• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

ตาราง 7 ระดับความสามารถทางการอ่าน จากการประเมินความสามารถทางการอ่าน (RT)

8. การวัดและประเมินผล

4.3 การพัฒนาโปรแกรม

การพัฒนาโปรแกรมเป็นสิ่งที่นักพัฒนาการศึกษาด าเนินการจัดท าขึ้นเพื่อให้ผู้รับ โปรแกรมมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้สูงขึ้น โดยมีการประเมินความต้องการของผู้รับโปรแกรม อย่างถูกต้อง ชัดเจน โดยกระตุ้นความต้องการไปสู่ความสนใจในการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์

การเรียนรู้อันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ ทัศนคติ และทักษะของ ผู้เข้าร่วมโปรแกรม (จุฑารัตน์ คชรัตน์, มนต์ทิวา ไชยแก้ว, และ นุรชีตา เพอแสละ, 2561) ซึ่งได้มี

ผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมไว้ ดังนี้

Mclaughlin และ Eaves, 1976, อ้างถึงใน นฤมล มณีงาม (2547) ได้เสนอแนวคิด เกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การประเมินผลผู้เรียน (Assessment) เป็นการประเมินผู้เรียนก่อนเข้าร่วม โปรแกรม โดยอาจได้จากการสัมภาษณ์ การสอบถามผู้ปกครอง ครู หรือนักเรียน การใช้แบบ

ตรวจสอบรายการเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน หรือข้อมูลที่ได้จากการทดสอบหรือการสังเกต เพื่อ น ามาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างโปรแกรม

2. การตั้งเป้าหมายและจุดประสงค์การสอน (Setting Goals and Instructional Objectives) การก าหนดเป้าหมายตามหลักสูตร และก าหนดจุดมุ่งหมายในการสอนที่แสดงถึง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างเฉพาะเจาะจง

3. การวิเคราะห์ผลงาน (Task Analysis) เป็นขั้นตอนการตีความทักษะและ เนื้อหาการเรียนเป็นขั้นตอนย่อย ๆ โดยอาจเรียงตามล าดับความยากง่ายของเนื้อหาเพื่อให้มีความ เหมาะสมกับลักษณะความรู้หรือพฤติกรรมของผู้เรียน

4. การเลือกใช้กลยุทธ์และวัสดุอุปกรณ์ในการสอน (Selection and use of Instructional Strategies including Materials) คือการก าหนดถึงวิธีการสอน การฝึกหัด การ ให้ผลป้อนกลับ การเสริมแรง และการให้ค าแนะน าแก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสม รวมทั้งการจัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน

5. การประเมินผลโปรแกรม (Program Evaluation) คือการประเมินพฤติกรรม หรือการบรรลุตามเป้าหมายในการเข้าร่วมโปรแกรมของผู้เรียน ซึ่งหากผู้เรียนไม่สามารถบรรลุได้

ตามวัตถุประสงค์ของโปรแกรมต้องมีการตรวจสอบข้อบกพร่องของโปรแกรมและปรับปรุง

บุญชม ศรีสะอาด (2541) กล่าวว่า โปรแกรมที่สมบูรณ์ต้องมีแบบทดสอบวัด ความก้าวหน้าของการเรียนโดยท าการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และทดสอบหลังเรียน (Post- test) แล้วน ามาพิจารณาว่าหลังเรียนผู้เรียนแต่ละคนมีผลคะแนนมากกว่าก่อนเรียนมากน้อย เพียงใด ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมที่ดีต้องประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ศึกษาหลักสูตรอย่างละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการสอน ทั้งด้านหลักสูตรและเนื้อหาที่จะน ามาสอน รวมทั้งทฤษฎีในการสอน

ขั้นที่ 2 ก าหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างโปรแกรมและเครื่องมือที่จะใช้วัด ประเมินผลของโปรแกรม เพื่อก าหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่คาดหวังว่าภายหลังการใช้โปรแกรม ผู้เรียนจะได้เกิดการเรียนรู้อะไร

ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ภารกิจ (Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ผู้สอนทราบว่า ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในเนื้อหานั้น ๆ ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานหรือพฤติกรรม ใดบ้าง ทั้งก่อน ระหว่างเรียน และพฤติกรรมเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนคือ อะไร

ขั้นที่ 4 สร้างแบบทดสอบ เพื่อน ามาใช้ในการวัดประเมินผลโปรแกรมโดยยึด วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นหลัก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ทราบผลของโปรแกรมยังท า ให้ได้ทราบถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับในระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรม ซึ่ง สามารถพิจารณาได้จากการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบหลังเรียนกับก่อนเรียน

Boyle (1981) ได้เสนอว่ากระบวนการพัฒนาโปรแกรมเชิงพัฒนามีลักษณะส าคัญที่

การก าหนดวัตถุประสงค์ของโปรแกรม เริ่มจากสภาพความต้องการ และน ามาด าเนินการดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การก าหนดพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนและกลุ่มผู้รับบริการ ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาผลที่พึงประสงค์

