• Tidak ada hasil yang ditemukan

การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง

วิธีด าเนินการศึกษาค้นคว้า

1.3 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง

ส าหรับการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบการเลือกตัวอย่าง ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยก าหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้

1.1 ผู้ใช้แพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค และเป็นสมาชิกของกลุ่มหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1.1.1 กลุ่มกองทุนรวมห้องแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการลงทุน

1.1.2 กลุ่มกองทุนไหนดี ห้องแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องกองทุนรวม จาก aomMONEY

1.1.3 กองทุนไหนดี&แลกเปลี่ยนความรู้กองทุน 1.2 มีอายุ 20 ปีขึ้นไป

1.3 นักลงทุนชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่มีการลงทุนกองทุนรวมตรา สารทุนที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

ขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) ให้ครบตามจ านวนแบบสอบถาม 400 ชุด

2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้รูปแบบเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) การเก็บ แบบสอบถามออนไลน์ผ่านโปรแกรม Google Form เป็นเครื่องมือในการสร้างแบบสอบถาม ออนไลน์ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการศึกษา และรวบรวมข้อมูลที่ได้จากทฤษฎี และงานวิจัยที่

เกี่ยวข้อง จึงน ามาประยุกต์เป็นลักษณะข้อค าถามในแบบสอบถาม เพื่อเป็นการศึกษาเรื่อง “ปัจจัย

ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยง ต่างประเทศของนักลงทุนชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร” โดยแบ่งเป็น 4 ตอน คือ

ตอนที่ 1 ลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นค าถามปลาย ปิด (Closed-end Questions) เป็นค าถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้(ต่อเดือน) มีหลักเกณฑ์ในการประเมินคะแนนที่ได้รับจากค าตอบตามการประมาณค่าโดย ใช้การก าหนดเกณฑ์ค่าเฉลี่ย

เกณฑ์ประเมินตอนที่ 1 ข้อมูลลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ตอบ แบบสอบถาม เป็นค าถามปลายปิด (Closed-end Questions) จ านวน 6 ข้อ ได้แก่

ข้อ 1 เพศใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) ได้แก่ เพศชาย เพศหญิง ลักษณะมีค าตอบให้เลือก 2 ทาง (Dichotomous)

ข้อ 2 อายุใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตราเรียงล าดับ (Ordinal Scale) ลักษณะมีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) ใช้การแบ่งช่วงอายุเป็นช่วงละ 10 ปีเพื่อความ สะดวกในการตอบแบบสอบถาม (อธิวัฒน์ โตสันติกุล, 2556, น. 42)

( ) 20-29 ปี

( ) 30-39 ปี

( ) 40-49 ปี

( ) 50-59 ปี

( ) 60 ปีขึ้นไป

ข้อ 3 สถานภาพใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) ลักษณะมีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice)

( ) โสด

( ) สมรส/อยู่ด้วยกัน ( ) หย่าร้าง/ม่าย/แยกกันอยู่

ข้อ 4 การศึกษาสูงสุดใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตราเรียงล าดับ (Ordinal Scale) ลักษณะมีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice)

( ) ต ่ากว่าปริญญาตรี

( ) ปริญญาตรี

( ) สูงกว่าปริญญาตรี

ข้อ 5 อาชีพใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) ลักษณะมีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice)

( ) รับจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน ( ) รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ( ) อาชีพอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว ( ) พ่อบ้าน/แม่บ้าน

( ) อื่นๆ โปรดระบุ…..

ข้อ 6 รายได้(ต่อเดือน) ใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตราเรียงล าดับ (Ordinal Scale) ลักษณะมีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) โดยใช้ระดับการแบ่งรายได้

ตาม (สิทธิพัฒน์ พิพิธกุล, 2550)

( ) ต ่ากว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท ( ) 20,001-50,000 บาท

( ) 50,001-80,000 บาท ( ) 80,001 บาทขึ้นไป

ตอนที่ 2 ลักษณะค าถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มี

ลักษณะแบบสอบถามใช้สเกลความส าคัญ (Important Scale) จ านวน 24 ข้อ แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้

1. ด้านผลิตภัณฑ์ จ านวน 5 ข้อ

2. ด้านราคา จ านวน 3 ข้อ

3. ด้านการจัดจ าหน่าย จ านวน 3 ข้อ

4. ด้านการส่งเสริมการตลาด จ านวน 4 ข้อ

5. ด้านบุคลากร จ านวน 3 ข้อ

6. ด้านลักษณะทางกายภาพ จ านวน 3 ข้อ

7. ด้านกระบวนการบริการ จ านวน 3 ข้อ

ทุกค าถามในแต่ละด้านแบ่งระดับความส าคัญเป็น 5 ระดับ ซึ่งจัดเป็นระดับ การวัดข้อมูลมาตราอันตรภาค (Interval Scale) ซึ่งก าหนดค่าของระดับความส าคัญ ไว้ดังนี้

คะแนน ระดับความส าคัญ

5 หมายถึง มากที่สุด

4 หมายถึง มาก

3 หมายถึง ปานกลาง

2 หมายถึง น้อย

1 หมายถึง น้อยที่สุด

โดยใช้เกณฑ์เฉลี่ยในการอภิปรายผล 5 ระดับ (พัชรภรณ์ พงษ์อารี, 2559, น.

49) เกี่ยวกับระดับความส าคัญของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด พิสัย = ข้อมูลที่มีค่าสูงสุด−ข้อมูลที่มีค่าต ่าสุด

จ านวนชั้น

= 5 − 1

= 0.8 5

จึงน ามาใช้เป็นเกณฑ์ในการอภิปรายประเมินผลแบบสอบถาม เกี่ยวกับ ระดับความส าคัญของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ดังนี้

คะแนนเฉลี่ย 4.21-5.00 หมายถึง มีความส าคัญอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.41-4.20 หมายถึง มีความส าคัญอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 2.61-3.40 หมายถึง มีความส าคัญอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.81-2.60 หมายถึง มีความส าคัญอยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.80 หมายถึง มีความส าคัญอยู่ในระดับน้อยที่สุด ตอนที่ 3 ลักษณะค าถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน ที่มีลักษณะ แบบสอบถามใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จ านวน 18 ข้อ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้

1. อคติจากความคิดที่คลาดเคลื่อน จ านวน 3 ข้อ

2. ความมั่นใจมากเกินไป จ านวน 3 ข้อ

3. ระบบบัญชีในใจ จ านวน 3 ข้อ

4. การตีกรอบ จ านวน 3 ข้อ

5. อคติในการแทนค่า จ านวน 3 ข้อ

6. ผลกระทบที่เอนเอียง จ านวน 3 ข้อ

ทุกค าถามในแต่ละด้านแบ่งระดับความเป็นจริงเป็น 5 ระดับ ซึ่งจัดเป็นระดับ การวัดข้อมูลมาตราอันตรภาค (Interval Scale) ซึ่งก าหนดค่าของระดับความเป็นจริง ไว้ดังนี้

คะแนน ระดับความเป็นจริง

5 หมายถึง มากที่สุด

4 หมายถึง มาก

3 หมายถึง ปานกลาง

2 หมายถึง น้อย

1 หมายถึง น้อยที่สุด

โดยใช้เกณฑ์เฉลี่ยในการอภิปรายผล 5 ระดับ (พัชรภรณ์ พงษ์อารี, 2559, น.

49) เกี่ยวกับระดับความส าคัญของปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน พิสัย = ข้อมูลที่มีค่าสูงสุด−ข้อมูลที่มีค่าต ่าสุด

จ านวนชั้น

= 5 − 1

= 0.8 5

จึงน ามาใช้เป็นเกณฑ์การประเมินผลแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความเป็น จริงของปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน ดังนี้

คะแนนเฉลี่ย 4.21-5.00 หมายถึง ความเป็นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.41-4.20 หมายถึง ความเป็นจริงอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 2.61-3.40 หมายถึง ความเป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.81-2.60 หมายถึง ความเป็นจริงอยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.80 หมายถึง ความเป็นจริงอยู่ในระดับน้อยที่สุด ตอนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้น ลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศของนักลงทุนชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจ านวน 7 ข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. มูลค่าการลงทุน ลักษณะค าถามปลายปิด (Closed-end Questions) มี

หลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) การวัดระดับข้อมูลโดยใช้มาตราอัตราส่วน (Interval Scale)

2. ความถี่ในการลงทุน ลักษณะค าถามปลายปิด (Closed-end Questions) มีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) การวัดระดับข้อมูลโดยใช้มาตราอัตราส่วน (Interval Scale)

3. ระยะเวลาที่ถือครอง ลักษณะค าถามปลายปิด (Closed-end Questions) มีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) การวัดระดับข้อมูลโดยใช้มาตราอัตราส่วน (Interval Scale)

4. ช่องทางการลงทุน ลักษณะค าถามปลายปิด(Closed-end Questions) มี

หลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) ใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale)

5. บุคคลที่มีอิทธิพลในการลงทุน ลักษณะค าถามปลายปิด(Closed-end Questions) มีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) ใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตรานาม บัญญัติ (Nominal Scale)

6. แหล่งศึกษาข้อมูล ลักษณะค าถามปลายปิด(Closed-end Questions) มี

หลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) ใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale)

7. ประเภทกลุ่มหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนสนใจ ลักษณะค าถามปลายปิด(Closed- end Questions) มีหลายค าตอบให้เลือก (Multiple choice) ใช้ระดับการวัดของข้อมูลมาตรานาม บัญญัติ (Nominal Scale)