• Tidak ada hasil yang ditemukan

ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทาง

ขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร โดยแบ่งขั้นตอนในการวิจัยออกเป็น 4 ระยะได้แก่

ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องทางการเงิน (R1) ระยะที่ 2 การจัดท ารายละเอียดของร่างหลักสูตร (D1)

ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร (R2)

ระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร (D2) การด าเนินการวิจัยในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดที่สามารถสรุปเป็นตารางได้ดังนี้

ตาราง 3 ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทาง การเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ขั้นตอน วิธีการ การวิเคราะห์ข้อมูล เป้าหมาย/ผลลัพธ์

ระยะที่ 1 การศึกษา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้เรื่องทาง การเงิน (R1)

ศึกษาสภาพปัญหา และความจ าเป็นใน การพัฒนาหลักสูตร เพื่อส่งเสริมความรู้

เรื่องทางการเงิน

วิเคราะห์เนื้อหาจาก งานวิจัย บทความ ข่าวที่เกี่ยวข้อง และ การหาค่าความถี่และ ร้อยละของความ ต้องการของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้ทางการเงิน

สรุปสาเหตุ ปัญหาที่

เกี่ยวข้องกับความรู้

เรื่องทางการเงินของ ประชาชน และความ ต้องการของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้ทางการเงิน

ตาราง3(ต่อ)

ขั้นตอน วิธีการ การวิเคราะห์ข้อมูล เป้าหมาย/ผลลัพธ์

ศึกษารายละเอียดและ เป้าหมายรายวิชา ศึกษาทั่วไป

วิเคราะห์เนื้อหาจาก เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจเป้าหมายของ รายวิชาศึกษาทั่วไป

ศึกษาประเด็น องค์ประกอบของ ความรู้เรื่องทางการเงิน

วิเคราะห์เนื้อหาที่ได้

จากการสัมภาษณ์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน การเงิน 6 ท่าน

ได้องค์ประกอบและ องค์ประกอบย่อยของ การรู้เรื่องทางการเงิน

ระยะที่ 2 การจัดท า รายละเอียดของร่าง หลักสูตร (D1)

จัดท าร่างหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้

แบบวัดความรู้เรื่องทาง การเงิน และแบบวัด ความพึงพอใจต่อ หลักสูตร โดยใช้ข้อมูล พื้นฐานที่ได้จากระยะที่

1 ร่วมกับแนวคิดการ คิดเชิง

กลยุทธ์ และส่งให้

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน ความเหมาะสมและ สอดคล้อง

ค านวณหาค่าดัชนี

ความสอดคล้อง และ วิเคราะห์ข้อเสนอแนะ จากผู้ทรงคุณวุฒิ

ได้ร่างหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้

แบบวัดความรู้เรื่องทาง การเงิน และแบบวัด ความพึงพอใจต่อ หลักสูตรตามแนวคิด การคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อ ส่งเสริมความรู้เรื่อง ทางการเงินของ นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี

น าร่างหลักสูตร แบบ วัดความรู้เรื่องทาง การเงิน และแบบวัด ความพึงพอใจไปใช้

ทดลอง

หาค่าความยากง่าย ค่าอ านาจจ าแนก และ ค่าความเชื่อมั่นของ แบบวัดความรู้เรื่องทาง การเงิน และแบบ ประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อหลักสูตร

ตาราง3(ต่อ)

ขั้นตอน วิธีการ การวิเคราะห์ข้อมูล เป้าหมาย/ผลลัพธ์

ระยะที่ 3 การทดลอง ใช้หลักสูตร (R2)

น าหลักสูตรไปใช้กับ กลุ่มตัวอย่าง โดยวัด ความรู้เรื่องทาง การเงินก่อนและหลัง การใช้หลักสูตร และ ความพึงพอใจที่มีต่อ หลักสูตร

-ค านวณและ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย คะแนนความรู้เรื่อง ทางการเงินด้วย ค่าสถิติ t -ค านวณค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจที่มีต่อ หลักสูตร

