• Tidak ada hasil yang ditemukan

การเดินทางคือการหาความรื่นรมย์จากธรรมชาติ

มโนทัศน์และลักษณะส าคัญของวรรณกรรมการเดินทางของไทย

3.1.5 การเดินทางคือการหาความรื่นรมย์จากธรรมชาติ

140 จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าสุนทรภู่กล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงการเดินทางไปเคารพ พระพุทธรูปและสถูปบรมธาตุที่ภูเขาทอง และการแต่งนิราศก็เพื่อคลายความทุกข์ใจ ไม่ได้มีเรื่องรัก ใคร่อย่างไร ซึ่งถึงแม้อาจปรากฏการกล่าวถึงนางผู้เป็นที่รักบ้างแต่เป็นเพียงการแต่งตามธรรมเนียม นิราศและชั้นเชิงการแต่งกลอนของสุนทรภู่เท่านั้น

จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับมโนทัศน์การเดินทางคือการเยียวยาจิตใจนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อบุคคลประสบปัญหาในชีวิตการเดินทางเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เดินทางเห็นว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยาจิตใจ จากความทุกข์ใจได้ การเดินทางไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพและศรัทธาของบุคคลประกอบกับ ความเชื่อเรื่องผลบุญช่วยให้ผู้ที่เดินทางมีก าลังใจด าเนินชีวิตต่อ ความงามของธรรมชาติที่พบเห็น ระหว่างทางช่วยผ่อนคลายความเศร้าให้แก่ผู้เดินทาง การเดินทางออกจากพื้นที่ของปัญหาท าให้ผู้

เดินทางมีโอกาสทบทวนชีวิตซึ่งมีธรรมชาติและสิ่งที่พบเห็นระหว่างทางเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการคิดถึงชีวิต ที่ผ่านมาและในบางครั้งท าให้ผู้ที่เดินทางเข้าใจชีวิตและสัจธรรมของชีวิตมากขึ้น

141 จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระองค์พรรณนา ความงามของธรรมชาติทั้งรุกขชาติ กลิ่นสุมาสนย์ ธารน้ าตกที่สวยงาม ซึ่งธรรมชาติที่สวยงามเหล่านี้

สร้าง สร้างความรื่นรมย์ให้แก่ผู้ที่พบเห็น และอีกตัวอย่างของการเดินทางของสุนทรภู่ในวรรณกรรม นิราศก็ปรากฏให้เห็นถึงการแสวงหาความรื่นรมย์จากธรรมชาติเช่นเดียวกัน ดังตัวอย่างในนิราศ พระประธม ดังข้อความต่อไปนี้

“พอรุ่งรางวางเวงเสียงเครงครื้น ปักษาตื่นต่างเรียกกันเพรียกเสียง โกกิลากาแกแซ่ส าเนียง สนั่นเพียงพิณพาทย์ระนาดประโคม กระหึมหึ่งผึ้งบินกินเกสร ทรวงภมรเหมือนพี่เคยได้เชยโฉม น้ าค้างชะประเปรยเชยชะโลม พื้นโพยมแย้มสว่างกระจ่างตา เสพย์อาหารหวานคาวแต่เช้าชื่น ยังรวยรื่นรินรินกลิ่นบุปผา กับพวกพ้องสองบุตรสุดศรัทธา ขึ้นเดิรป่าไปตามทางเสียงวางเวง กระเหว่าหวานขานเสียงส าเนียงเสนาะ ค้อนทองเคาะค้อนทองเสียงป๋องเป๋ง เห็นรอยเสือเนื้อตื่นอยู่ครื้นเครง ให้กริ่งเกรงโห่ฉาวเสียงกราวเกรียว ต้นกรวยไกรไทรสะแกแคแกรกร่าง น้ าค้างพร่างพร่างชุ่มชอุ่มเขียว หนทางอ้อมค้อมคดต้องลดเลี้ยว พากันเที่ยวชมเนื้อดูเสือดาว พอแสงแดดแผดร้อนอ่อนอ่อนอุ่น กระต่ายตุ่นต่างต่างบ้างด่างขาว สุกรป่าช้ามดเหมือนแมวคราว เวลาเช้าชักฝูงออกทุ่งนา เด็กเด็กโดดโลดไล่กระต่ายหลบ จับประจบหกล้มสมน้ าหน้า สนุกในไพรพนัศรัถยา ทั้งบรรดาเด็กน้อยก็พลอยเพลิน”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554)

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าสุนทรภู่กับผู้ติดตามเที่ยวชมความงามของธรรมชาติระหว่าง เส้นทางชมต้นไม้ ฟังเสียงนก เสียงธรรมชาติ เที่ยวชมสัตว์ป่าต่าง ๆ ระหว่างเส้นทาง ซึ่งสร้างความ รื่นรมย์ให้แก่คณะเดินทาง และอีกตัวอย่างในนิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ ดังข้อความ

“ขึ้นลานวัดทัศนาดูอาวาส ศิลาลาดเลียบเดินเนินสิงขร พฤกษาออกดอกช่ออรชร หอมขจรจ าปาสารภี

ต้นโพไทรไม้งอกตามซอกหิน อินทนิลนางแย้มสอดแซมศรี

เหล่าลั่นทมร่มรอบขอบคิรี สุมาลีหล่นกลาดดาษดิน ได้ชมเพลินเดินมาถึงน่าโบสถ์ สมาโทษถือเทียนเวียนทักษิณ เคารพสามตามก าหนดหมดมลทิน กับหนูนิลหนูพัดเข้ามัสการ”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554)

142 จากตัวอย่างในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ สุนทรภู่ได้กล่าวถึงความงามของดอกไม้

