• Tidak ada hasil yang ditemukan

การเดินทางคือการเยียวยาจิตใจ

มโนทัศน์และลักษณะส าคัญของวรรณกรรมการเดินทางของไทย

3.1.4 การเดินทางคือการเยียวยาจิตใจ

การเดินทางคือการเยียวยาจิตใจเป็นอีกมโนทัศน์หนึ่งที่ผู้เดินทางสะท้อนผ่านวรรณกรรม การเดินทาง นอกจากการเดินทางจะเป็นความต้องการที่จะหลีกหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตแล้วนั้น การเดินทางยังเป็นการเยียวยาจิตใจจากความทุกข์ การได้เดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ การได้สัมผัส ธรรมชาติที่สวยงาม การได้พบเห็นผู้คนวัฒนธรรมใหม่ท าให้ผู้ที่เดินทางหลีกหนีความซ้ าซากของชีวิต

การเดินทางของสุนทรภู่ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่แสดงถึงมโนทัศน์ที่ผู้เดินทางมอง การเดินทางคือการเยียวยาจิตใจ ในช่วงรัชกาลที่ 3 ถือเป็นช่วงที่สุนทรภู่ชีวิตตกอับ ต้องบวชเพื่อ หลีกเลี่ยงภัย ในสมัยนี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศหลายเรื่อง คือ นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศพระ ประธม นิราศเมืองเพชร และนิราศสุพรรณ เรื่องราวการเดินทางของสุนทรภู่ในนิราศเหล่านี้นอกจาก จะท าให้สุนทรภู่เข้าใจสัจธรรมของชีวิตแล้ว การเดินทางยังเป็นการเยียวยาจิตใจให้สุนทรภู่มีโอกาส ผ่อนคลายความทุกข์ในชีวิต ดังตัวอย่างในนิราศภูเขาทอง ซึ่งในนิราศเรื่องนี้สุนทรภู่ได้เขียนไว้อย่าง ชัดเจนถึงความตกอับในชีวิต และการเดินทางช่วยบรรเทาจิตใจ ดังข้อความต่อไปนี้

“โอ้ปางหลังครั้งสมเด็จพระบรมโกษฐ์ มาผูกโบสถ์ก็ได้มาบูชาชื่น ชมพระพิมพ์ริมผนังยังยั่งยืน ทั้งแปดหมื่นสี่พันได้วันทา โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเล่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษวาศนา เปนบุญน้อยพลอยนึกโมทนา พอนาวาติดชลเข้าวนเวียน”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554) จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าสุนทรกล่าวถึงชีวิตที่ตกอับวาสนา ซึ่งสถานที่ที่สุนทรภู่เดิน ทางผ่านนั้นช่วยกระตุ้นให้คิดถึงอดีตที่เคยรุ่งเรือง และอีกตัวอย่างในนิราศภูเขาทองที่กล่าวถึงการไร้ที่

อยู่ที่พึ่งพิง ดังตัวอย่าง

“มาถึงบางธรณีทวีโศก ยามวิโยคยากใจให้สอื้น โอ้สุธาหนาแน่นเปนแผ่นพื้น ถึงสี่หมื่นสองแสนทั้งแดนไตร เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาไศรย ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554)

138 จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าสุนทรภู่กล่าวถึงแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล แต่สุนทรภู่กลับ ไม่มี พสุธาจะอาศัยเหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา ซึ่งพสุธาและรังนี้น่าจะหมายถึงการขาดเจ้านายอุปถัมภ์

และที่พึ่งของชีวิตของสุนทรภู่ ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ถือเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการอุปถัมถ์จากพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชโอรสของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งสุนทรภู่ได้กล่าวถึงพระปิ่นเกล้าฯ และการขาดเจ้านาย อุปถัมภ์ ในนิราศภูเขาทอง ดังข้อความที่ว่า

“ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบ ารุงซึ่งกรุงศรี

ประทานนามสามโคกเปนเมืองตรี ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว โอ้พระคุณสูญลับไม่กลับหลัง แต่ชื่อตั้งก็ยังอยู่เขารู้ทั่ว โอ้เรานี้ที่สุนทรประทานตัว ไม่รอดชั่วเช่นสามโคกยิ่งโศกใจ สิ้นแผ่นดินสิ้นนามตามเสด็จ ต้องเที่ยวเตร็ดเตร่หาที่อาไศรย แม้นก าเนิดเกิดชาติใดใด ขอให้ได้เปนข้าฝ่าธุลี

สิ้นแผ่นดินขอให้สิ้นชีวิตรบ้าง อย่ารู้ร้างบงกชบทศรี

เหลืออาไลยใจตรมระทมทวี ทุกวันนี้ก็ซังตายทรงกายมา”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554)

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าสุนทรภู่กล่าวถึงพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งเป็นเจ้านายอุปถัมภ์ของ สุนทรภู่ และเมื่อสิ้นพระปิ่นเกล้าฯสุนทรภู่ก็ขาดที่พึ่งพิงต้องตกอับในชีวิต ต้องตรมใจและฝืนใช้ชีวิตอยู่

ดังข้อความที่ว่า “เหลืออาไลยใจตรมระทมทวี ทุกวันนี้ก็ซังตายทรงกายมา” ซึ่งจากที่ยกตัวอย่างมา ในนิราศภูเขาทองนั้นจะเห็นได้ว่าสุนทรภู่กล่าวถึงช่วงชีวิตตกอับ ไร้ที่พึ่งขาดเจ้านายอุปถัมภ์

ถึงกลับต้องตรมใจฝืนด าเนินชีวิตต่อ และการได้ออกเดินทางในครั้งนี้ถึงแม้จะผ่านสถานที่เก่าที่เคยมี

เรื่องราวชีวิตตอนช่วงชีวิตที่รุ่งเรืองมากระตุ้นให้อาลัยอาวรณ์หา รวมทั้งชื่อแห่งหนต าบลที่เดิน ทางผ่านกระตุ้นให้เกิดการเปรียบเทียบกับชีวิตที่เคยรุ่งเรืองและตกอับ แต่เส้นทางธรรมชาติที่สวยงาม และเพื่อนร่วมเดินทางที่ดีก็มีส่วนช่วยเยียวยาจิตใจของสุนทรภู่ได้บ้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“แสนวิตกอกเอ๋ยมาอ้างว้าง ในทุ่งกว้างเห็นแต่แขมแซมสลอน จนดึกดาวพราวพร่างกลางอัมพร กะเรียนร่อนร้องก้องเมื่อสองยาม ทั้งกบเขียดเกรียดกรีดจังหรีดเรื่อย พระพายเฉื่อยฉิวฉิววะหวิวหวาม วังเวงจิตรคิดคนึงร าพึงความ ถึงเมื่อยามยังอุดมโสมนัศ ส ารวลกับเพื่อนรักสพรักพร้อม อยู่แวดล้อมหลายคนปรนนิบัติ

โอ้ยามเข็ญเห็นอยู่แต่หนูพัด ช่วยนั่งปัดยุงให้ไม่ไกลกาย

139 จนเดือนเด่นเห็นนกกระจับจอก รดะดอกบัวเผื่อนเมื่อเดือนหงาย เห็นร่องน้ าล าคลองทั้งสองฝ่าย ข้างน่าท้ายถ่อมาในสาคร จนแจ่มแจ้งแสงตวันเห็นพรรณผัก ดูน่ารักบรรจงส่งเกสร

เหล่าบัวเผื่อนแลสล้างริมทางจร ก้ามกุ้งซ้อนเสียดสาหร่ายใต้คงคา สายติ่งแกมแซมสลับต้นตับเต่า เปนเหล่าเหล่าแลรายทั้งซ้ายขวา กระจับจอกดอกบัวบานผกา ดาษดาดูขาวดั่งดาวพราย โอ้เช่นนี้สีกาได้มาเห็น จะลงเล่นกลางทุ่งเหมือนมุ่งหมาย ที่มีเรือน้อยน้อยจะลอยพาย เที่ยวถอนสายบัวผันสันตวา ถึงตัวเราเล่าถ้ายังมีโยมหญิง ไหนจะนิ่งดูดายอายบุบผา คงจะใช้ให้ศิษย์ที่ติดมา อุส่าห์หาเอาไปฝากตามยากจน นี่จนใจไม่มีเท่าขี้เล็บ ขี้เกียจเก็บเลยทางมากลางหน พอรอนรอนอ่อนแสงพระสุริยน ถึงต าบลกรุงเก่ายิ่งเศร้าใจ”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554) จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าสุนทรกล่าวถึงธรรมชาติยามกลางคืนที่พบเห็นแล้วท าให้นึก ถึงชีวิตอดีตที่เคยรุ่งเรืองกับเพื่อนรัก แต่ตอนนี้ตกอับก็มีเพียงหนูพัดบุตรชายที่คอยปรนนิบัติพัดวีไม่ทิ้ง ห่างไปไหน ท าให้สุนทรภู่เข้าใจสัจธรรมของชีวิตมากขึ้น และสุนทรภู่ยังได้บรรยายถึงธรรมชาติที่สวยงาม ระหว่างทางกล่าวถึงพรรณผัก กระจับ จอก ดอกบัวบานที่ออกดอกดาษดาดูขาวดั่งดาวพราย ความงาม จากธรรมชาติเหล่านี้ถือได้ว่ามีส่วนช่วยบรรเทาจิตใจให้พ้นจากความทุกข์ได้

ส่วนในเนื้อหาในตอนท้ายของนิราศภูเขาทองสุนทรภู่ได้กล่าวถึงการเดินทางไปนิราศภูเขา ทองเพื่อไปเคารพพระพุทธรูปและสถูปบรมธาตุที่ภูเขาทองเพื่อคลายความทุกข์ใจ ดังตัวข้อความ ต่อไปนี้

“ประทับท่าน่าอรุณอารามหลวง ค่อยสร่างทรวงทรงศีลพระชินศรี

นิราศเรื่องเมืองเก่าของเรานี้ ไว้เปนที่โสมนัสทัศนา ด้วยได้ไปเคารพพระพุทธรูป ทั้งสถูปบรมธาตุพระสาสนา เปนนิไสยไว้เหมือนเตือนศรัทธา ตามภาษาไม่สบายพอคลายใจ ใช่จะมีที่รักสมัคมาด แรมนิราศร้างมิตรพิศมัย

ซึ่งครวญคร่ าท าทีพิรี้พิไร ตามนิไสยกาพย์กลอนแต่ก่อนมา”

(สุนทรโวหาร (ภู่), 2554)

140 จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าสุนทรภู่กล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงการเดินทางไปเคารพ พระพุทธรูปและสถูปบรมธาตุที่ภูเขาทอง และการแต่งนิราศก็เพื่อคลายความทุกข์ใจ ไม่ได้มีเรื่องรัก ใคร่อย่างไร ซึ่งถึงแม้อาจปรากฏการกล่าวถึงนางผู้เป็นที่รักบ้างแต่เป็นเพียงการแต่งตามธรรมเนียม นิราศและชั้นเชิงการแต่งกลอนของสุนทรภู่เท่านั้น

จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับมโนทัศน์การเดินทางคือการเยียวยาจิตใจนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อบุคคลประสบปัญหาในชีวิตการเดินทางเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เดินทางเห็นว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยาจิตใจ จากความทุกข์ใจได้ การเดินทางไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพและศรัทธาของบุคคลประกอบกับ ความเชื่อเรื่องผลบุญช่วยให้ผู้ที่เดินทางมีก าลังใจด าเนินชีวิตต่อ ความงามของธรรมชาติที่พบเห็น ระหว่างทางช่วยผ่อนคลายความเศร้าให้แก่ผู้เดินทาง การเดินทางออกจากพื้นที่ของปัญหาท าให้ผู้

เดินทางมีโอกาสทบทวนชีวิตซึ่งมีธรรมชาติและสิ่งที่พบเห็นระหว่างทางเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการคิดถึงชีวิต ที่ผ่านมาและในบางครั้งท าให้ผู้ที่เดินทางเข้าใจชีวิตและสัจธรรมของชีวิตมากขึ้น