• Tidak ada hasil yang ditemukan

โตโยต้าเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

2.5 ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด

2.5.9 โตโยต้าเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญในภารกิจสร้างสรรค์

สังคมไทยในด้านต่าง ๆ มาโดยตลอด เพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง เช่น เพื่อสิ่งแวดล้อม การจราจร สังคม กีฬา การศึกษา วัฒนธรรม ฯลฯ เช่น (บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, 2564)

1) ชีวพนาเวศ

ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเเละความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” (Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center) จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ซึ่ง ได้ประยุกต์ใช้แนวความคิดการปลูกป่านิเวศตามหลักการปลูกป่าของ ศ.ดร.อากิระ มิยาวากิ โดยป่า นิเวศแห่งนี้ เป็นป่านิเวศในโรงงานแห่งแรก ที่ได้รับความร่วมมือในการปลูกจากทุกภาคส่วน ได้แก่

พนักงานโตโยต้า ผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้แทนจำหน่าย ประชาชนจากชุมชนรอบโรงงาน และชุมชนอื่น ๆ ใน จังหวัดฉะเชิงเทรากว่า 13,000 คน ปลูกต้นไม้จำนวน 100,000 ต้น ในวันที่ 3 สิงหาคม 2551 และ ในปีต่อมาได้จัดทำ “ไบโอโทป” (Biotope) ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และเป็นการ สร้างระบบนิเวศจากมือมนุษย์ (Man-Made Ecosystem) จนเมื่อต้นไม้เติบโตเป็นป่านิเวศที่สมบูรณ์

ตลอดจนเกิดระบบนิเวศหลากหลายตามสายพันธุ์และชนิดในพื้นที่ โตโยต้าได้เล็งเห็นประโยชน์จาก ความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้น จึงได้นำมาบูรณาการเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และจัดตั้ง เป็นศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเเละความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” (Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดศูนย์การ เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ณ โรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันพุธที่ 22 มิถุนายน 2559

2) โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์

TSI : โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒนา เป็นการนำความรู้และประสบการณ์การทำงานของโตโยต้า ถ่ายทอดสู่ธุรกิจชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืน

กว่า 50 ปีที่โตโยต้าดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทฯ ได้นำหลัก วิถีแห่งโตโยต้า ระบบ การผลิตแบบโตโยต้า และปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของโตโยต้าที่ได้รับการยอมรับใน ระดับสากลมาประยุกต์ใช้สร้างความเติบโตแก่องค์กรและบริษัทคู่ค้า เพื่อเป็นการขยายผลการนำ ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทย บริษัทฯ จึงได้เกิดแนวคิดในการนำนวัตกรรมทางความคิด เหล่านี้มาถ่ายทอดสู่ธุรกิจชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ อันจะเป็นการพัฒนารากฐาน ด้านเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ภายใต้โครงการ “โตโยต้า ธุรกิจ ชุมชนพัฒน์”

3) โครงการโตโยต้าสังคมแห่งความสุข

เป็นกิจกรรมเพื่อชุมชน โดยให้ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ เข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อผลักดันสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

จากการดำเนินธุรกิจในเมืองไทยเป็นระยะเวลามากกว่า 50 ปี โตโยต้ายังคงมุ่งมั่นที่จะ ขับเคลื่อนความสุขสู่สังคมไทยในหลากหลายด้าน ภายใต้แนวความคิด “โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข”

(Toyota Mobility of Happiness) ซึ่งกิจกรรมสังคมสัมพันธ์ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายใน การเป็นองค์กรที่มีจิตสำนึกของความรับผิดชอบต่อสังคมไทย โดยบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ และบริษัทฯ ในเครือจัดตั้งขึ้นเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วม สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมท้องถิ่น ทั้งในรูปแบบของความร่วมมือ ความช่วยเหลือ และส่งเสริม คุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น ในรูปแบบของการนำองค์ความรู้และประสบการณ์ของโตโยต้าเข้าไป ปรับใช้ ทั้งในเชิงธุรกิจ เชิงวัฒนะธรรม และเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนความสุข สร้างรอยยิ้ม และ พัฒนาสังคมไทยให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน

4) มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของการดำเนินกิจการในประเทศไทยของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดในสถานะ องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร ด้วยเงินทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 30 ล้านบาท โดยนำเงินดอกผลมาดำเนิน กิจกรรมเพื่อสาธารณกุศล ภายใต้วัตถุประสงค์ ได้แก่

4.1)สนับสนุนด้านการศึกษา มูลนิธิฯ ให้ความสำคัญต่อการศึกษาซึ่งเป็นรากฐาน ในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติ ดังนั้นในการสนับสนุนด้านการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปฐมวัยถึงระดับอุดมศึกษาพร้อมทั้งช่วยเหลือเด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์

และเด็กที่สูญเสียผู้นำครอบครัวจากการทำหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด รวมถึงเด็ก ๆ ตาม พื้นที่เขตชายแดนในการจัดสร้างอาคารเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อสร้าง โอกาสทางการศึกษาให้มีอาคารเรียนที่เหมาะสมและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

อีกทั้งการให้ทุนการศึกษาที่ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งดำเนินโครงการ โดยมหาวิทยาลัย บูรพา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตและมหาวิทยาลัยขอนแก่น

4.2) สนับสนุนด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต มูลนิธิฯ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนในท้องถิ่นห่างไกลให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี

ขึ้น โดยสนับสนุนกิจกรรมในด้านต่าง ๆ อันได้แก่ การส่งเสริมความรู้ทางด้านโภชนาการใน เด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยมุ่งเน้นปรัชญาที่ว่า “เด็กทุกคนมี

กินทุกมื้อ ได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน” นอกจากนั้นมูลนิธิฯ ยังได้ส่งเสริมหลักการ บริหารจัดการโดยผ่านระบบสหกรณ์เพื่อการเรียนรู้อีกด้วย สำหรับในด้านการบริการทาง สาธารณสุขนั้นได้สนับสนุนให้สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ทำการผ่าตัดแก้ไขอาการปากแหว่งเพดานโหว่และยังส่งเสริมให้ความรู้ด้านสุขอนามัยและชี

วอนามัยให้แก่เด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย

4.3) สนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมและร่วมมือกับองค์กรสาธารณกุศล มูลนิธิฯ ร่วมมือ กับสมาคมปกาเกอะญอ เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ป.พล.) จัดทำโครงการ อนุรักษ์ป่าต้นน้ำต้น โดยการจัดกิจกรรมการบวชป่าต้นน้ำวัดจันทร์เพื่อถวายเป็นพระราช กุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้ชาวบ้านเกิดความร่วมมือ ร่วมใจกัน ป้องกันดูแลรักษาและควบคู่กับการใช้ประโยชน์ที่เป็นธรรมอย่างสมดุล และเกิด ความยั่งยืนในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่แดดและตำบลแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่มและ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงเพื่อให้เกิดพลังความร่วมมือจากหน่วยงาน ภาครัฐภาคองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายชุมชนปกา เกอะญอ นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนมูลนิธิพระดาบส ในการขยายต่อในโครงการ คำพ่อสอน สานต่อและขยายผล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่เยาวชน ในการน้อมน้ำพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไป ประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไป

5) โรงสีข้าวรัชมงคล

โรงสีข้าวรัชมงคลจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกร สร้าง ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงแก่ลูกค้าในราคาที่เหมาะสมและให้เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ โดยมิได้

มุ่งหวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการดำเนินการยึดตาม แนวทางโรงสีสวนจิตรลดาเป็นหลัก โดยซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรโดยตรงมาสีและจำหน่ายในราคา ที่เหมาะสมโดยมิได้มุ่งหวังการค้าเพื่อกำไรแต่ให้คุ้มทุนและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างพอเพียง โรงสีข้าว จะรับซื้อข้าวจากชาวนาและชุมชนใกล้เคียง แล้วมีการนำผลพลอยได้อย่าง แกลบ รำ และปลายข้าว ไปจำหน่ายให้กับเกษตรกรในราคาย่อมเยา เป็นการทำครบวงจรของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงสีข้าวรัชมงคล มีกำลังการผลิตข้าวเปลือก 20 ตันต่อวัน หรือ 500 ตันต่อเดือน ผลิตหลัก คือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวพื้นเมือง และข้าวกล้องหอมมะลิ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ครอบครัวของ พนักงานในกลุ่มบริษัท โตโยต้า “ข้าวทุกคำจำจากคำพ่อสอน”