• Tidak ada hasil yang ditemukan

บริหารจัดการโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

สกลนคร

5. บริหารจัดการโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

74 วิสัยทัศน์

ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เป็นองค์กรนาการพัฒนาคุณภาพ การมัธยมศึกษา มุ่งสู่มาตรฐานสากล

พันธกิจ

1. เร่งรัดและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

2. ส่งเสริมและร่วมพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

3. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและเครือข่ายต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา

4. สร้างความพร้อมของส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครให้สามารถ บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์

1. สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

2. สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพที่เข้มแข็ง โดยมีผลการประเมินคุณภาพที่เข้มแข็ง โดยมีผลการประเมินคุณภาพภายในระดับที่ดีขึ้นไป ร้อยละ 90

3. สถานศึกษาทุกแห่งมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการ โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน 4. ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร มีความเข้มแข็งในการบริหาร จัดการ และการพัฒนาคุณภาพการมัธยมศึกษา

กลยุทธ์ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

2. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น 3. พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา 4. พัฒนาผู้น าการเปลี่ยนแปลง

75 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยในประเทศ

คมกริช ภูคงกิ่ง (2560) ได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัด สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดส านักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 และ 3) เพื่อสร้างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดส านักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 การวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จานวน 570 คน ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้จานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่

แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถาม สภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และวิธีเสริมสร้างสมรรถนะ แบบประเมินความเหมาะสม

และความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้

ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 30 ตัวชี้วัดคือ 1) การสร้างและพัฒนาหลักสูตรมี 5 ตัวชี้วัด 2) การออกแบบการเรียนรู้มี 6 ตัวชี้วัด 3) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญมี 7 ตัวชี้วัด 4) การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้มี 6 ตัวชี้วัดและ 5) การวัดและประเมินผล การเรียนรู้มี 6 ตัวชี้วัด 2. สภาพที่ปัจจุบันของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับปาน กลางส่วนสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และวิธีเสริมสร้าง สมรรถนะมี 5 วิธี คือการประชุมปฏิบัติการ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนงาน การนิเทศ และกระบวนการพี่เลี้ยง 3. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบของ โปรแกรม 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 4) เนื้อหา และสาระส าคัญประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ได้แก่การออกแบบการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นส าคัญการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผลโปรแกรมส่วน รูปแบบและวิธีการพัฒนามี 4 ขั้นตอน 1) เตรียมการ 2) พัฒนา 3) บูรณาการระหว่างปฏิบัติงาน และ4) ประเมินผลหลังการพัฒนา

ปิยะมาศ ทองเปลว (2560) ได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้าง

สมรรถนะของครูปฐมวัยส าหรับสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี

เขต 4 มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้าน

76 การจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยส าหรับสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 4 2) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยส าหรับ สถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 และ 3) เพื่อพัฒนา โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยส าหรับสถานศึกษาสังกัดส านักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและ สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยโดยรวมมีความต้องการอยู่

ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างหลักสูตรที่

เหมาะสม ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้านการสร้าง

สภาพแวดล้อมที่เอื้ออ านวยต่อการเรียนรู้ของเด็กด้านการบูรณาการเรียนรู้ 2) ผลการศึกษาวิธีการ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยส าหรับสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 พบว่ามีการเสริมสร้างสมรรถนะ ดังนี้ 1) การพัฒนาตนเอง 2) การพัฒนาโดยสถานศึกษา และ 3) การพัฒนาโดยหน่วยงานต้นสังกัด 3.) โปรแกรมการเสริมสร้าง สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยมีองค์ประกอบของโปรแกรม ได้แก่ 1) ที่มาและความส าคัญ ของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 4) โครงสร้างของโปรแกรม 5) เนื้อหาและสาระส าคัญของโปรแกรมประกอบด้วย 3 โมดูล ประกอบด้วย โมดูล 1 การวิเคราะห์

หลักสูตร โมดูล 2 การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและโมดูล 3 การประเมินพัฒนาการ และการเรียนรู้ โดยใช้เวลาในการพัฒนา 35 ชั่วโมง วิธีการพัฒนาได้แก่ 1) การศึกษาด้วยตนเอง 2) การศึกษาดูงาน 3) การอบรมกระบวนการพัฒนา 3 ขั้น คือขั้นที่ 1 การประเมินก่อนการพัฒนาขั้น ที่ 2 การพัฒนา ขั้นที่ 3 การประเมินหลังการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้

ของครูปฐมวัย มีความเหมาะสมโดยรวมระดับมาก และความเป็นไปได้โดยรวมระดับมาก สามารถ น าไปใช้ในการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

วรนิษฐา เลขนอก (2560) ได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้

ส าหรับสถานศึกษาสังกัดส านักงานประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 นี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ส าหรับ สถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อพัฒนา โปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ส าหรับสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้ง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 ปีการศึกษา 2557 จากโรงเรียนจ านวน 182 โรงเรียน จ านวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ใน

77 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงล าดับความคาดหวัง โดยใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ส าหรับสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 สภาพปัจจุบันโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) โปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ส าหรับ สถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

อรุโณทัย ระหา (2560) ได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครู

ด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของโรงเรียนในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่

พึงประสงค์ของโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของโรงเรียนในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) เพื่อพัฒนา โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของโรงเรียนในสังกัด ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 การวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันจัดการ เรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์จัดการเรียนรู้

โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาล าดับความต้องการจ าเป็น ในการพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL)

ของโรงเรียนในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 เรียงล าดับตาม ความต้องการจ าเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหนังสือเรียนและใบงาน/ด้านห้องเรียนเปลี่ยน สมอง/ด้านสนามเด็กเล่น/ด้านพลิกกระบวนการเรียนรู้/และด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้

2) โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของโรงเรียน ในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 มีองค์ประกอบดังนี้ 1) ที่มาและ ความส าคัญของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เป้าหมาย 4) วิธีการพัฒนา

5) องค์ประกอบของโปรแกรม 6) รายละเอียดของเนื้อหา มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ประกอบด้วย 6.1) ด้านสนามเด็กเล่น 6.2) ด้านห้องเรียนเปลี่ยนสมอง 6.3) ด้านพลิกกระบวนการเรียนรู้

6.4) ด้านหนังสือเรียนและใบงาน และ 6.5) ด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ 6.6) แนวการจัด กิจกรรม 6.7) เทคนิคและเครื่องมือ และ 6.8) การประเมินผลผลการประเมินความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้ของโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของโรงเรียนในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า

มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