• Tidak ada hasil yang ditemukan

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออนไลน์

หนังสือพิมพ์ภาษาไทยออนไลน์ ยังเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ของนักวิชาการหลาย ท่านจากการส ารวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทาง วาทกรรมจากหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออนไลน์ โดยมีแนวคิดจากนักวิชาการ นักวิจัย หลายสาขาวิชาได้

ให้มุมมองที่มีความแตกต่างกันในการศึกษานี้

41

หลักของการใช้ภาษาทางสื่อหนังสือพิมพ์

การใช้ภาษาของสื่อหนังสือพิมพ์ มีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเอง สามารถสรุปลักษณะ ส าคัญดังนี้ ข่าวสารเหตูการณ์โลก (ม.ป.ป.)

1. ใช้ภาษาที่มีความกระชับ กะทัดรัด เพื่อให้สะดุดตาสะดุดความสนใจของผู้อ่าน มากกว่าการเขียนธรรมดา

2. วางรูปแบบของเนื้อความแตกต่างจากความเรียงทั่ว ๆ ไป โดยเน้นจุดส าคัญของ เรื่องก่อนแล้วจึงค่อยขยายความน าไปสู่รายละเอียดในภายหลัง

3. ใช้ค าส านวนแปลก ๆ เพื่อเร้าความสนใจให้ติดตามอ่าน

4. ใช้ภาษาที่มีลักษณะง่าย ระดับภาษาปากและภาษากึ่งแบบแผนมากกว่าภาษาระดับ มาตรฐาน เพื่อให้สามารถสื่อถึงคนได้ทุกระดับความรู้

5. มีการใช้ค าที่มีลักษณะเฉพาะมาก เช่น ค าทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาษาล้อเลียน

นักการเมืองภาษาวัยรุ่น ภาษาสแลง ภาษาพาดหัวข่าว เนื่องจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อ ที่แข่งขันกัน ในเรื่องความสดทันเหตุการณ์ ความรวดเร็ว การใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์จึงขาดความประณีต

ละเอียดลออ ขาดการตรวจทาน อย่างรอบคอบ ดังนั้นจึงมักปรากฏความบกพร่อง ในการใช้ภาษาของ หนังสือพิมพ์ อยู่เสมอปัญหาเรื่องการใช้ภาษา ของหนังสือพิมพ์ สามารถวิเคราะห์สาเหตุมาจากสิ่งต่าง ๆ ได้ดัง ต่อไปนี้

1. ความรีบร้อนในการเขียน

2. ความต้องการให้เด่น จูงใจให้ซื้ออ่าน 3. ความไม่รู้หรือขาดทักษะในการใช้ภาษา 4. ความละเลยไม่เอาใจใส่

ข้อเสนอแนะการใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์

อ้างอิงจาก (ข่าวสารเหตุการณ์โลก, ม.ป.ป.) การใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์มีดังนี้

1. พยายามใช้ค าและประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย 2. หลีกเลี่ยงการใช้ค าหยาบ

3. หลีกเลี่ยงการใช้ค าสองแง่สองมุม ที่ส่อเจตนาไปทางลามกอนาจารหรือหยาบคาย 4. หลีกเลี่ยงการใช้ค าทับศัพท์ภาษาต่างประเทศโดยไม่จ าเป็น

5. ต้องไม่ใช้ค าที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในข่าว

6. หลีกเลี่ยงการใช้อักษรย่อ นอกจากค าย่อที่รู้จักแพร่หลายกันทั่วไปอยู่แล้ว

42 7. ไม่ใช้ภาษาเกินความเป็นจริง

8. ไม่ตั้งสมญานามให้บุคคลอื่นด้วยถ้อยค าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย 9. ไม่ใส่ข้อมูล สีสันให้แก่ข่าวจนเกินความเป็นจริง

10. ไม่ท าให้ศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติเสื่อมทรามลง 11. ควรใช้ค าที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน ท าให้เข้าใจได้ง่าย

12. ใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน หรือกึ่งแบบแผน ไม่ควรใช้ภาษาปาก

13. ระวังการน าเสนอเนื้อหาที่จะชี้น าให้เกิดความงมงาย หลงเชื่อในทางไสยศาสตร์

14. ไม่เสนอภาพที่จะท าให้เกิดความเสียหาย เสื่อมเสียแก่บุคคลอื่น 15. ไม่เสนอภาพที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด บิดเบือนข้อเท็จจริง 16. ไม่เสนอภาพที่แสดงถึงความรุนแรง ภาพเปลือย ภาพสยดสยอง ประเภทของข่าว

