• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์"

Copied!
126
0
0

Teks penuh

(1)

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปันผลตอบแทนของ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

The Relationship between Financial Ratios and Dividend Yields of Automotive Industry Listed Companies

in The Stock Exchange of Thailand

(2)

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปันผลตอบแทนของ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

The Relationship between Financial Ratios and Dividend Yields of Automotive Industry Listed Companies

in The Stock Exchange of Thailand

วีรยา ถนอมพงษ์

การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีการศึกษา 2564

ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

(3)

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อนุมัติให้การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปันผลตอบแทนของ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

ผู้วิจัย วีรยา ถนอมพงษ์

ได้พิจารณาเห็นชอบโดย

อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.รพีสร เฟื่องเกษม

ผู้เชี่ยวชาญ ดร.ธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์

(4)

วีรยา ถนอมพงษ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, กุมภาพันธ์ 2566, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (115 หน้า)

อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร.รพีสร เฟื่องเกษม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่

อัตราส่วนเงินสด (CR), อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (DER), อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (RT), อัตรา กำไรสุทธิ (NPM) และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราเงินปัน ผลตอบแทน (DY) ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยาน ยนต์ จำนวน 14 บริษัท โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปีพ.ศ. 2554 ถึงไตรมาสที่ 2 ของปี

พ.ศ.2565 ทั้งหมด 46 ไตรมาส รวม 11 ปี โดยใช้วิธีการทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่ามากที่สุด ค่าน้อยที่สุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ

เชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบหาความสัมพันธ์แบบถดถอยเชิงพหุคูณที่ระดับความเชื่อมั่น 99%, 95% และ 90% ตามลำดับ

ผลการศึกษา พบว่า อัตราส่วนเงินสด (CR) มีความสัมพันธ์กับอัตราเงินปันผลตอบแทนมาก ที่สุด อัตรากำไรสุทธิ (NPM) และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มีความสัมพันธ์กับ อัตราเงินปันผลตอบแทนรองลงมาตามลำดับ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (DER) และอัตราการหมุนเวียน ของลูกหนี้ (RT) มีความสัมพันธ์กับอัตราเงินปันผลตอบแทนน้อยที่สุด

คำสำคัญ: อัตราส่วนทางการเงิน, อัตราเงินปันผลตอบแทน, อุตสาหกรรมยานยนต์

(5)

Thanompong, W. Master of Business Administration, February 2023, Graduate School, Bangkok University.

The Relationship between Financial Ratios and Dividend Yields of Automotive Industry Listed Companies in The Stock Exchange of Thailand (115 pp.) Advisor: Rapeesorn Fuangkasem, D.B.A.

ABSTRACT

The objectives of this research is to study the relationship between financial ratios, namely Cash Ratio (CR), Debt-to-Equity Ratio (DER), Receivable Turnover Ratio (RT), Net Profit Margin (NPM) and Return on Equity. Equity (ROE) that is related to the dividend yield (DY) of companies listed on the Stock Exchange of Thailand. The automotive industry group of 14 companies from the 1st quarter of the year 2011 to the 2nd quarter of the year 2022, totaling 46 quarters, totaling 11 years. The

statistical method is divided into two categories: 1) descriptive statistics was mean, median, maximum, minimum ,standard deviation; and 2) inferential statistics was multiple regression analysis test at 99%, 95% and 90% confidence levels,

respectively.

The results of the study found that the Cash ratio (CR) affected with the dividend yield of automotive industry in The Stock Exchange of Thailand the most.

Net profit margin (NPM) and return on equity (ROE) affected with the dividend yield to less extent. And the study found that Debt-to-equity ratio (DER) and Account receivable turnover (RT) affected with the dividend yield to the least extent.

Keywords: Financial Ratio, Dividend Yield, Automotive Industry

(6)

กิตติกรรมประกาศ

การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ สามารถสำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจาก ดร.รพีสร เฟื่องเกษม อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระซึ่งได้ให้ความรู้ การชี้แนะแนวทางการศึกษา ตรวจทานและแก้ไข ข้อบกพร่องในงาน ตลอดจนการให้คำปรึกษาซึ่งเป็นประโยชน์ในการวิจัยจนงานวิจัยครั้งนี้มีความ สมบูรณ์ครบถ้วนสำเร็จไปได้ด้วยดี รวมถึงอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ และสามารถ นำวิชาการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ไว้ ณ โอกาสนี้

วีรยา ถนอมพงษ์

(7)

