• Tidak ada hasil yang ditemukan

use the form of supervision by the team's base in high school

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "use the form of supervision by the team's base in high school"

Copied!
398
0
0

Teks penuh

(1)

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา

วิทยานิพนธ์

ของ รัศมี ภูกันดาน

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศการศึกษา

มิถุนายน 2562

สงวนลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(2)

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา

วิทยานิพนธ์

ของ รัศมี ภูกันดาน

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศการศึกษา

มิถุนายน 2562

สงวนลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(3)

The Development Team-Based Internal Supervision Model of High School

Ratsamee Pookandan

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of Requirements for Doctor of Education (Educational Supervision)

June 2019

Copyright of Mahasarakham University

(4)

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ได้พิจารณาวิทยานิพนธ์ของนางสาวรัศมี ภูกันดาน แล้วเห็นสมควรรับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การนิเทศการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

(ผศ. ดร. กาญจน์ เรืองมนตรี )

ประธานกรรมการ

(ผศ. ดร. สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ )

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

(ผศ. ดร. ธรินธร นามวรรณ )

กรรมการ

(ศ. ดร. ธีระ รุญเจริญ )

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

มหาวิทยาลัยอนุมัติให้รับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญา การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(รศ. ดร. พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร )

คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

(ผศ. ดร. กริสน์ ชัยมูล ) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

(5)

บทคัดย่อภาษาไทย

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้วิจัย รัศมี ภูกันดาน

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์

ปริญญา การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการนิเทศภายในโดยใช้

ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานใน โรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียน มัธยมศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์

องค์ประกอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบ ประเมินองค์ประกอบ และศึกษาโรงเรียนที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จํานวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบศึกษาเอกสาร และแบบสังเกตการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบและยืนยันรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบประเมิน ระยะที่ 3 ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานใน โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการนํารูปแบบไปใช้กับโรงเรียนที่สมัครใจ จํานวน 1 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้

ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยเป็นดังนี้

1. องค์ประกอบของการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สามารถ แบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย ด้านหลักการมี 4 องค์ประกอบย่อย ด้านจุดมุ่งมายมี 3 องค์ประกอบย่อย ด้านกระบวนการมี 6 องค์ประกอบย่อย ด้าน ผลลัพธ์ มี 3 องค์ประกอบย่อย และด้านข้อมูลย้อนกลับ มี 1 องค์ประกอบย่อย

2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่

พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ด้านหลักการนิเทศภายใน ได้แก่ มุ่งให้ครูเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน

(6)

จ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูต้องมาจากภายในตัวครูเอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน ของครูจําเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทีมนิเทศ บุคลที่เป็นหัวใจของการพัฒนาการเรียนการสอน คือครู หลักด้านจุดมุ่งหมายการนิเทศภายใน ได้แก่ เพื่อให้ทีมใช้หลักการเชื่อมโยงเนื้อหาไปสู่

กระบวนการนิเทศ เพื่อให้ทีมใช้วิธีการนิเทศที่สอดคล้องกับเปูาหมายการนิเทศภายใน เพื่อให้ทีมใช้

การโค้ชที่แนวความคิดเชิงบวก ด้านกระบวนการนิเทศภายใน ได้แก่ การวางแผนการนิเทศภายในการ ปฏิบัติการนิเทศภายใน การปฏิบัติการตรวจสอบ ประเมินผลการนิเทศภายใน การปรับปรุงแก้ไขการ นิเทศภายใน ด้านปัจจัยความสําเร็จของการนิเทศภายใน ได้แก่ ภาวะผู้นําพลังร่วม ความไว้วางใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การมีส่วนร่วม การร่วมมือ ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ทีมงานมีความรู้ความ เข้าใจในกระบวนการนิเทศภายใน ทีมนิเทศสามารถนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐาน ทีมนิเทศและผู้รับ การนิเทศมีความพึงพอใจในการนํารูปแบบการนิเทศภายในไปใช้ ด้านข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ ปัญหา อุปสรรคในการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐาน

3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา มีผลการ ใช้ เป็นดังนี้ 3.1) ทีมนิเทศภายในมีความรู้ความเข้าใจในการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยสมาชิก ทีมนิเทศผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน 3.2) ทีมนิเทศภายในมีความสามารถในนิเทศการจัดการเรียนรู้

โดยใช้ทีมเป็นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3.3) ครูผู้รับการนิเทศภายในมีการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการเรียนการเรียนรู้ พัฒนาดีขึ้น 3.4) ครูผู้รับการนิเทศภายใน มี

ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ และสามารถจัดการเรียนรู้ ได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3.5) ทีม นิเทศภายในมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 3.6) ครูผู้รับการนิเทศภายในมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คําสําคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การนิเทศภายใน, การทํางานเป็นทีม

(7)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

TITLE The Development Team-Based Internal Supervision Model of High School

AUTHOR Ratsamee Pookandan

ADVISORS Assistant Professor Suwat Junsuwan , Ed.D.