การแบ่งประเภทของข่าว สามารถพิจารณา ได้หลายแง่มุมด้วยกัน ได้แก่

อ้างอิงจาก (ชลดา บุญห่อ (2560)

1.ประเภทของข่าวซึ่งพิจารณาในแง่ระดับข่าวซึ่งแบ่งเป็น“ข่าวหนัก”เน้นเนื้อหาสาระ ความรู้มากกว่าความบันเทิง และ“ข่าวเบา”ซึ่งเน้นความบันเทิง หรือผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของ ผู้อ่านเป็นหลัก

2. ประเภทของข่าวซึ่งพิจารณาในแง่ระดับความรู้สึกตอบสนองของผู้อ่านได้แก่ ข่าวที่

ผู้อ่านรู้สึกตอบสนองได้ทันที แต่เป็นการตอบสนองในระยะสั้นๆ ได้แก่ ข่าวบันเทิง อาชญากรรม อุบัติเหตุ และข่าวที่ผู้อ่านรู้สึกตอบสนองช้า เพราะต้องใช้ความคิดพิจารณาเนื้อหาให้เข้าใจอย่างถ่อง แท้ได้แก่ ข่าวการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา เป็นต้น

3. ประเภทข่าว ซึ่งพิจารณาจากวิธีการน าเสนอข่าว ซึ่งแบ่งเป็นข่าวที่เสนอ โดยเน้น เหตุการณ์คือเสนอเฉพาะข้อเท็จจริง ข่าวที่เสนอโดยเน้นที่กระบวนเกี่ยวเนื่องของข่าว คือ เน้นการ อธิบาย ตีความ ใช้ลีลาการเขียนแบบสารคดี เพื่อให้รายละเอียดที่เร้าใจ ดึงดูดความสนใจ

ช่วงระยะเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาท เปลี่ยนแปลง ชีวิตประจ าวันของผู้คนส่วนหนึ่งของโลก การเปลี่ยนแปลงนี้เข้าถึงเกือบทุกแวดวง ไม่เว้นแม้แต่วงการ สื่อมวลชนของโลกก็ได้ใช้ประโยชน์ ในการเสนอข่าวสารผ่านระบบเครือข่าย ให้แก่ผู้สนใจสามารถ อ่านข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้จากทั่วโลกจาก“โทรภาพสาร” สู่ “หนังสือพิมพ์ออนไลน์” ช่วงการ เกิดของโทรภาพสาร (Teletext) ในปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศอังกฤษ เปิดมิติใหม่ในการเผยแพร่

ข่าวสารของโลก ท าให้มีการคาดการณ์กันว่า สื่อนี้จะได้รับความนิยม เพราะโทรภาพสารสามารถ เปิดอ่านข่าวสารได้ผ่านหน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านเรือนทั่วไป

43 ในช่วงถัดมา เทคโนโลยีได้พัฒนามากขึ้นจนเกิดวีดิสาร (Videotex) ที่สามารถน าเสนอ ได้ทั้งข้อความและภาพ ในช่วงปี พ.ศ. 2523 องค์กรหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นสื่อมวลชนที่เก่าแก่ที่สุดใน โลกจึงได้พยายามน าเนื้อหาข่าว เผยแพร่สู่ประชาชน ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรก โดยได้ผ่านสื่อ นี้ (Craig, 2005 : 87) องค์กรหนังสือพิมพ์ใหญ่ ๆ เช่น หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ และหนังสือพิมพ์

ไทม์ ทุ่มเงินถึง 1 ล้านเหรียญเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้ แต่ประชาชนกลับยังไม่ค่อยนิยมใช้เพราะมี

ราคาแพง มีการใช้งานยุ่งยาก และเนื้อหามีแต่แบบตัดทอน รายละเอียดมากกว่าการรายงานข่าว ทั่วไป (Craig, 2005 : 87 อ้างถึงใน ศุภนิตย์ วงศ์ทางสวัสดิ์, 2549: 1)

จากงานวิจัยของ (Mantooth (1982) อ้างถึงใน ศุภนิตย์ วงศ์ทางสวัสดิ์, 2549: 1)) ได้มี

