• Tidak ada hasil yang ditemukan

การเดินทางคือการพิสูจน์ตัวตน

มโนทัศน์และลักษณะส าคัญของวรรณกรรมการเดินทางของไทย

3.1.6 การเดินทางคือการพิสูจน์ตัวตน

143 สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมากให้แก่คณะเดินทางจากสยาม ซึ่งเป็นผู้คนในประเทศเขตร้อนที่ไม่

มีสภาพอากาศ ปรากฏการธรรมชาติและทิวทัศน์เช่นที่พบเห็น

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการแสวงหาความรื่นรมย์จากธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของ การเดินทางโดยเฉพาะการเดินทางที่ต้องผ่านเส้นทางธรรมชาติที่สวยงาม ผู้เดินทางย่อมหาความ รื่นรมย์จากธรรมชาติที่พบเห็น ความรื่นรมย์ของธรรมชาติดังกล่าวจึงมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง เพื่อเที่ยวชมธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งการแสวงหาความรื่นรมย์จากธรรมชาตินั้นปรากฏในเห็นทั้งใน วรรณกรรมการเดินทางประเภทนิราศและจดหมายเหตุการเดินทาง

144 ในวรรณกรรมนิราศและจดหมายเหตุการเดินทางปรากฏเรื่องราวการเดินทางซึ่งมี

ความเกี่ยวข้องกับการค้นหาตัวตนและการพิสูจน์ความเป็นชาย การพิสูจน์ความเป็นชายส่วนหนึ่ง แสดงออกในรูปแบบของการเดินทางเพื่อพิสูจน์ตนเอง ซึ่งความเป็นชายตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น ในวรรณกรรมการเดินทางพบลักษณะความเป็นชาย ดังนี้

หนึ่ง ความเป็นชายในฐานะนักรบ ในวรรณกรรมนิราศและจดหมายเหตุปรากฏ เรื่องราวการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับการศึกสงครามซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นนักรบหรือชายชาติ

ทหารที่ต้องคอยปกป้องบ้านเมือง ช่วยรักษาความสงบเรียบร้อย และเพื่อการขยายอาณาจักรที่แสดง ให้เห็นถึงความเป็นชายเหนือชายเหนือราชอาณาจักรต่าง ๆ ความเป็นชายในฐานะนักรบสร้างความ เป็นวีรบุรุษของชายซึ่งมีมาแต่สมัยสุโขทัยเห็นได้จากการชนช้างของพ่อขุนรามค าแหงกับขุนสามชนใน ศิลาจารึกหลักที่ 1 พระปรีชาสามารถในการศึกสงครามของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในลิลิตยวน พ่าย ความปรีชาสามารถในการศึกสงครามของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า เช่นที่ปรากฏใน วรรณกรรมนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง ที่ทรงพระนิพนธ์เมื่อยกทัพไปรบกับพม่าที่ท่าดินแดง เมือง กาญจนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2329 นอกจากพระมหากษัตริย์แล้วการศึกสงครามถือเป็นหน้าที่ของชายทุกคน ภายในชาติ เช่น การเดินทางของพระยาตรังเมื่อครั้งเสด็จตามรัชกาลที่ 1 ไปตีเมืองทวายเมื่อ พ.ศ.

2330 ในนิราศตามเสด็จทัพล าน้ าน้อย และในโคลงนิราศพระยาตรัง แต่งสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อคราวไป ทัพรบกับพม่าที่เมืองชุมพรและถลางในปี พ.ศ. 2325 การเดินทางของนายนรินทร์ธิเบศร (อิน) ใน นิราศนรินทร์ แต่งเมื่อคราวเดินทางตามสมเด็จกรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ คราวเสด็จ ยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกมาตีเมืองถลางและชุมพรเมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นต้น ความเป็นชายใน ฐานะนักรบถูกน าเสนอผ่านเรื่องการเดินทาง ดังที่กล่าวมานอกจากความเป็นชายในฐานะนักรบสิ่งที่คู่

กันในสมัยนั้นคือความเป็นชายในฐานะนักรัก

สอง ความเป็นชายในฐานะนักรัก ปรากฏเห็นเด่นชัดในวรรณกรรมนิราศเพราะว่าทุก การเดินทางถึงสถานที่แห่งหนต าบลใดกวีมักร าพึงร าพรรณถึงนางผู้เป็นที่รักเสมอซึ่งส่วนมากจะ พรรณนาถึงนาง พรรณนาความรัก พรรณนาอารมณ์กวี และพรรณนาเชิงสังวาส ไม่ว่าการเดินทางครั้ง นั้นจะมีจุดประสงค์ใดก็ตามกวีมักจะกล่าวถึงนางผู้เป็นที่รักเสมอ เช่น บทฝากนางในโคลงนิราศ นรินทร์คราวจะต้องเดินทางตามสมเด็จกรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ คราวเสด็จยกทัพ หลวงไปปราบพม่าซึ่งยกมาตีเมืองถลางและชุมพร กวีมีการร าพึงร าพรรณถึงนางผู้เป็นที่รักก่อน เดินทางในบทฝากนาง ดังข้อความ

“โฉมควรจักฝากฟ้า ฤาดิน ดีฤา เกรงเทพไท้ธรณินทร์ ลอบกล้ า ฝากลมเลื่อนโฉมบิน บนเล่า ณแม่

ลมจะชายชักช้ า ชอกเนื้อเรียมสงวน

145 ฝากอุมาสมรแม่แล้ว ลักษมี เล่านา

ทราบสวยมภูวจักรี เกลือกใกล้

เรียมคิดจบจนตรี โลกล่วง แล้วแม่

โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง”

(นรินทร์ ธิเบศร์ (ทองอิน), ม.ป.ป.)

ความเป็นนักรักและนักรบเป็นค่านิยมหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นชาย สตรีนอกจากจะมี

ฐานะเป็นหญิงคนรักแล้ว อีกนัยหนึ่งสตรียังมีฐานะเป็นสมบัติส าคัญเปรียบดังเกียรติของความเป็นชาย ที่ผู้ชายจ าต้องรักษาไม่ให้ใครมาแตะต้องได้เพราะนั้นถือเป็นการหมิ่นเกียรติยศของความเป็นชาย

สาม ความเป็นชายในฐานะผู้ที่มีศีลธรรม นอกจากนักรักและนักรบแล้วความเป็นชาย จะต้องสมบูรณ์พร้อมด้วยศีลธรรม ถ้าในฐานะพระมหากษัตริย์ก็จ าต้องเป็นองค์อุปถัมภ์พุทธศาสนา ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เช่น พ่อขุนรามค าแหงทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาเพื่อให้พระสงฆ์แสดง ธรรมเทศนาในวันพระ ในสมัยอยุธยาตอนต้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตั้งพระทัยจะสละบาปและ ต้องการแสวงบุญ พระองค์จึงโปรดให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งไปยังลังกาทวีปเพื่อนิมนต์พระสงฆ์

ผู้ปราศจากกิเลสมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น ซึ่งการท านุบ ารุงศาสนาเป็นกิจส าคัญของพระมหากษัตริย์

ทุกพระองค์ที่ต้องทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ศาสนาเพราะส่วนหนึ่งช่วยในการรักษาพระราชอ านาจของชน ชั้นกษัตริย์และชนชั้นปกครองในการรักษาบ้านเมืองให้สงบสุข เรื่องศีลธรรมมักจะถูกสอดแทรกไว้ใน วรรณคดีโบราณเสมอ ตัวอย่างในวรรณกรรมนิราศ เช่น

“งิ้วนรกสิบหกองคุลีแหลม ดังขวากแซมเสี้ยมแทรกแตกไสว ใครท าชู้คู่ท่านครั้นบรรลัย ก็ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554) “จะเกิดชาติใดใดในมนุษย์ ให้บริสุทธิ์สมจิตที่คิดหมาย ทั้งทุกข์โศกโรคภัยอย่าใกล้กราย แสนสบายบริบูรณ์ประยูรวงศ์

ทั้งโลโภโทโสแลโมหะ ให้ชนะใจได้อย่าใหลหลง ของฟุ้งเฟื่องเรืองวิชาปัญญายง ทั้งให้ทรงศีลขันธ์ในสันดาน อีกสองสิ่งหญิงร้ายและชายชั่ว อย่าเมามัวหมายรักสมัครสมาน ขอสมหวังตั้งประโยชน์โพธิญาณ ตราบนิพานภาคหน้าให้ถาวร”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554)

146 การรักษาศีลประพฤติดีเป็นสิ่งหนึ่งที่สนับสนุนความเป็นชายให้สมบูรณ์แบบ การเข้าถึง ซึ่งโพธิญาณเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อเรื่องมหาบุรุษและการบ าเพ็ญตนเพื่อการเกิดในโลกหน้าที่สมบูรณ์

แบบกว่าเดิม

สี่ ความเป็นชายในฐานะนักผจญภัย การเดินทางผจญภัยเป็นเรื่องราวที่ท้าทายความ กล้าของความเป็นชาย การเดินทางผ่านพบเจออุปสรรค การฝ่าฟันสู่ความส าเร็จหรือเป้าหมายต่าง ๆ ถือเป็นการพิสูจน์ความเป็นชายหรือผ่านบททดสอบความเป็นชายที่สมบูรณ์ ในวรรณกรรมการ เดินทางปรากฏการผจญภัยต่าง ๆ ตลอดเส้นทาง เช่น ความยากล าบากของเส้นทางทั้งทางบกและ ทางเรือ การผจญสัตว์ป่า การผจญกับสิ่งลี้ลับต่าง ๆ ดังตัวอย่างในนิราศสุพรรณของสุนทรภู่

ดังข้อความต่อไปนี้

“ช้างบ้างาใหญ่เฟื้อย เปลือยเปลา ทลวงทลึ่งถึงแทงเสา สวบง้าง

งากระเด่นเผ่นท้าวเทา แทงอีก ฉลีกเอย บ้าเลือดเดือดดุนช้าง อื่นร้องซ้องเสียง ฯ

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2510) ท้าวชอบตอบเหล้าเรื่อง เบื้องบุราณ

ปราสาทราชวังสถาน ท่านส้าง เฃารอบขอบปรากาล เกิดห่า มาแฮ เปนเถื่อนเกลื่อนโขลงช้าง ช่วยเฝ้าเข้าของ ฯ”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2510)

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าสุนทรภู่และคณะเดินทางต้องเผชิญภัยจากฝูงช้างป่าซึ่งเป็นภูตเฝ้า รักษาสมบัติโบราณ อุปสรรคที่คณะเดินทางได้เผชิญท าให้ผู้ที่ผ่านการเดินทางย่อมถือว่าผ่านบท ทดสอบความเป็นชายก่อให้เกิดการยอมรับและความนิยมชมชอบในสังคม ยิ่งถ้าการเดินทางครั้งนั้น ๆ ถูกบันทึกในรูปแบบวรรณกรรมยอดนิยมร่วมสมัยนั้น เช่น ในนิราศของสุนทรภู่ ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ที่

ผู้คนสนใจการเดินทางและการผจญภัยไปยังสถานที่แปลกใหม่ที่มีอยู่จริง ผู้คนนิยมเสพวรรณกรรม เชิงสัจนิยมมากขึ้น การเดินทางผจญภัยจึงถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการค้นหาและการพิสูจน์ความ เป็นชายอีกรูปแบบหนึ่ง

147 นอกจากนี้แล้วความต้องการพิสูจน์ศักยภาพและการเป็นผู้พิชิตมีส่วนผลักดันให้เกิดการ เดินทาง ซึ่งการเดินทางของบุคคลส่วนหนึ่งย่อมต้องการพิสูจน์ศักยภาพพิสูจน์ความอดทนต่อความ ยากล าบากในการเดินทางและความสามารถของตนเองในการเป็นผู้พิชิตความยากล าบากหรือเป็นผู้ที่

สามารถฝ่าฟันอุปสรรคของการเดินทางจนถึงจุดหมายปลายทางได้ส าเร็จ ซึ่งจะเห็นได้ว่าใน วรรณกรรมการเดินทางไทยหลายเรื่องแสดงให้เห็นถึงอุปสรรคในการเดินทาง เช่น ในนิราศของสุนทร ภู่ที่เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ การเดินทางไกลในมหาสมุทรของพระยามหานุภาพไปเมืองจีน และ การเดินทางเพื่อการศึกสงครามต่าง ๆ เป็นต้น การเดินทางเหล่านี้แสดงถึงการผจญภัย การฝ่าฟัน อุปสรรคและการเอาตัวรอด เรื่องราวเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของผู้เดินทาง ได้เป็นอย่างดี

ในวรรณกรรมการเดินทางของสุนทรภู่ เช่น ในวรรณกรรมนิราศเรื่องนิราศเมือง แกลง โคลงนิราศสุพรรณ นิราศเมืองเพชร และนิราศภูเขาทอง ในนิราศเหล่านี้ล้วนเป็นการเดินทางที่

ค่อนข้างยากล าบาก ผู้เดินทางต้องมีความอดทน ถือได้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นนถึงศักยภาพของบุคคล และความต้องการจะพิชิตจุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ให้ประสบความส าเร็จ ดังตัวอย่างในนิราศเมือง แกลงที่ผู้เดินทางต้องประสบความยากล าบากในการเดินทาง ดังข้อความที่ว่า

“ต่างโหยหิวนิ่วหน้าสองขาแข็ง ในคอแห้งหอบรนกระหนกระหาย กลืนกระเดือกเกลือกกลิ้นกินน้ าลาย เจียนจะตายเสียด้วยร้อนอ่อนก าลัง น้ าก็หนองอยู่ในท้องชลาสินธุ์ จะกอบกินเค็มขมไม่สมหวัง เหมือนไร้คู่อยู่ข้างก าแพงวัง จะเกี้ยวมั่งก็จะเฆี่ยนเอาเจียนตาย ทั้งนี้เพราะเคราะห์กรรมกระท าไว้ นึกอะไรจึงไม่สมอารมณ์หมาย แล้วปลอบน้องสองราปรีชาชาย มาถึงท้ายทิวป่านาจอมเทียน เห็นบ่น้ าร่ าดื่มเอาโดยอยาก พออ้าปากเหม็นหืนให้คลื่นเหียน ค่อยมีแรงแข็งใจไปทางเกวียน ไม่แวะเวียนเดาเดินด าเนินไป”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554)

แต่ในบางครั้งของการเดินทางผู้เดินทางอาจมีการท้อถอย หมดแรง หมดก าลังใจ และ อาจมีผู้ร่วมเดินทางบางคนไปไม่ถึงจุดหมาย เช่น ในนิราศเมืองแกลง นายแสงผู้น าทางของสุนทรภู่ได้หนี

หายระหว่างการเดินทาง ดังตัวอย่าง

“นายแสงหลบหนีไม่พบเห็น โอ้แสนเข็ญคิดน่าน้ าตาไหล น้อยหรือเพื่อนเหมือนจะร่วมชีวาลัย มาสูญใจจ าจากเมื่อยากเย็น จึงกรวดน้ าร่ าว่าต่ออาวาส อันชายชาตินี้หนอไม่ขอเห็น มาลวงกันปลิ้นปลอกหลอกทั้งเป็น จะชี้เช่นชั่วช้าให้สาใจ