DEGREE Doctor of Education MAJOR Educational Supervision UNIVERSITY Mahasarakham

University

YEAR 2019

ABSTRACT

This research aims to: 1) study the composition of internal supervision by the team's base in high school, 2) to develop a model for supervision by a team based in secondary schools and 3) to study the results. use the form of supervision by the team's base in high school. The research and development process is divided into 3 phases: Phase 1 studies analyzed by experts assessing the elements. The instruments include an evaluation component. And schools with good practices (Best Practice) 3 school used include interviews documentation. Teaching Observation and Phase 2 development model. And manual forms of communication within the team's base in high school. By luminaries Confirm forms-based seminars by experts.

(Connoisseurship) instruments Phase 3 results were evaluated using a form of supervision by the team's base in high school. By applying the model to the school voluntarily 1 school instruments include manuals form of supervision by the team's base in high school. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation. And analysis of content (Content Analysis).

The results were as follows:

1. The element of supervision by the team's base in secondary schools can be divided into five main elements include 17 elements with the principles of the 4 elements. My aim is the third element. The process is the result of 6 elements to 3 elements. And the feedback has one element

(8)

ช 2. Development of Communication within the team is based in secondary schools developed include the internal supervision principles include encouraging teachers to change teaching behavior. Changing the behavior of the teacher, the teacher must come from within yourself. Behavior change, teachers need to be supported by a team of supervisors. Personnel development at the heart of teaching is the teacher. The main aim of the internal supervision team to include the principle of linking content to the supervision process. The team approach to supervision that are consistent with the goals of supervision. The team is coached a positive concept.

The supervision process, including planning, supervision and operations supervision.

Operational Audit Evaluation Supervision Improve Supervision The success factors of internal supervision include power sharing, leadership, trust the efficacy of their own.

Participation of cooperation include the results the team has a better understanding of the process of supervision. Supervision supervisory team to the team's base.

Supervision Supervision Team and recipient satisfaction in the form of internal supervision to use. Information Return, including obstacles in the form of supervision by the team as a base

3. The form of supervision by a team based in secondary schools are using as follows: 3.1) team supervision are. knowledge in the form of internal supervision by members of the team supervising the evaluation criteria every 3.2) supervision team has the ability to oversee the management of the team is learning.

the Through the evaluation criteria in the 3.3) teacher who has supervised the behavioral change in the student learning improved 3.4) takers teacher supervision. A better understanding of the curriculum. And learning It is the highest level 3.5) Supervision teams are satisfied to use this form of communication within the team as a base. Overview In most 3.6) Teacher Supervision recipients are satisfied with the form of supervision by the team as a whole was at the highest level.

Keyword : The Development, Internal Supervision, Team-Based

(9)

กิตติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ สําเร็จลงได้ด้วยดีด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจาก ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ที่กรุณา ให้คําปรึกษาแนะนํา ข้อคิดเห็น ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนสําเร็จ ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอกราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจน์ เรืองมนตรี ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินธร นามวรรณ กรรมการสอบ ศาสตราจารย์ ดร. ธีระ รุญเจริญ กรรมการ สอบผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้กรุณาให้คําปรึกษาแนะนํา ตลอดจนช่วยแก้ไขทําให้การวิจัยครั้งนี้สมบูรณ์มาก ยิ่งขึ้น

ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.กนกอร สมปราชญ์ รองศาสตราจารย์ ดร.พชรวิทย์

