• Tidak ada hasil yang ditemukan

การเดินทางคือการแสวงหาความหลุดพ้น

มโนทัศน์และลักษณะส าคัญของวรรณกรรมการเดินทางของไทย

3.1.1 การเดินทางคือการแสวงหาความหลุดพ้น

การเดินทางในวรรณกรรมไทยส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดการเดินทางของบุคคล คือ การแสวงหาการหลุดพ้นจากความทุกข์ และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ส่งผลให้เกิดทางเดินทาง เพื่อหลีกหนีปัญหา หรือเป็นการเดินทางเพื่อการพักจากปัญหา หรือเพื่อหาทางออกให้แก่ปัญหานั้น นอกจากความต้องการที่จะหลุดพ้นจากปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ความต้องการที่จะหลุดพ้นจากวัฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด ก็เป็นอีกคติความเชื่อหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการเดินทางเพื่อให้เกิดการหลุดพ้นทุกข์

ในโลกหน้า มโนทัศน์การเดินทางเหล่านี้ปรากฏในวรรณกรรมการเดินทางของไทย

นอกเหนือจากหนทางดับทุกข์ตามค าสอนทางศาสนา การเดินทางถือเป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่ท าให้พ้นทุกข์หรือช่วยบรรเทาความทุกข์นั้นลงได้ หลายคนเลือกที่จะเดินทางเพื่อหนีปัญญา หรือ ออกให้ห่างพื้นที่ที่ท าให้เกิดทุกข์ถึงแม้จะไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา แต่การเดินทางท า ให้พบเจอสิ่งใหม่ ๆ อาจรวมถึงปรัชญาและสัจธรรมของชีวิต ความยากล าบากในการเดินทางช่วยให้

เกิดการพิจารณาความทุกข์ได้อย่างถ่องแท้ ในวรรณกรรมการเดินทางมโนทัศน์การเดินทางเพื่อหลุด พ้นจากความทุกข์เห็นได้ชัดเจนในวรรณกรรมนิราศของสุนทรภู่ ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่สุนทรภู่หวาดหวั่นเกรงพระราชอาญา เนื่องจากในวัยเด็ก จนถึงวัยหนุ่ม สุนทรภู่เป็นข้าวังหลัง เมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคตแล้วสุนทรภู่ได้ไปอยู่เมืองเพชรบุรี

จนถึงปี พ.ศ. 2354 จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ในวังหลวงในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศนภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนและหลวงสุนทรโวหาร ตามล าดับ ในแผ่นดินของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่ารัชทายาทที่จะ สืบราชสมบัติต่อ คือ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทวาวงศ์ ส่วนอีกพระองค์หนึ่งที่ถูกคาดการว่าจะได้เป็น กษัตริย์ คือ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระโอรสเกิดจากเจ้าฟ้ากุณฑล ซึ่งวันที่เจ้าฟ้าอาภรณ์ ประสูติได้จตุรงค โชคไชยชนะเสร็จสิ้นจากเหตุการณ์ปราบจลาจลนักโทษพม่า สุนทรภู่นั้นมีใจฝักใฝ่อยู่กับเจ้าฟ้ามงกุฎฯ และเจ้าฟ้าอาภรณ์ซึ่งเป็นศูนย์ของอ านาจ ท าให้สุนทรภู่สามารถกล้าแก้กลอนเสมือนเป็นการหักหน้า กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ที่ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่

3) ด้วยเหตุนี้เมื่อรัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์ ในขณะเดียวกันที่เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็ทรงผนวชอยู่ ด้วยเหตุที่

สุนทรภู่ขาดที่พึ่ง และเกรงกลัวพระราชอาญา เพราะเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินจะมีการกวาดล้างฝั่ง ตรงข้ามจ านวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้สุนทรภู่ ออกบวชในปีวอก (พ.ศ. 2367) อันเป็นปีเดียวกับที่พระ