ได้ทดลองใช้หลักสูตร กับกลุ่มตัวอย่าง และ ได้ข้อมูลคะแนน ความรู้เรื่องทาง การเงินทั้ง 3 องค์ประกอบรวมถึง ค่าเฉลี่ยความพึง พอใจที่มีต่อหลักสูตร ระยะที่ 4 การประเมิน

ประสิทธิผลของ หลักสูตรและการ ปรับปรุงหลักสูตร (D2)

น าคะแนนที่ได้จาก ระยะที่ 3 ไปเทียบกับ เกณฑ์ประสิทธิผล ของหลักสูตรที่ตั้งไว้

และด าเนินการแก้ไข หลักสูตร

ใช้การวิเคราะห์

เนื้อหา

ได้หลักสูตรตาม แนวคิดการคิดเชิง กลยุทธ์เพื่อส่งเสริม ความรู้เรื่องทาง การเงินของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี

ฉบับสมบูรณ์

ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องทางการเงิน (R1)

การด าเนินการในระยะที่ 1 เป็นระยะที่ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จะใช้ในการพัฒนา หลักสูตรโดยผู้วิจัยได้ด าเนินการ 1.ศึกษาสภาพปัญหาและความจ าเป็นในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อ ส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงิน 2.ศึกษารายละเอียดและเป้าหมายรายวิชาศึกษาทั่วไป และ 3.ศึกษาประเด็นองค์ประกอบของความรู้เรื่องทางการเงิน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินจ านวน 6 ท่าน (ดังรายชื่อในภาคผนวก ก.) ได้มา จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยอาศัยเกณฑ์การพิจารณาได้แก่ เป็น อาจารย์ผู้สอนระดับปริญญาตรีทางด้านการการเงิน หรือพนักงานที่ท างานในสถาบันการเงิน บริษัทประกัน หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการลงทุนในหุ้นสามัญ กองทุนรวม หรือสินทรัพย์ทาง

การเงินประเภทอื่น ๆ ที่มีประสบการณ์การท างานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยผู้วิจัยเชิญมาเพื่อให้ความ คิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของความรู้เรื่องทางการเงิน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในระยะที่ 1 นี้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรู้เรื่อง ทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และแบบส ารวจความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้ทางการเงินโดยมีรายละเอียดการสร้างทั้ง 2 เครื่องมือดังนี้

1.ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องทางการเงิน เพื่อน าไปใช้

เป็นข้อมูลในการก าหนดองค์ประกอบและองค์ประกอบย่อยของความรู้เรื่องทางการเงินในแบบ สัมภาษณ์

2.จัดท าร่างแบบสัมภาษณ์ที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่อง ทางการเงิน

3.จัดท าร่างแบบส ารวจความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้

ทางการเงิน

4.น าร่างแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและร่างแบบส ารวจไปให้อาจารย์ที่

ปรึกษาพิจารณาความถูกต้องและครอบคลุม

5.ปรับแก้ไขแบบสัมภาษณ์และแบบส ารวจตามค าแนะน าของอาจารย์ที่

ปรึกษา

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1.ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขออนุญาตส่งแบบสัมภาษณ์ให้พิจารณาล่วงหน้าและ นัดวันเวลาเพื่อสัมภาษณ์เกี่ยวกับองค์ประกอบและองค์ประกอบย่อยของความรู้เรื่องทางการเงิน

2.สัมภาษณ์ประเด็นความรู้เรื่องทางการเงินกับผู้เชี่ยวชาญทางการเงินทาง โทรศัพท์และช่องทางออนไลน์

3.ส ารวจความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทางการเงินจ านวน 400 คน

4.รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและส ารวจนักศึกษาเพื่อน าไป ประมวลผลและสรุปเป็นประเด็นส าคัญที่เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องทางการเงินที่จะน าไปใช้ในการ พัฒนาหลักสูตรต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

