหานั้นต้องเป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยและยังหาค าตอบ ไม่ได้ทันที แต่ต้องท าการศึกษาค้นคว้าหรือสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมก่อน รวมถึงปัญหาในเรื่องนั้นต้อง เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาส่งเสริมความรู้ ทักษะ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรทางการศึกษาด้วย (ส านักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา 2550, น.3-4; สุริยา ฟองเกิด 2560) อีกทั้งยังสอดคล้องกับผลการวิจัย ของ Lestari (2022) ที่ค้นพบว่าการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการแก้ไขปัญหา จากประเด็นปัญหาที่

เกิดจากประสบการณ์ชีวิตของผู้เรียน จะส่งผลต่อการกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์จากการใช้ปัญหา เป็นฐานได้ดีมากขึ้นกว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนในรูปแบบดั่งเดิม

2.1.1.2 ขั้นท าความเข้าใจปัญหา เป็นขั้นตอนที่แบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ท าความ เข้าใจปัญหาและก าหนดประเด็นข้อมูลที่กลุ่มของตนยังไม่มีความเข้าใจหรือยังไม่เคยทราบ โดยให้

ผู้เรียนแบ่งกลุ่มคละความสามารถด้วยการจับฉลากให้ได้กลุ่มละประมาณ 7-8 คน ซึ่งเป็นขนาด ของกลุ่มที่ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป จึงท าให้ผู้เรียนทุกคนในกลุ่มสามารถร่วมกันก าหนดประเด็นที่จะ ศึกษาท าความเข้าใจได้อย่างหลากหลายเพียงพอต่อการสืบค้นข้อมูลในขั้นตอนต่อไป ซึ่งขนาด ของการจัดกลุ่มนี้ยังสอดคล้องกับแนวทางของ พัชรินทร์ พุธวัฒนะพงษ์ (ม.ป.ป., น.129) กล่าวว่า การจัดกลุ่มท าการเรียนรู้ไม่ควรใช้ขนาดกลุ่มที่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไปและผู้สอนต้องไม่มีการบังคับ ให้เข้ากลุ่ม แต่ต้องท าการสุ่มหรือจับฉลากเพื่อให้ได้ผู้เรียนที่หลากหลายและคละความสามารถใน การเรียนรู้ จึงจะท าให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างหลากหลายเพียงพอมากขึ้น อีกทั้งยัง สอดคล้องกับผลการวิจัยของ มัญชสุ เลานอก (2565) ที่ค้นพบว่า การจัดกลุ่มขนาดย่อย จะท าให้

ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ได้มีการอภิปรายจนเกิดการสังเคราะห์ข้อมูล และเกิดการคิดวิเคราะห์

จากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีค่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าค่าคะแนนก่อน เรียน

2.1.1.3 ขั้นสืบค้นข้อมูล เป็นการน าข้อมูลจากการก าหนดประเด็นปัญหาที่ได้

ท าการศึกษามาสู่การค้นหาข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ให้ผู้เรียนได้อย่างเพียงพอ ต่อการค้นหาค าตอบ ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะได้ระดมความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วมจนท าให้เกิดการ วิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลที่ตนได้รับอย่างมีเหตุผลและมีอิสระในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่

น่าเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ ทิศนา แขมมณี (2556, น.138) ที่กล่าวว่า ผู้สอนและ ผู้เรียนต้องวางแผนแก้ไขปัญหาด้วยการหาสาเหตุของปัญหาและท าการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน โดยผู้จะสอนคอยเป็นผู้อ านวยการให้ข้อแนะน าหรือค าปรึกษาด้วยการให้ผู้เรียนได้แสวงหาค้นคว้า ข้อมูลถึงสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ด้วยตัวเอง

2.1.1.4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหา เป็นขั้นของการถามตอบแลกเปลี่ยน ประเด็นปัญหาถึงการสืบค้นข้อมูลภายในกลุ่มว่าข้อมูลนั้นเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหามากน้อย เพียงใด หากข้อมูลยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์มากพอ ก็ต้องท าการค้นหาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้เพียงพอ ต่อการแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้สอนอาจมีการตั้งค าถามช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการคิดจากเรื่องที่ได้

