• Tidak ada hasil yang ditemukan

(1)ภาคผนวก ข ร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม พ.ศ

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "(1)ภาคผนวก ข ร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม พ.ศ"

Copied!
18
0
0

Teks penuh

(1)

ภาคผนวก ข

ร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม พ.ศ. ...

(2)

ร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม พ.ศ. ...

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้

ประกาศว่า

………

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม พ.ศ. …”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด …วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสินเชื่อส่วนบุคคล

“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสินเชื่อส่วนบุคคล

“สินเชื่อส่วนบุคคล” หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือการรับช่วงซื้อลด ตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและให้รวมถึงสินเชื่อที่เกิดจากการให้

เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลิสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบการมิได้เป็นผู้จําหน่ายเป็นการค้าปกติ แก่

บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการและ ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง

“บัตรเครดิต” หมายความว่า บัตรที่ผู้ให้สินเชื่ออกให้แก่ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคเพื่อใช้ใน การชําระสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดแทนการชําระด้วยเงินสด หรือเพื่อการเบิกถอนเงินสด ทั้งนี้

ไม่รวมถึงบัตรที่ได้มีการชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดไว้ล่วงหน้า

“ผู้บริโภค” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีภาระผูกพันที่จะต้องชําระหนี้สินเชื่อส่วน บุคคล

“สถาบัน” หมายความว่า

1. นิติบุคคลที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นการค้าปกติ

2. นิติบุคคลที่รับซื้อหรือโอนสินเชื่อส่วนบุคคลจาก 1.

3. นิติบุคคลที่รับซื้อหรือโอนสินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.

4. บุคคลอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

(3)

“ผู้ติดตามหนี้ ” หมายความว่า บุคคลผู้ทําหน้าที่ติดตามทวงถามหนี้สินเชื่อบุคคลของ ตนเอง หรือผู้ประกอบ

1. ธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ ทั้งนี้ไม่ให้หมายรวมถึง

2. เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานของรัฐหรือส่วนราชการที่ทําหน้าที่ติดตามทวงถามหนี้

3. บุคคลใดที่ทําหน้าที่ติดตามทวงหนี้ตามกรบวนการทางกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามคํา พิพากษาหรือคําสั่งของศาล

4. บุคคลอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

“การประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้” หมายความว่า การประกอบธุรกิจในการติดตาม ทวงถามหนี้ของสถาบันการเงินที่ตนรับจ้างมาดําเนินการโดยที่ตนไม่ใช่พนักงานของสถาบัน การเงิน

“สถานที่ติดต่อผู้บริโภค ” หมายความว่า ที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคหรือสถานที่ทํางานหรือ สถานที่อื่นใดที่สามารถติดตามสื่อสารได้กับผู้บริโภคและหมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่ดังกล่าว

“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้

“พนักงานเจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมาตรีแต่งตั้งตามการเสนอแนะของ คณะกรรมการให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มี

อํานาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1 การขอรับใบอนุญาต __________________________

มาตรา 6 การประกอบธุ รกิจติดตามทวงถามหนี้จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการ

การขอความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด

มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใด นอกจากผู้ติดตามหนี้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจติดตามทวง ถามหนี้

(4)

หมวด 2

การติดต่อ เพื่อการติดตามทวงถามหนี้

---

มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ ติดต่อผู้ใดเพื่อการติดตามทวงถามหนี้เว้นแต่การติดต่อ เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อการติดต่อสอบถามสถานที่ติดต่อผู้บริโภคตามมาตรา 9 2. เพื่อการอื่นตามที่มีกฎหมายหรือระเบียบราชการกําหนดไว้

3. เพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

มาตรา 9 ผู้ติดตามหนี้อาจติดต่อบุคคลอื่นใดนอกเหนือจากผู้บริโภคในการให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลสถานที่ติดต่อผู้บริโภคโดยต้อง

1. แจ้งให้ทราบชื่อ นามสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามหรือยืนยันข้อมูล สถานที่ติดต่อผู้บริโภคเท่านั้น เว้นแต่เมื่อมีความจําเป็นที่บุคคลผู้ให้ข้อมูลร้องขอจึงแจ้งให้ทราบว่า ตนได้รับการว่าจ้างจากผู้ใด

2. ติดต่อในเวลา 8.00 น.ถึง18.00 น.

3. ห้ามมิให้แจ้งถึงความเป็นหนี้ของผู้บริโภค

4. ห้ามมิให้ติดต่อสอบถามบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่มีเหตุผลที่เชื่อได้

ว่าข้อมูลสถานที่ติดต่อผู้บริโภคที่ได้รับมาไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และบุคคลนั้นได้มีการแก้ไข หรือมีข้อมูลสถานที่ติดต่อผู้บริโภคถูกต้องและสมบูรณ์

5. ห้ามมิให้ติดต่อโดยทางไปรษณียบัตร

6. ห้ามมิให้ใช้ภาษา สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ติดตามหนี้บนซองจดหมายหรือ ในหนังสือ หรือในสื่ออื่นที่จะใช้ในการติดต่อสอบถามผู้อื่น ที่ทําให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อ มาเพื่อการติดตามทวงถามหนี้ ของผู้บริโภค เว้นเสียแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ติดตามหนี้ไม่ได้สื่อใ ห้