127 เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 สวรรคต ดังบทกลอนในร าพันพิลาปที่ว่า “แต่ปีวอกออกขาดราชกิจ บรรพชิต พิศวาสพระศาสนา เหมือนลอยล่องท้องทะเลอยู่เอกา เห็นแต่ฟ้าฟ้าก็เปลี่ยวสุดเหลียวแล ”

ด้วยเหตุนี้ในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงเป็นยุคสมัยที่สุนทรภู่ตกต่ าในชีวิต จึงส่งผลให้สุนทรภู่

เกิดการเดินทางเพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์และความตกต่ าของชีวิต ดังตัวอย่างในนิราศภูเขาทองที่

สุนทรภู่เล่าเรื่องราวความรุ่งเรืองของชีวิตตัวเองเมื่อครั้งอดีตไว้ว่า

“ถึงหน้าแพแลเห็นเรือที่นั่ง คิดถึงครั้งก่อนมาน้ าตาไหล เคยหมอบรับกับพระจมื่นไวย แล้วลงในเรือที่นั่งบัลลังก์ทอง เคยทรงแต่งแปลงบทพจนารถ เคยรับราชโองการอ่านฉลอง จนกฐินสิ้นแม่น้ าในล าคลอง มิได้ข้องเคืองขัดหัทยา เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา

สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554)

ในนิราศวัดเจ้าฟ้า สุนทรภู่ก็ได้มีการกล่าวร าพันถึงพระกรุณาธิคุณของเจ้าครอกข้างใน พระอัครชายาในกรมพระราชวังหลัง ดังข้อความที่ว่า

“ถึงวัดระฆังบังคมบรมธาตุ แทบพระบาทบุษบงองค์อัปสร มิทันลับกัปกัลป์พุทธันดร พระด่วนจรสู่สวรรคครรไล ละสมบัติขัตติยาทั้งข้าบาท โอ้อนาถนึกน่าน้ าตาไหล เป็นสูญลับนับปีแต่นี้ไป เหลืออาลัยแล้วที่พระมีคุณ ถึงจนยากบากมาเป็นข้าบาท ไม่ขัดขาดข้าวเกลือช่วยเกื้อหนุน ทรงศรัทธากล้าหาญในการบุญ โอ้พระคุณขาดยศทั้งงดงาม แม้ตกยากพรากพลัดไปขัดข้อง พัดกับน้องหนูตาบจะหาบหาม นี่จนใจไปป่าช้าพนาราม สุดจะตามตายได้ดังใจปอง ขออยู่บวชกรวดน้ าสุรามฤต อวยอุทิศผลผลาอานิสงส์

สนองคุณพูนสวัสดิ์ขัตติย์วงศ์ เป็นรถทรงสู่สถานวิมานแมน ... ...

พระคุณเอ๋ยเคยท านุอุปถัมภ์ ได้อิ่มหน าค่ าเช้าไม่เศร้าหมอง แม้นทูลลามาอย่างนี้ทั้งพี่น้อง ไหนจะต้องตกยากล าบากกาย นี่สิ้นบุญทูลกระหม่อมจึงตรอมอก ต้องระหกระเหินไปน่าใจหาย เห็นที่ปลงทรงสูญยังมูลทราบ แสนเสียดายดังจะดิ้นสิ้นชีวัน”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2517)

