• Tidak ada hasil yang ditemukan

จากผลการศึกษา ท าให้พบประเด็นที่สอดคล้องตามหลักแนวคิดทฤษฎีจากการทบทวน วรรณกรรม ดังนี้

(1) การขับเคลื่อนงานพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นในลักษณะตามแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่

การขับเคลื่อนงานพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นใน ลักษณะตามแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ ที่ Robert B. Denhardt and Janet Vinzant Denhardt ได้น าเสนอไว้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความส าคัญกับพลเมืองและผลประโยชน์ของ สาธารณะบนพื้นฐานของค่านิยมประชาธิปไตย โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การท างาน ของหน่วยงานภาครัฐ ไม่ใช่การท างานในลักษณะตัวแสดงเดียว แต่ต่างมีวิธีการท างานที่ร่วม ประสานกันกับหน่วยงานทั้งในภาครัฐและนอกภาครัฐ ซึ่งมีขั้นตอนของการเจรจาต่อรอง เพื่อหาข้อสรุปให้มั่นใจได้ว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เสมือนเป็น

พันธสัญญาที่มีต่อพลเมืองและชุมชน โดยค านึงถึงคุณภาพชีวิตและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ เป็นส าคัญ ไม่ว่าจะเป็นการก่อรูปนโยบาย ด้วยตัวแสดงที่มีบทบาทในการผลักดันประเด็นทาง สังคมที่ร่วมดึงภาคีที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนและค้นหาแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียว ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลไปถึงการวางกรอบการด าเนินงานของ หน่วยงานต่างๆ ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ระเบียบกฎหมายในลักษณะเชิงบังคับสั่งการ แต่วาระ ทางสังคมนี้ เมื่อทุกคนในสังคมมองเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน จึงท าให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการก าหนดแผนงานที่มีความสอดคล้องกันกับนโยบายรวม ที่มีมาตั้งแต่ระดับนานาชาติ

อย่างมาตรฐานการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวจากองค์การอนามัยโลก การพัฒนาอย่างยั่งยืน จากสหประชาชาติ เมื่อลงมาในระดับพื้นที่ คือกรุงเทพมหานครนโยบายรวมของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเป้าหมายเรื่องของมหานครสีเขียวเป็นหนึ่งในทิศทางการพัฒนาเมือง ก็ได้ให้ความส าคัญกับ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่น การพัฒนาพื้นที่ย่าน หรือการสร้างพื้นที่

สาธารณะสีเขียวบางแห่งก็ถูกริเริ่มมาจากความเห็นของประชาชนที่ต้องการให้มีพื้นที่เหล่านี้ในเขต ชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการของประชาชน มีนัยยะมากจนเป็นตัวก าหนดโครงการ และ ในส่วนของการน านโยบายไปปฏิบัติการพัฒนาตัวพื้นที่ต่างๆ ในการออกแบบพื้นที่ ก็ได้อาศัย ความเห็นของประชาชน ซึ่งอาจมาในนามกลุ่มชุมชนหรือตัวแทนประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะโครงสร้างทางสังคมในแนวราบ (Horizontal society) ที่เป็น การบริหารจัดการเพื่อจัดหาบริการให้ได้ตรงกับปัญหา และความต้องการของแต่ละพื้นที่

(2) ตัวแสดงทางนโยบายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา กับแนวคิด เครือข่ายนโยบาย

ตัวแสดงที่เข้ามาร่วมกันพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร มีทั้งแบบที่เข้ามาร่วมด าเนินงานตามภารกิจหน้าที่ (function-based) และตามพื้นที่ที่ถูกพัฒนา (area-based) ทั้งตัวแสดงในภาครัฐและนอกภาครัฐ ที่มีอ านาจหน้าที่และความเชี่ยวชาญ ที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน เป็นเครือข่ายนโยบายที่มาด าเนินงานด้วยความสัมพันธ์แบบพึ่งพา

อาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีเป้าหมายที่เชื่อมโยงกันด้วยประเด็นพื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ การพัฒนาเมือง การส่งเสริมสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ สอดคล้องกับแนวคิดเครือข่ายนโยบาย

