• Tidak ada hasil yang ditemukan

แนวคิดการพัฒนาชุมชนเมือง

2.3 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ “การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน”

2.3.1 แนวคิดการพัฒนาชุมชนเมือง

ชุมชนเมือง (Urban) หมายถึง ศูนย์กลางในการด าเนินกิจกรรมด้านการบริหาร การปกครอง การธุรกิจพาณิชย์ โดยใช้จ านวนประชากร กฎหมาย และหน้าที่เป็นตัวก าหนด ขนาดและขอบเขตของเมือง (สุภาวดี บุญฉัตร และคณะ, 2545) เป็นการอาศัยอยู่ร่วมกันของผู้คน ที่อาจมีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้น การสร้างชุมชนให้อยู่

ร่วมกันอย่างมีความสุข จึงต้องมีพื้นที่ซึ่งสร้างความหลากหลายทั้งส าหรับการอยู่อาศัย การเดินทาง เพื่อเป็นทางเลือกแก่ชุมชน รวมถึงการมีพื้นที่สาธารณะเพื่อการท านันทนาการ หรือ

เพื่อการท างานหรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งนั่นอาจเป็นความหมายของชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Community)

2.3.1.1 องค์ประกอบของความเป็นชุมชนเมือง

การเกิดขึ้นของเมืองสามารถอธิบายได้โดยอิงจากพัฒนาการของชุมชนเมือง ซึ่งต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการ (Shummadtayar, U., rt al., 2013 อ้างถึงใน ภาวิณี

เอี่ยมตระกูล, 2561, น. 10) ดังนี้

1. ประชากร (Population) ที่ประกอบด้วย กลุ่มคนแต่ละชาติพันธุ์ และมี

อาณาเขตของตนเองอยู่อย่างแน่ชัด มีกิจกรรมส่วนตัว และกิจกรรมกลุ่มที่หลากหลาย

2. ธรรมชาติแวดล้อม (Physical and Biotic Environment) โดยแต่ละ ธรรมชาติแวดล้อมจะมีบริบทความเหมาะสมของพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น สภาพภูมิศาสตร์ สภาพ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพนิเวศวิทยาอื่นๆ ที่จะเป็นตัวก าหนดระดับความ เหมาะสมที่มากน้อยว่าสามารถรองรับมนุษย์ และกิจกรรมของมนุษย์ได้เพียงใด

3. กิจกรรม (Activity) รูปแบบกิจกรรมมีพัฒนาการและมีความหลากหลาย เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตั้งแต่กิจกรรมพื้นฐานที่จ าเป็นในการด ารงชีวิตมนุษย์ กิจกรรมที่

เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมืองและอื่นๆ เป็นรูปแบบกิจกรรมเดี่ยวหรือ รวมกลุ่ม ขึ้นอยู่กับปัจจัยและอิทธิพลควบคุม

ดังนั้น เมื่อเกิดการรวมกันขององค์ประกอบพื้นฐานทั้งสาม จึงแสดงให้เห็นว่า สิ่งส าคัญคือ การรวมกลุ่มกันของผู้คน เพื่อด าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมี

สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบรองรับ และท าให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์

กับธรรมชาติแวดล้อมด้วยการสร้างบ้านเมือง (Human Niche) ตามมา

2.3.1.2 การวางผังเมือง (Urban Planning)

ตามหนังสือ “แนวทางสู่การออกแบบเมือง เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย”

(2559) ได้กล่าวว่า การพัฒนาโดยดูองค์ประกอบของเมืองที่เหมาะสม จะผลิดอกออกผลคุ้มค่า ให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยแบ่งการวางผังเป็นระดับต่างๆ ดังนี้

- การวางผังภาค คือ การวางแผนตามนโยบายกลางของประเทศ โดย

ค านึงถึงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ เพื่อก าหนดแนวทางโครงสร้างของเมือง

- การวางผังเมือง คือ การวางแผนตามลักษณะภูมิประเทศเป็นหลัก เน้นการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการวางแผนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ และบุคคลภายนอกมาช่วย การพัฒนา

- การวางผังโครงการ คือ การวางแผนพัฒนาบริเวณหนึ่งของเมือง ที่ต้อง พัฒนาเป็นพิเศษ โดยแบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ การอนุรักษ์บริเวณพื้นที่ (Conservation), การ ปรับปรุงบริเวณพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรม (Rehabilitation), การรื้อสร้างใหม่ (Redevelopment), การพัฒนาย่านอยู่อาศัยชานเมือง (Suburban Development), การก่อสร้างเมืองใหม่ หรือชุมชน บริวาร (New Town/Satellite Community) และการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม (Industrial Estate Development)

การวางผังโดยมีการล าดับชั้นที่หลากหลายระดับนี้ จึงเป็นหลักการวางแผน เพื่อกระจายการพัฒนาให้เกิดความสมดุลกัน กระจายจุดศูนย์กลางพื้นที่เมืองของประเทศ กระจายกิจกรรมไปตามลักษณะและบริบทของพื้นที่

2.3.1.3 การบูรณาการพื้นที่เพื่อเป็นชุมชนส าหรับทุกคน

การออกแบบชุมชนที่ดี (Great Neighbourhoods) จะต้องผสมผสานการใช้พื้นที่

ให้มีความหลากหลาย มีการพัฒนาพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมและสิ่งอ านวยความสะดวกควบคู่กัน โดยบูรณาการการวางแผนและการออกแบบร่วมกับชุมชนละแวกบ้านและพื้นที่ศูนย์กลางที่มีอยู่