128 ความทุกข์และความตกต่ าของชีวิตสุนทรภู่ ในช่วงรัชกาลที่ 3 ท าให้สุนทรภู่ต้องออก เดิน และเกิดวรรณกรรมการเดินทางประเภทนิราศถึง 5 เรื่อง คือ นิราศภูเขาทอง (พ.ศ. 2371) นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2374) นิราศวัดเจ้าฟ้า (พ.ศ. 2375) โคลงนิราศสุพรรณ (พ.ศ. 2382) และ นิราศพระประธม (พ.ศ. 2384) ส่วนนิราศที่มีการเดินทางจริงของสุนทรภู่อีกสองเรื่องแต่งครั้งสมัย รัชกาลที่ 1 คือ นิราศเมืองแกลง และนิราศพระบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเดินทาง และนิราศการ เดินทางของสุนทรภู่ แต่งในยุคสมัยที่สุนทรภู่ไม่ได้รุ่งเรืองเฟื่องฟูในอาชีพราชการในราชส านัก การเดินทางของสุนทรภู่และการแต่งนิราศจากการเดินทางจริงจึงเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 เท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามโนทัศน์หนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการเดินทางของบุคคล คือ การเดินทางเพื่อหลุดพ้น จากความทุกข์และปัญหาในชีวิต หรืออาจกล่าวได้ว่า ความทุกข์และปัญหาในชีวิตส่งผลให้เกิดการ เดินทางของผู้คน

นอกจากนี้แล้วความเชื่อเรื่องวัฏสงสารหรือการเวียนว่ายตายเกิดเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้อง เผชิญตามความเชื่อทางศาสนา การที่จะหลุดพ้นวัฏสงสาร คือ การท าทาน การสร้างบุญ การบ าเพ็ญ ภาวนา เพื่อที่จะหลุดพ้นความทุกข์ทางโลกและเข้าสู่การนิพพานในชาติต่อไป ซึ่งจากความเชื่อนี้ส่งผล ให้ผู้คนเกิดการเดินทางเพื่อแสวงบุญ เพราะคนสังคมไทยที่นับถือศาสนาพุทธต่างมีความเชื่อว่าการ เดินทางเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้ผู้เดินทางเกิดกุศลผลบุญส่งผลให้ชีวิตหลุดพ้นจากปัญหาชีวิต และความทุกข์ที่ก าลังเผชิญอยู่ในโลกนี้ และผลของการกระท านี้อาจส่งผลให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร คือการหลุดพ้นสูงสุดคือหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงหยุดการเวียนว่ายตายเกิดเข้าสู่ความเป็น นิพพาน จากความเชื่อนี้ส่งผลให้ผู้คนเกิดการเดินทางมาตั้งแต่โบราณ การเดินทางเพื่อหลุดพ้นจาก วัฏสงสารปรากฎในวรรณกรรมตั้งแต่ในสมัยอยุธยาตอนต้น สังคมในสมัยอยุธยาตอนต้นมีวัฒนธรรม ฮินดูเข้ามามีอิทธิพลอยู่มากตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าอู่ทองซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของ อาณาจักร และยิ่งเข้มข้นเมื่อไทยตีเมืองนครธมของอาณาจักรขอมได้ เพราะมีการน าพราหมณ์และ ขุนนางขอมเข้ามารับใช้ในราชส านัก รวมทั้งน าระบบการปกครองของขอมเข้ามาใช้กับการปกครอง ของอาณาจักรอยุธยาด้วย ในสมัยอยุธยาวัฒนธรรมพุทธศาสนาแบบเถรวาทนั้นสามารถเข้ากันได้ดี

กับลัทธิเทวราชาตามคติฮินดู

ในสมัยอยุธยานี้ปรากฏเรื่องราวการเดินทางแสวงบุญเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร เช่น การไปนมัสการพระมาไลยเจดีย์เมืองหงสาวดีใน “จดหมายเหตุเก่า เรื่องพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา แต่งทูตไปนมัสการพระมาไลยเจดีย์เมืองหงสาวดี” ส่วนในวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติพระบรมไตยโลกนาถ เรื่อง “ ลิลิตยวนพ่าย” ปรากฏการกล่าวถึงเรื่องราวการเดินทางถึงแม้จะไม่ใช่วรรณคดีที่บรรยายถึง การเดินทางโดยตรงแต่ก็ปรากฏการกล่าวถึงการเดินทางที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตั้งพระทัยจะ สละบาปและต้องการแสวงบุญ พระองค์จึงโปรดให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งไปยังลังกาทวีปเพื่อ นิมนต์พระสงฆ์ผู้ปราศจากกิเลสมายังกรุงศรีอยุธยาและในนิราศภาคเหนือของไทยปรากฏเรื่องราว