1.น าข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์

เนื้อหา

2.น าข้อมูลที่ได้จากแบบส ารวจนักศึกษามาวิเคราะห์ด้วยการนับความถี่และหา ค่าร้อยละ

ระยะที่ 2 การจัดท ารายละเอียดของร่างหลักสูตร (D1)

การด าเนินการในระยะที่ 2 เป็นระยะที่ผู้วิจัยด าเนินการพัฒนาร่างหลักสูตร เอกสาร ประกอบหลักสูตร (แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน และแบบวัดความพึง พอใจที่มีต่อหลักสูตร) และประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของร่างหลักสูตรและเอกสาร ประกอบหลักสูตร โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 5 ท่าน ที่ได้มาจากการเลือกแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) โดยอาศัยเกณฑ์การพิจารณาได้แก่ เป็นอาจารย์ที่มีความ เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน การวัดและประเมินผล หรือ การสอนวิชาทางการเงิน เป็น เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยผู้วิจัยเชิญมาเพื่อประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของร่าง หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อ หลักสูตร (ดังรายชื่อในภาคผนวก ข.)

กลุ่มนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรบริหารธุรกิจ บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จ านวน 18 คนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเศรษฐกิจเพื่อชีวิตในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยผ่านการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในระยะที่ 2 ได้แก่ 1. ร่างหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์

เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและแผนการจัดการเรียนรู้ 2.

แบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน 3. แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร 4.แบบประเมินความ เหมาะสมและสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมิน ความเหมาะสมและสอดคล้องของแบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน และแบบประเมินความ เหมาะสมและสอดคล้องของแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร โดยมีรายละเอียดการสร้าง เครื่องมือดังนี้

1.ร่างหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทาง การเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

1.1 น าผลการศึกษาจากระยะที่ 1 มาก าหนดเป็นร่างหลักสูตรที่ประกอบ ไปด้วยหัวข้อ ความเป็นมาของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้าง เนื้อหาของหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัด และประเมินผล

1.1.1 ความเป็นมาของหลักสูตร พิจารณาจากสภาพปัญหาทางด้าน การเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจากข้อมูลที่มีการสรุปไว้จากรายงานวิจัย บทความวิชาการ และ ข่าว จากหน่วยงานต่างๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมไปถึงข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน

1.1.2 หลักการของหลักสูตร พิจารณาจากประเด็นปัญหาต่างๆที่ระบุ

ในความเป็นมาของหลักสูตรทั้งเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดหลังจากใช้หลักสูตร และแนวทางที่

น ามาประกอบการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตร

1.1.3 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร พิจารณาจากประเด็นที่กล่าวถึงใน ความเป็นมาของหลักสูตรในส่วนที่เป็นการวัดความรู้เรื่องทางการเงินที่เป็นสากลของประเทศต่างๆ แล้วน ามาก าหนดเป็นเป็นจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1.1.4 โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร พิจารณาจากจุดมุ่งหมายของ หลักสูตร และก าหนดเป็นโครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์กันกับจุดมุ่งหมายของ หลักสูตร

1.1.5 หน่วยการเรียนรู้ พิจารณาจากโครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร โดยมีการก าหนดสาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของ ความรู้เรื่องทางการเงินที่เป็นตัวแปรตามของการศึกษาในครั้งนี้ รวมถึงสอดคล้องกับหลักการตาม แนวคิดเชิงกลยุทธ์

1.1.6 แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พิจารณาจากจุดประสงค์

การเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยระบุขั้นการสอน วิธีการสอน กิจกรรมระหว่างการเรียน ใบ งาน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดเป็นขั้นตอนตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์ และเกิดความรู้เรื่องทาง การเงินตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

1.1.7 สื่อการเรียนรู้ พิจารณาจากความสอดคล้องกับแนวทางการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ และแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์