• Tidak ada hasil yang ditemukan

ต่อเนื่องของกระบวนการนิเทศเรื่องต่าง ๆ ของ PIDRE

ดังนั้น วางแผนการท างาน ให้ความรู้ในสิ่งที่ท าหลังจากนั้นจึงลงมือปฏิบัติงาน โดยมีการนิเทศควบคู่ไปด้วยขณะเดียวกันผู้บริหารจะต้องสร้างขวัญและก าลังใจระหว่างการท างาน และหลังการท างานผ่านไปแล้ว และในขั้นสุดท้ายก็ท าการประเมินผลท าในลักษณะเช่นนี้จนกระทั่ง บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้หากบรรลุผลแล้วต้องการจะหยุดก็ถือว่าการนิเทศสิ้นสุดลงแล้ว

ส านักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2533) ได้เสนอกระบวนการนิเทศ การศึกษา 5 ขั้นตอน ดังนี้

P I D R E P I D R E P

เรื่องที่ 1 เรื่องที่ 2 เรื่องที่ 3

45

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ เพื่อให้ทราบสภาพ ที่แท้จริงของการจัดการศึกษาในด้านความรู้ความสามารถของครู พฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการจัดการศึกษาว่ามีปัญหา จุดเด่น จุดด้อย และมีความจ าเป็นหรือความต้องการในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอะไรบ้าง ส าหรับเป็นข้อมูล ในการวางแผนการนิเทศต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนและการก าหนดทางเลือก เป็นการน าข้อมูลที่ได้รับจาก ขั้นตอน ที่ 1 มาจัดล าดับความส าคัญและความจ าเป็น อีกทั้งน าทรัพยากรที่มีอยู่มาศึกษาเพื่อ ประกอบการพิจารณาความเป็นไปได้ของการด าเนินงาน แล้วก าหนดทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมที่สุด ใช้เป็นแนวทางในการนิเทศเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษา แล้วก าหนดวิธีการนิเทศในแต่ละกิจกรรมต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ เป็นการด าเนินการจัดท าสื่อและ เครื่องมือส าหรับใช้ในการนิเทศแต่ละวิธีที่ก าหนดในขั้นตอนที่ 2 เพื่อให้การนิเทศมีระบบที่ดี สามารถ แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาได้ตรงจุด มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและสามารถตรวจสอบวิเคราะห์ผลได้

ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการนิเทศ เป็นการน าสื่อและเครื่องมือการนิเทศไปใช้

ปฏิบัติงานตามวิธีการที่ก าหนดไว้ในขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลและรายงานผลการนิเทศ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของ กระบวนการนิเทศ โดยใช้รูปแบบและเครื่องมือการประเมินผลที่เหมาะสม เพื่อศึกษาสภาพ ความส าเร็จ ปัญหาอุปสรรคในการด าเนินงานในอันที่จะใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการ ปฏิบัติการนิเทศ ซึ่งหลังจากการประเมินเสร็จสิ้นลงต้องจัดท ารายงานเพื่อแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ และเผยแพร่ต่อไป

กลิ๊กแมน (Glickman, 1990) ได้น าเสนอกระบวนการนิเทศการสอนไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การประชุมร่วมกับครู (Preconference with teacher) 2. การสังเกตการสอนในชั้นเรียน (Observation of classroom)

3. การวิเคราะห์และติดตามผลการสังเกตการสอน และพิจารณาวางแผนการประชุม ร่วมกับครู

4. ประชุมร่วมกับครูภายหลังการสังเกตการสอน (Post conference with Teacher)

5. วิเคราะห์และพัฒนาการด าเนินการ 4 ขั้นตอน เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไข ใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควรให้ครูได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นให้มาก

วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ (2538) ได้น าเสนอกระบวนการนิเทศในทศวรรษหน้า จะประกอบด้วยขั้นตอน ทั้งหมด 5 ขั้น ดังนี้