129 การเดินทางเพื่อกราบไหว้พระธาตุหริภุญไชย คือ “โคลงนิราศหริภุญชัย” ถือว่าเป็นนิราศเรื่องแรก ของไทย และอีกเรื่อง คือ โคลงนิราศดอยเกิ้ง การเดินทางในครั้งนั้นเพื่อไปสักการะบูชาพระเกษาธาตุ

ของพระพุทธเจ้าครั้งเสด็จมาเยือนสถานที่นั้น

การเดินทางเพื่อไปนมัสการหรือสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกจากผลจากการเดินทาง และการสักการะบูชาแล้ว มโนทัศน์หนึ่งที่กวีเชื่อ คือ การสร้างสรรค์วรรณคดีลายลักษณ์เป็นหนทาง หนึ่งที่ส่งผลให้ ผู้สร้างและผู้เสพได้รับอานิสงส์จากความศรัทธาในพุทธศาสนา (วรรณพร พงษ์เพ็ง, 2551) ดังตัวอย่างในนิราศพระปฐม ของ หลวงจักรปาณี (มหาฤกษ์) ดังนี้

“ฉันไปไหว้พระปฐมบรมธาตุ แต่งนิราศไว้เป็นกลอนอักษรสรรค์

ใครอ่านยลยิลค าข้อส าคัญ ขอให้ปั่นส่วนกุศลทุกคนไป”

(อภิรักษ์ เกษมผลกูล, 2551)

การสร้างวรรณคดีลายลักษณ์เพื่อเป็นกุศลนั้นน่าจะเกี่ยวกับการฟื้นฟูให้พุทธศาสนาเป็น อุดมการณ์ของรัฐอันเป็นนโยบายส าคัญในรัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2555) เนื่องจาก ต้นรัตนโกสินทร์วรรณคดีศาสนาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดระเบียบบ้านเมืองและผู้คนในสังคมให้

เข้าร่องเข้ารอย ดังนั้นความเชื่อนี้จึงปรากฏในวรรณกรรมการเดินทาง ในส่วนของการเดินทางเพื่อ แสวงบุญตามสถานที่ต่าง ๆ ความเชื่อกุศลผลบุญถือเป็นความเชื่อหนึ่งที่น าพาผู้คนให้เดินทางเพื่อล้าง บาป การสร้างอานิสงส์ผลบุญจะพาให้ขึ้นสวรรค์ในชีวิตหลังความตาย หรืออาจถึงขั้นนิพพานตาม ความเชื่อในศาสนา ดังที่กล่าวว่า

“เปรมปรีดารมเยศ เหตุกุศลสุจริต หวังบูชิตชินธาตุ พุทธไสยาศน์สถูป สถานในพนานต์นุประเทศ เขตรแขวงแคว้นนครี นครไชยศรีสมญา โดย ศรัทธาธิมุติ พิสุทธิสุนทรภาพ มละมล้างบาปบ าบัติ สกการสกัจเคารพย์

อายัติภพหวังผล ท างนงานการปราชญ์ เร่อมนิราศพจนา”

(วงศาธิราชสนิท, 2513) “ก็จนใจได้แต่ท าค าหนังสือ ช่วยเชิดชื่อท่านผู้สร้างไว้ทั้งสาม ให้ลือชาปรากฏได้งดงาม พอเป็นทางชอบบ้างในบางบุญ ถ้าขัดเคืองเบื้องหน้าขออานิสงส์ สิ่งนี้จงจานเจือช่วยเกื้อหนุน ทั้งแก้วเนตรเชษฐาให้การุญ อย่าเคืองขุนข้องขัดถึงตัดรอน แล้วลาออกนอกโบสถ์ขึ้นโขดหิน กรวดวารินรดท าค าอักษร ส่งส่วนบุญสุนทราสถาพร ถึงบิดรมารดาครูอาจารย์