ท าการศึกษาเรียนรู้ จึงถือได้ว่าเป็นขั้นที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความกล้าคิด กล้าที่จะโต้ตอบ ในการ แลกเปลี่ยนข้อมูล และเป็นการฝึกในด้านการสื่อสารให้มีบทบาทในการเป็นผู้ฟังจากการท างาน ร่วมกันกับสมาชิกคนอื่นในกลุ่ม ซึ่งการด าเนินการในข้างต้นยังสอดคล้องกับแนวทางของการใช้

กระบวนการกลุ่มที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันแสดงออกความคิดเห็น มีโอกาสได้โต้เถียงกันและ

ยอมรับฟังความคิดเห็นบุคคลอื่นมากขึ้น จึงถือเป็นการฝึกฝนตัวผู้เรียนให้รู้จักการแก้ปัญหาที่ช่วย พัฒนาด้านทักษะทางสังคมและการสื่อสารในการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคน ในการเป็นผู้รับฟังที่ดี ให้

เกียรติผู้อื่น และมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น (วิชุดา จิรพรเจริญ, 2564, น.1) อีกทั้งสอดคล้องกับ แนวทางของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ระบุว่า ตัวผู้เรียนต้องรู้จักสื่อสารแสดง ความเห็นพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้ผลงานจากการท างานกลุ่มนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งต้องมีความรับผิดชอบต่องาน มีน ้าใจในการช่วยเหลือเพื่อนท างานกลุ่ม มีความกล้าที่จะ เสนอความคิดเห็นและกล้าตัดสินใจด้วยการแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อการท ากิจกรรม (กมล ฉัตร กล่อมอิ่ม, 2560, น.186-187; ณิชาพัฒณ์ ไชยเสนบดินทร์, 2557, น.50-53; ศูนย์พัฒนา นวัตกรรมการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, ม.ป.ป., น.2)

2.1.1.5 ขั้นสรุปและประเมินค าตอบ เป็นการประเมินข้อมูลที่ได้ท าการศึกษา ค้นคว้าน ามาสู่การสรุปเป็นองค์ความรู้ ที่น าไปใช้เป็นแนวทางต่อการแก้ปัญหา ผ่านการน าเสนอ เป็นชิ้นงานหรือผลงานกลุ่มร่วมกันต่อการแก้ปัญหาในเรื่องที่ผู้เรียนได้ท าการศึกษา ในขั้นตอนนี้จึง ส่งผลให้ผู้เรียนได้ใช้ประสบการณ์ทางความรู้ที่ผ่านการศึกษาในทุกขั้นตอนมาท าการสรุปเป็น ความรู้ของตนเองได้อย่างเข้าใจ ซึ่งการที่ผู้เรียนได้พูดคุยสนทนาและร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานก่อน การน าเสนอนี้ ยิ่งท าให้เกิดความตื่นตัวต่อการท ากิจกรรมของผู้เรียนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ จิณห์จุฑา ศิริเวชบุรี (2561) ที่ค้นพบว่าการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้

ปัญหาเป็นฐานจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้จักการสนทนาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่ได้

ท าการศึกษาร่วมกัน ส่งผลให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกถึงความมั่นใจและภูมิใจในตนเองมากขึ้น จน สามารถสรุปถึงสิ่งที่ได้รับรู้ด้วยการน าเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้ ท าให้ผู้เรียนมีผลคะแนน จากการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ .05 อีกทั้งยังสอดคล้องกับผล วิจัยของ Ropiah et al. (2020) ที่ค้นพบว่าการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ เพื่อนสมาชิกในกลุ่ม จะน าไปสู่การสร้างองค์ความรู้สิ่งใหม่ๆ ที่มีความส าคัญต่อตัวผู้เรียนมากขึ้น เป็นผลให้ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีคะแนนสูงกว่าคะแนนของผู้เรียน ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบดั่งเดิม

2.1.1.6 ขั้นน าเสนอและประเมินผลงาน เป็นการให้ผู้เรียนได้ออกมาน าเสนอ ผลงานภายในชั้นเรียนเพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจรับฟังและซักถาม โดยผู้สอนมีหน้าที่ท าการ ประเมินผลงานพร้อมกับเสนอแนะให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาปรับปรุงผลงานให้ดีมากขึ้น ในขั้นนี้จึง ส่งผลให้ผู้เรียนได้เกิดความกล้าที่จะอภิปรายพร้อมเสนอแนะข้อมูลจากสิ่งที่เพื่อนต่างกลุ่มได้

น าเสนอ จึงถือเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักยอมรับฟังความเห็นของบุคคลอื่นนอกจากการรับฟัง