สารบัญ

หน้า

บทคัดย่อภาษาไทย ค

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ง

กิตติกรรมประกาศ จ

สารบัญตาราง ซ

สารบัญภาพ ญ

บทที่ 1 บทนำ

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3

1.3 ขอบเขตของงานวิจัย 4

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4

1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 4

บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน 5

2.2 ทฤษฎีโครงสร้างเงินทุน 7

2.3 ทฤษฎีลูกนกในกำมือ 8

2.4 ทฤษฎีการจ่ายเงินปันผลที่ไม่เกี่ยวข้อง 9

2.5 ทฤษฎีการส่งสัญญาณ 9

2.6 ทฤษฎี Clientele effect 9

2.7 ทฤษฎีอายุของกิจการ 10

2.8 ทฤษฎีตัวแทน 10

2.9 ทฤษฎีอัตราผลตอบแทน 11

2.10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 11

2.11 กรอบแนวคิดในการวิจัย 16

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

3.1 ประเภทของงานวิจัย 17

3.2 กลุ่มตัวอย่าง 17

3.3 วิธีการเก็บข้อมูล 18

3.4 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 18

(8)

สารบัญ (ต่อ)

หน้า บทที่ 3 (ต่อ) วิธีดำเนินการวิจัย

3.5 สมมติฐานที่ใช้ในการวิจัย 19

3.6 การนำเสนอข้อมูล 19

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา 20

4.2 การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ 34

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการวิจัย 49

5.2 การอภิปรายผล 50

5.3 ข้อเสนอแนะ 54

บรรณานุกรม 55

ภาคผนวก 58

ประวัติผู้เขียน 115

(9)

สารบัญตาราง

หน้า

ตารางที่ 4.1: บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) 20

ตารางที่ 4.2: บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 21

ตารางที่ 4.3: บริษัท อีซึ่น แอนด์ โค จำกัด (มหาชน) 22

ตารางที่ 4.4: บริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 23 ตารางที่ 4.5: บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) 24

ตารางที่ 4.6: บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน) 25

ตารางที่ 4.7: บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 26 ตารางที่ 4.8: บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) 27

ตารางที่ 4.9: บริษัท สยามภัณฑ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 28

ตารางที่ 4.10: บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 29 ตารางที่ 4.11: บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) 30

ตารางที่ 4.12: บริษัท ไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) 31

ตารางที่ 4.13: บริษัท ไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัด (มหาชน) 32

ตารางที่ 4.14: บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) 33

ตารางที่ 4.15: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) 34 ตารางที่ 4.16: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด 35

(มหาชน) CWT

ตารางที่ 4.17: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท อีซึ่น แอนด์ โค จำกัด (มหาชน) 36 ตารางที่ 4.18: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) 37

จำกัด (มหาชน)

ตารางที่ 4.19: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) 38 จำกัด (มหาชน)

ตารางที่ 4.20: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน) 39 ตารางที่ 4.21: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) 40

จำกัด (มหาชน)

ตารางที่ 4.22: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี 41 จำกัด (มหาชน)

ตารางที่ 4.23: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท สยามภัณฑ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 42

(10)

สารบัญตาราง (ต่อ)

หน้า ตารางที่ 4.24: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า 43

จำกัด (มหาชน)

ตารางที่ 4.25: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม 43 จำกัด (มหาชน)

ตารางที่ 4.26: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท ไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) 44 ตารางที่ 4.27: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท ไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัด (มหาชน) 45 ตารางที่ 4.28: สถิติถดถอยแบบพหุคูณของ บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) 46 ตารางที่ 4.29: แสดงสมการที่ใช้ในการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณของบริษัทที่จด 47 ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : หมวดธุรกิจยานยนต์

ตารางที่ 5.1: สรุปผลการวิเคราะห์สมการทั้ง 14 สมการ และระดับนัยยะสำคัญ 49

(11)

สารบัญภาพ

หน้า

ภาพที่ 2.1: กรอบแนวคิดในการวิจัย 16

(12)

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ในสภาวะการณ์ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่เล็งเห็นถึงความสำคัญและมุ่งความสนใจเกี่ยวกับการ ลงทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากถือเป็นการนำเงินที่ตนถือครองอยู่ในมือไปลงทุนเพื่อที่จะสร้าง ผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยสามารถลงทุนได้ในหลายรูปแบบ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, กองทุน รวม และหลักทรัพย์ต่างๆ เป็นต้น โดยการลงทุนแต่ละวิธีมักจะมีความเสี่ยงรวมอยู่ด้วยเสมอ ก่อนทำ การลงทุนในทุกๆ ครั้งผู้ลงทุนต้องประเมินความเสี่ยงของตนเอง การลงทุนนั้นจะเกี่ยวข้องกับ ผลตอบแทน (Returns) และความเสี่ยง (Risks) โดยทุกคนที่ลงทุนเพราะคาดหวังจะได้รับ ผลตอบแทนที่สูง แต่ในหลายครั้งของการลงทุนก็ไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงทำให้ผู้ลงทุนต้อง ยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ยิ่งมีความเสี่ยงสูงก็แสดงว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามไป ด้วย หากความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนก็จะต่ำ (“การลงทุน”, ม.ป.ป.) การลงทุนนั้นสามารถแบ่งได้