จันทร์ศิรสิริ ดร.วรศักดิ์ วัชรกําธร ดร.ชวลิต จันทร์ศรี ดร.เสน่ห์ คําสมหมาย ดร.สัมภาษณ์ คําผุย ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจน์ เรืองมนตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินธร นามวรรณ ดร.โณทัย อุดม บุญญานุภาพ ดร.วนิดา ปาณีนิจ ดร.นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน ดร.ชนาทิป ทุ้ยแป ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ศรีหลวงเพชร ดร.วิญญู อุตระ และ ดร.อรอุมา บวรศักดิ์ ที่ให้ความ อนุเคราะห์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินยืนยันองค์ประกอบตรวจสอบรูปแบบ คู่มือการใช้รูปแบบ และเป็น ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้

ขอขอบพระคุณผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โรงเรียนเชียงใหม่ประชานุสรณ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 27 โรงเรียนวังม่วงพิทยาคม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ที่

ให้ความอนุเคราะห์ในการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการนิเทศภายใน และ ขอขอบคุณผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนโนนสูงพิทยาคมที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนารูปแบบการ นิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในครั้งนี้

ความสําเร็จในครั้งนี้ ได้รับกําลังใจอย่างสูงยิ่ง จากครอบครัวโฮมบูรณ์ ภูกันดาน ที่เป็นแรง บันดาลใจให้กับผู้วิจัย และเพื่อนนิสิตปริญญาเอกสาขาการนิเทศการศึกษารุ่น 2 ทุกท่าน ตลอดจนเพื่อน พร้อง น้องพี่ ผู้ที่คอยเกื้อหนุนให้กําลังใจมาโดยตลอด ทําให้ผู้วิจัยมีกําลังใจมุ่งมั่นศึกษาจนสําเร็จ คุณค่า และคุณประโยชน์อันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอน้อมบูชาพระคุณบิดามารดา ตลอดจนครู

อาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่าน

รัศมี ภูกันดาน

(10)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย... ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ... ฉ กิตติกรรมประกาศ... ซ สารบัญ ... ฌ สารบัญตาราง...ฏ สารบัญภาพประกอบ ... ฒ

บทที่ 1 บทนํา... 1

ภูมิหลัง... 1

คําถามในการวิจัย ... 9

ความมุ่งหมายของการวิจัย ... 9

ความสําคัญของการวิจัย ... 9

ขอบเขตของการวิจัย ...10

กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ...11

นิยามศัพท์เฉพาะ...15

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ...18

การนิเทศภายใน ...19

กระบวนการนิเทศภายใน ...61

รูปแบบการนิเทศภายใน ...67

ปัจจัยความสําเร็จของการนิเทศภายใน...71

รูปแบบและการพัฒนารูปแบบ ...97

ทีมงานและการสร้างทีมงาน... 115

(11)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ... 137

งานวิจัยในประเทศ ... 137

งานวิจัยต่างประเทศ ... 141

บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย ... 146

ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียน มัธยมศึกษา ... 148

ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา ... 153

ระยะที่ 3 ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา... 155

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 158

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 158

ลําดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล... 158

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล... 159

บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ ... 263

ความมุ่งหมายของการวิจัย ... 263

สรุปผล ... 263

อภิปรายผล ... 265

ข้อเสนอแนะ ... 271

บรรณานุกรม... 273

ภาคผนวก ... 288

ภาคผนวก ก ราชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ร่วมวิจัย ... 289

ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ... 292

ภาคผนวก ค หนังสือราชการ ... 351

ภาคผนวก ง คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโงเรียนมัธยมศึกษา ... 371

ภาคผนวก จ ตัวอย่างภาพกิจกรรมการดําเนินการวิจัย ... 373

(12)

ฎ ประวัติผู้เขียน... 382

(13)

สารบัญตาราง

หน้า

ตาราง 1 วิเคราะห์ความหมายของ “การนิเทศภายในโรงเรียน” ตามแนวคิดของนักการศึกษา...22

ตาราง 2 หมวดหมู่กิจกรรมการนิเทศการศึกษา ...45

ตาราง 3 องค์ประกอบปัจจัยทฤษฎีการจูงใจของเฮิร์ซเบิร์ก...57

ตาราง 4 การวิเคราะห์องค์ประกอบของการนิเทศภายในโรงเรียน ...69

ตาราง 5 การวิเคราะห์ความสอดคล้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องคุณลักษณะของรูปแบบ ... 106

ตาราง 6 การวิเคราะห์ความสอดคล้องเกี่ยวกับขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบ... 109

