• Tidak ada hasil yang ditemukan

ข้อเสนอแนะ

5.3.1 ข้อเสนอแนะแนวทางในการประสานความร่วมมือหรือการสร้างเครือข่าย นโยบายในการด าเนินงาน

การพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่อาจสามารถขับเคลื่อน งานไปได้โดยตัวแสดงใดตัวแสดงหนึ่งอย่างแน่นอน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐเองก็ไม่อาจจัดท าและ ส่งมอบบริการสาธารณะได้อย่างเต็มก าลังโดยปราศจากความร่วมมือจากตัวแสดงอื่นๆ จากการศึกษาจึงขอเสนอแนะแนวทางในการประสานความร่วมมือหรือการสร้างเครือข่ายนโยบาย ดังนี้

(1) การปรับเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่: กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รับผิดชอบในพื้นที่ อาจต้องปรับเปลี่ยนบทบาท ด้วยการเป็นตัวกลางหรือเป็นผู้อ านวย ความสะดวก (Facilitator) ให้กับหน่วยงานภาคีอื่นๆ ที่มีศักยภาพ แทนการเป็นผู้มีบทบาทหลัก ในการพัฒนา แม้ว่าจะมีภารกิจเพื่อจัดท าบริการสาธารณะให้เกิดพื้นที่สาธารณะสีเขียวก็ตาม เนื่องด้วยข้อจ ากัดต่างๆ ที่มี เช่นในเรื่องของตัวพื้นที่ บุคลากร งบประมาณในการด าเนินงาน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับตัวแสดงทางนโยบายอื่นๆ ได้เข้ามาร่วมพัฒนาในพื้นที่โครงการต่างๆ กับกรุงเทพมหานครมากขึ้น จากเดิมที่มีโครงการ Green Bangkok 2030 เพื่อเป็นกลไกการ ขับเคลื่อนงานจากการประสานภาคีแต่ละส่วน เพื่อสนับสนุนนโยบายรวมในการสร้างพื้นที่

สาธารณะสีเขียวอยู่แล้ว เพราะหน่วยงานภาครัฐเอง ที่ไม่อาจสามารถขับเคลื่อนงานไปได้

โดยตัวแสดงเดียว ดังนั้น การลดบทบาทการเป็นผู้จัดท า ให้เป็นในลักษณะผู้ประสานมากขึ้น อาจช่วยให้เกิดการจับเอาตัวแสดงต่างๆ ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานทั้งในภาครัฐและนอกภาครัฐก็ได้

ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการปฏิบัติงานตามภารกิจอยู่แล้วได้มาร่วมมือกัน ให้หน่วยงานภาคีอื่นๆ ได้ท าหน้าที่ของหน่วยงาน ผ่านการประสานงานผู้รับผิดชอบโครงการ

(2) แพลตฟอร์มกลางที่มาเชื่อมทรัพยากรและสานต่อความสัมพันธ์

ระหว่างตัวแสดงในเครือข่าย: ควรมีแพลตฟอร์มที่จะมาเชื่อมต่อแต่ละตัวแสดงในแต่ละระดับ เพราะจากการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมา ท าให้เห็นว่าการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวประกอบขึ้น จากหน่วยงานที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการด าเนินงานภายใต้ขอบเขตภารกิจของตัวเอง โดยเข้ามามี

บทบาทในขั้นตอนที่แตกต่างกัน และในบางบทบาทอาจมีหลายตัวแสดง จึงเห็นว่าควรมี

แพลตฟอร์มกลางที่จะมารวมรวมทรัพยากร เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีหน่วยงานต่างๆ ได้ท าไว้

แยกกัน อาจช่วยให้เกิดการวิเคราะห์พื้นที่จากผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมมือกันภายใต้แพลตฟอร์มนี้

เป็นข้อมูลชุดเดียว ที่มีความเห็นจากภาคีทุกภาคส่วนแทน หรือการเป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยสร้าง ให้เกิดการพบปะพูดคุย การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารระหว่างกัน เช่นการค้นพบพื้นที่

รกร้างว่างเปล่าที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ การมีหน่วยงานที่อยากเข้ามาร่วมด าเนินในส่วนต่างๆ เพื่อไม่ให้เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะทางเดียว แต่เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์โดยไม่ได้อยู่ภายใต้