กว้างๆ 2 แบบ คือ การลงทุนด้วยตัวเองโดยตรงกับการลงทุนโดยให้คนอื่นบริหารให้ โดยเราจะเลือก การลงทุนด้วยวิธีไหนอาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยบางส่วน เช่น เวลาที่ใช้ในการลงทุน ถ้าหากต้องการลงทุน ด้วยตัวเองเราอาจจะต้องการเวลาในการศึกษาและติดตามการลงทุนค่อนข้างมาก แต่ก็มีข้อดีคือการ ลงทุนเองถ้าเราสามารถทำได้ดีจะสามารถให้ผลตอบแทนที่มากกว่าการให้มืออาชีพบริหารให้ แต่ก็มี

โอกาสผิดพลาดได้มากกว่าเช่นกัน และอีกปัจจัยหนึ่ง คือ ความรู้และความสนใจของผู้ลงทุนเกี่ยวกับ การลงทุนในเรื่องหลักการลงทุนแบบต่างๆ และเลือกว่าแบบไหนที่เหมาะกับเราและเลือกลงทุนตาม แบบนั้น หรือหากเราไม่ได้ชอบเรื่องการลงทุน แต่ว่าเห็นว่าการลงทุนก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ก็อาจจะให้มือ อาชีพบริหารให้ (“รู้จักการลงทุน”, 2561)

การลงทุนวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การลงทุนเกี่ยวกับหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย เพราะจะให้ผลตอบแทนในหลายรูปแบบ ทั้งในรูปของเงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น สิทธิใน การจองซื้อหุ้นออกใหม่ หากในอนาคตบริษัทต้องการออกหุ้นเพื่อเพิ่มทุนหุ้นที่ได้ออกใหม่นั้นผู้ถือหุ้น คนเดิมจะได้รับสิทธิก่อนบุคคลภายนอกที่จะซื้อหุ้นในราคาที่กำหนด ถือได้ว่าการให้สิทธิอย่างนี้เป็น การปกป้องผู้ถือหุ้นเดิม ที่ยังคงสัดส่วนความเป็นเจ้าของ และไม่เป็นการทำให้ผู้ถือหุ้นคนเดิมนั้น สูญเสียอำนาจการควบคุมกิจการลดลง เมื่อกิจการออกจำหน่ายหุ้นมากขึ้น นอกจากนี้สัดส่วนการถือ ครองก็แสดงถึงการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการมีสิทธิลงคะแนนเสียงเพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญของ กิจการ เช่น เมื่อบริษัทจะจ่ายเงินปันผล, เพิ่มจำนวนทุน หรือควบรวมกิจการ เป็นต้น นอกจากนี้การ ที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนในหุ้นนั้น ถือได้ว่าหุ้นจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วหรือมีสภาพคล่องที่ดี

เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทหลักทรัพย์ จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือตัวแทน

(13)

ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ผู้ลงทุนทุกคนสามารถซื้อขายหุ้นในตลาดนี้ได้อย่างรวดเร็ว ในราคาที่ทั้งสอง ฝ่ายพอใจ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มีการโอนความเป็นเจ้าของและส่งมอบค่าหุ้นตามกำหนดเวลา แม้ว่าแต่

ละบริษัทจะมีหุ้นที่มีสภาพคล่องที่แตกต่างกัน โดยบริษัทที่มีผู้ลงทุนสนใจลงทุนในหุ้นจำนวนมากนั้น สามารถซื้อได้ง่าย รวดเร็ว และขายคล่อง ในขณะที่บางบริษัทหุ้นอาจจะมีผู้สนใจน้อยและซื้อขายได้

ยากกว่า

ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนนั้นจะได้รับจากที่ลงทุน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในรูปของเงินปันผล หรือการ จ่ายปันผล มีทั้งรูปแบบที่จ่ายเป็นเงินสดและจ่ายเป็นหุ้น ซึ่งโดยปกติแต่ละบริษัทจะจ่ายให้มากหรือ น้อยก็ขึ้นอยู่กับกำไรสะสมและนโยบายการจ่ายปันผลที่แตกต่างกันไปของแต่ละบริษัท การจ่ายปันผล (Dividend) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เงินปันผลที่จ่ายเป็นเงินสด และหุ้นปันผลที่จ่ายเป็น หุ้นสามัญออกใหม่ โดยส่วนใหญ่แล้ว บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมักจะ นิยมการจ่ายปันผลเป็นเงินสด ซึ่งเป็นส่วนที่มาจากกำไรสะสมของบริษัท แต่ในบางกรณีที่บริษัท ขาดทุน ก็อาจจะยังสามารถจ่ายเงินปันผลได้อยู่ โดยใช้กำไรสะสมมาจ่าย แต่หากบริษัทอยู่ในสถานะ ขาดทุนสะสมก็จะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ สำหรับระยะเวลาในการจ่ายปันผล สามารถแบ่งได้ 2 ช่วง คือ 1) จ่ายปันผลประจำปี เป็นการจ่ายเงินปันผลตามปกติ ซึ่งบริษัทจะจ่าย หลังรอบระยะเวลาบัญชีและกฎหมายกำหนดให้จ่ายในช่วง 1 เดือน หลังจากที่มีการอนุมัติในที่