ตาราง 7 ความแตกต่างของโครงสร้างปกติและทีม ... 118

ตาราง 8 องค์ประกอบของการจัดการภายในทีมงาน ... 123

ตาราง 9 การวิเคราะห์องค์ประกอบกระบวนการสร้างทีมงาน ... 128

ตาราง 10 รายละเอียดการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อชี้แจงและสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้กับผู้ร่วมวิจัยในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง ... 156

ตาราง 11 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินและแสดงความคิดเห็น ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบหลัก จําแนกเป็นรายด้านได้ดังนี้... 160

ตาราง 12 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินและแสดงความคิดเห็น ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบย่อย ... 161

ตาราง 13 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินและแสดงความคิดเห็น ด้านความเหมาะสมของตัวชี้วัด ด้านหลักการ ... 163

ตาราง 14 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินและแสดงความคิดเห็น ด้านความเหมาะสมของตัวชี้วัด ด้านจุดมุ่งหมาย ... 165

ตาราง 15 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินและแสดงความคิดเห็น ด้านความเหมาะสมของตัวชี้วัดองค์ด้านกระบวนการ ... 166

ตาราง 16 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินและแสดงความคิดเห็น ด้านความเหมาะสมของตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์ จําแนกเป็นรายข้อได้ดังนี้ ... 169

(14)

ฐ ตาราง 17 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินและแสดงความคิดเห็น ด้านความเหมาะสมของตัวชี้วัด ด้านข้อมูลย้อนกลับ... 170 ตาราง 18 สรุปเปรียบเทียบผลการศึกษาองค์ประกอบจากหลักการ แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องและการ ประเมินยืนยันองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านหลักการ ... 183 ตาราง 19 สรุปเปรียบเทียบผลการศึกษาองค์ประกอบจากหลักการ แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องและการ ประเมินยืนยันองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านจุดมุ่งหมาย ... 186 ตาราง 20 สรุปเปรียบเทียบผลการศึกษาองค์ประกอบจากหลักการ แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องและการ ประเมินยืนยันองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกระบวนการ ... 189 ตาราง 21 สรุปเปรียบเทียบผลการศึกษาองค์ประกอบจากหลักการ แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องและการ ประเมินยืนยันองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านผลลัพธ์ ... 194 ตาราง 22 สรุปเปรียบเทียบผลการศึกษาองค์ประกอบจากหลักการ แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องและการ ประเมินยืนยันองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านข้อมูลย้อนกลับ... 196 ตาราง 23 สรุปผลการศึกษาองค์ประกอบจากการประเมินยืนยันองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิ และ การศึกษาตัวอย่างที่ดี ... 197 ตาราง 24 เปรียบเทียบกับรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานที่ได้จากการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น .... 208 ตาราง 25 แสดงองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็น ฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา ... 210 ตาราง 26 แสดงองค์ประกอบย่อย และตัวชี้วัด ของรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานใน โรงเรียนมัธยมศึกษา ... 211 ตาราง 27 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินความเหมาะสม และการใช้ประโยชน์ของ รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา ... 222 ตาราง 28 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ ภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา ... 224 ตาราง 29 วิเคราะห์ผลการศึกษาการศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพกําลังเป็นอยู่ในปัจจุบันของการ นิเทศภายใน ... 234 ตาราง 30 บทบาทหน้าที่ในการดําเนินการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา . 235

(15)

ตาราง 31 การอบรมเชิงปฏิบัติการการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐาน ... 237

ตาราง 32 ผลการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของทีมนิเทศภายในก่อนและหลังการอบรม ... 238

ตาราง 33 ปฏิทินการดําเนินการนิเทศภายในโรงเรียน ... 239

ตาราง 34 ผลการประเมินระดับความสามารถในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ของทีมนิเทศภายใน ... 240

ตาราง 35 ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูสอนวิชาสังคมศึกษา ... 242

ตาราง 36 ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูสอนวิชาคณิตศาสตร์... 244

ตาราง 37 ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูสอนวิชาภาษาไทย... 246

ตาราง 38 ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูสอนวิชาศิลปะ ... 248

ตาราง 39 ผลการเปรียบเทียบการสังเกตการณ์สอนของครูผู้รับการนิเทศภายใน ... 250

ตาราง 40 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ของครูผู้รับการนิเทศหลังได้รับ การนิเทศภายใน ... 252

