• Tidak ada hasil yang ditemukan

มจก

2. การบริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้า

3. การบริหารจัดการด้านการผลิตและส่วนสนับสนุนการผลิต 4. การบริหารจัดการด้านบัญชีและการเงิน

5. การปรับปรุงและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน ประโยชน์ที่ได้รับจาการเข้าร่วมโครงการ มจก.

1. รู้จุดอ่อน – จุดแข็งของกิจการ

2. รู้วิธีคิด วิธีวางแผน วิธีผลิต/บริการ วิธีท าตลาดอย่างเป็นระบบ

3. ได้รับการปรึกษาแนะน าเชิงลึก ท าให้สามารถแก้ไขปัญหาธุรกิจที่เกิดขึ้นได้

4. กระตุ้นให้เกิดการปรับตัว เพิ่มประสิทธิภาพกิจการได้ ธุรกิจโตอย่างต่อเนื่อง 5. ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อมก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ 6. ได้รับการรับรองด้านมาตรฐานการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

แผนภาพที่ 2: กระบวนการพัฒนาวิสาหกกิจชุมชน (มจก.) (ที่มา: http://www.industry.go.th/, สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 )

ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

เป็นไปตามมาตรฐาน

อบรม ผู้

ประเมิน

วิสาหกิจ ชุมชน

ผล

ประเมิน ให้ Certificate

การรับรอง

ให้ค าแนะน า (ที่ปรึกษา)

ผล ประเมิน

2.7 แนวคิดด้านบริหารจัดการองค์กรในระดับหน้าที่ (Functional Analysis)

การจัดการองค์กร (organizing) คือ การตัดสินเลือกวิธีการในการจัดแบ่งกลุ่มกิจกรรมและ ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กรออกเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้การประสานงานกันระหว่าง กลุ่มกิจกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยมาตรฐานของ มจก. ข้างต้น มี

ความสอดคล้องกับแนวคิดด้านบริหารจัดการธุรกิจในส่วนของการวิเคราะห์การจัดการองค์กรใน ระดับหน้าที่ (ที่มา : http://203.158.184.2/elearning/Management/until701.htm, สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555) ดังนี้

การวิเคราะห์ด้านการผลิต ได้แก่ มาตรฐานด้านการบริหารการจัดการด้านการผลิตและ งานสนับสนุนการผลิต

การวิเคราะห์ด้านการตลาด ได้แก่ มาตรฐานด้านการบริหารการจัดการตลาด/ ลูกค้า การวิเคราะห์ด้านการเงิน ได้แก่ มาตรฐานด้านการบริหารการจัดการด้านบัญชี/ การเงิน การวิเคราะห์ด้านโครงสร้างองค์กรและบุคลากร ได้แก่ การบริหารจัดการกลุ่มและสมาชิก รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน

2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

มีผลงานวิจัยหลากหลายผลงานที่ท าให้การศึกษาเกี่ยวกับโครงการวิจัยพัฒนารูปแบบและ มาตรฐานการจัดการธุรกิจร้านจ าหน่ายสินค้า OTOP และของฝากชุมชนจังหวัดระนอง ณรงค์

เพ็ชรประเสริฐ (2541 : บทคัดย่อ) ได้ท าการศึกษาถึงปัจจัยที่ก าหนดความส าเร็จ/ล้มเหลวของการ ประกอบธุรกิจชุมชนว่ามีอยู่ด้วยกัน 9 ประการ ดังนี้ 1) การเงิน ต้องพึ่งตนเองด้านการเงินและการ ใช้เงินทุน เพื่อที่จะด าเนินการได้อิสระกว่าและควบคุมภาระรับผิดชอบได้มากกว่า 2) ปัจจัย การตลาด พิจารณาทั้งตลาดในเชิงนามธรรมและรูปธรรม รวมถึงการเข้าถึงช่องทางตลาดที่แน่นอน และเพียงพอต่อการด าเนินธุรกิจชุมชน เพราะปัจจัยการตลาดจะก าหนดความส าเร็จของธุรกิจชุมชน 3) ปัจจัยการผลิต ความพร้อมด้านทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบ ภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถที่จะแปร ปัจจัยการผลิตเป็นสินค้าที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน 4) การบริหารจัดการในด้านระบบ การเงิน ระบบงาน และระบบบุคลากร 5) ผู้น า มีความคิดริเริ่ม เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น 6) แรงงาน ความสัมพันธ์ด้านแรงงานโดยส่วนใหญ่ จะเป็นการท างานอิสระ แต่อาจมีการรวมกลุ่มกันท างาน รวมกลุ่มกันผลิต ท าการค้า 7) การมีส่วนร่วมของสมาชิก การเกิดขึ้น ด ารงอยู่ และเติบโตขึ้นอยู่กับ การมีส่วนร่วมของสมาชิกที่จะต้องเป็นลักษณะเชิงรุก คือ การมีส่วนร่วมตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ จนถึงลงมือกระท า 8) ระเบียบข้อบังคับของชุมชน ต้องมาจากความเห็นชอบของสมาชิกในชุมชน