ประชุมผู้ถือหุ้น 2) การจ่ายปันผลระหว่างกาล เป็นการจ่ายเงินปันผลนอกรอบระยะเวลาบัญชี โดย บริษัทพิจารณาแล้วว่า มีกำไรพอที่จะจ่ายได้ และต้องผ่านมติจากคณะกรรมการบริษัท (“การจ่าย ปันผล”, 2565)

อัตราส่วนทางการเงินสามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้

ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่สนใจหรือใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อัตราส่วนเงิน สด, อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน, อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้, อัตรากำไรสุทธิ, อัตราผลตอบแทนส่วน ของผู้ถือหุ้น เป็นต้น หนึ่งในวิธีเลือกลงทุนที่ดีที่สุดนั้นคือการสนใจหรือเลือกวิเคราะห์เพียงอัตราส่วน ทางการเงินของบริษัทที่วิเคราะห์เพียงอย่างเดียวอาจไม่ครอบคลุมมากพอ ผู้ลงทุนจะต้องเปรียบเทียบ บริษัทที่ทำการวิเคราะห์กับวิธีการลงทุนอื่น ๆ ที่มีอยู่ ทั้งการเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม เดียวกัน เพื่อพิจารณาว่าบริษัทที่ต้องการลงทุนมีข้อดีหรือข้อเสียในส่วนใด และโดยภาพรวมบริษัทใด เหมาะแก่การลงทุนมากที่สุด และเทียบกับค่าเฉลี่ยภาพรวมของอุตสาหกรรม เพื่อดูว่าบริษัทที่จะ ลงทุนมีสถานะทางการเงินที่มากกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบพิจารณา การตัดสินใจ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2564)

(14)

สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยนั้น วิจัยกรุงศรี ได้วิเคราะห์แนวโน้มการ ดำเนินงานช่วงปี 2564 – 2566 พบว่า การผลิตรถยนต์ของไทยในช่วง 3 ปีนี้มีแนวโน้มขยายตัว ประมาณ 3 - 4% โดยสาเหตุเกิดมาจากมีปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ไทยที่กำลังเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ยอดขายในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเช่นกัน โดยคาดว่า กลุ่ม บุคคลบางส่วนมีความต้องการรถเพื่อใช้ในการพาณิชย์จำนวนสูงขึ้นทั้งในภาคธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจค้า ปลีกออนไลน์ และธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นต้น นอกจากนี้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือรถ EV ได้รับความเห็นชอบจากทางภาครัฐ มีมติเห็นชอบส่งเสริมต่าง ๆ มากมายทั้งในด้านผู้ซื้อและ

ผู้ประกอบการ เช่น 1) ได้รับเงินอุดหนุนรถยนต์และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาท/คัน และ รถจักรยานยนต์ 18,000 บาท/คัน 2) ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8% เป็น 2% และรถกระบะ เป็น 0% 3) ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่นำเข้าทั้งคัน (CBU) และผลิตในต่างประเทศ สูงสุด 40% สำหรับ รถยนต์ ถึงปี 2566 4) ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์ EV จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิต หรือประกอบรถEV ในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ เป็นต้น จึงคาดว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้

จะสามารถเพิ่มผลประกอบการที่ดีขึ้นและช่วยสร้างมูลค่าตัวเงินให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ได้เป็น จำนวนมาก (วิจัยกรุงศรี, 2564)

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงเลือกศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงิน กับอัตราเงินปันผลตอบแทน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยวิเคราะห์อัตราส่วนเงินสด, อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน, อัตราการหมุนเวียน ของลูกหนี้, อัตรากำไรสุทธิ และอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยนักลงทุนได้

ประเมินความเสี่ยง เพื่อให้ยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และเป็นแนวทางในการ วิเคราะห์เลือกลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อสร้างประโยชน์จากการลงทุนได้อย่างสูงสุด

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนเงินสด อัตราส่วน หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อส่วน ของผู้ถือหุ้นที่มีความสัมพันธ์กับอัตราเงินปันผลตอบแทน ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

(15)

1.3 ขอบเขตของงานวิจัย

1.3.1 ศึกษาเฉพาะบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1.3.2 ศึกษาเฉพาะบริษัทที่มีข้อมูลครบถ้วน โดยเก็บข้อมูลเป็นรายไตรมาสเริ่มตั้งแต่ไตรมาส ที่ 1 ของปีพ.ศ. 2554 ถึงไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2565 ทั้งหมด 46 ไตรมาส เวลา 11 ปี จำนวน 14 บริษัท เท่านั้น

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.4.1 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนสำหรับพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินเพื่อเป็น แนวทางประกอบการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์