ทราบได้ว่าเป็นการประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้

7. ภายหลังจากผู้ติดตามหนี้ได้รับแจ้งจากผู้บริโภคเป็นหนังสือว่าได้มีการแต่งตั้งตัวแทน พร้อมชื่อและที่อยู่ของตัวแทนที่ได้แต่งตั้งในเรื่องเกี่ยวกับหนี้นั้น ๆ แล้วห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อ

(5)

บุคคลอื่นนอกจากตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง เว้นเสียแต่ตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งไม่ทําหน้าที่และ ติดต่อกับผู้ติดตามหนี้ภายใน30 วัน นับจากวันที่ผู้ติดตามหนี้ได้รับหนังสือแต่งตั้งตัวแทน

มาตรา 10 ห้ามมิให้ติดต่อกับผู้บริโภคด้วยวิธี และเงื่อนไขดังนี้

1. ติดต่อในเวลาและสถานที่ทําให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้บริโภค ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งไว้

ล่วงหน้าให้ถือเอาเวลา 8.00 น. ถึง 21.00 น. ณ สถานที่ติดต่อผู้บริโภคเป็นเวลา และสถานที่

เหมาะสมในการติดต่อผู้บริโภค

2. ภายหลังจากผู้ติดตามหนี้ได้รับแจ้งจากผู้บริโภคเป็นหนังสือว่าได้มีการแต่งตั้งตัวแทน พร้อมชื่อและที่อยู่ของตัวแทนที่ได้แต่งตั้งในเรื่องเกี่ยวกับหนี้นั้น ๆ แล้วเว้นเสียแต่ตัวแทนที่ได้รับ การแต่งตั้งไม่ทําหน้าที่และติดต่อกับผู้ติดตามหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ติดตามหนี้ได้รับ หนังสือแต่งตั้งตัวแทน หรือตัวแทนได้ให้ความยินยอมให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อกับผู้บริโภคได้โดยตรง

3. ติดต่อไปยังที่ทํางานของผู้บริโภค ถ้าผู้ติดตามหนี้ทราบหรือมีเหตุผลที่เชื่อว่านายจ้าง ของผู้บริโภคห้ามไม่ให้มีการติดตามหนี้ในสถานที่ทํางาน

4. วิธีการและเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการประกาศ

เว้นแต่ผู้บริโภคได้ให้ความยินยอมหรือเป็นการดําเนินการตามที่กระบวนการทางคดีหรือ โดยคําสั่งของศาล

มาตรา 11 ภายใต้มาตรา 8 ผู้ติดตามหนี้อาจติดต่อกับบุคคลอื่นดังต่อไปนี้ได้

1. บุคคลที่ผู้บริโภคได้ให้ความยินยอม

2. เป็นการติดต่อบุคคลอื่นตามกระบวนการทางกฎหมาย หรือคําสั่ง 3. บริษัทข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต 4. ตัวแทนของสถาบันการเงินเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินเจ้าหนี้

5. ตัวแทนของผู้ติดตามหนี้

6. บุคคลอื่นที่คณะกรรมกาประกาศ

มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อผู้บริโภคอี ก ภายหลังจากที่ผู้บริโภคได้แจ้งปฏิเสธ การชําระหนี้ให้ผู้ติดตามหนี้ทราบและแจ้งความประสงค์ที่ไม่ให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อตนอีก เป็น หนังสือ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

1. แจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าผู้ติดตามหนี้ได้ยุติการติดตามทวงถามหนี้

2. แจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าผู้ติ ดตามหนี้ หรือเจ้าหนี้จะดําเนินการกับหนี้ดังกล่าวตาม กระบวนการทางศาล

3. การอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

(6)

มาตรา 13 ผู้บริโภคในหมวดนี้ให้หมายรวมถึง คู่สมรส ผู้ค้ําประกัน ผู้ปกครองในกรณี

ผู้เยาว์ ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล

หมวด 3

การกระทําที่เป็นการล่วงละเมิดและเป็นการคุกคาม __________________

มาตรา 14 ผู้ติดตามหนี้ต้องไม่ปฏิบัติหรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่เป็นการล่วงละเมิด ข่มขู่ การใช้วาจาที่ทําให้เกิดความเสียหาย การกระทําดังต่อไปนี้ให้ถือเป็นการล่วงละเมิด และการ คุกคาม

1. การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง การกระทําความผิดทางอาญาโดยให้เกิดความเสียหาย แก่

ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของผู้บริโภค หรือผู้อื่น

2. การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นดูหมิ่น ถากถาง เสียดสี ทําให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภค 3. การแจ้ง การเปิดเผยชื่อผู้บริโภคให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดตามห นี้ เว้นแต่เป็น การแจ้งให้แก่บุคคลอื่นตามที่กฎหมายกําหนด

4. การติดต่อผู้บริโภคเพื่อติดตามทวงถามหนี้ เกินวันละหนึ่งครั้ง เว้นแต่เป็นการติดต่อ เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือได้รับความยินยอมจากผู้บริโภค

5. การกระทําอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศ หมวด 4

การแจ้งข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือการแจ้งเพื่อทําให้เกิดความเข้าใจผิด ____________________

มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ใช้วาจา ข้อมูลหรือข้อความที่เป็นเท็จ หรืออาจทําให้เกิด ความเข้าใจผิดที่เกี่ยวข้องกับการติดตามทวงถามหนี้การกระทําต่อไปนี้ให้ถือเป็นความผิดตาม มาตรานี้

1. การแสดงหรือการใช้เครื่องหมายหรือเครื่องแบบ สัญลักษณ์ หรือข้อความใด ๆ ที่มีนัย หรืออาจทําให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นการกระทําของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ โดยไม่เป็นความจริง จริง

2. การเจตนาแสดงข้อมูลจํานวนหนี้ที่ไม่ถูกต้อง

3. การแสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าการติดต่อทวงหนี้มาจากทนายความ ทั้งที่ไม่ใช่

(7)

4. การแสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าหาไม่ชําระหนี้จะถูกดําเนินคดี ถูกยึดหรืออายัด ทรัพย์ หรือเงินเดือน เว้นเสียแต่เป็นการกระทําที่ถูกต้องตามกฎหมายและสถาบันการเงิน หรือ ผู้ติดตามหนี้มีความประสงค์ที่จะดําเนินการดังกล่าวจริง

5. การข่มขู่ว่าจะดําเนินการ ทั้งที่ไม่มีอํานาจจะกระทําได้ตามกฎหมายหรือไม่มี

วัตถุประสงค์ที่จะดําเนินการดังกล่าว

6. การแสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าหากไม่ชําระหนี้จะเป็นความผิดทางอาญา 7. การแสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าเป็นคําสั่งจากศาลหรือหน่วยงานข องรัฐในการ สั่งให้ชําระหนี้

8. การติดต่อ หรือข่มขู่ว่าจะรายงานประวัติการชําระที่เป็นผลเสียให้แก่บริษัทข้อมูล เครดิต หรือไม่ดําเนินการตรวจสอบและแก้ไขโต้แย้งให้ถูกต้อง

9. การติดต่อหรือการแสดงตนที่ทําให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับ ผู้บริโภคเพื่อวัตถุประสงค์ในการติดตามหนี้

10. การใช้ชื่อของบุคคลอื่นแทนชื่อของผู้ติดตามหนี้ในการดําเนินการติดตามทวงถามหนี้

11. การติดต่อหรือการแสดงตนให้ผู้บริโภคเชื่อว่าผู้ติดตามหนี้ ดําเนินการติดตามทวงถาม หนี้ข้อมูลเครดิตหรือรับจ้างจากบริษัทข้อมูลเครดิต

หมวดที่ 5 การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ________________________________

มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ดําเนินการใด ๆ อันเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เพื่อที่จะติดตามทวงถามหนี้ การกระทําที่ว่านั้นให้หมายถึงการกระทําดังนี้

1. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่เสียได้มีการตกลงไว้ล่วงหน้า หรือที่มี

กฎหมายอนุญาตให้ทําได้

2. การติดต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับหนี้โดยไปรษณีย์

3. การใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจของผู้ติดตามทวงหนี้บน.ซองจดหมายในการ ติดต่อผู้บริโภคที่ทําให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อมาเพื่อการติดตามทวงถามหนี้ เว้นเสียแต่ชื่อทาง ธุรกิจของผู้ติดตามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นการประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้

4. การกระทําอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศ หมวดที่ 6 การตรวจสอบภาระหนี้

(8)

---

มาตรา 17 ผู้ติดตามหนี้ ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึ งจํานวนหนี้ และชื่อของสถาบัน การเงินที่ผู้บริโภคเป็นหนี้

มาตรา 18 ในกรณีที่ผู้บริโภคแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ติดตามหนี้ตรวจสอบความถูกต้องของ จํานวนหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วน หรือชื่อของสถาบันการเงินรายแรกที่ผู้บริโภคเป็นหนี้นั้นให้

ผู้ติดตามหนี้ตรวจสอบและแจ้งให้ผู้บริโภคทราบภายใน 30 วันเป็นหนังสือและในช่วงระหว่างการ ตรวจสอบนั้น ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อผู้บริโภคเว้นแต่เป็นการเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

หมวดที่ 7 หนี้หลายบัญชี

________________________

มาตรา 19 ในกรณีที่เป็นหนี้หลายบัญชีและได้ชําระขั้นต่ําหนี้ดังกล่าวผ่ านผู้ติดตามหนี้ให้

ผู้ติดตามหนี้นําเงินดังกล่าวไปชําระในแต่ละบัญชีตามสัดส่วน แต่ไม่ให้ชําระแก่บัญชีที่อยู่ระหว่าง การโต้แย้ง เว้นเสียแต่ผู้บริโภคได้กําหนดวิธีการชําระหนี้ไว้

หมวดที่ 8 การร้องเรียน ________________

มาตรา 20 ในกรณีที่ผู้บริโภคได้รับการปฏิบัติจากผู้ ติดตามหนี้อันเป็นการขัดต่อ พระราชบัญญัตินี้ ผู้บริโภคอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยการร้องเรียนต่อ

คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด เมื่อมีคําวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ติดตามหนี้ปฏิบั ติตามคํา วินิจฉัยชี้ขาดนั้น

หมวดที่ 9

การกํากับดูแลผู้ติดตามหนี้

________________________

มาตรา 21 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสินเชื่อ ส่วนบุคคล” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศ ไทยเป็นรองป ระธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคปลัดกระทรวง พาณิชย์และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนห้าคนเป็นกรรมการให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการ

(9)

ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยอย่างน้อยต้องเป็น คนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเงินและการธนาคารสอง คน และด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหนึ่งคน โดยมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีและแต่งตั้งใหม่อีก ได้ แต่จะต้องแต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งติดต่อกันอีกสองวาระมิได้ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้บริหาร ของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ

มาตรา 22 ให้คณะกรรมการมีอํานาจและหน้าที่ในการกํากับดูแลและการติดตามทวงถาม หนี้ของผู้ติดตามหนี้ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง

1. ออกประกาศหรือคําสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

2. ออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับกา รประกอบธุรกิจ ติดตามทวงถามหนี้ รวมถึงการกําหนดค่าธรรมเนียมและค่าดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการ ติดตามทวงถามหนี้

3. สั่งให้ผู้ติดตามหนี้ยื่นรายงานเกี่ยวกับการดําเนินกิจการเป็นการทั่วไปหรือเป็นการ เฉพาะ โดยมีรายการและตามระยะเวลาที่กําหนด

4. สั่งให้ผู้ติดตาม หนี้ทําคําชี้แจงข้อความเพื่ออธิบายหรือขยายความรายงานที่ได้จัดขึ้น ตาม 3

5. พิจารณาวินิจฉัยข้อร้องเรียนตามพระราชบัญญัตินี้

6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ

7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตารีกําหนดให้เป็นอํานาจและ หน้าที่ของคณะกรรมการ

ในการปฏิบัติหน้ าที่ตามมาตรานี้ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ปฎิบัติการหรือเสนอความเห็นมายังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา ดําเนินการต่อไปด้วยก็ได้

มาตรา 23 นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา 21 กรรมการซึ่ง คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

1. ตาย 2. ลาออก

3. คณะรัฐมนตรีให้ออก 4. เป็นบุคคลล้มละลาย

5. เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(10)

6. ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้

กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

7. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งหรือมีหน้าที่หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ติดตามหนี้

ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็น กรรมการแทนได้และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่

ของกรรมการที่ตนแทน

ในกรณีที่คณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้

แล้วยังคงมีวาระอยู่ในตําแหน่งให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตําแหน่งเท่ากับ วาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งไว้แล้ว

มาตรา 24 ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการ ไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน ในที่ประชุมแทน

การประชุมคณะกรรมการทุกคราวต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ํากว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน กรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุ มให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการ คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียง เพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 25 คณะอนุกรรมการต้องประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้น มีจํานวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคนคณะอนุกรรมการมี

อํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามที่คณะกรรมการมอบหมาย การประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้นํามาตรา 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 26 คณะกรรมการมีอํานาจสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมู ลที่

เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีผู้ร้องทุกข์หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคสําหรับสินเชื่อบุคคล มาพิจารณาได้ ในการนี้จะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงด้วยก็ได้

มาตรา 27 ให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ต้องให้โอ กาสแก้ผู้ถูกกล่าวหาหรือสงสัยว่ากระทําการอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเพื่อ ชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นตามสมคว เว้นแต่ในกรณีที่จําเป็นและเร่งด่วน การกําหนดหรือออกคําสั่งในเรื่องใดตามพระราชบัญญัติ ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ คํานึงถึงความเสียหายที่อา จเกิดขึ้นแก่ทั้งผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้ติดตามหนี้หรือบุคคลอื่นใดที่

เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการจะกําหนด

(11)

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเป็นการชั่วคราวในการบังคับให้เป็นไปตามการกําหนด หรือออกคําสั่งนั้นก็ได้

มาตรา 28 ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จัดตั้งสํานักงาน โดยมีหน้าที่

1. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจาก การกระทําของผู้ติดตามหนี้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามแต่กรณี

2. กํากับการทํางานของผู้ติดตามหนี้หรือผู้กร ะทําการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิด สิทธิของผู้บริโภคพร้อมกับรายงานต่อคณะกรรมการ

3. ประสานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่ในการกํากับดูแลหรือ ตรวจสอบสถาบันการเงิน ติดตามหนี้หรือบุคคลอื่น

4. ดําเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคที่คณะก รรมการเห็นสมควร หรือเมื่อผู้

ร้องขอตามพระราชบัญญัตินี้

5. ปฏิบัติตามอื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย

มาตรา 29 ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1. เข้าไปสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้ติดตามหนี้ที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่ามีการกระทํา อันเป็นความผิดพระราชบัญญัติ เพื่อตรวจสอบได้ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทําการของสถานที่นั้น

2. ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับก ารกระทําความผิดตาม พระราชบัญญัติ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือดําเนินคดี

3. ปฏิบัติอื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมายทําอย่างไรลูกหนี้จะ สู้เจ้าหนี้ได้ปกติลูกหนี้ก็อยากที่จะชําระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ แต่บางครั้งเศรษฐกิจไม่อํานวยที่จะหาเงิน มาจ่ายหนี้ได้แต่บางครั้งเจ้าหนี้ก็โหดร้ายกับลูกหนี้เกินไปจริงๆบางครั้งลูกหนี้เมื่อได้รับหมายศาลที่

เจ้าหนี้ฟ้องก็เกิดตกใจคิดว่าต้องหมดหนทางแน่ๆต้องโดนยึดบ้านที่อยู่อาศัย ยึดที่ดินที่ทํากิน ยึด ทรัพย์สินที่ทํามาหาได้ ยึดเงินทองที่เคยได้รับอยู่อันเป็นรายได้ประจํา ตนเองและครอบค รัวจะอยู่

กันอย่างไรและจะทําอย่างไร ตนเองและคนในครอบครัวจะทําอย่างไร จะมีหนทางทางแก้ไขได้

อย่างไรเรื่องนี้มีทางแก้ไขได้หลายทาง

1. เข้าไปเผชิญหน้าต่อสู้ในศาลเอาความจริงไปแจ้งให้ศาลทราบ และขอให้ศาลเป็นผู้ไกล่

เกลี่ยให้และจะขอผ่อนชําระตามที่เราสามารถจะชําระได้จริงๆซึ่งศาลก็จะมีเมตตาพิจารณาให้ตามที่

เห็นสมควรแต่ความจริงที่จะแถลงกับศาลว่ามูลหนี้นั้นเป็นมาอย่างไร ลูกหนี้จะต้องบอก ด้วยว่ามี

(12)

เอกสารหลักฐานบุคคลที่เป็นความจริงอย่างไร จะบอกด้วยวาจาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ศาลจะไม่

รับฟัง

2. ถ้าการไกล่เกลี่ยของศาลไม่เป็นผล เจ้าหนี้ไม่ยอมก็ต้องมีการดําเนินการฟ้องร้องต่อไป จะมีทั้งผลดีและผลเสียต่อลูกหนี้ คือ

ก. ผลเสีย คือ ถ้าลูกหนี้ว่าความด้วยตัวเองไม่ได้และไม่มีเงินจ้างทนายความด้วยก็อาจแพ้

คดีไปเจ้าหนี้ก็ชนะเต็มตามฟ้อง (กล่าวคือเจ้าหนี้ยื่นฟ้องด้วยทุนทรัพย์เท่าใดศาลก็มีคําสั่งให้จ่ ายเต็ม ตามฟ้องได้นั้น)

ข. ผลดี คือ ถ้ามีเงินจ้างทนายความว่าความ ลูกหนี้อาจไม่ต้องชําระหนี้ในช่วงที่ฟ้อง จะมี

เวลาหาเงิน ใช้หนี้ได้

ค. ที่สุดถ้าลูกหนี้แพ้คดี ไม่ว่าจะเป็นการแพ้เพราะศาลพิพากษาใช้หนี้ หรือแพ้เพราะ ไม่ได้เข้าไปต่อสู้คดีจนศาลมีคําพิพากษา เช่นกัน ในชั้นบังคับคดียึดทรัพย์ ลูกหนี้ก็ยังมีโอกาสได้

ต่อสู้อีกซึ่งลูกหนี้อาจจะไม่ต้องชําระหนี้ตามฟ้อง หรือจะชําระหนี้บางส่วนก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับการใช้

เทคนิคทางกฎหมาย เช่นกัน

3. ถ้าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ทวงหนี้ผิดกฎหมาย ทั้งก่อนหรือหลังฟ้องก็ตาม ลูกหนี้สามารถ ฟ้องเจ้าหนี้เป็นคดีอาญาเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับโทษบ้าง และฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกลับก็

ได้ ซึ่งอาจจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเสียหาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเจ้าหนี้ถูกลูกหนี้ฟ้อง คดีอาญา เจ้าหนี้มักจะขอเจรจาประนอมหนี้แต่ก็ควรระวังเอาไว้ด้วยว่า เจ้าหนี้มัก จะไม่ยอม เสียเปรียบลูกหนี้ โดยการอาจใช้กลวิธีต่างๆ เพื่อการชําระหนี้ที่เป็นไปตามความต้องการของเจ้าหนี้

บนเส้นทางกําจัดหนี้นั้น ขั้นตอนยากที่สุดคือการลงมือสะสางหนี้ก้อนใหญ่ ที่มีอยู่ต่อหน้าเอาเป็นว่า ถ้ามุ่งมั่นจะกําจัดหนี้ กันจริงๆก็ต้องทดลองเริ่มจากตั้งสติ ทําความเข้าใจคนทุกคนในครอบครัว

การที่ต้องตกมาอยู่ในสภาพที่ต้องรับสภาพหนี้สินอย่างไม่สามารถจะหลบพ้น ต้องหัน หน้าเข้าสู้ปัญหาโดยให้คนในครอบครัวร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมกันออกความคิดเห็น ช่วยกันหาวิธีการ ช่วยกันแก้ปัญหาเพราะครอบครัวต้องยังดํารงอยู่ต่อไป ใช้เหตุและผลมาปรึ กษาหาทางออก การ ปรึกษาหารือกันสิ่งหนึ่งที่ไม่สมควรให้เกิดขึ้นคือการทะเลาะเบาะแว้ง กล่าวโทษซึ่งกันและกัน ต้อง ยึดหลักครอบครัวเข้มเข็ง โดยขอให้นึกถึงคาถาลูกหนี้ ไว้ดังนี้