และ 9) ปฏิสัมพันธ์กับภายนอก มีทั้งทางบวกและลบ ทางบวก ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสร้างสรรค์ความส าเร็จ ทางลบ ได้แก่ การระมัดระวัง เรียนรู้

และต่อรองเพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากภายนอก

นางสาวชุลีวรรณ สมัครพงศ์ (2548 : บทคัดย่อ) ได้ท าการศึกษา การตลาดของสินค้า OTOP ในจังหวัดสงขลา : กรณีศึกษากลุ่มสินค้าหัตถกรรม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการด าเนินงานโดยทั่วไปและการผลิตของกลุ่มผลิตสินค้า OTOP ที่ผลิตสินค้า หัตถกรรมในจังหวัดสงขลา 2) การด าเนินงานด้านการตลาดของกลุ่มเกี่ยวกับลักษณะตัวผลิตภัณฑ์

การก าหนดราคา ช่องทางการจัดจ าหน่าย และการส่งเสริมการตลาด 3) ปัญหาและอุปสรรคด้าน การตลาดของกลุ่ม และ 4) บทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการสนับสนุนการด าเนินงานด้าน การตลาดของกลุ่มผู้ผลิต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประธานกลุ่มผู้ผลิตสินค้า หัตถกรรมในอ าเภอเมือง อ าเภอหาดใหญ่ และอ าเภอรัตภูมิ ทั้งหมดจ านวน 17 ราย และเจ้าหน้าที่

ของหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนการด าเนินงานด้านการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า หัตถกรรมในจังหวัดสงขลา จ านวน 8 หน่วยงานด้วยแบบสอบถามเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการแจกแจงความถี่ โดยให้เหตุผลภายใต้ทฤษฏี

การตลาดและส่วนประสมทางการตลาด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ผลิตมีสมาชิกเฉลี่ย 28.2 คน โดย สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วง 41-50 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพการเกษตร และมีรายได้เฉลี่ยจากการด าเนินกิจกรรม OTOP อยู่ในช่วง 3,000 – 5,000 บาท/เดือน โดยกลุ่มผู้ผลิตมากกว่าครึ่งมีการจัดตั้งกลุ่มมาก่อนที่จะมีโครงการ OTOP ซึ่งใน การจัดตั้งกลุ่มมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบเป็นอาชีพเสริม ส าหรับการผลิตสินค้าส่วนใหญ่ท าการ ผลิต ณ ที่ท าการของกลุ่มและให้สมาชิกน าไปผลิตที่บ้านของตนเอง ซึ่งมีการวางแผนการผลิต 2 รูปแบบ คือ ผลิตสินค้าก่อนแล้วขาย และรับค าสั่งจากลูกค้าก่อนแล้วจึงผลิต ผลการด าเนินงานด้าน การตลาด กลุ่มผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่มีผู้ท าหน้าที่การตลาดโดยตรง แต่มีประธานกลุ่มที่เป็น ผู้รับผิดชอบทั้งงานบริหาร และการจัดการด้านการตลาดทั้งหมด ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตมากกว่าครึ่งมียอด จ าหน่ายสินค้าเฉลี่ย 148,382.4 บาท/เดือน โดยกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและพนักงาน เอกชน และมีการก าหนดรูปแบบสินค้าตามค าสั่งซื้อของลูกค้าเป็นหลัก โดยทุกกลุ่มมีการ ตรวจสอบคุณภาพสินค้า และได้รับเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ส่วนรูปบรรจุภัณฑ์กลุ่ม ผู้ผลิตมากกว่าครึ่งจะก าหนดตามชนิดและรูปแบบของสินค้า ในด้านการก าหนดราคา กลุ่มผู้ผลิต ทุกกลุ่มก าหนดตามต้นทุนบวกกับก าไรที่ต้องการ โดยช่องทางจัดจ าหน่ายสินค้าส่วนใหญ่จะ จ าหน่ายให้กับลูกค้าในประเทศโดยตรง ณ ที่ท าการกลุ่ม ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตมากกว่าครึ่งมีการท า กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด และส่วนใหญ่ได้รับค าแนะน าเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาดจากส านัก

