• Tidak ada hasil yang ditemukan

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่าง

2.3 งานวิจัยในประเทศ

2.3.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่าง

39 คนซึ่งรูปแบบที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การใช้แบบฟอร์มแจ้งเตือนอันตรกิริยาระหว่างยาโดยการแนบ แบบฟอร์มให้ข้อมูลปฏิกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินและการระบุตัวส าหรับบุคลากรทางการแพทย์ใน แฟ้มประวัติผู้ป่วยเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ แพทย์ตรวจรักษา และพยาบาลส่งแฟ้มประวัติผู้ป่วยมารับ ยาที่ห้องยา เภสัชกรให้ค าแนะน าผู้ป่วยตรวจสอบรายการยาถ้ากรณียามีอันตรกริยาจากนั้นเภสัชกร แจ้งแพทย์เพื่อยืนยันการใช้ยา หรือ การปรับเปลี่ยนรายการยา และลงบันทึกลงในสมุดmediation reconciliationและสมุดคู่มือประจ าตัวผู้ป่วยผลการวิจัยพบว่าผลการสั่งใช้ยาที่เกิดอันตรกิริยากับยา วาร์ฟาริน ก่อนใช้รูปแบบ ร้อยละ 71.64 หลังการใช้รูปแบบร้อยละ61.34 ลดลงร้อยละ 10.30 มี

ความแตดต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ( P=0.001) ส่วนค่า INR ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายที่

สัมพันธ์กับปฏิกิริยาระหว่างยากับวาร์ฟาริน ก่อนการใช้รูปแบบเกิดขึ้นร้อยละ 18.63 หลังใช้รูปแบบ เกิดขึ้นร้อยละ 6.85 ลดลงร้อยละ 11.78 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P=0.002) และการเกิดเหตุการณ์

ไม่พึงประสงค์จากปฏิกิริยาระหว่างยาที่ก าหนดกับยาวาร์ฟารินก่อนการใช้รูปแบบเกิดขึ้นร้อยละ 2.19 หลังการใชรูปแบบเกิดขึ้นร้อยละ 1.82 ลดลงร้อยละ 0.36 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทาง สถิติ ( P=0.001)

จากการทบทวนวรรณกรรมสรุปได้ว่า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาจากการ ใช้ยาวาร์ฟาริน (drug related problem : DRP) พบว่าการพัฒนารูปแบบการแจ้งเตือนอันตรกริยา ระหว่างยาในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินให้ผู้สั่งใช้ยาได้ทราบ สามารถลดปัญหาการเกิดอาการไม่พึง ประสงค์ที่มีผลจากยาที่มีอันตรกริยากับวาร์ฟารินและช่วยให้ผู้สั่งใช้ยามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจใน การคัดเลือกยาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย และเกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยในการใช้ยาดังการศึกษาของ อรพิน เดชกันยา (2555)และการศึกษาการประเมินโครงการเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลพบว่าการสร้างระบบเครือข่ายเป็นปัจจัยที่ส าคัญที่ส่งผลต่อ ความส าเร็จของโครงการเครือข่ายดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิม ให้สามารถท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการนี้ช่วยเพิ่มความรู้และ ความตระหนักเกี่ยวกับ วาร์ฟารินของผู้สั่งจ่ายยาใน รพ.สต. ที่จะน าไปสู่ความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังการศึกษาของ อัจฉรีย์ สี

หา และกฤษณี สระมุณี (2562) พัทยา หวังสุข(2557)มีความสอดคล้องกัน

2.3.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยา

40 study) แบบ One Group Pretest-Posttest Designมีกลุ่มตัวอย่างคือป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ทั้งหมด 33คนการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการพัฒนาระบบสารเทคโนโลยีสนเทศเพื่อ การบริหารจัดการคลินิกวาร์ฟาริน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558ซึ่งพบ ปัญหาคือ

(1) การประเมินผู้ป่วยและการวางแผนรักษา ต้องจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบกระดาษ แยกผู้ป่วยเป็นรายคน ในแฟ้มข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน เป็นภาระงานเอกสาร และสามารถ เข้าถึงได้เมื่ออยู่โรงพยาบาลเท่านั้นและไม่สามารถดูประวัติอดีตในเวชระเบียนแบบรวบยอด (cumulative) แต่ดูได้ที่ละครั้งเท่านั้น

(2) การดูแลผู้ป่วยโดยมีขั้นตอนการค านวณการปรับขนาดยาวาร์ฟารินจาก 5 ขั้นตอน คือ การค านวณโดยใช้มือ

(2.1) พิจารณาว่าค่า INR ที่วัดได้ต้องปรับยาเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด (2.2) ค านวณขนนาดนาสูงสุดที่จะปรับได้

(2.3) ค านวณขนาดยาต่ าสุดที่จะปรับได้

(2.4) เลือกขนาดยาที่ต้องการ (2.5) ค านวณวิธีการกินยา

(3) การดูแลต่อเนื่องไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ป่วยรายใดบ้างไม่ได้มาตามนัด การรายงานตัวชี้วัดใช้การนับมือ ท าให้เสียเวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงในการประมวลผล

โดยระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ (1) ฐานข้อมูล ผู้ป่วย (2) ข้อมูลการบริการในแต่ละครั้ง ได้แก่ ค่า INR ที่วัดได้, ค่า INRอยู่ในระดับเป้าหมาย, การมา ตามนัด, การมีเลือดออกรุนแรง, การมีเลือดอุดตัน, ขนาดยาที่รับประทานอยู่, ขนาดยาที่ปรับใหม่

และการนัดครั้งต่อไป (3) เครื่องมือที่ใชในการค านวณการปรับยาวาร์ฟารินโดยอ้างอิงตามแนว ทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด ชนิดรับประทาน พ.ศ. 2553 โดยสมาคมแพทย์

โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (4) การรายงานผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับ ยาวาร์ฟาริน ได้แก่จ านวนครั้งที่ค่า INR อยู่ในระดับเป้าหมาย, ค่า INR ที่สูงกว่าระดับเป้าหมาย, ค่า INR ที่สูงกว่าระดับเป้าหมายมาก (INR > 5) การเกิดภาวะเลือดออกรุนแรง หรือ ลิ่มเลือดอุดตัน และ การขาดนัดของผู้ป่วย

หลังการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบเบ็ดเสร็จโดยใช้โปรแกรม ไมโครซอฟท์เอกเซล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่า

(1) การประเมินผู้ป่วยและการวางแผนรักษาจัดเก็บในรูปแบบไฟลอิเล็กทรอนิกส์

โดยก าหนดชุดข้อมูลที่จ าเป็น (dataset) รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทุกรายให้อยู่ในไฟลเดียวกัน ลดการใช

41 กระดาษในการเก็บรายงาน และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ในระบบออนไลน์ และมีระบบที่สามารถ ดึงข้อมูลรวบยอดได้ ท าให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุมเพื่อประกอบการตัดสินใจ

(2) การดูแลผู้ป่วยสามรถลดขั้นตอนการปรับขนาดยาวาร์ฟารินจาก 5 ขั้นตอนเหลือ 2 ขั้นตอนได้คือ

(2.1) ใส่ข้อมูล INR ที่วัดได้ ขนาดยาที่กินอยู่เดิม ระบบจะค านวณขนาดยาสูงสุด และขนาดยาต่ าสุด รวมถึงเปอร์เซนต์ของขนาดยาที่เปลี่ยนแปลงไปอัตโนมัติ

(2.2) เลือกขนาดยาที่ต้องการ ระบบจะค านวณขนาดยาใหม่และวิธีการกินยาให้

อัตโนมัติ

(3) การปรับยาและการก าหนดวิธีการกินยาเป็นแบบแผน ท าใหความเข้าใจระหว่าง สหสาขาวิชาชีพได้ตรงกัน ลดการสื่อสารที่ไม่จ าเป็น สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ป่วยรายใดที่ยังไม่มา ตามนัด และติดตามผู้ป่วยทางโทรศัพท์ให้มารับการรักษา ระบบรายงานตัวชี้วัดอัตโนมัติสามารถออก ผลรายงานได้ทันที(real-time)

การพัฒนาระบบสาสรเทศสามารถลดการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลผู้ป่วย ท าให้

เกิดแบบแผนในการปรับยาที่เป็นมาตรฐาน และลดภาระงานในการจัดท ารายงานตัวชี้วัดได้ ส่วนด้าน ผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่าจ านวนผู้ป่วยที่มีค่าการแข็งตัวของเลือด INR ที่อยู่ในระดับเป้าหมาย เพิ่มขึ้น จาก 36.0% เป็น 56.8% (p < 0.001) ระยะเวลาที่ค่า INRอยู่ในระดับเป้าหมาย เพิ่มขึ้นจาก 45.0%

เป็น 57.8% (p <0.001) จ านวนครั้งที่ค่า INR ที่สูงกว่าระดับเป้าหมายมาก(INR > 5) ลดลงจาก 3.9% เป็น 1.4% (p = 0.043) โดยสรุประบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการคลินิกวาร์

ฟารินสามารถลดขั้นตอน ลดภาระงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์

ฟาริน

เจนจิรา ตันติวิชญวานิช และคณะ (2558) ได้ศึกษาการวิเคราะห์ระบบงานการ ดูแลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินของโรงพยาบาลปัตตานี และออกแบบซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับ ระบบงานในคลินิกวาร์ฟารินโดยระเบียบวิธีการศึกษา คือการวิจัยเชิงพรรณนา มีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุ

คลกรทางการแพทย์จ านวน 13 คนผู้วิจัยวิเคราะห์ระบบการจัดการข้อมูลโดยส ารวจระบบงานการ ให้บริการทางการแพทย์ การบริบาลทางเภสัชกรรม และการจัดการข้อมูลส าหรับผู้ใช้ยาวาร์ฟาริน ผู้วิจัยส ารวจความต้องการในเรื่องการจัดการข้อมูลของบุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง 13 คน ประกอบด้วยแพทย์ 5 คน เภสัชกร 5 คน พยาบาล 2 คน และนักเทคนิคการแพทย์ 1 คน หลังจาก นั้น ผู้วิจัยจัดท าผลการวิเคราะห์ระบบและให้นักออกแบบซอฟต์แวร์ประเมินผลความสมบูรณ์ของการ วิเคราะห์ระบบ พัฒนาซอฟต์แวร์สาธิต ทดสอบซอฟต์แวร์สาธิต สอบถามความพึงพอใจต่อซอฟต์แวร์

สาธิต และปรับปรุงซอฟต์แวร์สาธิต ซึ่งในโรงพยาบาลใช้ HOSxPซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ส าหรับให้บริการ ผู้ป่วยทั่วไป แต่ไม่สามารถน าข้อมูลที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์นี้มาเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์

42 เฉพาะส าหรับผู้ใช้ยาวาร์ฟารินได้ ผลการวิเคราะห์ระบบการจัดการข้อมูลส าหรับผู้ใช้ยาวาร์ฟารินและ ผลการสอบถามบุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง 13 คน สรุปได้ว่าควรมีระบบการจัดการข้อมูล ด้วยคอมพิวเตอร์เป็นซอฟต์แวร์สาธิตเพื่อให้การเก็บข้อมูลท าได้ง่าย และการสืบค้นท าได้สะดวกและ รวดเร็ว บุคคลากรยังต้องการให้ซอฟต์แวร์สาธิตเชื่อมโยงกับ HOSxPสามารถค านวณการปรับยาได้

และแสดงผลรายงานได้ ผู้วิจัยจึงน าผลจากการวิเคราะห์ระบบและความต้องการของผู้ใช้มาเป็น แนวทางให้นักออกแบบซอฟต์แวร์น าไปออกแบบจนได้ซอฟต์แวร์สาธิต การเข้าใช้งานซอฟต์แวร์สาธิต ต้องใส่รหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล การประเมินความพึงพอใจต่อซอฟต์แวร์สาธิตในบุคลากร ทางการแพทย์ที่เคยให้ข้อมูล 13 ราย พบว่าในภาพรวมบุคลากรมีความพึงพอใจและสามารถน า ซอฟต์แวร์สาธิตไปใช้ประโยชน์ได้จริง หัวข้อส่วนใหญ่ในการประเมินมีความพึงพอใจร้อยละ 100 ยกเว้น หัวข้อเรื่องข้อมูลยา ผลทางห้องปฏิบัติการและวันนัด มีความพึงพอใจร้อยละ 69.23 สรุปได้ว่า การวิเคราะห์ระบบงานในคลินิกวาร์ฟารินสามารถน าไปสู่การจัดท าซอฟต์แวร์สาธิตซึ่งบุคคลากรที่

เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในเกือบทุกประเด็น

จากการทบทวนวรรณกรรม สรุปได้ว่าการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิด อันตรกิริยาระหว่างยาจะช่วยลดขั้นตอนการค านวณการปรับขนาดยาวาร์ฟารินลงได้และลดภาระงาน ในการจัดท ารายงานตัวชี้วัด ส่วนด้านผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่าจ านวนผู้ป่วยที่มีค่าการแข็งตัวของเลือด INR ที่อยู่ในระดับเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ระบบการจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

เป็นซอฟต์แวร์สาธิตเพื่อให้การเก็บข้อมูลท าได้ง่าย และการสืบค้นท าได้สะดวกและรวดเร็ว ซอฟต์แวร์

สาธิตสามารถเชื่อมโยงกับ HOSxPสามารถค านวณการปรับยาได้รวดเร็วและแม่นย า ดังการศึกษาของ สถาพร มณี และนุชกานดา มณี (2559และ เจนจิรา ตันติวิชญวานิช (2558) มีความสอดคล้องกัน

2.3.4.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการพัฒนาระบบสารสนเทศใน รพ.สต.และ หน่วยงาน บริการสาธารณสุข

พิทักษ์พงศ์ พายุหะ (2561) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต าบล โดยระเบียบวิธีการศึกษา คือการวิจัยเชิงส ารวจแบบภาคตัดขวาง (Cross- sectional Study)มีผู้ป่วยทั้งหมด131 ราย พบว่าขนาดสถานบริการ รพ.สต.ที่ปฏิบัติงานด้านข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง ร้อยละ 67.2 ใช้โปรแกรม JHCIS ร้อยละ48.9 ระยะเวลาเฉลี่ยในการ บันทึกข้อมูลต่อวัน 4 - 6 ชั่วโมง ร้อยละ 37.4 มีการจ้างพนักงานบันทึกข้อมูล ร้อยละ 57.3 ค่าจ้าง พนักงานบันทึกข้อมูลจ านวน 7,001-9,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 54.6 เฉลี่ย 7,247 บาทต่อเดือน ความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านโปรแกรม (Soft ware) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅=3.41) ความ คิดเห็นเกี่ยวกับด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ (Hard ware) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ =3.63) ความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านผู้ใช้โปรแกรม (People ware) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ =3.63)