เจ้าหนี้รอได้

ครอบครัวเราต้องมาก่อน

คดีแพ่งมิใช่คดีอาญา (ไม่มีติดคุก) ห้ามทะเลาะกัน (คนในครอบครัว)

(13)

หยุดทําตัวเป็นลูกหนี้ที่ดี

สารภาพบนหน้ากระดาษให้หมดเปลือก

ว่าในภาวะปัจจุบันท่านมีหนี้สินอะไรบ้างอยู่ ณ .ที่ใด ทั้งหนี้สินจากบัตรเครดิต สินเชื่อ ส่วนบุคคล ผ่อนบ้านและที่ดินที่อยู่อาศัย ผ่อนรถยนต์ยานพาหนะ หนี้สินนอกระบบ ผ่อน เครื่องปรับอากาศ ไปจนถึงผ่อนโทรศัพท์เคลื่อนทีทั้งหลายทั้งปวงจะได้ทราบว่าในแต่ละเดือนท่าน มีหนี้สินที่จะต้องจ่ายทั้งหมดมีจํานวนเท่าไหร่เพราะบางท่านไม่เคยจดรายละเอียด ว่าต้องชําระ หนี้สินเดือนละเท่าไหร่ หากท่านทดลองทําดูเมื่อยอดหนี้สินที่มีอยู่ท่านอาจตกใจเมื่อพบว่าตัวเลข หนี้สินที่มีอยู่มีจํานวนมากกว่าตัวเลขรายได้ที่เคยได้รับอยู่ไปแล้ว แต่ที่คุณยังมีเงินจับจ่ายทุกวันนี้ได้

ก็เพราะหยิบเงินจากที่อื่นมาใช้ก่อนรายได้ที่ท่านจะได้รับประจํา การกระทําดังกล่าวในปัจจุบันมี

การกระทํากันอย่างแพร่หลายดังมีการประชาสัมพันธ์กันในชื่อว่าบัญชีครัวเรือน อันจะทําให้ท่านได้

ทราบถึงรายรับรายจ่ายในแต่ละวันแต่ละเดือนอย่างละเอียด ปัจจัยสําคัญคือต้องกระทําเป็นประจํา ทุกวัน ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองและทุกคนในครอบครัวต้องร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง

- จัดการแยกหนี้

เมื่อทราบหมดแล้วว่าหนี้ทั้งหมดของท่านมีจํานวนเท่าไหร่ ต่อไป ท่านก็ลองแยกหนี้

ทั้งหมดว่าหนี้สินใดก่อให้เกิดประโยชน์และหนี้สินไหนเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่นการกู้

เงินเพื่อซื้อบ้านคุณต้องแยกไว้ในหมวดของหนี้ดีเพราะแม้ว่าวันนี้คุณจะต้องเจียดเงินผ่อนรายเดือน เป็นเวลานาน หลายสิบปีแต่ในอนาคตเมื่อผ่อนชําระหนี้นี้หมด บ้านจะเป็นสินทรัพย์ที่ดีสําหรับคุณ แต่ถ้าหากเป็นหนี้สินที่เกิดจากการกู้สถาบันการเงินเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ แล้วมา ตามผ่อนทีหลัง อันนี้ก็แยกไว้ในหมวดหนี้สินที่ไม่ก่อประโยชน์

- สํารวจอัตราดอกเบี้ยของหนี้แต่ละก้อน

เมื่อทําการแยกหนี้สินแยกไว้เรียบร้ อยแล้วคราวนี้ต้องมาดูว่าหนี้ก้อนไหนอัตราดอกเบี้ย เท่าไหร่ เช่นว่าคุณต้องจ่ายหนี้นอกระบบดอกเบี้ยเดือนละ 20 เปอร์เซ็นต์ หนี้บัตรเครดิตดอกเบี้ย 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี สินเชื่อบุคคล 24 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เพื่อที่ว่าคุณจะได้รู้ว่าหนี้ก้อนไหนทําให้คุณต้อง แบกรับภาระไว้หนักสุด ก้อนไหนเบาสุด เพื่อนําไปสู่การปลดเปลื้องหนี้ในลําดับต่อไป

เลือกจ่ายหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงสุดไปก่อนเห็นอัตราดอกเบี้ยหมดแล้วก็มาถึงขั้นตอนการ ชําระหนี้สูตรสําเร็จและหัวใจสําคัญของการปลดหนี้คือต้องเลือกชําระหนี้ในก้อนที่มีดอกเบี้ยแพง ที่สุดให้มากที่สุด เช่นหนี้นอกระบบมักมีดอกเบี้ยแพงหูฉี่เดือนละ 10-30 เปอร์เซ็นต์ซึ่งสูงกว่าหนี้