การพบว่า ข่าวและเรื่องราวที่น าเสนอบนสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงนั้น โดยมากเหมือนเป็นการ ท าส าเนามาจากหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ โดยได้มีวิธีการปรับแต่งในส่วนพาดหัวข่าวเท่านั้น นอกจากนี้

งานวิจัยของ Weaver (1983) ต่อมาในปีถัดมายังได้พบผลในทิศทางเดียวกัน คือที่มาของข่าวที่

น าเสนอในวีดิสารนี้ เอาใช้การน าข้อมูลข่าวเดิมจากฐานข้อมูลมาใช้ดัดแปลง ตกแต่งด้านเทคนิค และปรับแต่งข้อมูล ให้มีลักษณะที่เหมาะสม ส าหรับสื่อเท่านั้น การสื่อสารไร้พรมแดน เทคโนโลยี

ปัจจุบันทันสมัยขึ้น เข้าสู่ยุคออนไลน์กันแล้ว รวมไปถึงสื่อดั้งเดิมจากหนังสือพิมพ์หลายๆหัว ที่เพิ่มการรุกตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยล่าสุดหนังสือพิมพ์เก่าแก่ อย่างบ้านเมืองก็ประกาศเลิกพิมพ์

เป็นเล่มแล้ว หันมารุกตลาดออนไลน์อย่างจริงจัง ในขณะที่หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ในปัจจุบัน แต่ละหัว ต่างเน้นการน าเสนอข่าว ที่อยู่ในกระแส และรวดเร็วตามรูปแบบ รวมถึงแนวทางที่ถนัด เช่น แนวข่าว ทั่วไป ข่าวการเมือง ข่าวธุรกิจ ได้ช่วยกระตุ้นให้ “หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ”เหล่านี้ มียอดการเข้าชม ที่สูง มาจากการใช้โซเชียลเนตเวิร์ค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ “เฟซบุ๊ก” เป็นฐานในการดึงผู้อ่าน ให้

เข้าชมข่าวสารต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะเห็นว่า 5 ส านักข่าวออนไลน์ในระดับต้น ๆ ต่างมีจ านวน ผู้ติดตามในเฟซบุ๊กสูงทั้งสิ้น อาทิข่าวสดมีจ านวนผู้ติดตามมากถึง10.7ล้านคน ไทยรัฐ มีจ านวน ผู้ติดตาม 7.12 ล้านคน ผู้จัดการ มีจ านวนผู้ติดตาม 1.13 ล้านคน มติชน มีจ านวนผู้ติดตาม 8.73 แสนคน และเดลินิวส์ มีจ านวนผู้ติดตาม1.45 ล้านคน

หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ต้องการจ านวนคนการเข้าชมที่สูงขึ้น น าเรื่องของการสร้างฐานใน โซเชียลเน็ตเวิร์ค มาพิจารณาด้วยเช่นกัน แต่สิ่งส าคัญอีกอย่างก็คือ คอนเทนท์ จะต้องมีความน่าสนใจ รวมไปถึงกลยุทธ์ของแอดมินเฟคบุ๊ก แต่ละรายด้วยว่า จะสามารถดึงดูดให้คนเข้าชมเว็บไซต์ ได้มาก หรือน้อยขนาดไหน messageimage_1488530801333 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปริมาณการเข้าชม เว็บไซต์จะสามารถบ่งบอกถึงความนิยมในเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ก็ตาม แต่อีกสิ่งที่ต้องน ามาพิจารณา

ควบคู่ ก็คือ การใช้เวลาในแต่ละเว็บไซต์ เพราะจะสามารถสะท้อน ได้ถึงความมีเนื้อหาสาระ ที่น่าสนใจและมีคุณค่าในการติดตามอ่าน ซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่าเว็บไซต์ ที่ผู้อ่านใช้เวลาเฉลี่ยสูงที่สุด

คือ “ผู้จัดการ” ด้วยเวลาเฉลี่ยถึง 6.24 นาที ตามมาด้วยเว็บไซต์ “บางกอกโพสต์” ด้วยเวลาเฉลี่ย

44 ที่5.56นาที อันดับ3เป็นเว็บไซต์ “ไทยรัฐ” ด้วยเวลาเฉลี่ยที่ 5.41 นาทีอันดับต่อมาเป็นเว็บไซต์

“เดลินิวส์” และ“แนวหน้า”