1.4.2 เพื่อประโยชน์ของบริษัทที่จะนำข้อมูลทางการเงินไปปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อ ทำให้หลักทรัพย์เป็นที่สนใจและดึงดูดนักลงทุนให้มาก

1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ

1.5.1 อัตราส่วนทางการเงิน หมายถึง ตัวเลขที่บ่งบอกฐานะทางการเงินของธุรกิจและ ประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจ โดยนำตัวเลขในงบการเงินมาหาอัตราส่วนเพื่อนำมาวิเคราะห์

เปรียบเทียบ

1.5.2 อัตราเงินปันผลตอบแทน (DY) หมายถึง อัตราของเงินปันผลต่อหุ้นและราคาหุ้นในรูป อัตราส่วน เพื่อช่วยคำนวณความคุ้มค่าก่อนการลงทุน

1.5.3 อัตราส่วนเงินสด (CR) หมายถึง อัตราส่วนที่แสดงศักยภาพในการชำระหนี้สินหรือ สภาพคล่องทางการเงินของกิจการบริษัทมากกว่ากัน

1.5.4 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (DER) หมายถึง บอกโครงสร้างเงินทุนของกิจการในรูป อัตราส่วนว่ามาจากภายในหรือภายนอก

1.5.5 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (RT) หมายถึง บอกศักยภาพในการเก็บเงินจากการขาย เชื่อของกิจการภายในหนึ่งปีในรูปอัตราส่วนเป็นจำนวนครั้ง

1.5.6 อัตรากำไรสุทธิ (NPM) หมายถึง บอกถึงศักยภาพในการทำกำไรของกิจการในรูป อัตราส่วน

1.5.7 อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) หมายถึง บอกศักยภาพของการทำกำไร ขององค์กรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในรูปอัตราส่วน

(16)

บทที่ 2

แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปัน ผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

โดยแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ศึกษา ดังนี้

2.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) 2.2 ทฤษฎีโครงสร้างเงินทุน (Capital Struction Theory)

2.3 ทฤษฎีลูกนกในกำมือ (The Bird in The Hand Theory)

2.4 ทฤษฎีการจ่ายเงินปันผลที่ไม่เกี่ยวข้อง (Dividend Irrelevance Theory) 2.5 ทฤษฎีการส่งสัญญาณ (Signaling Theory)

2.6 ทฤษฎี Clientele Effect

2.7 ทฤษฎีอายุของกิจการ (The Life Cycle Theory of Dividends) 2.8 ทฤษฎีตัวแทน (Agency Theory)

2.9 ทฤษฎีอัตราผลตอบแทน (Rate of Return) 2.10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.11 กรอบแนวคิดในการวิจัย

2.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) 2.1.1 ความหมายของอัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนทางการเงิน คือ วิธีการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ข้อมูลขึ้นไปที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน มาคำนวณเป็นสัดส่วน อัตราส่วนหรือร้อยละความสัมพันธ์แต่ละรายการ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่

ช่วยในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบงบการเงิน ซึ่งข้อมูลตัวเลขในงบการเงิน เช่น งบแสดงฐานะ การเงิน, งบกำไรขาดทุน, งบกระแสเงินสด จะช่วยบอกถึงสถานะเกี่ยวกับเงินและการดำเนินการของ บริษัทในปัจจุบัน และจะมีประโยชน์กับกลุ่มคนที่สนใจในงบการเงินเพื่อที่จะนำไปเป็นทางเลือกในการ ประกอบการการตัดสินใจในอนาคตต่อไป เช่น การวางแผนเงินทุนเพื่อที่จะขยายการขายต่อไปใน อนาคต หรือการวางแผนการจ่ายเงินเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ของบริษัท เป็นต้น (วาณี คําดี, 2545)

การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลกำไรของบริษัทที่จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น จะให้ผลที่แตกต่างกันหากเป็นธุรกิจคนละประเภท กัน อยู่คนละกลุ่มอุตสาหกรรม หรือมีโครงสร้างทางการเงินที่ต่างกัน หมายความว่า จะใช้วิธีการ วิเคราะห์ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินนั้น

(17)

ถือเป็นประเภทการวิเคราะห์เบื้องต้น เนื่องจากอาศัยข้อมูลในงบการเงิน แล้วมาคำนวณหาอัตราส่วน ระหว่างกันเพื่อทำให้เห็นลักษณะและแนวโน้มของหลักทรัพย์นั้น ๆ โดยมีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดง ให้เห็นถึงประโยชน์ของอัตราส่วนทางการเงินที่ต่อผู้ใช้อีกมากมาย เช่น บริษัททราบผลการดำเนินงาน ของตนเอง เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป หรือผู้สนใจที่จะลงทุนในบริษัทนี้ เป็นต้น

การนำอัตราส่วนทางการเงินมาทำการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคาดการณ์และ วิเคราะห์สถานะเกี่ยวกับเงิน การดำเนินงานและประสิทธิภาพของธุรกิจเกี่ยวกับการทำกำไรและให้