ตาราง 41 ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐาน ... 255

ตาราง 42 ผลการทบทวนหลังการปฏิบัติ AAR : After Action Review รูปแบบการนิเทศภายในโดย ใช้ทีมเป็นฐาน ... 261

(16)

สารบัญภาพประกอบ

หน้า ภาพประกอบ 1 กรอบแนวคิด การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียน

มัธยมศึกษา ...14 ภาพประกอบ 2 ระยะขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียน มัธยมศึกษา ... 147 ภาพประกอบ 3 รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา (TEAMWORK Model)... 215 ภาพประกอบ 4 รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา (TEAMWORK Model)... 230

(17)

บทที่ 1 บทน า ภูมิหลัง

โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่าง หลีกเหลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การเมืองการปกครอง และการศึกษา ดังนั้นสังคมไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนและเตรียมวางแผนเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทิศทางในการพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพ และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและ ยั่งยืนทัดเทียมนานาอารยประเทศได้นั้น มนุษย์จึงเป็นปัจจัยหลักที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ เป็นลําดับแรก โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศ การจัดการ ศึกษาของไทยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามสถานการณ์นโยบายปฏิรูปการศึกษามาโดยลําดับ โครงสร้างหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการได้รับการปรับเปลี่ยนให้มีการกระจายอํานาจสู่

สถานศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารจัดการในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้

สอดรับกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นสําคัญเพื่อให้ประชากรได้รับการพัฒนาสู่ความเป็นสากล ดังนั้นผู้เรียนจึงมีความจําเป็นจะต้องมี

การปรับปรุงวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ ได้กําหนด วิสัยทัศน์มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้

สูง มีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนําไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของประเทศไทย โดยให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและมุ่งประโยชน์ส่วนรวม อย่างยั่งยืน ร่วมกันคิด ร่วมกันทํา ร่วมกันรับผิดชอบและร่วมกันรับผลประโยชน์ ซึ่งผลของการทํางาน ร่วมกันคือผลของทีมงานนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าการทํางานเป็นทีมเป็นการสร้างความสําเร็จในการ บริหารองค์การในปัจจุบัน และเป็นพลังสําคัญในการขับเคลื่อนการทํางานต่างๆให้ประสบความสําเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558)

การจัดการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่สําคัญใน การพัฒนาคนให้มีการเตรียมความพร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีสิ่งที่สําคัญที่สุดคือทักษะการเรียนรู้ และการเสริมสร้าง ปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของคน กระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลัก ในการจัดการศึกษาได้มีการดําเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12

(18)

2 (พ.ศ. 2560–2564) โดยได้กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่จะ เกิดขึ้นในตลอดระยะ 5 ปี เพื่อมุ่งการบรรลุความสําเร็จต่อเด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และ ประชาชน มีเปูาหมายด้านที่สําคัญคือ 1) ด้านการเข้าถึง (Accessibility) 2) ด้านความเท่าเทียม (Equity) 3) ด้านคุณภาพ (Quality) 4) ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) และ 5) ด้านการตอบโจทย์

และการเปลี่ยนแปลง (Relevancy) ที่สําคัญในเปูาหมายด้านคุณภาพนั้น นอกจากจะได้เห็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ในด้านมิติความมั่นคงยังจะได้เห็นระดับความสําเร็จที่ชัดเจน ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นพลเมืองของผู้เรียน การศึกษาจึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพเพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ

การจัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพจะทําให้กระบวนการจัดการเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนเกิดคุณลักษณะที่

พึงประสงค์ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเป็นพลเมือง ตื่นรู้ ทําประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางสังคม มีความสุขทั้งมิติกายใจสังคม และจิตวิญญาณ มีความเป็นไทย และมีความสามารถเชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559)

ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษา จึงจําเป็นต้องมีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการจัดการ เรียนการสอนให้สอดคล้องกับปรัชญาและจุดมุ่งหมายของการศึกษา ซึ่งผู้ที่มีบทบาทที่สําคัญในการนํา หลักสูตรไปใช้ก็คือบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสําคัญที่จะต้องทําหน้าที่กระตุ้น เร่งเร้าให้ครู

