• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการศึกษา

การศึกษาในครั้งนี้ ได้ท าการศึกษาโดยแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จ านวนทั้งสิ้น 400 คน และท าการศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้

บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล(Telemedicine)กลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่เคยใช้บริการแต่คิดว่ามี

แนวโน้มที่จะเลือกใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และกลุ่มตัวอย่างที่ยัง ไม่เคยใช้บริการแต่ทราบว่ามีบริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล(Telemedicine) ทั้งหมด 382 คน คิดเป็นร้อยละ 95.5 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สามารถสรุปผลการศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

5.1.1 ผลการศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม

การศึกษาในครั้งนี้ ได้ท าการศึกษาถึงปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบ แบบสอบ โดยท าการแจกแบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม

ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 74.25 มีอายุ 21 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.25 มีสถานภาพ โสด คิดเป็นร้อยละ 63.50 มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 66.75 ประกอบอาชีพ พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 79.50 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 40,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 67.75 และส่วนใหญ่ยังไม่เคยใช้บริการแต่ทราบว่ามีบริการระบบบริการการแพทย์

ทางไกล (Telemedicine) คิดเป็นร้อยละ 51.50

5.1.2 ผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)

การศึกษาในครั้งนี้ ได้ท าการศึกษาถึงการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์

ทางไกล (Telemedicine) โดยท าการศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้บริการระบบบริการการแพทย์

ทางไกล (Telemedicine) กลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่เคยใช้บริการแต่คิดว่ามีแนวโน้มที่จะเลือกใช้บริการ ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่เคยใช้บริการแต่ทราบว่ามี

บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้งหมด 382 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยรวม อยู่ในระดับเห็น ด้วยมาก (x̅ = 3.82, S.D. = 0.71) โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นด้วยมากที่สุด ในด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ (x̅ = 3.89, S.D. = 0.77) โดยเฉพาะประเด็น ระบบบริการการแพทย์

ทางไกล (Telemedicine) เพิ่มความรวดเร็วในการรักษาพยาบาลมากยิ่งขึ้น (x̅ = 4.03, S.D. = 0.91) รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ความง่ายของการใช้เทคโนโลยี (x̅ = 3.79, S.D. = 0.75)

โดยเฉพาะประเด็น สามารถน าเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) มา ประยุกต์ใช้กับการด าเนินชีวิตในปัจจุบัน (x̅ = 3.88, S.D. = 0.81) และด้านทัศนคติต่อการใช้งาน/

ความตั้งใจในการใช้งาน (x̅ = 3.78, S.D. = 0.71) โดยเฉพาะประเด็น เห็นด้วยกับการน าบริการ ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) มาให้บริการ (x̅ = 3.87, S.D. = 0.80) ตามล าดับ 5.1.3 ผลการศึกษาการตัดสินใจใช้บริการ ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)

การศึกษาในครั้งนี้ ได้ท าการศึกษาถึงการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์

ทางไกล (Telemedicine)โดยท าการศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้บริการระบบบริการการแพทย์

ทางไกล(Telemedicine) กลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่เคยใช้บริการแต่คิดว่ามีแนวโน้มที่จะเลือกใช้บริการ ระบบบริการการแพทย์ทางไกล(Telemedicine) และกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่เคยใช้บริการแต่ทราบว่ามี

บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล(Telemedicine)ทั้งหมด 382 คนพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยรวม อยู่ในระดับเห็น ด้วยมาก (x̅ = 3.84, S.D. = 0.76) โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดใน

ประเด็น ทราบถึงประโยชน์ของการใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ท าให้มีความ ต้องการที่จะใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) มากขึ้น (x̅ = 3.89, S.D. = 0.82) และมีความตั้งใจที่จะใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) อย่างต่อเนื่องในอนาคต (x̅ = 3.89, S.D. = 0.85) รองลงมาคือ จะแนะน าให้บุคคลอื่นใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (x̅ = 3.85, S.D. = 0.82)ตามล าดับ

5.1.4 ผลการทดสอบสมมติฐาน

การศึกษาครั้งนี้มีสมมติฐานในการทดสอบจ านวน 3 สมมติฐาน โดยมีผลการทดสอบ สมมติฐาน ดังต่อไปนี้

5.1.4.1 การทดสอบสมมติฐานข้อ 1

จากการทดสอบสมมติฐานข้อ 1 สรุปได้ว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ที่มีปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ ด้านเพศ ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีการยอมรับ เทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้

ความง่ายของการใช้เทคโนโลยี ด้านทัศนคติต่อการใช้งาน/ความตั้งใจในการใช้งาน และการยอมรับ เทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เป็นเพศชายและ เพศหญิง มีการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในแต่ละด้าน น้อยกว่าประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เป็นเพศทางเลือก

และประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีปัจจัยลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ ด้านอาชีพ ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์

ทางไกล (Telemedicine) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้ความง่ายของการใช้เทคโนโลยี และ การยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมี

นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ประกอบ อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน เกษตรกร และพ่อบ้าน/แม่บ้าน มีแนวโน้มมีการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในด้านดังกล่าว น้อยกว่าประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ อาชีพอื่น ๆ และว่างงาน

5.1.4.2 การทดสอบสมมติฐานข้อ 2

จากการทดสอบสมมติฐานข้อ 2 สรุปได้ว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ที่มีปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ ด้านเพศ ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีการตัดสินใจใช้

บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่

ระดับ .05 โดยพบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เป็นเพศชายและเพศหญิง มี

การตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)น้อยกว่าประชาชนในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เป็นเพศทางเลือก

5.1.4.3 การทดสอบสมมติฐานข้อ 3

จากการทดสอบสมมติฐานข้อ 3 สรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้

บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) (Y) คือ การยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการ การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ (X1) และการยอมรับเทคโนโลยีระบบ บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ด้านทัศนคติต่อการใช้งาน/ความตั้งใจในการใช้งาน (X3) โดยทั้ง 2 ปัจจัยมีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) (Y) ในทิศทางเดียวกันหมายความว่า ถ้าประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการ ยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ (X1) และด้านทัศนคติต่อการใช้งาน/ความตั้งใจในการใช้งาน(X3)เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ประชาชนในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) (Y) เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มี

การยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์

(X1) และด้านทัศนคติต่อการใช้งาน/ความตั้งใจในการใช้งาน(X3) ลดลง จะส่งผลให้ประชาชนในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) (Y) ลดลงด้วยเช่นกัน โดยมีแบบจ าลองปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) (Y) ดังนี้

Y = 0.04 + 0.21X1 + 0.79X3 + ε

Garis besar

Dokumen terkait