รายละเอียดได้ดีกว่าข้อมูลดิบในรายงานทางการเงิน โดยผู้ลงทุนอาจวิเคราะห์จากการนำอัตราส่วน ทางการเงินของบริษัทเทียบกันกับอัตราส่วนในอดีตที่ผ่านมา, เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม นั้น ๆ หรือเปรียบเทียบกันกับบริษัทอื่นที่เป็นคู่แข่ง (ปฏิพล คุ้มกลัด, 2562)

2.1.2 อัตราเงินปันผลตอบแทน (DY)

อัตรานี้จะช่วยบ่งบอกความคุ้มค่าก่อนการตัดสินใจลงทุน ซึ่งจะวัดผลออกมาในรูปของ เปอร์เซ็นต์ คำนวณได้จากสูตร

อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล = (เงินปันผลต่อหุ้น/ราคาหุ้น)*100

ถ้าตัวเลขที่คำนวณออกมาได้ มีจำนวนมากกว่า 0 หมายถึง บริษัทมีศักยภาพในการจ่ายเงิน ปันผลของหุ้นมาก แต่ถ้ามีจำนวนน้อยกว่า 0 หมายถึง บริษัทมีศักยภาพในการจ่ายเงินปันผลของหุ้น น้อย ดังนั้น ถ้าผลที่ได้ได้อัตราส่วนยิ่งมีค่าจำนวนมากก็จะยิ่งดี แสดงได้ว่าผู้ถือหุ้นจะได้รับ

ผลตอบแทนมาก

2.1.3 อัตราส่วนเงินสด (CR)

เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงศักยภาพในการจ่ายชำระหนี้หรือฐานะทางการเงินเกี่ยวกับสภาพ คล่องของกิจการ โดยสภาพคล่องถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินกิจการ หากกิจการสามารถจ่าย ชำระหนี้ที่ไม่เกินหนึ่งปีได้ดี แสดงว่ามีสภาพคล่องดี สามารถคำนวณได้จากสูตร

อัตราส่วนเงินสด (เท่า) = (เงินสด + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด) /หนี้สิน หมุนเวียน

เป็นอัตราส่วนที่บอกฐานะทางการเงินและสภาพคล่องว่ากิจการมีสภาพคล่องที่ดีเพียงใด เมื่อ คิดออกมาเป็นอัตราส่วนแล้ว ถ้าหากมีจำนวนมากกว่า 1 แสดงว่าดี กิจการมีศักยภาพของการจ่าย ชำระหนี้และสภาพคล่องดี แต่ถ้าสูงมากเกินไป แสดงว่ามีเงินสดอยู่ในครอบครองมากเกินไปซึ่งส่งผล ให้การใช้สินทรัพย์ภายในกิจการมีประสิทธิภาพต่ำ และถ้ามีจำนวนต่ำกว่า 1 บ่งบอกได้ว่ามีฐานะ การเงินไม่ดี ไม่ค่อยมีศักยภาพในการจ่ายชำระ

(18)

2.1.4 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (DER)

บ่งบอกโครงสร้างเงินทุนของกิจการว่ามาจากส่วนใด โดยมาจากกิจการรวบรวมทุนภายใน หรือจากการกู้ยืมเงินบุคคลภายนอก สามารถคำนวณได้จากสูตร

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (เท่า) = หนี้สิน/ส่วนของผู้ถือหุ้น

ถ้าจำนวนอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่ากิจการได้สินทรัพย์มาจากภายนอก ในอนาคตจะต้องจ่าย ชำระหนี้ มีความเสี่ยงที่ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยได้ แต่ถ้าหากอัตราส่วนต่ำ แสดงว่าเกิดจากการใช้

เงินทุนภายในกิจการ ไม่มีภาระต้องชำระดอกเบี้ย 2.1.5 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (RT)

บอกความสามารถที่กิจการสามารถเก็บเงินจากการขายเชื่อในหนึ่งปี เป็นจำนวนครั้ง สามารถคำนวณได้จาก

อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (เท่า) = ยอดขายสุทธิ/ลูกหนี้เฉลี่ย โดยที่ลูกหนี้เฉลี่ยคำนวณได้จาก (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด)/2 ถ้าค่าอัตราส่วนที่ได้สูง หมายถึงกิจการเก็บเงินจากลูกค้าในการขายเชื่อได้อย่างรวดเร็ว มี

ประสิทธิภาพ แต่ถ้าอัตรานี้สูงมากไป แสดงว่ากิจการให้เครดิตกับลูกค้าอย่างรัดกุม ส่งผลให้กิจการ เสียเปรียบเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ถ้าจะใช้อัตราส่วนนี้เปรียบเทียบกับกิจการอื่น จะต้องดูนโยบายที่

องค์กรให้เครดิตลูกหนี้ด้วย

2.1.6 อัตรากำไรสุทธิ (NPM)

บ่งบอกศักยภาพเกี่ยวกับการทำกำไรสำหรับแต่ละกิจการ คำนวณได้จากสูตร อัตรากำไรสุทธิ (%) = กำไรสุทธิ /ขายสุทธิ

ถ้ากิจการมีการดำเนินงานที่ดี มีกำไรมาก ก็จะส่งผลให้อัตราส่วนนี้มีค่าสูง 2.1.7 อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)

บ่งบอกศักยภาพของการทำกำไรขององค์กรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น คำนวณได้จากสูตร อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (%) = กำไรสุทธิ /ส่วนของผู้ถือหุ้น

ถ้าหากผลคำนวณอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่า กิจกรมีการบริหารเงินที่ดี สามารถนำไปสร้าง ผลตอบแทนจากการลงทุนทำธุรกิจได้สูง

2.2 ทฤษฎีโครงสร้างเงินทุน (Capital Struction Theory)

เป็นทฤษฎีของโครงสร้างเงินทุน MM ที่เสนอโดย Modigliani & Miller (1958) โดยมี

ข้อสรุปและนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน 2 แนวทาง คือ แบบที่มีภาษีเงินได้ และแบบ ที่ไม่มีภาษีเงินได้

(19)

1) รูปแบบที่มีภาษีเงินได้ คือ เมื่อบริษัทมีหนี้สินอยู่ในโครงสร้างเงินทุนอยู่แล้วและได้เพิ่ม จำนวนเข้าไป จะทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงขึ้น แต่ต้นทุนของเงินทุนจะลดลง สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็

เพราะว่ามีรายการที่สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายตอนคำนวณภาษีได้ ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่าย 2) รูปแบบที่ไม่มีภาษีเงินได้ คือ ถ้าโครงสร้างเงินทุนของบริษัทสามารถก่อให้เกิด

ต้นทุนของเงินทุนและมูลค่าของบริษัท MM ตั้งสมมติฐานว่าในโลกที่ไม่มีการเสียภาษี สมมติต้นทุน รายการต่าง ๆ ขึ้นและตลาดมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ MM มีความเห็นว่าการที่โครงส้รางเงินทุนเกิด จากหนี้สิน จะทำให้กิจการไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิตบุคคล อีกทั้งยังทำให้มีมูลค่าในตนเองทางธุรกิจที่

สูงขึ้นอีกด้วย

ทฤษฎีแรกที่อธิบายโครงสร้างเงินทุนคือทฤษฎีของ Modigliani & Miller (1958) ทฤษฎี

ของ MM นั้นบอกไว้ว่า 2 บริษัทที่มีโครงสร้างเงินทุนต่างกัน ซึ่งบริษัทแรก คือ บริษัทที่ไม่มีการก่อหนี้

แต่ใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด บริษัทที่สอง คือบริษัทที่ก่อหนี้ส่วนหนึ่ง ยกเว้นเรื่องภาษี ไม่ว่าบริษัท จะมีการก่อหนี้หรือไม่ก่อหนี้มูลค่าของบริษัทก็เท่ากันในทุก ๆ ปี เพราะการก่อหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจะ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นมีความเสี่ยงมากขึ้น นำไปสู่การที่ผู้ถือหุ้นต้องการผลตอบแทนมากขึ้น ซึ่งทฤษฎีนี้

ต้องการหาข้อเท็จจริงของแหล่งเงินทุนของบริษัทว่าการจัดหาเงินทุนนั้น ไม่ส่งผลต่อมูลค่าของบริษัท ในตลาดทุนที่สมบูรณ์ (Perfect Capital Market) ต่อมา MM ได้นำเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้ามา พิจารณาด้วยในปี 1963 การก่อหนี้ที่มากจะยิ่งทำให้ช่วยประหยัดภาษีและทำให้บริษัทมีมูลค่ามากขึ้น ตามทฤษฎีนี้ในความเป็นจริงไม่มีความเป็นไปได้ เพราะการกู้ยืมในแต่ละครั้งควรนำต้นทุนของการ กู้ยืมมาคิดด้วย เป็นที่มาของทฤษฎี Trade-off Theory

2.3 ทฤษฎีลูกนกในกำมือ (The Bird in The Hand Theory)

ทฤษฎีนี้นำสนอโดย Gordon (1963) และ Lintner (1962) ซึ่งเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง ออกไปจากแนวคิดของ Miller & Modigliani (1961) ที่กล่าวว่า หากราคาหุ้นสูงขึ้นในอนาคต จะมีมูลค่าของการรอได้ที่ต่ำกว่ามูลค่าของการได้เงินปันผล โดยไม่มีใครทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์กระแสเงินสดของกิจการที่อาจเกิดจากส่วนต่างที่มากกว่าการได้รับเงิน ปันผลแน่นอน ขณะที่ Miller & Modigliani (1961) กล่าวว่า ราคาของหุ้นไม่ได้เป็นผลมาจาก นโยบายเงินปันผล แต่เกิดจากสมมติฐานของตลาดสมบูรณ์ (Perfect Market) ที่มีปัจจัยการทำ ธุรกรรมเกี่ยวกับต้นทุนและภาษีต่าง ๆ ส่งผลให้ราคาหุ้นไม่ได้เกิดจากหรือมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เงินปันผล ตามทฤษฎี The Bird in The Hand ที่กล่าวมานี้นักลงทุนมีแนวโน้มในการหุ้นไว้

