• Tidak ada hasil yang ditemukan

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟาริน (drug related

2.3 งานวิจัยในประเทศ

2.3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟาริน (drug related

อัจฉรีย์ สีหา และกฤษณี สระมุณี (2562) ได้ศึกษาการพัฒนากระบวนการดูแล ผู้ป่วยทีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลในเขตสุขภาพอ าเภอกมลาไสยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่

ผู้ป่วยวาร์ฟารินโดยระเบียบวิธีการศึกษา คือการวิจัยเชิงปฏิบัติการการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action researchมีผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย จ านวน 30 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือทีม คลินิกวาร์ฟารินของโรงพยาบาลประกอบด้วย แพทย์อายุรกรรม 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คนเภสัช

37 กร 2 คนผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน จ านวน 15 คน ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2561 และ ผู้

สั่งใช้ยาใน รพ.สต. เขตอ าเภอกมลาไสย โดยผู้วิจัยคัดเลือกตัวอย่าง 10 คนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ขั้นแรกคือ “การวางแผน” (Planning) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อ ออกแบบกระบวนการ ฯ ได้แก่ ผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟารินจ านวน15 คน เจ้าหน้าที่ผู้สั่งใช้ยาในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต าบล (รพ.สต.)จ านวน10 คน บุคลากรทีมคลินิกวาร์ฟารินของโรงพยาบาลกมลาไสย จ านวน5 คน ขั้นที่สองคือ “การปฏิบัติ” (Action) เป็นการประกาศใช้กระบวนการร่วมกัน ส าหรับทุก รพ.สต. ที่อยู่ในเขตสุขภาพ ขั้นที่สามคือ “การสังเกต” (Observing) เน้นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การเปรียบเทียบการเกิด อุบัติการณ์การจ่ายยาที่มีโอกาสเกิดอันตรกิริยากับวาร์ฟารินระหว่าง ก่อนและหลังการใช้กระบวนการ ฯ และการประเมินระดับความรู้ เกี่ยวกับวาร์ฟารินของผู้สั่งจ่ายยา ใน รพ.สต. จ านวน 35 คน ขั้นที่สี่คือ “การสะท้อนกลับ” (Reflecting) โดยเป็นการให้เจ้าหน้าที่ รพ.

สต. 36 คน สะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการพัฒนากระบวนการฯ และแลกเปลี่ยนความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเอง ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการฯ มีหลายองค์ประกอบ ได้แก่

การใช้อุปกรณ์ช่วยเตือน แนวทางในการใช้ยาอื่นร่วมกับวาร์ฟารินใน รพ.สต. แนวทางการส่งตัวผู้ป่วย เมื่อพบภาวะแทรกซ้อนจากการใช้วาร์ฟาริน แนวทางกระตุ้นการปฏิบัติงาน ผลเชิงปริมาณพบว่า อุบัติการณ์ของเหตุการณ์การจ่ายยาที่มีโอกาสเกิดอันตรกิริยากับวาร์ฟารินลดลงจากร้อยละ 1.6 เป็น 1.4 แต่ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ (p=0.906) ความรู้ของผู้สั่งใช้ยาใน รพ.สต. (n=35) เพิ่มขึ้นอย่างมี

นัยส าคัญทางสถิติจาก 7.9 ± 0.8 เป็น 9.9 ± 0.9 คะแนนเต็ม 11 (p<0.001) ข้อมูลสะท้อนกลับ พบว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษามีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย และตระหนักในความปลอดภัยของผู้ป่วย มากขึ้น โดยสรุปกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่รับวาร์ฟารินที่ พัฒนาขึ้นยังไม่ส่งผลช่วยลดอุบัติการณ์การ จ่ายยาที่อาจเกิดอันตรกิริยากับวาร์ฟารินในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่กระบวนการนี้ช่วยเพิ่มความรู้และความ ตระหนักเกี่ยวกับวาร์ฟารินของผู้สั่งจ่ายยาใน รพ.สต. ที่น าไปสู่ความปลอดภัยของผู้ป่วยปัญหาในการ ควบคุมโรค ซึ่งจากการ เปรียบเทียบผลการให้ค าแนะน าของเภสัชกรเมื่อผู้ป่วยเข้ารักษาใน โรงพยาบาลครั้งแรกและเมื่อมาพบแพทย์ตามนัด พบว่าค าแนะน า ของเภสัชกรมีผลต่อการให้ความ ร่วมมือในการควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