บัตรเครดิตที่อาจจะอยู่ในราว 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ส่วนเงินกู้ส่วนบุคคลอาจจะอยู่ในราว 27-28 เปอร์เซ็นต์ ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านเฉลี่ยอยู่ในราว 6-8 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ขณะที่ดอกเบี้ยกู้ซื้อรถยนต์อาจจ ะ

(14)

อยู่ในราว 2.5-4 เปอร์เซ็นต์ต่อปีจากตัวเลขที่ฟ้องอยู่เช่นนี้ก็คงรู้แล้วว่า หนี้นอกระบบเป็นสิ่งที่คุณ ควรกําจัดให้หมดก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อปลดเปลื้องภาระที่หนักที่สุดให้หมดไปก่อน ส่วนหนี้

ก้อนอื่นๆ ก็จัดสรรเงินลดหลั่นกันลงมา ค่อยๆทําทีละก้าวค่อยๆ ปลดเปลื้องทีละนิด ท้ายสุดคุณก็จะ ตัวเบาขึ้น เพราะเป็นมนุษย์ปลอดหนี้ยุคที่การเป็นหนี้ง่ายเสียยิ่งกว่าการทําบุญ ไม่ว่าจะเดินเหินไป ทางไหน ล้วนเจอแต่ละพานสร้างหนี้ได้แบบง่ายแสนง่ายโดยไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคารไม่ว่าจะตีน สะพานลอย สถานีรถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งทางโทรศัพท์ หนี้จึงเปรียบเสมือนอวัยวะติดตัวของคน จํานวนไม่น้อยและคุณสมบัติเด่นของหนี้คือ "สร้างง่ายแต่กําจัดยาก " สิ้นดี บางครอบครัวปล่อยให้

หนี้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จนสนิทสนมคุ้นเคยกับคําว่าหนี้เป็นอย่างดี ทั้งหนี้นอกระบบและหนี้ใน ระบบล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพทางการเงินของคุณทั้งสิ้น หากวันนี้หนี้ทําให้สุขภาพทางการเงิน ของคุณกระท่อนกระแท่น เช่นรายได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ต้องกันเงินไว้ใช้หนี้บัตรเครดิต ผ่อน รถ สินเชื่อบุคคล เบ็ดเสร็จแล้วเดือนละ 20,000 บาท เลิกคิดไปได้เลยที่จะเหลือไว้ออม เพราะยุคข้าว ยากหมากแพงแบบนี้แค่ 5,000 บาท เผลอๆใช้ได้ไม่ถึงครึ่งเดือนก็หมดกระเป๋า จนต้องไปกู้ยืมเงิน มาเสริมสภาพคล่องเพื่อใช้ให้ชนเดือน นี่เป็นสัญญาณร้ายที่กะพริบเตือนว่า สุขภาพทางการเงินของ คุณอยู่ในภาวะย่ําแย่เต็มที ฉะนั้นสิ่งที่ควรลงมือทําในวันที่คือจัดการกับต้นเหตุอย่างจริงจังเสียที

หลายคนอาจจะรู้สึกว่าการปลดห นี้นั้นมียากเหมือนดังเข็นครกขึ้นภูเขา (เอเวอร์เรสท์ ) แต่ขอเพียง ท่านเชื่อว่าไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ ค่อยๆ ปลดเปลื้องไปทีละนิด จะได้สัมผัสความรู้สึกที่ว่า ยกภูเขาออกจากอกนั้นเป็นอย่างไร ใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองทําตามบัญญัติ 5 ประการ สําหรับจัดการหนี้ดังต่อไปนี้

1. หยุดสร้างหนี้เพิ่ม

ถ้าในแต่ละเดือนคุณต้องจ่ายหนี้เดือน 20,000 บาททั้งที่เงินเดือน 25,000 บาท นั้นเท่ากับ ว่าสิ่งแรกที่คุณต้องทําคือประกาศเป็นศัตรูกับหนี้ทุกประเภท เช่นอยากได้มือถือรุ่นใหม่ใจจะขาด คุณอาจจะคิดว่าถ้าใช้วิธีผ่อนจ่ายรายเดือน 12 เดือน ก็มีหนี้เพิ่มอีกแค่เดือนละ 2,000 บาทเท่านั้นเอง อย่าเด็ดขาด ! ถ้ามัวแต่คิดแบบนี้คุณก็จะก้าวไม่พ้นจากกับดักแห่งหนี้แน่นอน หนทางที่จะปลด เปลื้องหนี้ได้ ต้องท่องให้ขึ้นใจว่า ไม่ว่าหนี้ประเภทไหนก็อย่างได้ไปข้องแวะด้วย จะเป็นหนี้นอก หรือในระบบจะก้อนเล็กหรือใหญ่ก็ช่าง ถ้าผ่านด่านแรกนี้ไปได้ ประตูสู่อิสรภาพทางการเงินเปิดรอ คุณแล้ว

2. รัดเข็มขัด หยุดสร้างหนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ สิ่งที่สําคัญที่สุดคือคุณต้องรู้จัก ใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น ตัดลดค่าใช้จ่ายที่เป็นรายจ่าย ส่วนเกินออกให้มากที่สุด เรียกว่า ในพจนานุกรมของคุณต้องมีคําว่า "ประหยัด" และ "มัธยัสถ์"

(15)

