• Tidak ada hasil yang ditemukan

การบูรณาการความร่วมมือในการวางแผนและพัฒนาเมือง

2.3 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ “การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน”

2.3.3 การบูรณาการความร่วมมือในการวางแผนและพัฒนาเมือง

การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ไม่ได้พิจารณาเพียงแค่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน แต่ยังมีนัยยะ ส าคัญในการยกระดับในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นแนวทางที่

ภาครัฐพึงกระท าด้วยการตั้งสมมติฐานและชักชวนให้ประชาชนออกความคิดเห็นเพื่อร่วมก าหนด นโยบายและข้อก าหนดร่วมกัน ในทางเดียวกัน ได้สร้างช่องทางให้ประชาชนจ านวนมากมีโอกาส ในการแสดงทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ และความอัจฉริยะเพื่อร่วมสร้างเมืองร่วมกัน (Haapio, A., 2012 อ้างถึงใน ภาวิณี เอี่ยมตระกูล, 2563, น. 364) ในหนังสือ “การวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน” ได้ระบุถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการวางแผนส าหรับ การวางแผนพัฒนาเมือง ที่จะประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอาจเป็นทั้งผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไว้ดังนี้6

1. ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน (Related Professions) ต้องอาศัย ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อสร้างความครอบคลุมของการด าเนินงาน

(1) สถาปนิก (Architects) ในการวางแผนจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสถาปนิก เข้ามาดูแลในกระบวนการวางแผนเมืองโดยเฉพาะในประเด็นของการใช้ประโยชน์ที่ดินและ

6 ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. (2561). การวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน. หน้า 114-116

การออกแบบเมือง โดยบทบาทส าคัญของสถาปนิกไม่เพียงแต่เข้ามาช่วยการวางแผนพิมพ์เขียว เท่านั้น (Blueprint) แต่ยังมาช่วยในการบูรณาการการออกแบบลักษณะทางกายภาพของเมือง และในประเด็นอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ชุมชนต้องการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของพื้นที่เพื่อให้เกิด ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สถาปนิกจะมีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารด้วยการใช้

นวัตกรรม อาทิ วิสัยทัศน์ในการมอง เป็นต้น

(2) ที่ปรึกษาทางด้านผังเมือง (Urban Planning Consultants) หน่วยงาน ท้องถิ่นอาจจะต้องใช้ที่ปรึกษาทางด้านผังเมือง เพื่อเข้ามาช่วยในกระบวนการวางแผนเมือง ซึ่งในความเป็นจริง แล้วในพื้นที่เมืองเล็กๆ บางครั้ง ไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการ วางแผนเมือง ในกรณีนี้จึงต้องใช้ที่ปรึกษาทางด้านผังเมืองเข้ามาเป็นคณะกรรมการในการจัดท า ผังเมืองรวม เพื่อให้ครอบคลุมทิศทางการพัฒนาในด้านต่างๆ ของเมือง นอกจากนี้ หากเป็น พื้นที่เมืองใหญ่ ในบางครั้งจะมีการจัดจ้างที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านผังเมือง เพื่อช่วยเป็นที่ปรึกษาให้การด าเนินการประสบความส าเร็จ รวมถึงให้หัวหน้าชุมชนเข้ามาเป็น ที่ปรึกษาในการวางแผน เพื่อให้ช่วยพัฒนาแผนผังที่ออกแบบได้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

(3) วิศ วกรโยธาและขน ส่ง (Civil and Transportation Engineering) สามารถเข้ามาช่วยในการวางแผนและประเมินโครงการ เพื่อดูความคุ้มค่าด้านการลงทุน

(4) นักวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (Environmental Scientists and Engineering) สามารถเข้ามาช่วยในกระบวนการเมินผลกระทบโครงการและช่วยท าความเข้าใจ ผลกระทบในอนาคตของการพัฒนาโครงการ

(5) ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Development Consultants) ช่วยในการวางแผนและด าเนินงานด้านการพัฒนาที่ดินและการฟื้นฟูพื้นที่

(6) ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและการตลาด (Tourism and Marketing Experts) ช่วยพัฒนาแผนและตารางกิจกรรมเพื่อช่วยจัดการทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นให้

สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามายังพื้นที่

(7) นักวิเคราะห์ประชากรศาสตร์และเศรษฐกิจ (Demographers and Economist) ช่วยในการประเมินเงื่อนไขของเศรษฐกิจและสังคม และช่วยอธิบายการเปลี่ยนแปลง ของชุมชนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

(8) นักกฎหมาย (Lawyers) เป็นผู้ก าหนดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัด โซนนิ่ง และสร้างนโยบายสาธารณะโดยสามารถประเมินกฎหมายที่มีอยู่ในพื้นที่และพัฒนา ข้อก าหนดกฎหมายใหม่ เพื่อท าให้เกิดการวางแผนและพัฒนาโครงการ

2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Community Stakeholder)

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) หมายถึง บุคคล ชุมชน หรือองค์การ ที่ให้ความสนใจต่อผลการด าเนินการและกิจกรรมขององค์การ แผนงาน ซึ่งผลการด าเนินงาน ขององค์การและแผนงานนั้นสามารถส่งผลบวกและผลลบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยตัวอย่าง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ หน่วยงานผู้ด าเนินการวางแผน หน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนผู้บริโภค สื่อสารมวลชน หรือองค์การมูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลก าไร (NGOs) ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคล องค์กร สถาบัน หรือชุมชนที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางบวก และลบจากการตัดสินใจหรือจากการที่มีโครงการหรือนโยบายนั้น นอกจากนี้ยังมีความหมาย ครอบคลุมถึงผู้ไม่เกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจด้วย เช่น องค์การระดับชาติ สถาบันการศึกษา องค์การเอกชน รัฐบาลท้องถิ่น คู่สัญญา เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้ (ภาวิณี เอี่ยมตระกูล, 2556) คือ