นานาพรรณที่ออกดอกสวยงาม สร้างความร่มรื่นให้แก่ผู้ที่พบเห็น ซึ่งในนิราศของสุนทรภู่มักมีการ กล่าวถึงความสวยงามของธรรมชาติระหว่างเดินทางที่สร้างความรื่นรมย์และให้ความเพลิดเพลิน ระหว่างเดินทางช่วยให้ลืมความเหนื่อยล้าจากการเดินทางได้ นอกจากนี้แล้วในวรรณกรรมการ เดินทางประเภทจดหมายเหตุก็มีปรากฏให้เห็นถึงการหาความรื่นรมย์จากธรรมชาติเช่นเดียวกัน ดังตัวอย่างใน2 ใน “จดหมายเหตุเสด็จพระราชด าเนิรประพาศทวีปยุโรปครั้งที่ ๒ เล่ม ๒ รัตนโกสินทร ศก ๑๒๕-๑๒๖” นายพันเอก หม่อมนเรนทรราชา เรียบเรียง ดังตัวอย่างใน “ตอนที่ ๒๗ ดยุ๊ปวัส”

ดังข้อความต่อไปนี้

“...ข้างหนึ่งแลขึ้นไปเป็นเขาสูง มีน้ าพุน้ าตก กระโจนลงมาเปนละอองเสียง อื้ออึง อีกข้างหนึ่งแลลงไปชันเปนเหว มีผาแลล าธารไหลลงไปสู่ลแวกเขาข้างล่าง ตามทางมีกระท่อมคนท าถนนตั้งอยู่เปนระยะห่าง ๆ กัน เปนโรงไม้ขนาดเล็ก หลังคาไม้ทั้งต้นปะด้วยดิน หญ้าขึ้นเต็มตามทางยิ่งสูงขึ้นไปยิ่งหนาวจัดตามล าดับ พอสูงประมาณ ๘๐๐ เมเตอร์ ถึงสโนแลน้ าแข็ง (เกลเซีย)บางแห่งทางเดิรในซอก น้ าแข็งเปนก าแพงอยู่ ๒ ข้าง สูงตั้งแต่ ๓-๔ ศอก บนยอดเขามีน้ าแข็งหุ้มขาวดาดไป ทั้งสิ้น แลลงไปข้างล่างเห็นทางเป็นริ้ว ๆ ทบกันไปมาเหมือนงูเลื่อย พันกันกับ สายน้ าต่าง ๆ ตลอดลงไปจนถึงฟย๊อด แต่ฟย๊อดนั้นแลเห็นไม่ได้ทั่ว เพราะมีภูเขาบัง ในแถบนี้ไม่ใคร่มีน้ าตกจากน่าผาอันสูงใหญ่ แต่ไหลเป็นล าธารมาตามใต้เกลเซีย หลายทาง แหงนขึ้นไปข้างบนยังเปนสูง ยอดหายไปในหมอก บางแห่งยอดเปนลาด ขาวดาดไปด้วยสโนติดกับท้องฟ้า พิจารณาไปท าให้รู้สึกไปว่าขึ้นสวรรค์ทั้งเปน เห็น สายน้ าตกแลล าธารอันใสบริสุทธิ์เปนสพานแก้วเห็นสโนที่ติดค้างตามที่ลาดลุ่มเป นทางเงิน เห็นยอกเขาซึ่งคาดด้วยสโนแลน้ าแข็งไปจนติดท้องฟ้าเปนชาลาหรือ สนามเงิน เห็นยอดเขาซึ่งอยู่ในหมอก มีม่านผ้าโปร่ง อย่างบางคลุมวิมานเทพารักษ์

ยังมิหน าซ้ าเมื่อขึ้นไปเกือบจะถึงยอดเขา มีลูกเห็บแลสโนตกลงมาขาวเปนเข้าตอก ดอกไม้ เต็มไปทั้งอากาศ เสียแต่ข้าวตอกนี้ละลายเปนน้ าไปเท่านั้น แต่ว่าของทิพย์

ของสวรรค์เช่นนี้ก็ไม่น่าจะคงอยู่น่าจะหายไปเหมือนกัน ....”

(นเรนทรราชา (หม่อม), 2450) จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าหม่อมนเรนทราชาได้กล่าวถึงธรรมชาติที่สวยงามของเส้นทาง และ ความงามบนภูเขาหิมะซึ่งหม่อนนเรนทราชาเปรียบความงามว่าเป็นวิมานเทพารักษ์ น้ าแข็งปกคลุม สวยงาม หิมะตกลงมาเหมือนข้าวตอกดอกไม้เหมือนของทิพย์ในสวรรค์ ความงามที่ได้พบเห็นนั้นย่อม

143 สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมากให้แก่คณะเดินทางจากสยาม ซึ่งเป็นผู้คนในประเทศเขตร้อนที่ไม่

มีสภาพอากาศ ปรากฏการธรรมชาติและทิวทัศน์เช่นที่พบเห็น

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการแสวงหาความรื่นรมย์จากธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของ การเดินทางโดยเฉพาะการเดินทางที่ต้องผ่านเส้นทางธรรมชาติที่สวยงาม ผู้เดินทางย่อมหาความ รื่นรมย์จากธรรมชาติที่พบเห็น ความรื่นรมย์ของธรรมชาติดังกล่าวจึงมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง เพื่อเที่ยวชมธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งการแสวงหาความรื่นรมย์จากธรรมชาตินั้นปรากฏในเห็นทั้งใน วรรณกรรมการเดินทางประเภทนิราศและจดหมายเหตุการเดินทาง