พัทยา หวังสุข ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ และพยอม สุขเอนกนันท์ (2557) ได้

ศึกษาการประเมินโครงการเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต าบลโดยระเบียบวิธีการศึกษา คือ การวิจัยเชิงคุณภาพมีกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย จ านวน 54 คน โดย แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือผู้บริหาร 9 คน, อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 9 คน, ผู้ป่วยที่ใช้ยา วาร์ฟาริน 16 คน, ผู้ดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน 1 คนบุคลากรทางการแพทย์ 10 คนโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเพื่อประเมินผลของโครงการเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์

ฟารินใน 7 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลของอ าเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอ านาจเจริญพบว่าใน

38 ประเด็นบริบทของโครงการ ในส่วนผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าประโยชน์ของโครงการนี้สอดรับกับ นโยบายการให้บริการแก่กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ ผู้บริหาร ยังเห็นตรงกันว่าการสร้างระบบเครือข่ายเป็นปัจจัยที่ส าคัญที่ส่งผลต่อความส าเร็จของโครงการ ส าหรับด้านปัจจัยน าเข้าผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิมเป็นสิ่งส าคัญ ของโครงการนี้ โดยมุ่งเน้นการท างานด้วยจิตอาสา การท างานด้วยความต่อเนื่อง และยังสะท้อนให้

เห็นภาพของการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินแบบเครือญาติ ในส่วนบุคลากรทางการแพทย์เห็นว่า โครงการนี้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย ต่อเจ้าหน้าที่หรือองค์กร และมีประโยชน์ทางอ้อมต่อญาติผู้ดูแล ปัจจัยน าเข้าในด้านบุคลากรมีจ านวนจ ากัด การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิมให้สามารถท างาน แทนตามที่ได้รับมอบหมายเป็นสิ่งส าคัญที่ช่วยให้ด าเนินโครงการนี้ได้อย่างต่อเนื่อง ปัญหาอุปสรรคที่

เกิดขึ้นของการด าเนินโครงการในกระบวนการนี้ คือ ความไม่ต่อเนื่องของการด าเนินงาน จึงควรเพิ่ม ระบบการติดตามผล การส่งต่อข้อมูล การนิเทศงาน และเพิ่มช่องทางในการเรียนรู้ เช่น ช่องทาง อินเทอร์เน็ต โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นจุดแข็งของงานที่สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วน ร่วมของชุมชน บริบทด้านปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อโครงการ คือ เครือข่ายของโรงพยาบาลปทุมราช วงศาซึ่งมีผลต่อการด าเนินงานของ อสม. ทั้งนี้ อสม. มีความสุขในการดูแลผู้ป่วย เพราะเห็นประโยชน์

ต่อผู้ป่วย อสม. ควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้ สามารถติดตามอาการข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ได้ การด าเนินงานที่ต่อเนื่องพบในอาสาสมัครที่เป็นญาติกับผู้ป่วยและมีบ้านใกล้กับผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ใช้

ยาวาร์ฟารินหรือผู้ดูแลมีความรู้สึกที่ดีต่อโครงการโดยภาพรวมที่ท าให้ผู้ป่วยมีความรู้ในเรื่องการใช้ยา และการปฏิบัติตัว ประโยชน์ทางอ้อมของโครงการ คือ การสร้างความตระหนักและเพิ่มการเอาใจใส่

ให้กับญาติของผู้ป่วยบางราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้สึกดีต่อการบริการที่ดูแลแบบญาติพี่น้อง พบว่า ผู้ป่วยมีค่า INR อยู่ในเป้าหมายร้อยละ 70.11 ส่วนปัจจัยสู่ความส าเร็จของโครงการ คือ ระบบบริการ ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย กลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาวาร์ฟาริน และปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม โดยสรุปโครงการนี้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่

ก าหนด ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้แต่ในบางด้านควรมีการปรับปรุง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการ ด าเนินงาน เช่น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิม การปรับลดความถี่ในการเยี่ยมบ้านของ อสม.