และตัดและลดคําว่า "ฟุ้งเฟ้อ" และ "ไม่จําเป็น" ให้หมดสิ้นไปโดยเร็วที่สุด วิธีรัดเข็มขัดก็ไม่ได้

ยากเย็นอะไร เพียงแค่ท่านทดลองจดบันทึกรายการใช้จ่ายประจําในแต่ละเดือนออกมาเป็นรายกา ร ทุกอย่างก็จะปรากฏรายละเอียดจํานวนตัวเลขและฟ้องว่า มีค่าใช้จ่ายที่ใดบ้างที่บางรายการอาจไม่

จําเป็นกับชีวิตท่านและครอบครัว แต่ท่านก็จ่ายเงินจ่ายทรัพย์สินให้กับสิ่งเหล่านี้เป็นประจําทุกเดือน เช่นค่าทีวีทางสายเดือนละหลายพันบาท ทั้งที่ความเป็นจริงแทบไม่ได้มีเวลาที่ จะดูรายการที่มีอยู่สัก เท่าไหร่ เพราะกว่าจะกลับถึงบ้านก็เป็นเวลาดึกดื่นค่อนคืนแล้ว รายจ่ายดังกล่าวดังกล่าวอันนี้คงต้อง ทบทวนว่า ถ้าไม่จําเป็นหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ ก็อาจจะตัดรายจ่ายรายการดังกล่าวนี้ออก สนองนโยบายรัดเข็มขัดอย่างน้อยงบดุลรายรับกับรายจ่ ายในฝั่งรายได้ก็จะมีเงินเพิ่มขึ้นอีกเป็น จํานวนที่มากพอสมควร

3. เปลี่ยนนิสัยใช้จ่าย ข้อนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด บางคนอาจจะบอกว่ายาก ขณะที่บางคน บอกว่าง่าย เพราะคําว่า "นิสัย" นี่แหละเปลี่ยนยากเสียเหลือเกิน แต่ยามที่สุขภาพทางการเงินย้ําแย่

หนี้ท่วมแบบนี้ ถ้าคุณยังใช้นิสัยจับจ่ายเพลินมือแบบเดิมๆเห็นทีจะพ้นกับดักหนี้ยาก เข้าใจอยู่หรอ กว่าชีวิตคนโสดหรือไม่โสดก็ตามที มักจะมีเรื่องพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงเป็นการคลายเครียด แต่

ถ้าหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้ คุณยังปาร์ตี้สัปดาห์ละ 3 คืนทั้งๆ ที่หนี้ท่วมหัว อันนี้ก็อาจจะเครียดยิ่ง กว่าเดิม ทางที่ดีช่วงจัดการหนี้ ควรลด ละ เลิกซะ ปรับเปลี่ยนนิสัยใช้จ่ายแบบเดิมๆ เชื่อสิว่าช่วยได้

เยอะทีเดียว

4. มุ่งมั่นกําจัดหนี้เก่า

เมื่อรัดเข็มขัดแล้ว หยุดสร้างหนี้แล้ว แถมเปลี่ยนนิสัยใช้จ่ายด้วยในเวลาเดียวกันคุณต้อง มุ่งมั่นจําจัดหนี้ก้อนเก่าอย่างตั้งใจจริงด้วย บางคนอาจจะบอกว่าขั้นตอนนี้นี่เองที่ยากที่สุดมาถึงตรง นี้ ถ้าหนี้ก้อนใหญ่ คุณอาจจะต้องตั้งสติให้มั่น หาวิธีปลดหนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นถ้าเป็นหนี้

นอกระบบเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็อาจจะต้องหาทางกู้ในระบบออกไปปลดหนี้นอกระบบก่อนเป็น อันดับแรก เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้น้อยลง จากนั้นค่อยมาผ่อนชําระกับสถาบันการเงินอย่าปล่อยให้

ขึ้นบัญชีดํา ไม่ว่าคุณจะหนี้มากหนี้น้อย ขอให้รู้ไว้ว่ากฎเหล็กของการเป็นหนี้คือ อย่าปล่อยให้ชื่อ ของตัวเองหลุดไปโผล่ในบัญชีดําของเครดิตบูโร (caditebluro)โดยเด็ดขาด เพราะเท่ากับว่าเครดิต ทางการเงินของคุณจะล่มสลายตามไปด้วย

2. รัดเข็มขัด

หยุดสร้างหนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ สิ่งที่สําคัญที่สุดคือท่านต้องรู้จักใช้จ่ายให้เป็น ประโยชน์มากที่สุด ควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น ตัดลดค่าใช้จ่ายที่เป็นรายจ่ายส่วนเกินออกให้มาก ที่สุด เรียกว่า ในพจนานุกรมของท่านต้องมีคําว่า "ประหยัด" และ "มัธยัสถ์" และตัดและลดคําว่า

Referensi

Dokumen terkait

การวิจัยเพือพัฒนาความสามารถในการทําวิจัยในชันเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ A RESEARCH FOR THE

1.1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา การลงทะเบียนภาพ Image Registration เปนวิธีการประมวลผลภาพทางคอมพิวเตอร โดย ทําการจัดวางภาพตั้งแต 2 ภาพขึ้นไปลงบนระนาบเดียวกันอยางสอดคลองกัน