มีความตื่นตัวที่จะปรับปรุงการเรียนการสอน และพัฒนาศักยภาพของตนไปสู่ความสําเร็จในการจัด การศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คาดหวังของสังคมไทยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพ มีหลากหลายวิธี แต่วิธีทีสถานศึกษาสามารถดําเนินงานได้ทั้งระบบด้วยกันได้ คือ การนิเทศการศึกษา ซึ่งถือเป็นกระบวนการสําคัญอย่างหนึ่งที่มีผลโดยตรงต่อมาตรฐานการจัดการศึกษาและพัฒนา

การศึกษาในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การนิเทศ การศึกษาจะเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนได้

เป็นอย่างดี เพราะการนิเทศเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา และเป็นกระบวนการที่มีจุดหมาย หลักในการช่วยพัฒนาครูให้มีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพในการทํางานร่วมกันระหว่าง ผู้นิเทศกับครูผู้รับการนิเทศ เพื่อให้มีขวัญกําลังใจสามารถพัฒนาการทํางานของตนเองได้ และมีผลต่อ การจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนต่อไปในที่สุด

ดังคํากล่าวที่ว่า การจัดการที่ดีเป็นกุญแจนําไปสู่ความสําเร็จขององค์การ การนิเทศการศึกษาที่ดี

นําไปสู่การจัดการที่ดี (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2553)

การนิเทศการศึกษาจึงมีความสําคัญจําเป็นอย่างยิ่งในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูซึ่งเป็นผู้สอน กล่าวคือ การนิเทศการศึกษามีความจําเป็นในการบริหารทางวิชาการแก่ครูผู้สอน

(19)

3 และการสร้างความเจริญงอกงามของครูผู้สอนเพราะกระบวนการสอนมีกิจกรรมที่ซับซ้อนและ

หลากหลาย ครูผู้สอนจะต้องฝึกฝนในสภาพการณ์จริงอยู่เสมอ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือครู

ในการวางแผนและออกแบบกิจกรรม เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทันต่อ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยการนิเทศการศึกษาสามารถให้ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิเคราะห์ วิจัย และการรักษามาตรฐานการศึกษาช่วยให้ครูมีความคิดที่กว้างไกล ก้าวหน้า ทันต่อการเปลี่ยนแปลง วิทยาการใหม่ ๆ ครูผู้สอนต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความคิดและวิทยาการใหม่ ๆ ในการนํามาใช้

จัดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ดังนั้นครูต้องมีความเข้าใจในการใช้หลักสูตร การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน รวมถึงการวัด ประเมินผล แต่บางครั้งถึงแม้นว่าครูผู้สอนจะใช้ความสามารถในการจัดกิจกรรมที่วางแผนไว้แล้วก็

ตาม อาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่ขาดตกบกพร่อง ทําให้การปฏิบัติการสอนและการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในโรงเรียนขาดความสมบูรณ์ ดังนั้นหากมีบุคคลอื่นได้ชี้แนะ (Coaching) ให้ความช่วยเหลือก็ย่อมเกิด ผลดี การนิเทศจึงเปรียบเสมือนกระจกเงาที่คอยส่องให้เห็นภาพการสอน การปฏิบัติงานของครู และ เป็นกระบวนการที่เสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ

และเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาการสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ให้กับ ผู้เรียนได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และยังเป็น การสร้างความตระหนักให้กับครูผู้สอนถึงปัญหาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้สามารถ แก้ปัญหาได้ สร้างขวัญกําลังใจให้กับครูผู้สอนอีกด้วย (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2545)

จากรายงานผลการวิจัยของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2552) พบว่า นับตั้งแต่ที่มี

การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา ปัญหาที่ต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงและต่อยอดในด้านคุณภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา อีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไม่เป็นไปตามกําหนดใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และปรับปรุง พ.ศ. 2553 มีสาเหตุมาจากปัญหาด้าน การนิเทศ ผู้บริหารไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา ไม่มีการดําเนินการนิเทศ ภายในที่เป็นระบบ การนิเทศจากบุคลากรภายนอกไม่มีความต่อเนื่อง ขาดศึกษานิเทศก์ที่มีความรู้

