• Tidak ada hasil yang ditemukan

ก าหนดเป้าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง

สกลนคร

1. บทบาทของผู้สอน ควรด าเนินการดังนี้

2.1 ก าหนดเป้าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง

2.2 เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้

ตั้งค าถาม คิดหาค าตอบหรือหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ

2.3 ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองและน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ

2.4 มีปฏิสัมพันธ์ ท างาน ท ากิจกรรมร่วมกับกลุ่มหรือครู

41 2.5 ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง

เอียน สมิธ และอนงค์ วิเศษสุวรรณ (2550) ได้ให้องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ไว้ว่า ครูตั้งเป้าหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าการให้ผู้เรียน ฟังครูบรรยายตลอดบทเรียน ครูจะใช้เวลาไม่มากให้ข้อมูลเบื้องต้นแนะแนวทาง เวลาส่วนใหญ่จะเน้น ให้ผู้เรียนได้ท ากิจกรรม เช่น อภิปรายกลุ่มย่อยศึกษาข้อมูลจากต ารา ห้องสมุดหรืออินเทอร์เน็ต ระดมความคิด สร้างโครงการ ผลิตผลงานการแสดงบทบาทสมมุติการแก้ปัญหา ทั้งหมดนี้อยู่บนฐาน ความคิดว่า ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ด้วยการเรียนอย่างมีส่วนร่วม (Active) มากกว่าการเรียนแบบรับฟัง (Passive) ฟังหรือรับรู้จากสิ่งที่ครูสอนเป็นเวลานานการเรียนอย่างมีส่วนร่วมจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าที่จะพยายามเข้าใจความรู้ที่ครูน ามาสอน การประเมินการเรียน ครูประเมิน ว่าบทเรียนที่วางแผนไว้นั้นบรรลุจุดมุ่งหมายหรือไม่การประเมินการเรียนจ าแนกได้ 2 แบบ คือ ประเมินเพื่อการปรับปรุงเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการเพื่อใช้ข้อมูลมาประกอบการพิจารณาว่า วิธีการจัดการเรียนรู้สื่อการเรียนที่วางแผนไว้นั้น ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือไม่ประเมิน เพื่อสรุปเป็นการประเมินหลายมิติ เพื่อวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งวัดจากความสามารถ และทักษะของผู้เรียน แฟ้มสะสมผลงาน โครงการ รายงาน เป็นการวัดตามสภาพจริงแทนการวัด โดยการทดลองเพียงอย่างเดียว ที่เคยท ามาในอดีต โดยครูจัดการเรียนรู้ที่มีลักษณะของการจัดการ เรียนรู้ ประกอบด้วย

1. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมต้องมีความหลายหลาย เพื่อเอื้อต่อวิธีการเรียนรู้ที่

แตกต่างกันของผู้เรียน ท าให้ผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้ สามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา การท าวิธีที่

ยืดหยุ่น (Flexible Approach) มาใช้ในการเรียนและการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ได้หลายวิธี

เช่น การเรียนแบบเปิด (Open Learning) การเรียนทางไกล (Distance Learning) การเรียนโดยใช้

สื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Mediated Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) ซึ่งมีข้อดี คือ

1.1 สามารถเรียนได้มากและรวดเร็ว 1.2 สามารถเข้าถึงบริการการศึกษาได้ง่าย 1.3 สามารถเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 1.4 สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

1.5 สามารถเข้ารับบริการการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและอยู่ที่ไหนก็เรียนได้สามารถ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา

2. เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ โดยเนื้อหาและกิจกรรมต้องตอบสนองความสนใจของ ผู้เรียนและผู้เรียนสามารถเรียนได้เต็มศักยภาพ โดยเน้นการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดสภาพการเรียนรู้ควรจัดในลักษณะดังต่อไปนี้

42 2.1 ให้ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเลือกเวลาเรียนได้ตามความต้องการ

2.2 ผู้เรียนสามารถเลือกสถานที่เรียนได้ตามความสะดวก 2.3 ผู้เรียนสามารถเลือกเนื้อหาที่จะเรียนได้ตามความสะดวก

2.4 การจัดหน่วยการเรียน (Modules) หรือโปรแกรมการเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาและเลือกที่จะเรียนกับครูและเพื่อนคนอื่น ๆ ได้หลากหลาย

2.5 กิจกรรมการเรียนและการประเมินต้องสัมพันธ์กันอาจจัดได้หลากหลาย ให้เป็นทางเลือกในการเรียนการสอน ได้แก่ การเรียนเป็นคู่ หรือการเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือเรียนโดยการปรึกษากับครู

2.6 สภาพการเรียนรู้ ต้องเกิดจากผู้เรียนลงมือปฏิบัติหรือลงมือกระท าด้วย ตนเอง(Active Learners) ไม่ใช่การเรียนแบบเป็นผู้รับ (Passive Learners) ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมใน กระบวนการเรียนการสอนและการประเมินในลักษณะต่าง ๆ การเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียน การสอนท าได้โดยการปรับกระบวนการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน กล่าวคือ

2.6.1 ด้านโครงสร้างของหลักสูตร การจัดโครงสร้างของหลักสูตรต้องเป็น หลักสูตรที่เป็นทางเลือกตามความสนใจของผู้เรียน ไม่ใช่เป็นหลักสูตรหรือวิชาที่ถูกบังคับให้เรียน

2.6.2 ด้านเนื้อหาของหลักสูตร การจัดเนื้อหาของหลักสูตรต้องเป็นหลักสูตร แกนกลางผนวกกับโครงงานหรือกรณีศึกษา หรือเป็นสัญญาการเรียนที่ครูกับนักเรียนร่วมกันก าหนด

2.6.3 ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน วิธีการจัดการเรียนการสอนต้องเป็น การเรียนรู้จากปัญหาหรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.6.4 ด้านการปฏิสัมพันธ์ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ในการเรียนมีการประชุม ปรึกษาร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียนหรือมีครูเป็นผู้ให้ค าปรึกษา

2.6.5 ด้านการประเมินผล ต้องเป็นการประเมินโดยกลุ่มเพื่อน และการประเมินตนเองหรือมีการประเมินผลร่วมกันและครู

กล่าวโดยสรุป ในการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนเป็นบุคคลส าคัญที่สุด ส่งผลให้การจัดการ เรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 บรรลุตามวัตถุประสงค์ของ หลักสูตร อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา ครูผู้สอนส่วนใหญ่มิได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นส าคัญ กล่าวคือ ไม่สามารถออกแบบ การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน อีกทั้งยังขาดการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ไม่บรรลุผลเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามการจัดกิจกรรม การเรียนรู้จะบรรลุผลได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู

การแสวงหาความรู้ การใช้หลักจิตวิทยา การใช้สื่อ การออกแบบการเรียนรู้ และที่ส าคัญยิ่งคือ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

43 ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2554) ได้อธิบายถึงรายละเอียด ดังนี้

1. การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การบูรณาการ หมายถึง การน า ศาสตร์หรือความรู้วิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันน ามาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืน เพื่อน ามา จัดเป็นการจัดการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกัน เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดยมีการเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นการสร้างความรู้ของ ผู้เรียนที่มากกว่าการให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้ก าหนดการจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอน ของครูผู้สอนแบ่งออก ดังนี้

1.1 การบูรณาการภายในวิชา มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจน าวิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น

1.2 การบูรณาการระหว่างวิชามีจุดเน้นอยู่ที่การน าวิชาอื่นเข้าเชื่อโยงด้วยกัน ตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป โดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถน าเข้ามาบูรณาการด้วยกันได้

ไม่จ าเป็นว่าต้องทุกวิชา หรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้เป็นการน าวิชา หรือศาสตร์ต่าง ๆ เชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน ประโยชน์ของการบูรณาการ ได้แก่

ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้งและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้

ความเข้าใจในลักษณะองค์รวมช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ ความเข้าใจจากสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ท างานร่วมกันหรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข และส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือน าเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้

2. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน การออกแบบ การจัดการเรียนรู้ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ชี้วัดสมรรถนะ ของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอน และเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ และบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ก าหนดการออกแบบการเรียนรู้ในภาคเช้าของ เวลาเรียนแต่ละชั้นปี เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมส าหรับพัฒนาให้เรียนอ่านเขียน และคิดเลขให้คล่อง ภาคบ่ายเป็นการออกแบบการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งในและ

นอกห้องเรียนนั้นเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้น าความรู้ไปใช้ในประสบการณ์จริง

3. การใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลาย การจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นส าคัญ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะกระบวนการ เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และมวลประสบการณ์ของผู้สอนให้แก่ผู้เรียนซึ่งในปัจจุบันเป็นยุคของการปฏิรูปการเรียนรู้

ผู้สอนจึงเปลี่ยนบทบาทจากการสอนมาเป็นการจัดการเรียนรู้และผู้อ านวยการสะดวกผู้เรียนจะต้อง อาศัยกระบวนการที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะน าพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร

กระบวนการเรียนรู้ที่จ าเป็นส าหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้าง