(Policy Network) โดยในโครงการหนึ่งๆ อาจประกอบด้วยหน่วยงานหลายภาคส่วน แต่ล้วนเป็น ส่วนประกอบที่ส าคัญต่อการพัฒนาพื้นที่นั้นๆ ซึ่งในแต่ละโครงการก็จะมีการประกอบด้วยตัวแสดง ที่แตกต่างกันไป และในแต่ละพื้นที่ที่พัฒนา การเข้ามามีบทบาทการด าเนินงานของตัวแสดงต่างๆ เป็นไปในลักษณะการผลัดเปลี่ยนเข้ามาต่างกันไปในแต่ละขั้นตอนภายใต้วงจรนโยบายสาธารณะ

ตั้งแต่จุดแรกเริ่มจากการก่อรูปนโยบาย โดยมีตัวแสดงในภาครัฐที่มีภารกิจด้านนโยบาย มามี

บทบาทในการผลักดัน ต่อมาในขั้นตอนของการก าหนดตัวโครงการ ก็จะมีกรุงเทพมหานครซึ่งเป็น ตัวแสดงหลัก ก าหนดแผนปฏิบัติราชการและโครงการ เพื่อไปสู่การน านโยบายไปปฏิบัติ โดยใน ส่วนนี้จะมีตัวแสดงทางนโยบายอื่นๆ เข้ามาร่วมด าเนินงานและสนับสนุนข้อมูลต่างๆ ไปจนถึงใน ขั้นตอนกระบวนการประเมินผล กรุงเทพมหานครก็เป็นผู้เก็บผล เพื่อประเมินการด าเนินงานของ หน่วยงานตนเองอยู่แล้ว และยังมีหน่วยงานอื่นที่เป็นตัวแสดงที่มีภารกิจการควบคุมเกี่ยวกับพื้นที่

สีเขียว กลายเป็นตัวชี้วัดที่แสดงผลของพื้นที่สาธารณะสีเขียวจนวนกลับมาว่ายังคงต้องมีการ ผลักดันเป็นโคจรเช่นเดิมอีกครั้งหรือไม่ ซึ่งแสดงให้เห็นภาพของตัวแสดงต่างๆ ที่มีบทบาทและ เข้ามาเติมเต็มในกระบวนการที่แตกต่างกันไป

(3) การประกอบขึ้นเป็นเครือข่ายนโยบาย เพื่อสนับสนุนการด าเนินงานของ ภาครัฐ จากความเชี่ยวชาญของตัวแสดงทางนโยบายทุกภาคส่วน

ปัญหาและอุปสรรคระหว่างทางของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ผ่านมา ที่เป็นผลมาจากข้อจ ากัดตามอ านาจหน้าที่และปัจจัยบางประการภายในหน่วยงานผู้รับผิดชอบ

การพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่เป็นตัวแสดงหลักในพื้นที่อย่างกรุงเทพมหานคร เช่น ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาการขาดทักษะเฉพาะด้าน ของเจ้าหน้าที่ เป็นปัจจัยที่ส าคัญที่ท าให้หน่วยงานอื่นๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงาน นอกภาครัฐใช้อ านาจตามภารกิจที่มีอยู่ มาเป็นตัวแสดงที่เข้ามาช่วยสนับสนุนในส่วนที่เป็นปัญหา หรือช่องว่างการด าเนินงานที่เคยเกิดขึ้น ให้กลายเป็นความร่วมมือระหว่างกันเพื่อขับเคลื่อน การพัฒนาต่อ เหมือนกันกับที่ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (2561, น. 114-116) ได้ระบุถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในกระบวนการวางแผนส าหรับการวางแผนพัฒนาเมือง ว่าจะมีการประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน (Related Professions) ซึ่งอาศัยผู้ที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อสร้างความครอบคลุมของการด าเนินงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Community Stakeholder) โดยความร่วมมือภายใต้เครือข่ายนโยบายที่เกิดขึ้นนี้นั้น เป็นลักษณะ ที่เกิดจากตัวแสดงที่มีความหลากหลายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแตกต่างกัน มาร่วมเสริม เติมในองค์ประกอบของเครือข่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ ทั้งภาคีภูมิสถาปนิก ภาคีสิ่งแวดล้อม ทางรุขกรรม ภาคีวิชาการ ที่ปรึกษาทางด้านการพัฒนาเมือง ร่วมกับตัวแสดงที่มีอิทธิพล ในกระบวนการ เช่น หน่วยงานผู้มีอ านาจด้านนโยบาย หน่วยงานผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ด้วยการ

สนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ทั้งแบบที่เป็นการชักชวนจากกรุงเทพมหานคร และแบบที่หน่วยงาน นอกภาครัฐเกิดความสนใจอยากเข้ามาร่วมด าเนินงานด้วย และแบบที่หน่วยงานนอกภาครัฐ

จากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐอื่นที่ไม่ใช่กรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอเรื่องเข้ามา โดยบทบาทของตัวแสดงต่างๆ ที่เข้ามาร่วมพัฒนา ไม่ใช่เพียงการมีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่

เท่านั้น แต่เป็นการเข้ามีส่วนร่วมตั้งแต่การผลักดันประเด็น การวางผังเมืองรวมที่มีผลต่อการ พัฒนาพื้นที่ การเก็บรวบรวมฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนา การด าเนินงานพัฒนา ตัวพื้นที่ การสนับสนุนองค์ความรู้ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างกิจกรรมภายใน พื้นที่ ไปจนถึงการเก็บรวบรวมเพื่อประเมินผล ไม่ใช่การพัฒนาเพื่อเพิ่มผลลัพธ์เชิงปริมาณ เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเพิ่มผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่สาธารณะสีเขียวด้วย

(4) ลักษณะความสัมพันธ์ในเครือข่ายนโยบาย และความเป็นทางการ ในความร่วมมือที่เกิดขึ้นแบบชั่วคราว

ในทางกลับกัน ความสัมพันธ์ของเครือข่ายการประสานความร่วมมือที่เกิดขึ้น มีลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์แบบชั่วคราว เนื่องจากพบข้อสังเกตในประเด็นนี้ว่า แม้ว่าจะมีการ

จัดตั้งคณะท างานอย่างเป็นทางการภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 เพื่อชักชวนภาคี

เครือข่ายเข้ามาร่วมกันด าเนินงานให้ไปสู่เป้าหมายร่วม แต่ไม่ได้มีการจัดตั้งองค์กรกลาง เพื่อมาบริหารจัดการงานพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวโดยเฉพาะ เป็นไปในลักษณะประสานงาน กันไปมาจากตัวแสดงต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ และเกิดจากทั้งหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบหลักที่หลากหลายกันไปตามแต่ละพื้นที่ที่พัฒนา อีกทั้งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นองค์กร ภาคประชาชนสังคมที่มาท าหน้าที่เป็นตัวกลาง จึงอาจท าให้ส่งผลไปถึงเรื่องความยั่งยืนของ เครือข่ายนโยบายที่เกิดขึ้น และแต่ละตัวแสดงมีบทบาทในการสนับสนุนแบบครั้งคราว ไม่ได้มีการ แลกเปลี่ยนทรัพยากร (resources exchange) หรือใช้ทรัพยากรร่วมกัน (resources pooling) ระหว่างหน่วยงานภาคี แต่เป็นการสนับสนุนในส่วนที่ขาดเหลือ อีกทั้งกระบวนการปรึกษาหารือ ระหว่างการด าเนินงานของภาคีเครือข่าย ไม่ได้มีก าหนดระยะเวลาหรือการประชุมที่ตายตัว จะเป็น การประชุมพูดคุยกันที่แตกต่างกันไปแต่ละโครงการหรือกิจกรรม ซึ่งก็อาจมีผลถึงความต่อเนื่อง และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคีสมาชิกในเครือข่ายเช่นกัน จึงท าให้ความร่วมมือที่เกิดขึ้น ไม่ถึงขั้น

เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะของ Collaboration หรือการบริหารจัดการแบบร่วมมือกัน ทั้งเครือข่ายนโยบาย แต่เป็นเพียงในลักษณะที่บางตัวแสดงก็เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะ Co-ordination ซึ่งมาร่วมมือกันภายใต้การท าข้อตกลงร่วม เช่น ข้อตกลงในการท างานวิจัยหรือ

ข้อตกลงในการใช้พื้นที่/ดูแลพื้นที่ ในขณะที่บางตัวแสดงก็เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะ Co-operation ที่มาสนับสนุนงานและให้ความช่วยเหลือภายใต้ขอบเขตงานของตนเอง เช่น การให้

งบประมาณเพื่อท ากระบวนการมีส่วนร่วม หรือทรัพยากรบุคคลที่มาร่วมออกแบบ