• Tidak ada hasil yang ditemukan

ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้

ตาราง 11 ต่อ

รายการประเมิน ค่าIOC การแปลผล

10.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้เรื่องทาง การเงินทั้ง 3 ด้านคือ ความรู้ทางการเงิน ทัศนคติทางการเงิน และ พฤติกรรมทางการเงินที่ดี

1.00 เหมาะสม

11.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมี

บทบาทในกิจกรรม รวมถึงได้คิดแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย

1.00 เหมาะสม

12.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง สามารถประยุกต์ใช้ในการวางแผนชีวิตได้จริง

1.00 เหมาะสม

13.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้ภาษาในการเรียบเรียงชัดเจน เรียงล าดับตามความยากง่าย น าไปสู่การปฏิบัติได้ เหมาะสมกับ เวลาและระดับชั้นของผู้เรียน

1.00 เหมาะสม

สื่อการเรียนรู้/สื่อการเรียนการสอน

14.สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระการเรียนรู้

1.00 สอดคล้อง

15.สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรม การเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดได้ง่ายขึ้น เข้าใจสิ่งที่

เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

1.00 เหมาะสม

16.สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้มีความทันสมัย ช่วยกระตุ้นความ สนใจของผู้เรียน เหมาะสมกับเวลา และระดับชั้นของผู้เรียน

1.00 เหมาะสม

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

17.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีความชัดเจนสอดคล้องกับ หลักการของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

1.00 สอดคล้อง

18.มีการวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้น สภาพจริง

1.00 เหมาะสม

19.เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีความชัดเจน สามารถ น าไปสู่การปฏิบัติได้

1.00 เหมาะสม

จากตาราง 11 พบว่าผลการประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของแผนการ จัดการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านมีค่าดัชนีสอดคล้องเท่ากับ 1.00 จ านวน 19 รายการ จึงสรุป ได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนด สามารถน าไปใช้ในการ วิจัยต่อไปได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ท าการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ตามข้อเสนอของ ผู้ทรงคุณวุฒิให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยมีสาระส าคัญที่ด าเนินการปรับปรุงดังนี้

1. ตรวจสอบวิธีสอนหรือเทคนิคการสอนที่ระบุในแนวทางการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้กับในแผนการจัดการเรียนรู้ว่าตรงกันหรือไม่ แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง

2. ตรวจสอบจุดประสงค์การเรียนรู้ทุกแผนการจัดการเรียนรู้ว่าตรงกับที่ระบุ

ในหลักสูตรหรือไม่ แล้วแก้ไขให้ตรงกัน

3. ควรมีการระบุในแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผนว่าสอดคล้องกับหลักการ ตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์ขั้นใด

4. ควรปรับแก้บางประโยคหรือบางค าศัพท์ที่เข้าใจยากให้ง่ายขึ้น

2.3 การจัดท าแบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อ หลักสูตร

2.3.1 แบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อ หลักสูตร

แบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน ประกอบด้วย แบบวัดความรู้ทางการเงินที่เป็น ข้อสอบแบบอัตนัยจ านวน 14 ข้อ แบบวัดพฤติกรรมทางการเงินจ านวน 25 ข้อและแบบวัดทัศนคติ

ทางการเงินจ านวน 40 ข้อ ในขณะที่แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรประกอบไปด้วยค าถาม จ านวน 27 ข้อที่ผ่านการจัดท าตามขั้นตอนที่ระบุในบทที่ 3 โดยมีรายละเอียดของแบบวัดแสดง ในภาคผนวก จ. ซึ่งผู้วิจัยน าแบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อ หลักสูตรไปประเมินความเหมาะสมและสอดคล้อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 5 ท่านและน ามา ค านวณค่าดัชนีความสอดคล้องพบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านมีค่าดัชนีสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกรายการ จึงสรุปได้ว่าแบบวัดความรู้เรื่อง ทางการเงิน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร สามารถน าไปใช้ในการวิจัยต่อไปได้

2.3.2 การประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของแบบวัดความรู้เรื่องทาง การเงิน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร

การประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของแบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านมีค่าดัชนีสอดคล้องเท่ากับ 1.00 จ านวน 79 รายการ ในขณะที่การ ประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรมีค่าดัชนีความ

สอดคล้องเท่ากับ 1.00 จ านวน 27 รายการจึงสรุปได้ว่าแบบวัดความรู้เรื่องทางการเงินและแบบวัด ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนด สามารถน าไปใช้ในการ วิจัยต่อไปได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ท าการปรับปรุงแบบวัดความรู้เรื่องทางการเงินตามข้อเสนอของ ผู้ทรงคุณวุฒิให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

ตอนที่ 3 ผลของการทดลองใช้หลักสูตร

จากการน าหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงิน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชา การสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ชั้นปีที่ 3 จ านวน 27 คนตาม แผนการจัดการเรียนรู้ มีข้อค้นพบดังนี้

3.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องทางการเงินก่อนการใช้หลักสูตร และหลังทดลองใช้หลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงินของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้วิจัยท าการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องทางการเงิน ด้วยสถิติทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน และแสดงผลดังตารางต่อไปนี้

ตาราง 12 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องทางการเงินก่อน