46 1. ขั้นส ารวจและวิเคราะห์ความต้องการเป็น (Need Assessment) โดยการส ารวจ ปัญหาของโรงเรียนวิเคราะห์ภารกิจของโรงเรียน เพื่อน าไปสู่การตั้งจุดมุ่งหมายในการนิเทศการศึกษา

2. ขั้นก าหนดจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาโดยค านึงถึงความต้องการจ าเป็น 3. ขั้นการวางแผนและเค้าโครงการนิเทศการศึกษาต้องใช้วิธีการและขั้นตอนของ การวางแผนที่รัดกุม เพื่อให้ได้แผนงานและโครงการที่จะใช้เป็นแนวทางในการด าเนินงาน

4. ขั้นปฏิบัติการนิเทศตามแผน ขั้นนี้จะมีการจัดท าโครงการย่อตามทางเลือกที่

ก าหนดไว้ในแผน แล้วปฏิบัติตามโครงการเหล่านั้น

5. ขั้นประเมินผล จะต้องประเมินโดยมีจุดมุ่งหมายที่ก าหนดไว้ในขั้นตอนที่ 2 อาจประเมิน ทั้งขณะปฏิบัติงานและเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติตามแผน

ส านักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541) ได้ก าหนดกระบวนการ นิเทศการศึกษาที่ส าคัญ ประกอบด้วย

1. การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการพัฒนา 1.1 แนวด าเนินงานนิเทศ

1.1.1 ศึกษาข้อมูลของผู้รับการนิเทศในความรับผิดชอบ 1.1.2 ศึกษาจากการปฏิบัติจริง

1.1.3 ศึกษาโดยใช้เครื่องมือ

1.1.4 ศึกษาจากผลการด าเนินงาน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน การจัดท า แผนการสอน การจัดท าธุรการห้องเรียน ผลงานของครู ผลงานนักเรียน

1.2 ข้อมูล/ผลการด าเนินการนิเทศ

1.2.1 ข้อมูลพื้นฐาน เช่น การศึกษา ประวัติการท างาน บุคลิกภาพ ความสามารถ

1.2.2 ข้อมูลการปฏิบัติงาน ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน การใช้ และจัดท าสื่อการเรียนการสอน ความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียน และเพื่อนครู

1.2.3 ข้อมูลผลการปฏิบัติงาน คุณภาพของแผนการสอน สื่อการสอน การจัดท าผลงานทางวิชาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

1.2.4 ก าหนดจุดพัฒนาของผู้รับการนิเทศ 2. การวางแผน และก าหนดทางเลือก

2.1 แนวด าเนินการนิเทศ

2.1.1 พิจารณาหาความสัมพันธ์ของจุดพัฒนากับการนิเทศ 2.1.2 ก าหนดทางเลือก

2.1.3 วางแผนการนิเทศร่วมกับผู้รับการนิเทศ

47 2.2 ข้อมูล/ผลการนิเทศ

2.2.1 เทคนิค วิธีการ สื่อ เครื่องมือหรือนวัตกรรมในการนิเทศ 2.2.2 แผนการนิเทศ

3. การสร้างสื่อ และเครื่องมือพัฒนาการวิธีการ 3.1 แนวด าเนินการ

3.1.1 แสวงหาสื่อเครื่องมือตามที่วางไว้ โดยการจัดหาจัดท าตาม ความเหมาะสม

3.1.2 ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้

3.2 ข้อมูล/ผลการนิเทศ

3.2.1 สื่อเครื่องมือที่สอดคล้องกับวิธีการนิเทศ นวัตกรรมการนิเทศ 3.2.2 การด าเนินการพัฒนา

4. ปฏิบัติการนิเทศ

5. การประเมิน และรายงานผล 5.1 แนวด าเนินการ

5.1.1 ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาของผู้รับการนิเทศ 5.1.2 ศึกษาผลงานของผู้รับการนิเทศ

5.1.3 ใช้เครื่องมือประเมิน 5.1.4 วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูล

5.1.5 สรุป และรายงานผล/เผยแพร่ผลงาน 5.2 ผลการด าเนินการ

5.2.1 ผลการพัฒนาผู้รับการนิเทศ 5.2.2 การรายงานผล

5.2.3 การเผยแพร่ผลงาน

5.2.4 การมีข้อมูลในการพัฒนาต่อไป

เยาวพา เดชะคุปต์ (2542) ได้เสนอรูปแบบกระบวนการนิเทศที่จะท าให้การนิเทศ ประสบความส าเร็จได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 วางแผนการนิเทศ (Planning) เป็นขั้นที่ผู้บริหาร ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ จะท าการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหา และความต้องการ จ าเป็นต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการนิเทศที่จัดขึ้นอีกด้วย

48 ขั้นที่ 2 ให้ความรู้ในสิ่งที่จะท า (Informing) เป็นขั้นตอนของการให้ความรู้

ความเข้าใจที่จะด าเนินการว่าจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการ ด าเนินการอย่างไร และจะท าอย่างไรจึงจะท า ให้ได้ผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ ขั้นนี้จ าเป็นทุกครั้ง ส าหรับการเริ่มนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม และก็มีความจ าเป็นส าหรับงานนิเทศที่ยัง เป็นไปอย่างไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ถึงขั้นที่พอใจ ซึ่งจ าเป็นจะต้องท าการทบทวนให้ความรู้ในการ ปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

ขั้นที่ 3 การปฏิบัติงาน (Doing) ประกอบด้วยการปฏิบัติงาน 3 ลักษณะ คือ

1. การปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ เป็นขั้นที่ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติงาน ตามความรู้ความสามารถที่ได้รับมาจากการด า เนินการในขั้นที่ 2

2. การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ขั้นนี้ผู้ให้การนิเทศจะท าการนิเทศ และควบคุมคุณภาพให้งานส าเร็จออกมาทันตามก าหนดเวลา และมีคุณภาพสูง

3. การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ ผู้บริหารก็จะให้การสนับสนุนในเรื่อง วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างได้ผล

ขั้นที่ 4 การสร้างขวัญ และก าลังใจ (Reinforcing) ขั้นนี้เป็นขั้นของการเสริมก าลังใจ ของผู้บริหาร เพื่อให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจ และบังเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

ขั้นนี้อาจจะด าเนินการไปพร้อม ๆ กันกับที่ผู้บริหารนิเทศก าลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานได้

เสร็จสิ้นไปแล้วก็ได้

ขั้นที่ 5 ประเมินผลผลิตของการด าเนินงาน (Evaluating) เป็นขั้นที่ผู้นิเทศ ท าการประเมินผลการด าเนินงานซึ่งผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไร หลังจากการประเมินผลการนิเทศ หากพบว่า มีปัญหาหรืออุปสรรคอย่างหนึ่งอย่างใดที่ท าให้การด าเนินการไม่ได้ผลก็สมควรจะต้องท า การปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขอาจจะท าได้โดยการให้ความรู้ในสิ่งที่ท าใหม่อีกครั้งหนึ่ง ส าหรับกรณีที่ผลงานออกมายังไม่ถึงขั้นที่พอใจ หรือด าเนินการปรับปรุงการด าเนินงานทั้งหมด

ส าหรับกรณีการด าเนินงานเป็นไปไม่ได้ผล และถ้าหากการประเมินผลได้พบว่าประสบผลส าเร็จที่ตั้งไว้

หากจะด าเนินการนิเทศต่อไปก็สามารถท าไปได้เลยโดยไม่ต้องให้ความรู้ในเรื่องนั้นอีก ล าภู เพ็ชรวงษา (2542) ได้เสนอรูปแบบการนิเทศไว้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมการนิเทศ

ก่อนที่จะด าเนินการนิเทศต้องชี้แจงนโยบาย แผนงาน โครงการที่จะต้องปฏิบัติ

มอบหมายงานในหน้าที่ ภารกิจที่จะต้องด าเนินการ ศึกษาสภาพความพร้อม บรรยากาศ ข้อมูลและ อื่น ๆ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. จัดตั้งคณะปฏิบัติงาน จัดท านโยบาย แผนงาน และโครงการ ท าในรูปของ แผนปฏิบัติการประจ าปี