อรพิน เดชกันยา (2555) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้ข้อมูลปฏิกิริยา ระหว่างยาวาร์ฟารินในการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแผนกผู้ป่วยนอกของ โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี โดยระเบียบวิธีการศึกษา คือ เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบ ไปข้างหน้า (prospective study) ในกลุ่มศึกษาเดียวกัน โดยเปรียบเทียบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

จากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินก่อนและ หลังใช้รูปแบบการให้ข้อมูลปฏิกิริยาระหว่างยา วาร์ฟาริน (pre – post study)กลุ่มตัวอย่าง คือแพทย์ที่สั่งจ่ายยาในแผนกผู้ป่วยนอก จ านวน 113

39 คนซึ่งรูปแบบที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การใช้แบบฟอร์มแจ้งเตือนอันตรกิริยาระหว่างยาโดยการแนบ แบบฟอร์มให้ข้อมูลปฏิกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินและการระบุตัวส าหรับบุคลากรทางการแพทย์ใน แฟ้มประวัติผู้ป่วยเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ แพทย์ตรวจรักษา และพยาบาลส่งแฟ้มประวัติผู้ป่วยมารับ ยาที่ห้องยา เภสัชกรให้ค าแนะน าผู้ป่วยตรวจสอบรายการยาถ้ากรณียามีอันตรกริยาจากนั้นเภสัชกร แจ้งแพทย์เพื่อยืนยันการใช้ยา หรือ การปรับเปลี่ยนรายการยา และลงบันทึกลงในสมุดmediation reconciliationและสมุดคู่มือประจ าตัวผู้ป่วยผลการวิจัยพบว่าผลการสั่งใช้ยาที่เกิดอันตรกิริยากับยา วาร์ฟาริน ก่อนใช้รูปแบบ ร้อยละ 71.64 หลังการใช้รูปแบบร้อยละ61.34 ลดลงร้อยละ 10.30 มี

ความแตดต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ( P=0.001) ส่วนค่า INR ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายที่

สัมพันธ์กับปฏิกิริยาระหว่างยากับวาร์ฟาริน ก่อนการใช้รูปแบบเกิดขึ้นร้อยละ 18.63 หลังใช้รูปแบบ เกิดขึ้นร้อยละ 6.85 ลดลงร้อยละ 11.78 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P=0.002) และการเกิดเหตุการณ์

ไม่พึงประสงค์จากปฏิกิริยาระหว่างยาที่ก าหนดกับยาวาร์ฟารินก่อนการใช้รูปแบบเกิดขึ้นร้อยละ 2.19 หลังการใชรูปแบบเกิดขึ้นร้อยละ 1.82 ลดลงร้อยละ 0.36 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทาง สถิติ ( P=0.001)

จากการทบทวนวรรณกรรมสรุปได้ว่า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาจากการ ใช้ยาวาร์ฟาริน (drug related problem : DRP) พบว่าการพัฒนารูปแบบการแจ้งเตือนอันตรกริยา ระหว่างยาในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินให้ผู้สั่งใช้ยาได้ทราบ สามารถลดปัญหาการเกิดอาการไม่พึง ประสงค์ที่มีผลจากยาที่มีอันตรกริยากับวาร์ฟารินและช่วยให้ผู้สั่งใช้ยามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจใน การคัดเลือกยาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย และเกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยในการใช้ยาดังการศึกษาของ อรพิน เดชกันยา (2555)และการศึกษาการประเมินโครงการเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลพบว่าการสร้างระบบเครือข่ายเป็นปัจจัยที่ส าคัญที่ส่งผลต่อ ความส าเร็จของโครงการเครือข่ายดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิม ให้สามารถท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการนี้ช่วยเพิ่มความรู้และ ความตระหนักเกี่ยวกับ วาร์ฟารินของผู้สั่งจ่ายยาใน รพ.สต. ที่จะน าไปสู่ความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังการศึกษาของ อัจฉรีย์ สี

หา และกฤษณี สระมุณี (2562) พัทยา หวังสุข(2557)มีความสอดคล้องกัน

2.3.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยา