• Tidak ada hasil yang ditemukan

ปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

3. ปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน

จากการวิเคราะห์ปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการ ลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศของนักลงทุนชาวไทยใน เขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านผลกระทบที่เอนเอียงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในทิศทาง ตรงกันข้าม โดยดูจากค่าสัมประสิทธิ์ที่เท่ากับ 0.46 และด้านอคติจากความคิดที่คลาดเคลื่อน มี

อิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในทิศทางเดียวกัน โดยดูจากค่าสัมประสิทธิ์ที่เท่ากับ 0.17 อธิบาย ได้ว่าด้านผลกระทบที่เอนเอียง หรือภาวะผลกระทบที่เอนเอียง จะเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนประสบ ภาวะขาดทุนสูงขึ้น จนนักลงทุนเกิดความกลัวที่จะลงทุนต่อไป หรือเมื่อนักลงทุนประสบภาวะมี

ก าไร แต่จะรีบขายออกในทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียประโยชน์ในอนาคต และนักลงทุนจะเกิด ความพอใจมากกว่าเมื่อได้รับความภูมิใจจากการได้รับก าไรหลายครั้งมากกว่าครั้งเดียว แม้ว่า ก าไรหลายครั้งนั้นจะมีมูลค่าเท่ากับก าไรครั้งเดียวก็ตาม ภาวะดังกล่าวที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อ พฤติกรรมการลงทุนที่ต ่าลงนั่นเอง ส่วนด้านอคติจากความคิดที่คลาดเคลื่อน อธิบายได้ว่า เป็น สภาวะที่นักลงทุนมีอารมณ์อยู่เหนือตรรกะ และการวิเคราะห์ เช่น เมื่อมีสภาวะอารมณ์ที่ดีจึง สนับสนุนพฤติกรรมการลงทุนทั้งการมีมุมมองที่ดีในการประเมินความลงทุน และเพิ่มการลงทุนที่มี

ความเสี่ยงมากขึ้น และเมื่อมีสภาวะอารมณ์ที่แย่จึงไม่สนับสนุนพฤติกรรมการลงทุน ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิดของ มอร์เทีย (2558) กล่าวว่า จิตวิทยาการลงทุนเป็นภาวะที่น าไปสู่การคาดการณ์

ขัดขวางการวิเคราะห์ หรือการศึกษาข้อเท็จจริงที่มีอย่างละเอียด และเป็นอุปสรรคส าหรับการ แสดงพฤติกรรมการลงทุนโดยใช้หลักการ หรือตรรกะ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ โชคอนันต์

จันทร์แก้วเดช (ม.ป.ป.) ได้ศึกษาเรื่อง รูปแบบการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของ นักลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านจิตวิทยาการลงทุน มีผลต่อรูปแบบการลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยมี

ความเห็นว่า นักลงทุนรายย่อยในกรุงเทพมหานครให้ความส าคัญกับปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน และงานวิจัยของ สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ (2560) ได้ศึกษาเรื่อง ลักษณะทางประชากรศาสตร์

และปัจจัยจิตวิทยาการลงทุนที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนไทยในงานมหกรรมการเงิน ไทย พบว่า ปัจจัยจิตวิทยาการลงทุนประกอบด้วย ปัจจัยด้านการหลีกเลี่ยงความเสียใจและการ เสาะหาความภาคภูมิใจ และปัจจัยด้านความเป็นตัวแทนและความคุ้นเคย มีผลต่อการตัดสินใจ ลงทุนของนักลงทุนไทยในงานมหกรรมการเงินไทย อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4. ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน

จากการวิเคราะห์ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยด้านจิตวิทยา การลงทุนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยง ต่างประเทศของนักลงทุนชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านผลกระทบที่เอนเอียงมี

อิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในทิศทางตรงกันข้าม โดยดูจากค่าสัมประสิทธิ์ที่เท่ากับ 0.46 และ ด้านอคติจากความคิดที่คลาดเคลื่อน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในทิศทางเดียวกัน โดยดู

จากค่าสัมประสิทธิ์ที่เท่ากับ 0.17 สืบเนื่องจากสมมติฐานข้อที่ 2 และ 3 พบว่า สอดคล้องกับ แนวคิดของ Hersh (2000) & Nofsinger (2001) กล่าวว่า การลงทุน มีองค์ประกอบที่จะท าให้นัก ลงทุนแสดงการลงทุน ซึ่งจิตวิทยาการลงทุนเป็นองค์ประกอบที่มีบทบาทส าคัญที่สุดในการลงทุน ซึ่งสนับสนุนผลการวิจัยว่า ในปัจจุบันปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดไม่มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมการลงทุน ซึ่งปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนโดยเฉพาะ ด้านผลกระทบที่เอนเอียงซึ่งเป็นความรู้สึกภาคภูมิใจที่นักลงทุนต้องการได้รับจากการลงทุน และ ด้านอคติจากความคิดที่คลาดเคลื่อนที่ใช้อารมณ์แทนเหตุ และผลในการลงทุนซึ่งเป็นสภาวะที่

มักจะเกิดขึ้นกับนักลงทุน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชนัธฌา ศิวโมกษธรรม และ สรร พัวจันทร์

(2548) ได้ศึกษาเรื่อง การเงินเชิงพฤติกรรม: กรณีศึกษาของพฤติกรรมนักลงทุนไทยในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า เมื่อนักลงทุนรายย่อยพบกับสถานการณ์การขาดทุนจะท าให้นัก ลงทุนหลีกเลี่ยงความเสียใจ ส่งผลให้นักลงทุนเกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการขาดทุน แต่ในทาง กลับกันเมื่อนักลงทุนรายย่อยได้รับก าไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์นักลงทุนจะทะยอยขาย หลักทรัพย์เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งนักลงทุนรายย่อยส่วนมากเป็นผู้ไม่มี

เหตุผล มักจะมีการใช้อารมณ์และการถูกชักน าโดยปัจจัยภายนอกมากกว่าการใช้เหตุ และผลใน การตัดสินใจ

ข้อจ ากัดในการวิจัย

การศึกษา ด้านปัจจัยจิตวิทยาการลงทุนที่หลากหลายด้านนั้น ท าให้การออกแบบ แบบสอบถาม ถูกออกแบบในเชิงกว้าง ท าให้ผลการศึกษาที่ได้รับไม่สามารถแนะน าส าหรับภาวะ ใดภาวะหนึ่งได้อย่างเจาะลึก

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย

จากผลการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน ที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศของนักลงทุนชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยมี

ข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. งานวิจัยในครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการศึกษาต่อทางวิชาการ และสามารถ เพิ่มเติมผลงานวิชาการในประเทศ ที่ไม่เคยมีการใช้ลักษณะประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านส่วน ประสมทางการตลาด และปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน เป็นตัวแปรต้นในการวิจัยร่วมกันซึ่งการ วิจัยครั้งนี้ มีเอกลักษณ์ทางการศึกษาที่บูรณาการระหว่าง ปัจจัยด้านการตลาด และปัจจัยด้าน จิตวิทยา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลงทุนที่เกิดขึ้น

2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมสามารถแบ่งกลุ่มด้านจ านวนครั้งที่ลงทุนด้วย หลักประชากรศาสตร์ ได้ดังนี้ กลุ่มเพศหญิงแตกต่างกับกลุ่มเพศชาย ,กลุ่มสถานภาพโสดแตกต่าง กับกลุ่มสมรส/อยู่ด้วยกัน ,กลุ่มการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรีแตกต่างกับกลุ่มการศึกษาสูงสุด ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ,กลุ่มอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน แตกต่างกับกลุ่มอาชีพรับ ราชการ/รัฐวิสาหกิจ ,กลุ่มนักลงทุนที่มีอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน แตกต่างกับกลุ่มนัก ลงทุนที่มีอาชีพอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว ,กลุ่มรายได้(ต่อเดือน)ต ่ากว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท แตกต่าง กับกลุ่มรายได้(ต่อเดือน) 50,001-80,000 บาท ,กลุ่มรายได้(ต่อเดือน) 20,001-50,000 บาท แตกต่างกับกลุ่มรายได้(ต่อเดือน) 50,001-80,000 บาท ,กลุ่มรายได้(ต่อเดือน) 50,001-80,000 บาท แตกต่างกับกลุ่มรายได้(ต่อเดือน) 80,001 บาทขึ้นไป ดังนั้น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน รวมสามารถแบ่งส่วนตลาดโดยให้ความสนใจมากที่สุดกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ เพศหญิง สถานภาพโสด การศึกษาสูงสุดระดับสูงกว่าปริญญาตรี อาชีพอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว รายได้(ต่อ เดือน) 50,001-80,000 บาท เนื่องจากกลุ่มดังกล่าว มีจ านวนครั้งที่ลงทุนที่มีความถี่สูงกว่ากลุ่มอื่น

3. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมสามารถแบ่งกลุ่มด้านระยะเวลาการถือครอง หน่วยลงทุนด้วยหลักประชากรศาสตร์ ได้ดังนี้ กลุ่มเพศหญิงแตกต่างกับกลุ่มเพศชาย ,กลุ่มอายุ

20-29 ปี แตกต่างกับกลุ่มอายุ 40-49 ปี ,กลุ่มอายุ 30-39 ปี แตกต่างกับกลุ่มอายุ 40-49 ปี ,กลุ่ม สถานภาพโสดแตกต่างกับกลุ่มสมรส/อยู่ด้วยกัน ,กลุ่มการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรีแตกต่าง กับกลุ่มการศึกษาสูงสุดระดับสูงกว่าปริญญาตรี ,กลุ่มอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน แตกต่างกับกลุ่มอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ,กลุ่มอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน แตกต่าง กับกลุ่มอาชีพอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว ,กลุ่มรายได้(ต่อเดือน)ต ่ากว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท แตกต่าง กับกลุ่มรายได้(ต่อเดือน) 50,001-80,000 บาท ,กลุ่มรายได้(ต่อเดือน) 20,001-50,000 บาท

แตกต่างกับกลุ่มนักลงทุนที่มีรายได้(ต่อเดือน) 50,001-80,000 บาท ดังนั้น บริษัทหลักทรัพย์

จัดการกองทุนรวมสามารถแบ่งส่วนตลาดโดยให้ความสนใจมากที่สุดกับกลุ่มเป้าหมาย คือ เพศ หญิง อายุ 40-49 ปี สถานภาพโสด การศึกษาสูงสุดระดับสูงกว่าปริญญาตรี อาชีพอิสระ/ธุรกิจ ส่วนตัว รายได้(ต่อเดือน) 50,001-80,000 บาท เนื่องจากกลุ่มดังกล่าว มีระยะเวลาการถือครอง หน่วยลงทุนที่นานกว่ากลุ่มอื่น

4. โดยทั่วไปปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุน ของนักลงทุน แต่จากผลงานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาปัจจัยการตลาดร่วมกับปัจจัยด้าน จิตวิทยาการลงทุนแล้ว ปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนสูงเหนือ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด จากผลการจัย จึงมีข้อเสนอว่าหากนักลงทุนต้องการประสบ ความส าเร็จในการลงทุนนั้น นักลงทุน ควรใช้หลักการ และเหตุผลให้ดีในการลงทุน ระมัดระวัง ปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุน และการใช้อารมณ์ในการลงทุน ซึ่งจากงานวิจัย พบว่า ด้าน ผลกระทบที่เอนเอียง ด้านอคติจากความคิดที่คลาดเคลื่อน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุน โดยรวมในกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศของนักลงทุนชาวไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร โดย ด้านผลกระทบที่เอนเอียง เกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนมีความกลัวที่จะ ขาดทุน หรือความผิดหวัง และการเปลี่ยนแปลง และด้านอคติจากความคิดที่คลาดเคลื่อน เกิดขึ้น เมื่อนักลงทุนพบความซับซ้อนในการลงทุน และข้อจ ากัดทางเวลา จึงท าให้ใช้อารมณ์ทดแทนการ วิเคราะห์

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อ ป

1. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนแบบมีความ เสี่ยงต่างประเทศเท่านั้น ในการวิจัยครั้งถัดไปอาจศึกษากองทุนรวมประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับความ สนใจจากนักลงทุน เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะ ยาว (SSF) กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น ตามล าดับ (เว็ลธ์แมจิก, 2565) เพื่อที่จะสามารถเป็น แนวทางในพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมได้อย่าง เหมาะสม และสอดคล้องกับกลุ่มนักลงทุนได้ต่อไปในอนาคต

2. ควรศึกษาตัวแปรอิสระปัจจัยจิตวิทยาการลงทุนในด้านอื่น ๆ เช่น อคติจากถิ่นที่อยู่

อาศัย อคติจากการท าตามกัน เป็นต้น เพื่อแนะน าให้นักลงทุน มีความระมัดระวังในภาวะอคติที่

อาจเกิดขึ้นในการลงทุนได้

3. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาเฉพาะนักลงทุนชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น การ วิจัยครั้งต่อไปควรศึกษานอกกรุงเทพมหานครและเป็นจังหวัดที่มีความก้าวหน้าด้านรายได้ เช่น