• Tidak ada hasil yang ditemukan

องค์ประกอบของรูปแบบ สาระขององค์ประกอบ

หลักการและแนวคิดพื้นฐาน การออกแบบรูปแบบการพัฒนาความยึดมั่นผูกพันในงานเพื่อเสริมสร้าง นิสัยอุตสาหกรรมผู้วิจัยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการท างานเชิงระบบ (System Approach) เพื่อการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผู้เรียนให้มี

คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะและ มีความสุข อีกทั้งน าฐานคติความ เชื่อจากแนวคิดและทฤษฎีต่างๆมาประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทาง เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg’s Description of Moral Development) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ของแบนดูรา แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของแครทโวล บลูม และมา เซีย (Krathwohl Bloom and Masia)

วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อพัฒนานิสัยอุตสาหกรรมของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี ประเภทวิชาอุตสาหกรรม เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก ที่ครอบคลุม 4 ด้าน คือ ด้านความมีระเบียบวินัยและตรงต่อ เวลา ด้านความรับผิดชอบ ด้านความขยันและอดทน และด้านความ ใฝ่เรียนรู้

การวัดและประเมินผล ขั้นตอนการวัดและประเมินผลตามรูปแบบการจัดกิจกรรมนี้เป็นการวัด และประเมินผลจากแบบวัดสถานการณ์เรื่องนิสัยอุตสาหกรรม การ สังเกตการณ์นิสัยอุตสาหกรรมในพื้นที่ปฏิบัติงาน และจากการท าใบ กิจกรรมของนักศึกษาในแต่ละกิจกรรม

การออกแบบรูปแบบการพัฒนาความยึดมั่นผูกพันในงานเพื่อ เสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรมผู้วิจัยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการท างานเชิงระบบ (System Approach) เพื่อการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะและมี

ความสุข อีกทั้งน าฐานคติความเชื่อจากแนวคิดและทฤษฎีต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ รูปแบบการจัดกิจกรรมดังนี้

1.ทฤษฎีพัฒนาการทางเหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg’s Description of Moral Development) (Kohlberg, 1976, p. 33-36) น ามาเป็นหลัก พื้นฐานในการออกแบบกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรมโดยใช้สถานการณ์

หลายๆอย่าง กระตุ้นให้ผู้เรียนได้อภิปรายอย่างอิสระมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

2.ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ของ แบนดูรา (Bandura, 1977a, p.27) น ามาเป็นหลักพื้นฐานในการออกแบบกิจกรรมจากแนวคิด ที่ว่าพฤติกรรมของบุคคลส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบจากตัวแบบโดย เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมโดย การสังเกต อ่าน ฟังการบอกเล่าของบุคคลอื่น

3.แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของแครทโวล บลูม และมาเซีย (Krathwohl Bloom and Masia) ทิศนา แขมมณี, 2551, น.237-238; อ้างอิงจาก Krathwohl, Bloom and Masia, 1956) น ามาเป็นหลักพื้นฐานในการออกแบบกิจกรรมจากแนวคิดที่ว่าสิ่ง เร้าประสบการณ์หรือสถานการณ์หรือกิจกรรมต่างๆช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสนใจและเห็น คุณค่าในคุณธรรม จริยธรรม หรือค่านิยมนั้น

4.ค วาม ยึด มั่น ผูก พั น ใน งาน (Work Engagement) ขอ ง Schaufeli (2002:74) น ามาเป็นหลักพื้นฐานในการออกแบบกิจกรรมจากแนวคิดที่ว่าความ กระตือรือร้น ความทุ่มเทในการท างาน และความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับงาน จะส่งผลให้

นักศึกษามีสภาวะทางจิตใจในด้านอารมณ์และความคิดเชิงบวกกับงานที่ฝึกปฏิบัติในสถาน ประกอบการ

ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการใช้

กิจกรรมที่หลากหลายซึ่งการจัดกิจกรรมแต่ละแผนการกิจกรรมประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นเต็มใจและเห็นคุณค่า (Willing and Value) หมายถึง ขั้นที่นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ กระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบ โดยขั้นตอน ครูฝึกจะเป็นผู้ชี้แจง วิธีการและจูงใจให้นักศึกษาเกิดความสนใจและตระหนักในความส าคัญของ

นิสัยอุตสาหกรรมด้านความมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา ด้านความรับผิดชอบ และด้านความ ขยันและอดทน และด้านความใฝ่เรียนรู้ การทบทวนประสบการณ์พื้นฐานเดิมในการปฏิบัติตน การให้ความรู้ น าเสนอกรณีตัวอย่าง/สถานการณ์ใกล้ตัว เพื่อให้นักศึกษาเห็นตัวแบบที่ดี

ขั้นที่ 2 ขั้นคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (Analytical Thinking) หมายถึง ขั้นที่ครูฝึกกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและแสดงความคิดเห็นสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับคุณค่า ของคุณลักษณะนิสัยอุตสาหกรรม และผลกระทบของการปฏิบัติและไม่ปฏิบัติทั้งต่อตนเองและ ผู้อื่น เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจให้นักศึกษาเห็นความส าคัญของการปฏิบัติ

ขั้นที่ 3 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) หมายถึง ขั้นที่นักศึกษา ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมจากเพื่อนหรือแหล่งการเรียนรู้อื่นที่หลากหลายแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ร่วมกันและสรุปผลตามใบงานที่ครูฝึกมอบหมาย

ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนคิด (Reflective Thinking) หมายถึง ขั้นที่

นักศึกษาร่วมกันน าเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่ท าร่วมกันอภิปรายข้อค้นพบต่างๆ

ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Conclusion) หมายถึง ขั้นที่นักศึกษาและครูฝึก ร่วมกันสรุปผลที่ได้จากการน าเสนอใบงาน และครูฝึกอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน

ขั้นที่ 6 ขั้นสร้างลักษณะนิสัย (Character) หมายถึง ขั้นที่ครูฝึก ส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติตามค่านิยมนั้นอย่างสม ่าเสมอ โดยติดตามผลการปฏิบัติให้ข้อมูล ย้อนกลับและการเสริมแรงเป็นระยะ ชื่นชมต่อการปฏิบัติกระตุ้นความคิดความรู้สึกหรือเจตคติของ นักศึกษาให้เห็นถึงผลส าเร็จและพอใจที่จะกระท าจนกระทั่งนักศึกษาสามารถปฏิบัติได้จนเป็นนิสัย

2. น าร่างรูปแบบการพัฒนาความยึดมั่นผูกพันในงานเพื่อเสริมสร้าง นิสัยอุตสาหกรรม ตามความต้องการจ าเป็นของสถานประกอบการ ของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี ประเภทวิชาอุตสาหกรรม เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกเสนออาจารย์ที่ปรึกษาและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา

ขั้นตอนที่ 2 การหาประสิทธิภาพรูปแบบการเสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรม ของนักศึกษา

ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการพัฒนาความยึดมั่นผูกพันในงานเพื่อ เสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรม ตามความต้องการจ าเป็นของสถานประกอบการ ของนักศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี ประเภทวิชาอุตสาหกรรม เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ (Utility Standards) ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) ด้านความเหมาะสม (Propriety

Standards) ด้านความถูกต้อง (Accuracy Standards) และด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

(Accountability standards) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานศึกษา จ านวน 2 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานประกอบการ จ านวน 2 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้าน อาชีวศึกษา จ านวน 1 คน

ขอบเขตด้านกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ

ส าหรับตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาความยึดมั่นผูกพันใน งานเพื่อเสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรม ตามความต้องการจ าเป็นของสถานประกอบการ ของ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี ประเภทวิชาอุตสาหกรรม เขตระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกผู้วิจัยเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง (purposeful sampling) ด้วย การก าหนดคุณสมบัติแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานศึกษา ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นผู้ด ารงต าแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและครูนิเทศ สังกัดส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ส าเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหาร อาชีวศึกษา หรือมีประสบการณ์นิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ 2 ปี ขึ้นไป จ านวน 2 คน

2. กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานประกอบการ ซึ่งมีคุณสมบัติส าเร็จ การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป มีประสบการณ์ท างานเป็นครูฝึกในสถาน ประกอบการ หรือ มีประสบการณ์เป็นผู้ดูแลนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถาน ประกอบการ 1 ปี ขึ้นไป จ านวน 2 คน

3. กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาชีวศึกษา ซึ่งมีคุณสมบัติส าเร็จการศึกษา

ระดับปริญญาเอก มีประสบการณ์การท างานด้านอาชีวศึกษา หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่มีประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนทางช่างอุตสาหกรรม ทางด้านวิศวกรรม 3 ปี ขึ้นไป

จ านวน 1 คน

ขอบเขตด้านเนื้อหา

เนื้อหาของการวิจัยนี้เป็นการเสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรมของนักศึกษาตาม ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีล าดับความส าคัญของความต้องการจ าเป็นจากระยะที่ 1 มาสร้างรูปแบบ โดยให้ครูฝึกในสถานประกอบการเป็นผู้น ารูปแบบฯ ไปใช้กับนักศึกษาเพื่อเป็นการเสริมสร้างนิสัย อุตสาหกรรม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนา ความยึดมั่นผูกพันในงานเพื่อเสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรมของนักศึกษาฯ จ านวน 1 ฉบับ ผู้วิจัยได้

ด าเนินการสร้างและหาคุณภาพ ดังต่อไปนี้

1. แบบประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาความยึดมั่นผูกพันใน งานเพื่อเสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรมของนักศึกษาฯ มีขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพ ดังนี้

1.1 ศึกษารายละเอียดและเกณฑ์การประเมินของคณะกรรมการร่วม มาตรฐานการประเมินการศึกษา (Joint committee on standards for educational evaluation:

JCSEE) ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดยสมาคมการประเมินแคนาดา (Canadian evaluation society)(Yarbrough; et al., 2011) ประกอบด้วยเกณ ฑ์มาตรฐานการประเมิน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความเป็นประโยชน์ (Utility Standards) ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) ด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) ด้านความถูกต้อง (Accuracy Standards) และด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability standards) มีลักษณะเป็น แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

5 หมายถึง รายการประเมินนั้น มีความเป็นประโยชน์/ความเป็นไป ได้/ความเหมาะสม/ความถูกต้อง/ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในระดับมากที่สุด

4 หมายถึง รายการประเมินนั้น มีความเป็นประโยชน์/ความเป็นไป ได้/ความเหมาะสม/ความถูกต้อง/ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในระดับมาก

3 หมายถึง รายการประเมินนั้น มีความเป็นประโยชน์/ความเป็นไป ได้/ความเหมาะสม/ความถูกต้อง/ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในระดับปานกลาง

2 หมายถึง รายการประเมินนั้น มีความเป็นประโยชน์/ความเป็นไป ได้/ความเหมาะสม/ความถูกต้อง/ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในระดับน้อย

1 หมายถึง รายการประเมินนั้น มีความเป็นประโยชน์/ความเป็นไป ได้/ความเหมาะสม/ความถูกต้อง/ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในระดับน้อยที่สุด

เกณฑ์การยอมรับความเหมาะสมในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ระดับ 3.50 ขึ้นไป จึงจะถือว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าเหมาะสม ผลการตรวจสอบพิจารณาจาก ค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์โดยใช้เกณฑ์การแปลค่าคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ (มาเรียม นิลพันธุ์. 2551: 247)