ระยะเวลายาวเพื่อรอบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้น เพราะผู้ลงทุนทุกคนต้องการความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้ได้ส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้นในอนาคตให้มากที่สุด (Capital Gain) จึงมีความคิดหรือ มุมมองว่าผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (Dividend) นั้นน่าสนใจมากกว่า

(20)

2.4 ทฤษฎีการจ่ายเงินปันผลที่ไม่เกี่ยวข้อง (Dividend Irrelevance Theory)

ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย Miller and Modigliani (1961) กล่าวว่า นักลงทุนทุกคนเชื่อว่ามูลค่า ของบริษัทอยู่ที่การจัดการและการบริหารงาน ทั้งศักยภาพของการบริหารสำหรับตัวผู้บริหารและการ ดำเนินงานของพนักงาน เพื่อทำให้บริษัทได้รับกำไรสูงสุด จึงไม่ได้สนใจการจ่ายเงินปันผล เนื่องจาก มองว่าไม่ได้เป็นสาเหตุหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการราคาหุ้นในปัจจุบันของบริษัท และยังสามารถนำหุ้น ไปเปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็ว เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องต่างๆ แต่ถ้าหากไม่ต้องการเงิน ปันผล บริษัทยังคงนำเงินปันผลไปลงทุนใหม่ได้ตามทฤษฎีการจ่ายเงินปันผลจึงไม่มีผลต่อมูลค่า หลักทรัพย์ (Brigham & Houston, 2007)

2.5 ทฤษฎีการส่งสัญญาณ (Signaling Theory)

ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย Spence (1973) กล่าวว่า การกรับรู้ข้อมูลของนักลงทุนแต่ละคนไม่

เท่ากันและจะใช้ข้อมูลที่ตัวเองรับรู้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อขายหลักทรัพย์ โดยผู้บริหารทุกบริษัทนั้น จะมีข้อมูลต่าง ๆ ที่มากกว่านักลงทุน จึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนโดยการเปิดเผย ข้อมูลสาธารณะ ซึ่งการจ่ายเงินปันผลเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผู้บริหารใช้ส่งสัญญาณให้แก่นักลงทุน สามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี (ธการต์ ชาติวงค์, 2560) ดังนี้

1) นักลงทุนเข้าใจว่าบริษัทมีกำไรสูงขึ้น แสดงว่าธุรกิจกำลังเติบโต แต่ในทางกลับกันถ้า หากมองในแง่ลบ อาจพบว่า บริษัทไม่มีโครงการลงทุนหรือขยายธุรกิจ จึงสามารถนำเงินกำไรมาใช้ใน การจ่ายเงินปันผล

2) นักลงทุนมีมุมมองลบแก่บริษัท เนื่องจากคิดว่าบริษัทมีกำไรลดลงหรือธุรกิจอยู่

ในช่วงขาลง เมื่อบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลลดลงจากปีที่แล้ว แต่ถ้าหากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง บริษัท อาจอยู่ในช่วงขยายธุรกิจซึ่งจะต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก

3) ในกรณีที่บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอไม่เพิ่มไม่ลด นักลงทุนจึงเข้าใจว่า บริษัทที่มีกำไรสม่ำเสมอ แสดงว่าไม่ได้อยู่แต่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง

2.6 ทฤษฎี Clientele Effect

เป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า ประเภทของนักลงทุนมีมากแตกต่างกันไป นักลงทุนมีสิทธิเลือกตาม ความต้องการของตนเอง ว่าควรซื้อหุ้นในบริษัทที่มีเงินปันผลจ่ายในอัตราสูงหรืออัตราต่ำได้ ดังนั้น หากบริษัทมีความต้องการดึงดูดนักลงทุนแบบใด ก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายให้เป็นไปตามความ ต้องการกลุ่มผู้ลงทุนนั้น ๆ นอกจากนี้บริษัทไม่ควรเปลี่ยนแปลงนโยบายการจ่ายเงินปันผลบ่อยครั้ง เนื่องจากจะนักลงทุนอาจมีการซื้อขายหุ้นหลายครั้ง จึงทำให้เกิดผลเสียกับนักลงทุนต่าง ๆ และบริษัท ตามมาอีกมากมาย เช่น

Referensi

Dokumen terkait

Perpanjangan studi bagi mahasiswa program magister yang belum dapat menyelesaikan bela;arnya dalam kurun waktu 2 (dua) tahun akademik atau 4 (empat) semester