• Tidak ada hasil yang ditemukan

ขั้นตอนการวิจัยการพัฒนารูปแบบ กรณีที่ 2 ร่างรูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟาย

รอบที่ 1 ส่งแบบสอบถามชนิดเลือกตอบเห็น ด้วย - ไม่เห็นด้วย พร้อมค าถาม ปลายเปิด

ในตอนท้ายของแต่ละตอน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความ คิดเห็นอย่างอิสระ รอบที่ 2 สร้างแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ ตอบ จากนั้นน ามาวิเคราะห์หาค่า Md และ IQR

รอบที่ 3 ส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ ซึ่งในรอบนี้จะแสดงค่า Md และ IQR เป็นรายข้อ ทั้งของกลุ่มและค าตอบของแต่ละคน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ค าตอบ น าเสนอรูปแบบ/ ตัวบ่งชี้ โดยน าค าตอบรอบที่ 3 มาวิเคราะห์หาค่า Md และ IQR เป็น รายข้อ โดยคัดเลือกข้อที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน สูง (Md > 3.50,

IQR < 1.50)

ขั้นตอน กิจกรรม ผลที่ได้

1. ขั้นการพัฒนา รูปแบบ

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ของรูปแบบของเรื่องที่ศึกษา

(ร่าง) กรอบความคิดการ วิจัย

การศึกษาจากสภาพจริง ได้แก่

1) การศึกษาสภาพและปัญหาการด าเนินงานของ หน่วยงานหรือ

2) การศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยการ สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม เป็นต้น หรือ

3) การศึกษารายกรณี (Cease Study) ของหน่วยงานที่

ด าเนินการได้ดีในเรื่องที่ศึกษา

กรอบความคิดการวิจัย

พัฒนารูปแบบ..(ตามประเด็นที่ศึกษา) โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (3 รอบ)

(ร่าง) รูปแบบ (หรือเรียกว่า รูปแบบตามสมมติฐาน

วิเคราะห์ความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง (ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบ จากการน ารูปแบบ/ ตัวบ่งชี้ไปใช้) โดยน าแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (ที่สร้างจากข้อความที่ผ่านการคัดเลือกในการท าเดลฟายรอบที่ 3) ไปให้ผู้เกี่ยวข้องตอบแล้ว น าเสนอรูปแบบ/ ตัวบ่งชี้ที่มีความเหมาะสม (เลือกข้อที่ Md > 3.50, IQR < 1.50 หรือค่าเฉลี่ย

> 3.50)

ปรับปรุงและน าเสนอรูปแบบ รูปแบบที่เหมาะสม 2. ขั้นตรวจสอบ

ความเที่ยงตรง ของรูปแบบ

30 สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบ คือ การศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาแบบแผนการด าเนินงาน จากการวิเคราะห์เอกสาร และการศึกษาจากสภาพจริง โดยใช้วิธีการบูรณาการองค์ความรู้ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน แล้วน าเสนอเป็นรูปแบบขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบ

แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา ความหมายของการนิเทศการศึกษา

การนิเทศ มาจากค าภาษาอังกฤษว่า “Supervision” จากความหมายตามรูปศัพท์ก็คือ การให้ความช่วยเหลือให้ค าแนะน า และการปรับปรุงตามรูปศัพท์จากพจนานุกรม หมายถึง

การชี้แจง การแสดง การจ าแนก

เบอร์ตัน และบรุคเนอร์ (Burton and Bruckner, 1955) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การนิเทศเป็นการให้บริการเกี่ยวกับความช านาญทางเทคนิคด้านวิชาการในการเรียนการสอน และการปรับปรุงสภาพการเรียน และการเจริญเติบโตของผู้เรียน

สเปียร์ส (Spears, 1967) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การนิเทศเป็นกระบวนการที่จะท าให้

เกิดการปรับปรุงการเรียนการสอนของครู โดยการท างานร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนี้

เป็นกระบวนการกระตุ้นความเจริญก้าวหน้าของครู และมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือครู เพื่อให้ครูช่วยเหลือ ตนเองได้

มาร์คส และสต๊อฟ (Marks and Stoop, 1978) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การนิเทศ เป็นการพัฒนา และการปรับปรุงการเรียนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์ และส่งผลสะท้อน ต่อการพัฒนานักเรียน

โกลด์แฮมเมอร์ และคณะ (Goldhammer and other, 1980) ได้ให้ความหมาย ไว้ว่า การนิเทศเป็นลักษณะงานที่มอบหมายให้ครูหรือผู้นิเทศที่จะกระตุ้นให้ครูหรือครูแนะแนว ในโรงเรียน มีการพัฒนาในการที่จะน าวิธีการสอน สื่อการเรียนการสอนมาใช้ โดยเน้นถึงทักษะ ในการติดต่อสื่อสาร ในการนิเทศปัจจุบันได้พยายามที่จะช่วยเหลือครูในการแก้ปัญหา ช่วยเหลือครู

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างครู และนักเรียน

กลิคแมน (Glickman, 1990) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การนิเทศเป็นแนวคิดเกี่ยวกับงาน และหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการสอนในเรื่องหลักสูตร

การจัดครูเข้าสอน การจัดสื่อการสอน สิ่งอ านวยความสะดวก การเตรียม และพัฒนาครู

รวมทั้งการประเมินผลการเรียนการสอน

31 เมื่อพิจารณาลักษณะของการนิเทศจะเห็นว่าการนิเทศมีลักษณะส าคัญ คือ

1. เป็นระบบหนึ่งของระบบการจัด และบริหารสถานศึกษา 2. เป็นกระบวนการปรับปรุงการเรียนการสอน

3. เป็นการชี้แนะให้ความช่วยเหลือ และร่วมมือกับครู รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษา

4. เป็นความต้องการความส าเร็จตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ คุณภาพของผู้เรียน

การนิเทศการสอน เป็นค าประสมระหว่างการนิเทศกับการสอน ความสัมพันธ์ระหว่าง การนิเทศกับการสอน คือ การนิเทศการสอนเป็นส่วนย่อย ของการนิเทศ การนิเทศที่มีความส าคัญ ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาผู้เรียน คือ การนิเทศการสอน ซึ่งมีแนวคิดที่เกี่ยวข้อง และความหมายของการนิเทศการสอน ดังนี้

โกลด์แฮมเมอร์ และคณะ (Goldhammer and others, 1980) ได้ให้แนวคิด ไว้ว่า การนิเทศการสอนเป็นส่วนย่อยของการนิเทศ เนื่องจากการนิเทศมีผู้ให้ความหมายไว้

หลากหลาย จึงท าให้บทบาทของผู้นิเทศไม่คงที่ การนิเทศการสอนในโรงเรียน จึงมีความหมายตาม แนวคิดของนักการศึกษาดังต่อไปนี้

อัลฟอนโซ และคณะ (Alfonso and others, 1981) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การนิเทศการสอนเป็นพฤติกรรมที่พึงปรารถนาอย่างเป็นทางการในองค์การนั้น ซึ่งชี้แนะถึงพฤติกรรม ของครู ในทางที่จะให้ความสะดวกในด้านการเรียนของนักเรียน และสัมฤทธิ์ผลถึงเป้าหมาย

ขององค์การ

แฮริส (Harris, 1985) ให้ความหมายไว้ว่า การนิเทศการสอนเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ใน โรงเรียนกระท าต่อบุคลากร และสิ่งอื่น เพื่อจะรักษาไว้หรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานของโรงเรียน ในวิถีทางตรงที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการสอน ซึ่งจะเป็นสิ่งกระตุ้น และช่วยส่งเสริมการเรียนของ นักเรียน

สรุปได้ว่า การนิเทศการสอน หมายถึง กระบวนการพัฒนาครูผู้สอนให้มีพฤติกรรม การสอนที่เหมาะสม โดยผู้นิเทศมีหน้าที่ในการชี้แนะ ชี้น า ให้ความช่วยเหลือ และร่วมมือกับครู

เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และเพิ่มคุณภาพของผู้เรียนตามเป้าหมายของการศึกษา จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา

การนิเทศมุ่งหมายที่จะช่วยครูให้สอนดียิ่งขึ้น ช่วยเด็กให้ได้เรียนดีขึ้น และปรับปรุง โรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น การนิเทศการศึกษา มีความละเอียดลออ และสลับซับซ้อนมากกว่าการนิเทศ ในอาชีพอื่น ๆ เช่น การพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม เป็นต้น เพราะการพัฒนาคนเป็นงานที่ต้องอาศัย

32 กาลเวลาวิธีการ ยิ่งบุคคลที่จะพัฒนาเป็นเด็กในวัยเยาว์ งานนิเทศยิ่งเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน

และสลับซับซ้อนมากเท่านั้น (ชารี มณีศรี, 2542)

สงัด อุทรานันท์ (2530) ได้กล่าวถึง จุดมุ่งหมายของการนิเทศ ไว้ว่าการนิเทศ มีจุดมุ่งหมายที่ส าคัญ 4 ประการ คือ

1. เพื่อพัฒนาคน เป็นกระบวนการท างานร่วมกันกับครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ ครู และบุคลากร ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น

2. เพื่อพัฒนางาน มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตจากการจัด

กระบวนการเรียนรู้ ของครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยเหตุนี้การนิเทศที่จัดขึ้นจึงมีจุดมุ่งหมายที่

จะ “พัฒนางาน” คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดีขึ้น

3. เพื่อสร้างการประสานสัมพันธ์ เป็นการสร้างการประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการท างานร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ซึ่งกันและกัน ซึ่งไม่ใช่เป็นการท างานภายใต้การถูกบังคับ และคอยตรวจตราหรือคอยจับผิด 4. เพื่อสร้างขวัญ และก าลังใจ เป็นการจัดกิจกรรมการนิเทศที่มุ่งให้ก าลังใจแก่ครู

และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายที่ส าคัญอีกประการหนึ่งของการนิเทศ

เนื่องจากขวัญ และก าลังใจเป็นสิ่งส าคัญที่จะท าให้บุคคลมีความตั้งใจท างาน หากการนิเทศไม่ได้สร้าง ขวัญและก าลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานแล้วการนิเทศการศึกษาก็ย่อมประสบผลส าเร็จได้ยาก

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ (2542) ได้แบ่งจุดมุ่งหมายของการนิเทศในลักษณะ ดังนี้

1. ช่วยให้ครูเห็น และเข้าใจถ่องแท้ในวัตถุประสงค์ของการศึกษา และหน้าที่

โดยเฉพาะหน้าที่ของโรงเรียนที่จะด าเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษานั้น ภารกิจของศึกษานิเทศก์

ครูใหญ่และผู้บริหาร มิใช่คอยเน้นแต่ในเรื่องเทคนิคการสอน และการคิดค้นระเบียบวิธีสอนเท่านั้น หากแต่ยังต้องมุ่งส่งเสริมความเจริญเติบโตของนักเรียน โดยรอบด้านคือด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์

ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านสุนทรียภาพด้านมโนภาพ และด้านสร้างสรรค์

2. ช่วยให้ครูได้เห็น และเข้าใจในความต้องการของเยาวชน และปัญหาต่าง ๆ ของเยาวชน และสนองความต้องการของเยาวชนอย่างดีที่สุด ศึกษานิเทศก์จะต้องพยายามช่วย กระตุ้นเตือนให้ครูรู้จักให้ก าลังใจแก่เด็กนักเรียน เข้าใจปัญหาของเด็กวัยต่าง ๆ และเข้าใจ ความต้องการของเด็ก

3. ช่วยเสริมสร้างครูให้มีลักษณะแห่งความเป็นผู้น า ช่วยส่งเสริมความสามัคคี

และรู้จักท างานร่วมกับครู ช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน

4. ช่วยพิจารณาความเหมาะสมของงานให้ถูกต้องกับความสามารถของครูแต่ละคน และช่วยให้ครูได้ใช้ความสามารถของตนปฏิบัติงานนั้นให้ก้าวหน้าอยู่เรื่อย ๆ ค้นหาคุณลักษณะดีเด่น ในตัวครูแล้วส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น