หนังสือพิมพ์มีความเปลี่ยนแปลง เพราะด้วยเทคโนโลยี ที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น

เหมือนเป็นทางหนึ่ง ที่ผู้คนมักใช้ในการรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต โดยเปรียบเป็นคู่แข่งส าคัญของหนังสือพิมพ์ เพราะประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที

และรวดเร็ว ทันใจ และที่ส าคัญนั้นคอมพิวเตอร์ แทบจะมีอยู่ทุกบ้าน การซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่านบาง คนจึงไม่ค่อยให้ความส าคัญหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน จึงต้องมีการท าข่าวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชน ได้ทราบข่าวสารนั้น ๆ ได้อย่างทันท่วงที และการให้ข่าวที่มีคุณภาพน่าสนใจ หนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน จึงมักมีการใช้ค าที่ท าให้ผู้อ่านเกิดความสนใจและอยากอ่านต่อแต่ถึงอย่างไร หนังสือพิมพ์ในปัจจุบันก็

มีบทบาทส าคัญมากในการให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ถึงแม้เทคโนโลยีจะพัฒนามากขึ้น เรื่อย ๆ หนังสือพิมพ์ ยังความส าคัญที่ จะเป็นหลักฐานและแหล่งอ้างอิง ถึงข้อมูลข่าวสารที่เคยถูกน าเสนอไป แล้ว ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด ทิศทางธุรกิจหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิตอล

ประการที่สอง การแข่งขันจากการเสนอข่าวของโทรทัศน์ โดยแต่เดิมหนังสือพิมพ์แทบ จะผูกขาดในการเสนอข่าวสารแก่ประชาชน แต่ปัจจุบันสถานการณ์แตกต่างจากเดิมมาก นับตั้งแต่มี

การประดิษฐ์โทรทัศน์ขึ้นมายิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันมีการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อรายงานข่าวโดย เผยแพร่ผ่านเคเบิลทีวีตลอด 24 ชั่วโมง เช่น CNN, BBC, MSNBCฯลฯท าให้ประชาชนรับชมข่าวจาก โทรทัศน์เป็นหลัก

ประการที่สาม ความนิยมอ่านหนังสือพิมพ์แบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมี

ข้อได้เปรียบส าคัญ คือ ความรวดเร็วในการเสนอข่าวมากกว่าหนังสือพิมพ์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังอ่านฟรี

โดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิก ตัวอย่างหนึ่ง คือ หนังสือพิมพ์ New York Times ซึ่งปัจจุบันมีจ านวนผู้อ่าน ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมีจ านวน 1.4 ล้านคน/วัน นับว่ามากกว่าผู้อ่านบนสื่อ ที่เป็นกระดาษซึ่งมีจ านวน 1.1 ล้านคน/วัน โดยยอดจ าหน่ายหนังสือพิมพ์ New York Times แบบกระดาษมีแนวโน้มลดลง อย่างช้า ๆ จาก 1,176,000 ฉบับ/วัน ในปี 2536 เหลือ 1,124,000 ฉบับ/วัน ในปี 2547

ประการที่สี่ การแข่งขันจากหนังสือพิมพ์ที่แจกฟรี (Freesheets) ปัจจุบันมีหนังสือพิมพ์

แจกฟรีจ านวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่ได้พัฒนาแล้ว หนังสือพิมพ์เหล่านี้ จะท าให้มีแหล่งรายได้

จากค่าโฆษณา แนวโน้มส าคัญในปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ต่างพยายามขยายธุรกิจ ออกไปยังสื่ออื่น ๆ เป็นการเพิ่มเติม เช่น รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ ฯลฯ ต้องท าให้หนังสือพิมพ์

อยู่ในรูปธุรกิจอย่างเต็มตัว ต้องพยายาม แสวงหาผลก าไร อย่างตัวเป็นเกลียว เพื่อน าเงินมาขยาย ธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น หนังสือพิมพ์ ยังต้องพึ่งพาค่าโฆษณาในระดับสูง โดยกรณีสหรัฐฯ พึ่งพาค่าโฆษณา ในอัตราสูง ถึง 85% ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่หนังสือพิมพ์ในทวีปยุโรปจะพึ่งพาค่าโฆษณาเป็น สัดส่วนมากถึงร้อยละ 60-70 ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนมากขึ้นไปอีก

Garis besar

Dokumen terkait