• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา โดยผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องน าเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้

ตอนที่ 1 นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาก าลังคน อาชีวศึกษา

1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579

1.2 ยุทธศาสตร์พัฒนาก าลังคนสนับสนุนเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก พ.ศ. 2560-2564

1.3 แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 1.4 บริบทการอาชีวศึกษา

1.5 ความต้องการแรงงานอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก

ตอนที่ 2 คุณลักษณะของผู้ส าเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา 2.1 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2556

2.2 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านเจตคติของ ผู้ส าเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

ตอนที่ 3 การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการท างาน

3.1 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับ การท างาน

3.2 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี

3.3 พัฒนาการของการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

3.4 องค์ประกอบของการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

3.5 รูปแบบของการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

3.6 บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา สถานประกอบการ และนักเรียน 3.7 การวัดผลและประเมินผลการเรียน

ตอนที่ 4 ความยึดมั่นผูกพันในงาน

4.1 ความหมายของความยึดมั่นผูกพันในงาน 4.2 องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันในงาน

4.3 การวัดความยึดมั่นผูกพันในงาน ตอนที่ 5 นิสัยอุตสาหกรรม

5.1 ความหมายของนิสัยอุตสาหกรรม 5.2 องค์ประกอบของนิสัยอุตสาหกรรม 5.3 ความส าคัญของนิสัยอุตสาหกรรม ตอนที่ 6 ครูฝึกในสถานประกอบการ

6.1 ความหมายของครูฝึกในสถานประกอบการ 6.2 คุณสมบัติของครูฝึกในสถานประกอบการ 6.3 บทบาทหน้าที่ของครูฝึกในสถานประกอบการ

ตอนที่ 7 แนวคิดทฤษฎีที่น ามาใช้ในการพัฒนารูปแบบจัดกิจกรรม 7.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางเหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg’s Description of Moral Development)

7.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ของแบนดูรา

7.3 ทฤษฎีจิตพิสัยของแครทโวล บลูม และมาเซีย (Krathwohl Bloom and Masia)

ตอนที่ 8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8.1 งานวิจัยในประเทศ 8.2 งานวิจัยต่างประเทศ

ตอนที่ 1 นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาก าลังคนอาชีวศึกษา 1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579

เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจ าเป็นต้องก าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศระยะยาวที่จะท าให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศในทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ ภาค เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับไปสู่การใช้

เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนากลไกที่ส าคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพื่อยกระดับฐานรายได้ของ ประชาชนในภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่างๆได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับ

การพัฒนาให้เป็นคนดี เก่ง มีวินัย ค านึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์

สามารถ “รู้ รับ ปรับใช้” เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานระบบ สวัสดิการและกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง น าไปสู่การ พัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองตอบต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการที่จะ พัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ

1.1.1 วิสัยทัศน์

“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป็นคติพจน์ประจ าชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

1.1.2 เป้าหมาย ด้านความมั่นคง

1. การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศ และภายนอก ประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมี

ความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง

2. ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนาและ พระมหากษัตริย์ ที่เข้มแข็ง เป็นศูนย์กลางและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองมีความ มั่นคง เป็นกลไกที่น าไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล

3. สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกก าลังเพื่อพัฒนา ประเทศชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น

4. ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับ การด ารงชีวิตมีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน

5. ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน ้า

ด้านความมั่งคั่ง

1. ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศ ในกลุ่มรายได้สูง ความเหลื่อมล ้าของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น

2. เศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้ง จากภายในและภายนอกประเทศ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต และเป็นจุดส าคัญของ

การเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการท าธุรกิจ มี

บทบาทส าคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก เกิดสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างมี

พลัง

3.ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และ ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ด้านความยั่งยืน

1. การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของ ประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

เกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบ นิเวศน์

2. การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับ กฎระเบียบ ของประชาคมโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อ ผลประโยชน์ส่วนรวม

3. ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง

1.1.3 วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์

2. เพื่อเพิ่มการกระจายโอกาสและคุณภาพการให้บริการของรัฐอย่างทั่วถึง เท่าเทียม เป็นธรรม

3. เพื่อลดต้นทุนในภาคการผลิตและบริการ

4. เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และบริการด้วยนวัตกรรม

1.1.4 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่ส าคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มี

ความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ

สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความ

พร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคาม และภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไป กับการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่

ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน และมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อ เอื้ออ านวยประโยชน์ต่อการด าเนินการ ของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่นๆ ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้

ตามทิศทางและเป้าหมายที่ก าหนด

2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการ พัฒนา ที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิง เปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่นๆน ามาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้

สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคตผ่าน การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคตและ (3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่ม ศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อความ ต้องการของตลาดผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคตบนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและ ปรับปัจจุบันพร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้

และการจ้างงานใหม่ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลกควบคู่ไปกับการยกระดับ รายได้และการกินดีอยู่ดีรวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล ้าของคนใน ประเทศได้ในคราวเดียวกัน

3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์มี

เป้าหมายการพัฒนาที่ส าคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมี

คุณภาพ โดยคนไทย มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่

ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้องมีทักษะที่จ าเป็นในศตวรรษที่ 21 มี

ทักษะสื่อสาร ภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และ การพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูงเป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่ และอื่นๆโดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง