• Tidak ada hasil yang ditemukan

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาของผู้ป่วยที่ได้รับยา วาร์ฟาริน พัฒนาระบบโดยใช้โปรแกรม Delphi เชื่อมต่อกับโปรแกรมระบบงานสถานีอนามัย (HOSxP PCU) และระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล พัฒนาระบบโดย ใช้โปรแกรม Google Site

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการศึกษานี้ คือ

1. แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับยา High Alert Drug (Warfarin Sodium) คลินิกวาร์

ฟาริน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทาเนื้อหาประกอบด้วย ช่องการประเมินโดย แพทย์

เภสัชกร และ พยาบาล ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลผู้ป่วยโดยสหสาขาวิชาชีพ และลงความเห็นพร้อมทั้ง ให้ข้อมูลในการรักษาผู้ป่วยร่วมกัน โดย ส่วนของพยาบาลจะลงข้อมูล ประวัติการรักษา อาการ เจ็บป่วยที่มารับการรักษา ค่าความดันโลหิต ค่าชีพจร ส่วนสูง น้ าหนัก ค่า PT, INR ค่าส่วนของเภสัช กรจะลงข้อมูลการได้รับยาวาร์ฟาริน,ข้อมูลการค้นหาปัญหาจากการใช้ยา ค้นหาสาเหตุการเกิดอันตร กิริยาระหว่างยา, ข้อมูลการให้ค าปรึกษาแก่ผู้ป่วย, ลงข้อมูลปรึกษาแพทย์พิจารณาปรับขนาดยากรณี

ค่า INR นอกช่วงเป้าหมาย ในส่วนของแพทย์จะลงข้อมูลวินิจฉัยสาเหตุการเกิดโรค การวินิจฉัยโรคลง ความเห็นสาเหตุการเกิดปัญหาการเจ็บป่วยที่มารักษาในครั้งนั้นๆ การแปลผล EKG , การสั่งใช้ยา หรือ พิจารณาให้นอนโรงพยาบาลกรณีมีความร้ายแรง

2. เวชระเบียนผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน (warfarin)ในโรงพยาบาล ใช้ในการรวบรวม ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินทั้งหมดที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา

3. เวชระเบียนผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน (warfarin)ใน รพ.สต.ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินและเข้ารับการรักษาที่ รพ.สต.ด้วยสาเหตุการเจ็บป่วยอื่นๆ โดยเป็นคนไข้ใน เขตรับผิดชอบที่ขึ้นทะเบียนในเขตบริการของ รพ.สต.

4. ฐานข้อมูลระบบประมวลผลการจ่ายยาของ HOSxP PCUซึ่งเป็นระบบประมวลผล รายงาน ในโปรแกรม one stop service ของ HOSxP PCU

5. ฐานข้อมูลผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟารินของโรงพยาบาล HOSxPซึ่งเป็นระบบประมวลผล รายงาน ในโปรแกรม HOSxPของโรงพยาบาลสามารถใช้ค าสั่งประมวลผลรายงานข้อมูลผู้ป่วยใช้ยา วาร์ฟารินที่มารับบริการในโรงพยาบาลสาเด็จพระยุพราชเลิงนกทาได้

6. แบบสอบถามความต้องการรูปแบบระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนระบบบริการ ผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟาริน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 ความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการใช้โปรแกรมป้องกันอันตรกิริยาระหว่าง

72 ยาวาร์ฟาริน ซึ่งมีจ านวนทั้งหมด 9 ข้อ โดยประเมิน 3 ด้าน คือ (1) ด้านเนื้อหา จ านวน 3 ข้อ (2) ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบการแจ้งเตือน จ านวน 3 ข้อ (3) ด้านประโยชน์และการน าไปใช้

จ านวน 3 ข้อ โดยได้ก าหนดระดับคะแนนความต้องการ ตามมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert rating scale) ดังนี้

5 หมายถึง มีความต้องการระดับมากที่สุด 4 หมายถึง มีความต้องการระดับมาก 3 หมายถึง มีความต้องการระดับปานกลาง 2 หมายถึง มีความต้องการระดับน้อย 1 หมายถึง มีความต้องการระดับน้อยที่สุด

ตอนที่ 3 ความต้องการเกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์สารสนเทศเพื่อการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย https://sites.google.com/site/(nwarfarin/ ซึ่งมีจ านวนทั้งหมด 16 ข้อ โดยประเมิน 3 ด้าน คือ 68(1) ด้านเนื้อหา จ านวน 5 ข้อ (2) ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบของเว็บไซต์ จ านวน 6 ข้อ (3) ด้านประโยชน์และการน าไปใช้ จ านวน 5 ข้อ โดยได้ก าหนดระดับคะแนนความต้องการ ดังนี้

5 หมายถึง มีความต้องการระดับมากที่สุด 4 หมายถึง มีความต้องการระดับมาก 3 หมายถึง มีความต้องการระดับปานกลาง 2 หมายถึง มีความต้องการระดับน้อย 1 หมายถึง มีความต้องการระดับน้อยที่สุด

7. แบบประเมินความพึงพอใจระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนระบบบริการผู้ป่วยใช้ยา วาร์ฟารินประเมินผลความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.หลังทดลองใช้ระบบสารสนเทศแล้ว เป็น ระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งประเมินความพึงพอใจระบบสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่

เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟาริน ใน รพ.สต.ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 ความพึงพอใจระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนระบบบริการผู้ป่วยใช้ยาวาร์

ฟารินมีจ านวนทั้งหมด 19 ข้อ โดยประเมิน 4 ด้าน คือ (1) ด้านโปรแกรมหรือระบบ จ านวน 4ข้อ, (2) ด้านการออกแบบติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบ จ านวน 7ข้อ, (3) ด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบ จ านวน 3ข้อ และ (4) ด้านการน าไปใช้งานจริงของระบบ จ านวน 5 ข้อ ลักษณะของแบบ ประเมินที่สร้างขึ้นเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (rating scale) ดังนี้ (ชูศรี พันธุ์ทอง, 2543, หน้า 23)

5 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศอยู่ในระดับดีมาก 4 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศอยู่ในระดับดี

73 3 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง

2 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศอยู่ในระดับน้อย 1 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศอยู่ในระดับน้อยที่สุด

จากนั้นน าผลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (𝑥̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) คะแนนเฉลี่ยที่ได้ ผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์ในการแปลผลระดับการพิจารณา ตามแนวคิดของ ชูศรี พันธุ์ทอง (2543, หน้า 3) ดังนี้

คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.49 เท่ากับความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ย 1.50-2.49 เท่ากับความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 2.50-3.49 เท่ากับความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.50-4.49 เท่ากับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.50-5.00 เท่ากับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

8. แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟารินของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.

ประเมินความรู้เรื่องยาวาร์ฟารินส าหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต. (ตามภาคผนวก)โดยใช้แบบ ประเมินความรู้ออนไลน์ในที่ประชุมในขั้นตอนก่อนการอบรม (pre-test) และหลังจากการอบรม (post-test)โดยใช้เวลาในการทดสอบครั้งละ 30 นาทีผู้วิจัยประเมินความรู้ของผู้สั่งใช้ยาของ รพ.สต.

จ านวน 36 คนซึ่งใช้แบบทดสอบความรู้ที่เป็นค าถามแบบให้ตอบถูกผิดจ านวน 11 ข้อประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจ านวน 6 ข้อ ตอนที่ 2 ความรู้ด้านยาวาร์ฟารินจ านวน 11 ข้อ ดังนี้

1. ข้อบ่งใช้ยาวาร์ฟารินจ านวน 2 ข้อ 2. การติดตามผลวาร์ฟารินจ านวน 2 ข้อ

3. ยาที่ไม่ควรสั่งใช้ในผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟารินจ านวน 2 ข้อ 4. ข้อควรปฏิบัติขณะรับประทานยาวาร์ฟารินจ านวน 4ข้อ 5. อาการข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟารินจ านวน 1 ข้อ

9. แบบบันทึกติดตามพฤติกรรมการเข้าใช้งานและผลการใช้งานเครื่องมือภายในเว็ป ไซต์สารสนเทศส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย ของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.โดยท าการบันทึกติดตามการเข้าใช้งานระบบ สารสนเทศเครื่องมือที่ใช้คือแบบติดตามผลพฤติกรรมการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศส่งต่อข้อมูล ผู้ป่วย ของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.โดยแบบติดตาม ประกอบด้วย

9.1 รายชื่อ รพ.สต. ที่ติดตามการเข้าใช้งาน 18 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.ช่องเม็ก, รพ.สต.

นากอก, รพ.สต.หนองแคนน้อย, รพ.สต.น้อมเกล้า, รพ.สต.ห้องแซง, รพ.สต.ป่าชาด, รพ.สต.หวาย, รพ.สต.กุดแข้ด่อน, รพ.สต.กุดเชียงหมี, รพ.สต.สามแยก, รพ.สต.กุดแห่, รพ.สต.โคกส าราญ, รพ.สต.

74 สมสะอาด, รพ.สต.หนองยาง, รพ.สต.สร้างมิ่ง, รพ.สต.ศรีแก้ว, รพ.สต.โคกใหญ่และ รพ.สต.โคกวิไล (ตามภาคผนวก)

9.2 ตารางลงบันทึกติดตามผลการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศ จ านวน 4 เดือน โดย แบ่งย่อยเป็นตารางติดตามผลการเข้าใช้งานระบสารสนเทศเดือนละ 4 ครั้ง

9.3 ตารางลงบันทึกติดตาม กรณีเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศยังไม่

เข้าใช้งานตามก าหนด โดยมีช่องผลการติดตาม2 ครั้ง คือ ช่องติดตามที่1 ลงบันทึกหลังโทรศัพท์

ติดตามแล้ว 1 วันท าการ และช่องติดตามที่ 2 ลงบันทึกหลังจากโทรศัพท์ติดตามครั้งที่ 1 แล้วอีก 1วัน ท าการถัดมา

10. ระบบสารสนเทศเฝ้าระวังอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟาริน และโปรแกรมส่งต่อ ผู้ป่วย ฐานข้อมูลออนไลน์คลินิกวาร์ฟาริน พัฒนาโดยผู้วิจัยและเจ้าหน้าที่งานระบบคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา (https://sites.google.com/view/lnwarfarin) ซึ่งประกอบด้วย ส่วนต่างๆ ในโปรแกรม แสดงผล ดังนี้

10.1 ระบบสารสนเทศเฝ้าระวังอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินด้วยโปรแกรม Delphi โดยนักวิชาการคอมพิวเตอร์และเภสัชกรประจ าคลินิกวาร์ฟาริน เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ เฝ้าระวังอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินซึ่งได้รูปแบบแสดงผลหน้าจอให้บริการ ดังนี้

1. คู่ยาที่เกิดอันตรกิริยากับวาร์ฟาริน 2. ระดับความรุนแรงการเกิดอันตรกิริยา

3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา 4. การจัดการคู่ยาที่เกิดอันตรกิริยาระหว่างยา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล (รพ.สต.) ใช้โปรแกรมระบบงานสถานีอนามัย (HOSxP PCU) เพื่อบันทึกข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยภายใน 1 หน้าจอ (ระบบงาน One Stop serviceการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟาริน โดย สร้างสคริปต์และติดตั้งเพิ่มเข้าในโปรแกรม HOSxP PCU เมื่อผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟารินมารับบริการที่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลเจ้าหน้าที่จะบันทึกการให้บริการ การวินิจฉัย และการจ่ายยาระบบ จะตรวจสอบโรคประจ าตัวของผู้ป่วยและยาที่จ่ายในครั้งนี้ หากมีโรคประจ าตัวที่ก าลังรับประทานยาน วาร์ฟาริน และได้รับยาที่สามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟาริน ก็จะมี pop up แจ้งเตือน ให้

เจ้าหน้าที่ยกเลิกการจ่ายยาที่จะเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินตามโมเดลต่อไปนี้