ความชํานาญเฉพาะสาขาวิชา ประกอบกับศึกษานิเทศก์มีจํานวนน้อยเมื่อเทียบกับ

ความต้องการของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ส่งผลให้ครูส่วนใหญ่ไม่ได้รับการนิเทศ ช่วยเหลือ ครูไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเก็จกนก เอื้อวงศ์ (2555) กล่าวถึง สภาพปัญหาของ การนิเทศภายในสถานศึกษาว่า สภาพปัญหาการนิเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหาขาดบุคลากร ขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะด้านการนิเทศของผู้บริหาร ผู้บริหารไม่ให้ความสําคัญต่อการนิเทศ ครูไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและมีทัศนคติในทางลบต่อการนิเทศ ส่วนปัญหาด้านกระบวนการนิเทศ พบว่า ด้านการประเมินผล ขาดการประเมินผลและนําผลการนิเทศไปใช้ประโยชน์และปัญหา สภาพแวดล้อมภายนอกขาดการสนับสนุน การนิเทศภายในเป็นกระบวนการหนึ่งที่พัฒนาคุณภาพ

(20)

4 การจัดการเรียนรู้ของครูให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อนักเรียนและเป็นไปตามมาตรฐาน การศึกษา สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของสถานศึกษาที่ต้องการมุ่งแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูในชั้นเรียน กระบวนการนิเทศภายในเป็นกิจกรรมหรือ วิธีการที่ครูภายในโรงเรียนร่วมมือกันในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนซึ่งกันและกัน เป็นวิธีการที่

ช่วยสร้างความสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนครูและผู้บริหาร การนิเทศเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

(วัชรา เล่าเรียนดี, 2556) และสอดคล้องกับแนวคิด ของ Glickman, Gordon and Ross-Gordon (2009) ที่ได้กล่าวถึงกระบวนการนิเทศว่ามีความสําคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยปรับปรุง พัฒนาคุณภาพการสอนของครู ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน นอกจากนั้น รัตนา ดวงแก้ว และคณะ (2554) ได้สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการนิเทศการเรียนการสอนพบว่า ในงานวิจัยได้เสนอปัญหาไว้

ดังนี้ 1) ด้านการเตรียมการนิเทศ พบว่าคณะกรรมการนิเทศขาดการวางแผนร่วมกันอย่างเป็นระบบ และไม่ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือความต้องการอย่างแท้จริงของผู้รับการนิเทศ รวมถึง

ขาดการเตรียมบุคลากรที่จะทําหน้าที่ผู้นิเทศอย่างเหมาะสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 2) ด้านปฏิบัติการนิเทศส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความสามารถและเวลาในการนิเทศของ ผู้บริหาร และครูผู้นิเทศ อีกทั้งผู้รับการนิเทศไม่มีความเข้าใจในกระบวนการนิเทศ และไม่ได้รับ การสะท้อนการนิเทศจากผู้นิเทศ และ 3) ด้านการประเมินผลการนิเทศ ส่วนใหญ่เป็นปัญหา การกํากับติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และไม่มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน จะเห็นได้ว่าสภาพปัญหาการนิเทศเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาในระยะยาวและเกิดขึ้นในสถานศึกษา ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคําถามที่นักการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาต้องศึกษาวิเคราะห์สาเหตุของ ปัญหาการนิเทศ เพื่อจะช่วยให้สถานศึกษามีแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเปูาหมายสูงสุดคือคุณภาพผู้เรียน

สภาพปัญหาดังกล่าว จึงเป็นภารกิจหลักของโรงเรียนจะต้องจัดการเรียนสอนให้มีคุณภาพ และส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การดําเนินการดังกล่าวจะประสบผลสําเร็จได้นั้นต้อง ประกอบด้วยด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอน กระบวนการบริหารและกระบวนการนิเทศ จําเป็นต้องพัฒนาและร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมไปด้วยกัน กระบวนการนิเทศการศึกษา

(Supervision) เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของครู

โดยมุ่งให้เกิดการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียน (Glickman, Gordon and Ross-Gordon, 2009) กระบวนการนิเทศการศึกษาช่วยทําให้เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน สร้างการประสานสัมพันธ์และขวัญกําลังใจ (สงัด อุทรานันท์, 2539) ซึ่งวัชรา เล่าเรียนดี (2556) ได้กล่าวว่าบุคคลที่มีความสําคัญยิ่งในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนคือครู ดังนั้นการให้ความรู้แก่ครูโดย ไม่มีการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ ครูจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ๆ ได้ยากมาก และการพัฒนานั้น

Referensi

Dokumen terkait

DEGREE Master of Education MAJOR Educational Technology and Communications UNIVERSITY Mahasarakham University YEAR 2017 ABSTRACT The purpose of this research were to 1