• Tidak ada hasil yang ditemukan

อัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิงแกลบ:ไม้ (50:50)

อัตราเปลี่ยนแปลงของน ้าหนักต่ออุณหภูมิที่มากที่สุด (Rm) เป็นปฏิกิริยาการเผาไหม้

ของเชื้อเพลิงสามารถพิจารณาได้จากการแปรผันตรงกับอัตราการเผาไหม้สูงที่สุดและแปรผกผันกับค่า อุณหภูมิที่เกิดขึ้น โดยพารามิเตอร์ดังกล่าวจะเป็นตัวบ่งชี้การเป็นเชื้อเพลิงที่ดี ถ้ามีอัตราเปลี่ยนแปลง ของน ้าหนักต่ออุณหภูมิที่มากที่สุดที่สูง (Miranda et al., 2008; คีต์ สร้อยทอง และคณะ, 2562) ซึ่ง จะแสดงถึงการสูญเสียน ้าหนักต่อหน่วยอุณหภูมิ จากการศึกษา พบว่า PC (70:30)-P มีค่าสูงที่สุด (10.90 % min-1/K) รองลงมาคือ PC (70:30)-B1 และ แกลบ:ไม้ (50:50) ที่แสดงค่าเท่ากับ 9.57 และ 3.92 % min-1/K ตามล าดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเชื้อเพลิงจากหญ้าทั้งสองชนิดมี ค่า Rm ที่สูงกว่า อย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับ แกลบ:ไม้ (50:50) ดังนั้น เชื้อเพลิง PC (70:30)-P และ PC (70:30)-B1 สามารถเป็นเชื้อเพลิงที่ดีได้ เนื่องจากปริมาณสารระเหยที่มีอยู่ในเชื้อเพลิงจากหญ้าที่สูง (คีต์

สร้อยทอง และคณะ, 2562) ซึ่ง Rm เป็นตัวพิสูจน์ถึงการสนับสนุนกันของการเผาไหม้ เพราะพลังงาน ที่ปลดปล่อยสารระเหยออกมาจากการเผาไหม้ ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เชื้อเพลิงจากหญ้าเผาไหม้ได้เร็วมาก ขึ้น (Mi et al., 2016) ส่งผลให้อัตราการลดลงของน ้าหนักมากขึ้นด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับปริมาณ สารระเหยและระยะการเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดที่เผาไหม้สูงสุดของเชื้อเพลิง

Burnout temperature แสดงถึงอุณหภูมิสิ้นสุดการเผาไหม้ ซึ่งจะสอดคล้องกับเส้น โค้งของกราฟ TGA การสูญเสียน ้าหนัก ดังภาพประกอบ 86-88 และตาราง 38 จากผลการศึกษา พบว่า PC (70:30)-P, PC (70:30)-B1 และแกลบ:ไม้ (50:50) มีอุณหภูมิสิ้นสุดอยู่ที่ 450, 480 และ 520 ºC ตามล าดับ จะเห็นว่าอุณหภูมิดังกล่าวของเชื้อเพลิงจากหญ้าทั้ง 2 รูปแบบมีค่าใกล้เคียงกัน

จากการศึกษาพฤติกรรมการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอัดแข็ง ในหัวข้อ 4.3 พบว่า เชื้อเพลิงอัด แข็งเชื้อเพลิง PC (70:30)-P และ PC (70:30)-B1 มีข้อได้เปรียบมากกว่าเชื้อเพลิงแกลบ:ไม้ (50:50) มีความเหมาะสมที่จะน ามาพัฒนาเพื่อน ามาเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยการน ามาศึกษา ศักยภาพทางพลังงานในการผลิตพลังงานไฟฟ้า และน าเปรียบเทียบพลังงานของเชื้อเพลิงปัจจุบันที่ใช้

เพื่อลดการสูญเสีย ค่าใช้จ่ายโดยไม่จ าเป็น และมีประสิทธิภาพที่เทียบเท่า ส าหรับเลือกกระบวนการ อัดและใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสมกับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยแบ่งผลการศึกษาออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

1) ศักยภาพพลังงานความร้อนและไฟฟ้าของเชื้อเพลิงต่อน ้าหนัก 2) ศักยภาพพลังงานความร้อนและไฟฟ้าของเชื้อเพลิงต่อปริมาตร

156 4.4.1 ศักยภาพพลังงานความร้อนของเชื้อเพลิงต่อน ้าหนัก

จากการศึกษาศักยภาพพลังงานความร้อนและไฟฟ้าของเชื้อเพลิงต่อน ้าหนัก โดยการ ค านวณหาศักยภาพการผลิตพลังงานความร้อนและศักยภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าของเชื้อเพลิงอัด แข็ง เพื่อใช้ในการประเมินหาเชื้อเพลิงที่เหมาะส าหรับผลิตเป็นพลังงานโดย โดยเปรียบเทียบกับ เชื้อเพลิงปัจจุบันที่โรงงานใช้ คือ แกลบ:ไม้ ในอัตราส่วน 50:50 พบว่า เชื้อเพลิงจากหญ้าในปริมาณ น ้าหนักที่เท่ากันกับปริมาณของเชื้อเพลิง แกลบ:ไม้ ที่ป้อนเข้าสู่เตาเผา คือ 10 ตัน ท าให้ได้พลังงาน ความร้อนใกล้เคียงกันกับ แกลบ:ไม้ (158.0 GJ) ซึ่งจะแสดงผลในตาราง 39

ตาราง 39 ศักยภาพพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้าของเชื้อเพลิงอัดแข็งต่อน ้าหนัก

ชนิด ENU (GJ) PE (MW)

PC (70:30)-P 160.0 8.9

PC (70:30)-B1 161.0 8.9

แกลบ:ไม้ (50:50) 158.0 8.8

จากภาพประกอบ 89 จะเห็นได้ว่า เชื้อเพลิง PC (70:30)-B1 มีศักยภาพพลังงาน ความร้อนเทียบเท่า และสูงกว่า เชื้อเพลิงจาก แกลบ:ไม้ โดยเชื้อเพลิงสามารถผลิตพลังงานงานความ ร้อนที่สูงที่สุด (161.0 GJ) มากกว่าเพียง 3 GJ คิดเป็นร้อยละ 1.9 รองลงมาคือ เชื้อเพลิง PC (70:30)-P ที่สามารถผลิตพลังงานงานความร้อนได้ 160.0 GJ มากกว่าเพียง 2 GJ คิดเป็นร้อยละ 1.2 และเมื่อพิจารณาเชื้อเพลิงทั้ง 2 ชนิดมีพลังงานความร้อนต่างกันเพียง 1 GJ (ตาราง 39)

เมื่อศึกษาศักยภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า เชื้อเพลิง แกลบ:ไม้ มีศักยภาพการ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 8.8 MW (ข้อมูลชีวมวลปริมาณชีวมวลของโรงไฟฟ้าปี 2563 น ามาค านวณหา พลังงานไฟฟ้า) จะเห็นได้ว่าเชื้อเพลิง PC (70:30)-B1 และ PC (70:30)-P มีศักยภาพการผลิตพลังงาน ไฟฟ้าเทียบเท่าและสูงกว่าเชื้อเพลิงที่โรงไฟฟ้าใช้ (8.9 MW) มากกว่าเพียง 0.1 MW คิดเป็นร้อยละ 1.1 (ภาพประกอบ 90)

157

Garis besar

Dokumen terkait