• Tidak ada hasil yang ditemukan

วิเคราะห์และสังเคราะห์ตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ด้านช่วยเหลือผู้เรียนที่ขาดความ

ด้านการช่วยเหลือผู้เรียนที่ขาดความพร้อมด้านการ จัดการเรียนรู้

นักวิชาการ

Bethaul และคณะ (2020) UNESCO (2020) Cottle (2021) เทื้อน ทองแก้ว (2563) พัชราภรณ์ ดวงชื่น (2563) วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล (2563) มารุต พัฒผล และคณะ (2564) ความถี่

1. ใช้เทคโนโลยีสร้างการมีส่วนร่วม √ √ √ √ 4

2. ค านึงถึงสุขภาพควบคู่กับการเรียนรู้ √ 1

3. วิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ √ √ 2

4. ใช้รูปแบบการศึกษาทางเลือกเพื่อสนับสนุนทุกคน √ 1

5. ใช้ความสัมพันธ์กับชุมชนสนับสนุนการบริหารจัด

การศึกษา √ √ √ 3

118 จากการสังเคราะห์ตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ด้านช่วยเหลือผู้เรียนที่ขาดความพร้อม ด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า มีตัวชี้วัดทั้งหมด 3 ตัวชี้วัด ที่สอดคล้องมากที่สุดตามล าดับ ได้แก่

1. ด้านใช้เทคโนโลยีสร้างการมีส่วนร่วม มีนักวิชาการกล่าวถึง ดังนี้

Bethaul และคณะ (2020) กล่าวว่า เทคโนโลยีจะเป็นทางเลือกของกลุ่มคน ชายขอบและผู้ด้อยโอกาสโดยได้รับประโยชน์จากแนวทางใหม่ ๆ จากการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม นักเรียนบางกลุ่ม เช่น นักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยต้องใช้การพิจารณาเป็นพิเศษและกลยุทธ์

เฉพาะเมื่อพูดถึงการเรียนทางไกลในช่วง Covid-19

UNESCO (2020) กล่าวว่า Covid-19 ได้ชี้ให้เห็นจุดอ่อนและช่องโหว่รวมถึง การความไม่เท่าเทียมกันจากการปรับเปลี่ยนการศึกษาและการไม่ได้เตรียมตัวไว้เป็นการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ไปสู่ระบบดิจิทัลและการเรียนทางไกล ผู้ปกครองและชุมชนจ านวนมากได้ตื่นตัวกับชื่นชม ผลงานของครูและความเป็นมืออาชีพ ตระหนักถึงบทบาทต่าง ๆ ที่โรงเรียนมีในการจัดหาเพื่อความ เป็นอยู่ที่ดีเด็กและเยาวชนและในการดูแลสุขภาพและโภชนาการควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทางวิชาการ การรับรู้และความชื่นชมที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานส าหรับการฟื้นฟูใหม่ของวงการการศึกษา การโต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์เป็นปัญหาส าคัญส าหรับเด็กที่ยากจนทั่วโลก ซึ่งมักอาศัยโรงเรียนเพื่อให้

การศึกษา ให้ที่อาศัย รวมถึงอาหาร สภาพแวดล้อมที่แออัดการขาดทรัพยากรโดยทั่วไป โดยเฉพาะ ดิจิทัลอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายทางการศึกษา สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข การจัดการ ศึกษาต้องให้ความส าคัญกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และความเป็นอยู่ที่ดี เทคโนโลยีจะช่วยในการ สื่อสาร การท างานร่วมกันและการเรียนรู้ในระยะไกลเป็นแหล่งของนวัตกรรมและศักยภาพที่เพิ่มขึ้น

Cottle (2021) กล่าวว่า แพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้และการสื่อสารจะพบว่า เข้าถึงง่ายในการเป็นทางเลือกการศึกษาออนไลน์แก่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาที่โรงเรียน และส าหรับนักเรียนที่

เติบโตในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ห่างไกล ผู้ปกครองอาจต้องการประเมินอนาคตของบุตรหลานตน ว่าจะได้รับการศึกษาอย่างไร โรงเรียนไม่ควรมองว่าเป็นภัยคุกคาม แต่เป็นโอกาสที่จะเสนอรูปแบบ การศึกษาทางเลือกเพื่อสนับสนุนทุกคน

มารุต พัฒผล และคณะ (2564) กล่าวว่า ผู้สอนควรให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ แก่ผู้เรียนที่เรียนรู้ไม่ได้ด้วยตนเองเป็นรายกรณี ผ่านช่องทางออนไลน์หรือการเยี่ยมบ้านตามความ เหมาะสมและปลอดภัย ใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ด้วยตนเองอย่างประหยัด อาจจะเป็น สื่อที่ผู้สอนผลิตขึ้นเองหรือสื่อที่ผู้สอนสืบค้นมาใช้

จากการสังเคราะห์องค์ประกอบของตัวชี้วัดด้านใช้เทคโนโลยีสร้างการมีส่วนร่วม สรุปได้ว่า ใช้เทคโนโลยีสร้างการมีส่วนร่วม หมายถึง ผู้เรียนที่เรียนรู้ไม่ได้ด้วยตนเองเป็นรายกรณีผ่าน ช่องทางออนไลน์ ส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ด้วยตนเองอย่างประหยัด

119 2. ใช้ความสัมพันธ์กับชุมชนสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษา มีนักวิชาการกล่าวถึง ดังนี้

Cottle (2021) กล่าวว่า แพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้และการสื่อสารจะพบว่า เข้าถึงง่ายในการเป็นทางเลือกการศึกษาออนไลน์แก่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาที่โรงเรียน และส าหรับนักเรียนที่

เติบโตในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ห่างไกล ผู้ปกครองอาจต้องการประเมินอนาคตของบุตรหลานตน ว่าจะได้รับการศึกษาอย่างไร โรงเรียนไม่ควรมองว่าเป็นภัยคุกคาม แต่เป็นโอกาสที่จะเสนอรูปแบบ การศึกษาทางเลือกเพื่อสนับสนุนทุกคน

เทื้อน ทองแก้ว (2563) กล่าวว่า ชุมชนกับสถานศึกษามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน จึงมีความจ าเป็นที่สถาบันการศึกษาต้องให้ความส าคัญ นักเรียน นักศึกษามาจากชุมชน กลับจาก สถานศึกษาก็อยู่ในชุมชน ชุมชนก็เป็นสถานศึกษาสนับสนุนการศึกษาส าหรับนักเรียนนักศึกษา ชุมชน บางแห่งรวมถึงวัดก็จัดการศึกษาเพิ่มเติมจากสถานศึกษาระบบการจัดการศึกษาแบบเดิม “บวร” ก็ยัง ใช้ได้ แต่จะท าอย่างไรในการร่วมมือกันให้เกิดผลสูงสุดกล่าวได้ว่า การออกแบบการศึกษาในชีวิต วิถีใหม่ คือ การออกแบบเพื่อการปรับตัว หรือพิมพ์เขียวทางการศึกษาในอนาคตที่ให้ความส าคัญกับ การปรับแนวคิด ความเชื่อของบุคลากรว่า จะต้องปรับตัวอย่างมากและสร้างพลังใจในการพัฒนา ตนเอง การใช้เทคโนโลยีในการบริหารหรือในการจัดการศึกษา เช่น การเรียนการสอนออนไลน์

การท างานที่ช้า การประชุมออนไลน์ การสื่อสาร รวมทั้งการซื้อของออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น ความสัมพันธ์กับชุมชน ระบบฐานข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเป็นกลไกส าคัญสนับสนุน การบริหารจัดการศึกษา

พัชราภรณ์ ดวงชื่น (2563) กล่าวว่า การออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้มี

ประสิทธิภาพ ทักษะและหลักสูตรของโลกการศึกษารูปแบบใหม่หลังจากนี้ควรมีเทคโนโลยีเข้ามามี

บทบาทด้านการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีความจ าเป็นต้องหาวิธีการในการบริหารจัดการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส าคัญในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติใหม่ (New normal) ทั้งด้านการจัดรูปแบบการเรียนการสอน การพัฒนาครูให้พร้อมสู่โลกยุคใหม่ การบริหารหลักสูตร รวมถึงการรับฟังเสียงสะท้อนจากครู ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน

จากการสังเคราะห์องค์ประกอบของตัวชี้วัดด้านใช้ความสัมพันธ์กับชุมชนสนับสนุน การบริหารจัดการศึกษา สรุปได้ว่า ใช้ความสัมพันธ์กับชุมชนสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษา หมายถึง มีความยืดหยุ่นปรับตัวอยู่ได้ในสถานการณ์จริง ส่งเสริมให้ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมมือกันในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริมการจัดรูปแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับปัจจัยพื้นฐานที่มีอยู่

3. ด้านวิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ มีนักวิชาการกล่าวถึง ดังนี้

UNESCO (2020) กล่าวว่า Covid-19 ได้ชี้ให้เห็นจุดอ่อนและช่องโหว่รวมถึง การความไม่เท่าเทียมกันจากการปรับเปลี่ยนการศึกษาและการไม่ได้เตรียมตัวไว้เป็นการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ไปสู่ระบบดิจิทัลและการเรียนทางไกล ในทางกลับกันบางคุณลักษณะที่ดีในสังคมก็ปรากฏให้

120 เห็นมากขึ้น เช่น ความเป็นน้ าหนึ่งใจเดียว และการตอบสนองที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นต่อความท้าทาย ในหลาย ๆ สังคม ก าลังเพิ่มขึ้น การใส่ใจต่อส่วนรวม ความมีไหวพริบความทุ่มเท และความคิด สร้างสรรค์จากครู ครอบครัว และนักเรียนจ านวนมากที่ร่วมมือกันสร้างความโดดเด่น ประสบการณ์

การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียนรู้จากโรงเรียนเปลี่ยนไปเป็นที่บ้าน ผู้ปกครองและ ชุมชนจ านวนมากได้ตื่นตัวกับชื่นชมผลงานของครูและความเป็นมืออาชีพ ตระหนักถึงบทบาทต่าง ๆ ที่โรงเรียนมีในการจัดหาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีเด็กและเยาวชนและในการดูแลสุขภาพและโภชนาการ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทางวิชาการการรับรู้และความชื่นชมที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานส าหรับ การฟื้นฟูใหม่ของวงการการศึกษา การโต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์เป็นปัญหาส าคัญส าหรับเด็กที่ยากจน ทั่วโลก ซึ่งมักอาศัยโรงเรียนเพื่อให้การศึกษา ให้ที่อาศัย รวมถึงอาหาร สภาพแวดล้อมที่แออัด การขาดทรัพยากรโดยทั่วไป โดยเฉพาะดิจิทัลอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายทางการศึกษา สิ่งเหล่านี้

เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข การจัดการศึกษาต้องให้ความส าคัญกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และ ความเป็นอยู่ที่ดี เทคโนโลยีจะช่วยในการสื่อสาร การท างานร่วมกันและการเรียนรู้ในระยะไกลเป็น แหล่งของนวัตกรรมและศักยภาพที่เพิ่มขึ้น

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล (2563) กล่าวว่า ออกแบบระบบการดูแลช่วยเหลือ ทางการเรียนรู้ส าหรับผู้เรียนที่มีความต้องการที่หลากหลาย สามารถตอบสนองผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว

จากการสังเคราะห์องค์ประกอบของตัวชี้วัดด้านวิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานในการจัดการ เรียนรู้ สรุปได้ว่า วิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ หมายถึง มีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่

ใช้ในการจัดการเรียนรู้ มีการติดตามข้อมูลของกรมควบคุมโรคระบาดประจ าจังหวัดเพื่อออกแบบ การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่

ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

จากตาราง 2-6 ผู้วิจัยสรุปตัวชี้วัดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ปรากฏดังตาราง 7

Garis besar

Dokumen terkait