หน่วยงานรับผิดชอบใดรับผิดชอบหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีหน่วยงานนอกภาครัฐที่เป็นผู้ด าเนินงาน ภาคสังคมที่ร่วมด าเนินกับพื้นที่ชุมชนมาเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างตัวแสดงอยู่หลายกลุ่ม จึงเห็นว่า หากมีการสร้างแพลตฟอร์มกลางที่มาสนับสนุนงานได้อย่างเป็นรูปธรรม จะช่วยให้ตัวแสดงทาง นโยบายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐและนอกภาครัฐ ได้เข้ามาร่วมมือภายใต้แพลตฟอร์มของการ ขับเคลื่อนงานพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียว ที่มีการแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ

ด้วยหน้าที่ที่ไม่ทับซ้อนกัน ทั้งเรื่องของการเชื่อมต่อที่ดิน องค์ความรู้ งบประมาณ และให้หน่วยงาน ภาคีที่พร้อมสนับสนุนได้ท างานตามเป้าประสงค์ ซึ่งนั่นเป็นการช่วยลดปัญหาของภาครัฐไปในตัว

(3) การสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนของเครือข่ายนโยบาย: ควรมีการปรับ กลไกการเชื่อมโยงให้เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมการท างานเป็นไปในแบบ Ecosystem ภายใต้

บริบทของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวโดยเฉพาะ เพื่อประสานความร่วมมือและการส่งเสริม กันเป็นห่วงโซ่อุปทานระหว่างหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญตามภารกิจที่แตกต่างกันของ แต่ละกลุ่มองค์กร เมื่อมีนโยบายผลักดัน และมีผู้เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างตัวแสดง ในเรื่องของ การจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งส าคัญที่จะท าอย่างไรให้หน่วยงานภาคีบางส่วน ที่ไม่ได้มีงบประมาณสม ่าเสมอ สามารถมาสนับสนุนงานพื้นที่สาธารณะสีเขียวได้ ซึ่งในส่วนนี้

อาจมาจากการระดมทุนหรือการจัดตั้งกองทุน เพื่อเป็นเงินอุดหนุนในการน าไปเป็นงบประมาณ ที่เสริมต่อการขับเคลื่อน เช่น การจัดจ้างที่ปรึกษาหน่วยงานนอกภาครัฐมาส ารวจพื้นที่ศักยภาพ การท าวิจัย การท ากระบวนการมีส่วนร่วม การจัดจ้างรุกขกรดูแลพื้นที่สีเขียว การส่งเสริมให้เกิด การจัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างสม ่าเสมอ ให้มีรายได้ทางการค้าสู่ชุมชน ซึ่งอาจช่วยสร้างให้

ตัวแสดงต่างๆ เหล่านั้น สามารถด าเนินงานภายใต้ภารกิจของตนเองได้ด้วย และสนับสนุนงานของ ภาครัฐได้อีกทาง ให้เป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกันในเครือข่ายให้คงอยู่ร่วมกันได้ทุกๆ ฝ่าย อย่างยั่งยืน ให้การขับเคลื่อนพื้นที่สาธารณะสีเขียวตอบโจทย์นโยบายรวมร่วมกัน และได้ประโยชน์

กันทุกฝ่าย ไม่เป็นเพียงแค่การด าเนินงานที่เกิดขึ้นและจบไปตามแต่โครงการหรือกิจกรรมเท่านั้น 5.3.2 ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป

การศึกษาวิจัยนี้ เป็นเพียงการค้นหาค าตอบโดยการมองภาพรวมของตัวแสดงทาง นโยบายต่างๆ ที่เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร ข้อเสนอแนะในการท าวิจัยครั้งต่อไป ควรจะต้องมีการศึกษาเชิงลึกเพิ่มเติมในระดับจุลภาค เพื่อให้ทราบถึงตัวแสดงต่างๆ ภายในเครือข่ายนโยบายที่มาร่วมกันด าเนินงาน ซึ่งอาจพบตัวแสดง ที่มากขึ้นและอาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละตัวโครงการหรือพื้นที่ที่พัฒนา