งานพัฒนาชุมชน ในส่วนปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการด าเนินงานด้านการตลาดของกลุ่ม และ ควรได้รับการแก้ไขเร่งด่วน คือ การขาดแคลนแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการด าเนินงาน ก าลังการ ผลิตสินค้าไม่สม ่าเสมอ ขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องการบริหารและการจัดการด้านการตลาด ที่ชัดเจน ขาดตลาดในการจ าหน่ายสินค้าที่แน่นอน และช่องทางการจัดจ าหน่ายสินค้ามีน้อย บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า ครึ่งหนึ่งหน่วยงารนมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการ ด าเนินงานด้านการตลาดของกลุ่มผู้ผลิต เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสินค้าให้มีศักยภาพ และเพิ่มช่อง ทางการจ าหน่าย ซึ่งหน่วยงานส่วนใหญ่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านการจัดหาตลาดเพื่อ รองรับสินค้า โดยกิจกรรมที่หน่วยงานจัดขึ้นเป็นการฝึกอบรมทักษะในด้านต่าง ๆ และการให้

ความรู้และค าแนะน าเรื่องการจัดการด้านการตลาด ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และ กลยุทธ์การตลาด โดยปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มผู้ผลิตที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานประสบจากการ เข้าไปให้การสนับสนุน คือ คุณภาพสินค้าไม่สม ่าเสมอ กลุ่มผู้ผลิตตั้งราคาสินค้าสูงเกินไป ไม่มี

ศูนย์กลางในการจ าหน่ายสินค้า กลุ่มผู้ผลิตส่วนใหญ่ท าการผลิตเป็นเพียงอาชีพเสริม และขาด เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต ซึ่งปัญหาที่กลุ่มประสบอยู่ส่งผลให้กลุ่มไม่สามารถขยายตลาดได้

อุษณีย์ มากประยูร (2551 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา สภาพและปัญหาการสื่อสารการตลาดของ ธุรกิจหนึ่งต าบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สภาพการสื่อสารการตลาดของธุรกิจหนึ่งต าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ตามทรรศนะ ของประธานกลุ่มและฝ่ายการตลาด 2) ศึกษาปัญหาการสื่อสารตลาดของธุรกิจหนึ่งต าบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ตามทรรศนะของประธานกลุ่มและฝ่ายการตลาด 3) ศึกษาข้อเสนอ แนะในการแก้ปัญหาและพัฒนาการสื่อสารการตลาดธุรกิจหนึ่งต าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัด อุตรดิตถ์ตามทรรศนะของประธานกลุ่มและฝ่ายการตลาด จ านวน 382 คน ผลการวิจัย พบว่า (ก) สภาพการสื่อสารการตลาดของธุรกิจหนึ่งต าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ คือ 1) ผลิตภัณฑ์

ประเภทอาหาร มีสภาพการสื่อสารการตลาด มาก 3 อันดับ แรก คือ การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ

การใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และการสั่งจองผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า ตามล าดับ 2) ผลิตภัณฑ์ประเภท เครื่องดื่มมีสภาพการสื่อสารการตลาด มาก 3 อันดับ แรก คือ การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ การใช้

วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และการระบุข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไว้บนหีบห่อ ตามล าดับ

3) ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายมีสภาพการสื่อสารการตลาด มาก 3 อันดับ แรก คือ การ สั่งจองผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และการมีจุดเด่นที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่นตาม ล าดับ 4) ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งมีสภาพการสื่อสารการตลาด มาก 3 อันดับ แรก คือ การใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และการมีจุดเด่นที่ดีกว่า ผลิตภัณฑ์อื่น ตามล าดับ 5) ผลิตภัณฑ์ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกมีสภาพการสื่อสาร