ปรับเปลี่ยนให้อยู่อย่างกระชับ (Compact) สามารถเดินได้ (Walkable) มีการใช้พื้นที่อย่าง ผสมผสาน (Mixed Use) และมี การเชื่อม ต่ อของละแวกบ้านสูง (Highly-Connected Neighbourhoods) (ภาวิณี เอี่ยมตระกูล, 2563, น. 261) ซึ่งจะท าให้เกิดการแลกเปลี่ยนทาง วัฒนธรรม องค์ความรู้ กระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างผู้คน อาคาร การใช้ประโยชน์ที่ดิน

โดยมาตรฐานของการออกแบบละแวกบ้านที่ดี (Neighbourhood Planning & Design Standards)3 ประกอบด้วย

1. พื้นที่ทางธรรมชาติ (Natural Areas): การออกแบบชุมชนละแวกบ้านที่ดี

จะต้องออกแบบพื้นที่ทางธรรมชาติและพื้นที่อนุรักษ์

2. การใช้พื้นที่อย่างผสมผสาน (Mixed Land Uses): มีการสร้างทางเลือก หลากหลายรูปแบบ เช่น การอยู่อาศัย การท างาน และการพักผ่อน มีสวนสาธารณะส าหรับการ พักผ่อนและนันทนาการ เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงและเข้าใช้ได้ง่าย

3. ทางเลือกของการเดินทางหลายรูปแบบและการเชื่อมต่อ (Multi-Modal Choice and Connectivity): ต้องมีการสร้างทางเลือกเพื่อส่งเสริมการเดินทางภายในและ ภายนอกละแวกบ้าน

4. รูปร่างของเมืองแบบกระชับและหนาแน่น (Compact Urban Form &

Density): เป็นการออกแบบการใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ มีความหนาแน่นที่เหมาะสม เพื่อ สนับสนุนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะกับพื้นที่ศูนย์กลางของชุมชน

5. การบูรณาการพื้นที่สวนสาธารณะและพื้นที่ชุมชน (Integrated Parks &

Community Spaces): ควรออกแบบพื้นที่สาธารณะให้มีคุณภาพสูงและหลากหลาย ผสมผสาน ความรู้สึกผ่อนคลายและสร้างความนันทนาการ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและบูรณาการร่วมกัน ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ในชุมชน

6. ขนาดและประเภทของสวนสาธารณะ (Park Sizes and Types): ควร สร้างระบบเชื่อมต่อของโครงข่ายสีเขียว (Connectivity) ของพื้นที่สวนสาธารณะและพื้นที่โล่ง และกระจายพื้นที่ให้ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ในระยะ 400 เมตร

7. ทางเลือกของที่อยู่อาศัย (Housing Opportunity & Choice): มีที่อยู่อาศัย หลากหลายประเภทและผสมผสาน (Housing Opportunity & Choice)

8. สร้างชุมชนละแวกบ้านที่ยืดหยุ่นและผละกระทบต ่า (Resilient & Low Impact Neighbourhoods): ควรมีการออกแบบอาคารให้เกิดความยืดหยุ่นและปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงตามอัตราการเติบโตของประชากร สภาพภูมิอากาศ การก่อสร้างและการบ ารุงรักษา ในระยะยาว โดยจะต้องวางแผนให้อาคาร พื้นที่สาธรณะและสิ่งอ านวยความสะดวกต้อง

3 ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. (2563). การวางแผนและการพัฒนาเมืองเพื่อความยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 277-287

ปรับเปลี่ยนเพื่อเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Infrastructure) การพัฒนาสีเขียว (Green Development)

9. สร้างชุมชนละแวกบ้านที่ปลอดภัย (Safe Neighbourhoods): ออกแบบ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน พิจารณาถึงความปลอดภัยแก่คนเดินเท้าและคน ขี่จักรยาน ตลอดจนการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะและการบริการพื้นฐาน ทั้งในช่วงกลางวัน และกลางคืน

10. สร้างชุมชนละแวกบ้านให้มีอัตลักษณ์ (Unique Neighbourhoods Identity): ชุมชนละแวกบ้านจะต้องมีพื้นที่ที่กระตุ้นความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่ สร้างความ ผูกพันและผสมผสานด้วยองค์ประกอบทางธรรมชาติ หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สาธารณะ หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

การพัฒนาเมือง เพื่อสร้างความหมายของชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นการประกอบรวม ด้วยผู้คน สิ่งปลูกสร้าง ธรรมชาติแวดล้อม จึงจ าเป็นต้องมีการวางแผนในหลากหลายระดับ เพื่อผสมผสานการออกแบบเมือง ให้องค์ประกอบที่มีความแตกต่างเหล่านั้น สามารถอยู่รวม เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมและไม่ท าลายสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ ออกแบบสร้างพื้นที่หนึ่งที่ส าคัญ ที่จะสามารถสร้างสมดุลของผู้คนที่อยู่อาศัยภายในเมือง ด้วยการ รักษาความสัมพันธ์ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพื้นที่ได้ คือ พื้นที่สาธารณะสีเขียว