(1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (Key Stakeholders) คือ ผู้ซึ่งสามารถมี

อิทธิพลที่ส าคัญ หรือมีความส าคัญต่อความส าเร็จของกิจกรรม อาทิ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส าคัญ ต่อการผลิต และ/หรือการบริการตลอดจนการปรับปรุง

(2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้นพื้นฐาน (Primary Stakeholders) คือ บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากกิจกรรม ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบทางบวกหรือทางลบได้

โดยทั่วไปจะเป็นองค์การที่เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งหมายถึงชุมชนต่างๆ ทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และอื่นๆ

(3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้นรอง (Secondary Stakeholders) คือ ทุก หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากการด าเนินงานขององค์การซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อองค์การ โดยตรง อาทิ กิจกรรมบางประเภทที่เป็นที่เฝ้าติดตามจากหน่วยงานภายนอก อาทิ การให้บริการ ด้านสาธารณูปการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ จึงจ าเป็นต้องมีการก ากับดูแลกิจการที่ดี

(Good Governance) ตัวอย่างของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียมีองค์ประกอบดังนี้

- ผู้อยู่อาศัยในชุมชน (Residents) ผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนเป็นผู้ที่

ส าคัญที่สุดส าหรับการวางแผนชุมชน เป็นที่หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการวางแผน และผลที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่ของผู้ที่อยู่อาศัยจะมีส่วนร่วมอยู่ในการวางแผน เนื่องจากการรับรู้ถึง กระบวนการ ในชุมชนจะมีส่วนรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่จะเกิดขึ้น โดยผู้ที่อยู่อาศัยใน ชุมชนสามารถกระจายองค์ความรู้ที่มีอยู่ไปสู่การวางแผนและการสร้างประเด็นในการระบุความ

เป็นชุมชน เพื่อช่วยให้เกิดการสร้างระบบของการวางแผน ทิศทาง และยุทธศาสตร์ในการเดินหน้า และสามารถจัดหา การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการด าเนินการได้

- เจ้าของที่ดินและเจ้าของธุรกิจรายย่อย (Local Businesses and Property Owners) ในบางครั้งบุคคลกลุ่มนี้ อาจจะเป็นกลุ่มผู้ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีส่วนส าคัญของ การวางแผนเช่นเดียวกัน กลุ่มเจ้าของที่ดินและเจ้าของธุรกิจรายย่อย เป็นผู้ที่เป็นกลุ่มลงทุนหลัก ของพื้นที่โดยจะสามารถกระจายรายได้ให้ชุมชน ซึ่งสามารถช่วยการเติบโตของเมืองได้ใน ระยะยาว รวมถึงเป็นกลุ่มที่จะสามารถให้ไอเดีย และวิธีการใหม่ๆ ในการบริหารจัดการเมือง อาทิ

การวางแผนพื้นที่เฉพาะเพื่อพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมชุมชน กลุ่มภาคธุรกิจเหล่านี้ จะพยายาม มองหาแนวทางที่ท าให้ได้ประโยชน์ทั้งชุมชน ผู้อยู่อาศัย ภาครัฐและการเติบโตของเศรษฐกิจชุมชน

- ห น่ ว ย ง า น ภ า ค รัฐ (Community and Civic Organization) มีบทบาทส าคัญในกระบวนการวางแผน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่บริหารจัดการ การวางแผนของชุมชน เป็นกลุ่มที่พยายามหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ ยกตัวอย่าง เช่น หัวหน้าชุมชนพยายาม ที่จะจัดหาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้พิการทางร่างกาย ดังนั้น หน่วยงานของภาครัฐรับประเด็นมาจาก หัวหน้าชุมชนในการปรับปรุงเมือง จึงควรน าประเด็นการออกแบบที่อยู่อาศัย และดูแลผู้พิการ ในชุมชนเข้าสู่กระบวนการวางแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงประชาชนที่มีอยู่ในพื้นที่และ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คล้ายกันกับที่กรุงเทพมหานคร ได้นิยามหน่วยงานรับผิดชอบพื้นที่สีเขียวไว้ใน ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร (ส านัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล: ออนไลน์) ได้แก่ 1. กรุงเทพมหานคร หมายถึง พื้นที่สีเขียวซึ่ง หน่วยงานส านักสิ่งแวดล้อม และส านักงานเขตที่รับผิดชอบ 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง พื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นของหน่วยงานราชการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกเหนือจากส านักสิ่งแวดล้อม และส านักงานเขต 3. เอกชน หมายถึง พื้นที่สีเขียวซึ่งเป็น ของบริษัท ห้างร้าน ประชาชน 4. อื่นๆ หมายถึง พื้นที่สีเขียวซึ่งประกอบด้วย 1. ศาสนสถาน เช่น วัด มัสยิด โบสถ์คริสต์ 2. สถานศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย 3. พื้นที่สีเขียว ภายในชุมชน 4. พื้นที่อื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว

ความแตกต่างของกลุ่มองค์กรที่เป็นอิสระจากรัฐ (Non-State Actors) สามารถให้

ประโยชน์และคุณค่าของการปฏิสัมพันธ์แก่ภาครัฐในกระบวนการของการท างานตามเป้าหมาย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในท านองเดียวกัน การมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนและภาครัฐ สามารถระดมทรัพยากรและความช่วยเหลือทางเทคนิคได้ดีผ่านการเป็นพันธมิตร ด้วยความ