ขั้นตอนที่ 4 ก าหนดแหล่งทรัพยากรและการสนับสนุน ขั้นตอนที่ 5 การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 6 โปรแกรมการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ 7 ความน่าเชื่อถือของการใช้ทรัพยากร ขั้นตอนที่ 8 รายงานผลโปรแกรม

4.4 การประเมินโปรแกรม

หลักการและรูปแบบในการประเมินโปรแกรมตามมาตรฐานที่ก าหนด ที่พัฒนาโดย The Joint Committee on Standards of Educational Evaluation ภายใต้การด าเนินงานของ Stufflebeam และคณะได้น าเสนอหลักการประเมินเพื่อเป็นบรรทัดฐานของกิจกรรมการตรวจสอบ รูปแบบ ประกอบด้วยมาตรฐาน 4 ด้าน ดังนี้ (Yarbrough, Shulha, Hopson, และ Caruthers, 2011)

1. มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ (Utility Standards) เป็นการประเมินการ สนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม

2. มาตรฐานความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) เป็นการประเมินความ เป็นไปได้ในการน าโปรแกรมไปปฏิบัติจริง

3. มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) เป็นการประเมิน โปรแกรมในด้านความเหมาะสมทั้งในทางด้านกฎหมายและศีลธรรมจรรยา

4. มาตรฐานด้านความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy Standards) เป็นการ ประเมินความน่าเชื่อถือและได้สาระครอบคลุมครบถ้วนตามความต้องการของโปแกรม

4.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม

กานดา ศรีพรวิสิฐ (2539) ได้ท าการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริม ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรมชี้นการคิดในการอ่าน ส าหรับ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างโปรแกรม ส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมชี้น าการคิดในการอ่าน 2) การทดลองใช้โปรแกรม และ 3) การปรับปรุงโปรแกรม ตัวอย่างประชากรในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนสุขานารี จังหวัดนครราชสีมา จ านวน 30 คน ท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการ ทดลองใช้โปรแกรมพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจใน ระดับการอ่านตามตัวอักษร และการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจในระดับการอ่านตีความของ นักเรียหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเข้าร่วม โปรแกรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยของคะแนน ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่า เกณฑ์การประเมินก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

อังคณา ชัยมณี (2540) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการอ่าน ภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม ส าหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาโปรแกรม ส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคการ แข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม 2) การทดลองใช้โปรแกรมเพื่อดูผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาไทยเพื่อ ความเข้าใจของนักเรียนหลังจากการสอนที่จัดในโปรแกรม 3) การปรับปรุงโปรแกรม ตัวอย่างที่ใช้

ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนชุมชนบ้านฝือพิทยาภูมิ

จังหวัดอุดรธานี จ านวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบค่าที ซึ่งผลการทดลองใช้โปรแกรมพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่าน ภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าเกณฑ์การประเมินหลังเข้าร่วม โปรแกรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนบางส่วนที่เข้าร่วมโปรแกรมมีความ คิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในโปรแกรมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก และนักเรียนบางส่วนมีความ คิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในโปรแกรมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง

ศิรประภา พงศ์ไทย (2542) ได้ท าการวิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการสอน ภาษาแบบธรรมชาติส าหรับครูอนุบาลโดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์ โดยพัฒนาโปรแกรมฯ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เตรียมการ ขั้นที่ 2 สร้างโปรแกรมฯ ขั้นที่ 3 ทดลองใช้โปรแกรมฯ ขั้นที่ 4 ปรับปรุงโปรแกรมฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกรณีศึกษาคือครูอนุบาลจ านวน 17 คน ในกลุ่ม ชุมชนแห่งการเรียรู้นวัตกรรมการสอนภาษาแบบธรรมชาติสองโรงเรียน สังกัดส านักงานการศึกษา เอกชน กรุงเทพมหานคร และสังกัดส านักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ประเมินการสอน ภาษาแบบธรรมชาติด้วยแบบประเมินพฤติกรรมการสอนที่สะท้อนหลักการสอนภาษาแบบ ธรรมชาติของครูอนุบาล และประเมินความพึงพอใจของครูและผู้บริหารด้วยแบบสัมภาษณ์

โปรแกรมฯ ที่ปรับปรุงแล้วจะประกอบด้วยแนวคิด หลักการ ความมุ่งหมาย เนื้อหา การด าเนินการ ใช้โปรแกรมฯ และการประเมินผล การใช้โปรแกรมฯ จะด าเนินการแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะการพัฒนาครู ระยะที่ 2 เริ่มการปฏิบัติงาน ระยะที่ 3 พัฒนางาน ระยะที่ 4 สรุปการ ปฏิบัติงาน โดยกระบวนการเรียนรู้ของครูจะเริ่มจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับการ สอน การเก็บรวบรวมสารนิทัศน์ การไตร่ตรองสะท้อนความคิด การปฏิบัติที่สะท้อนการก่อรูป ความรู้ความเข้าใจ ระยะที่ใช้โปรแกรมฯ ไม่ต ่ากว่า 24 สัปดาห์ โดยผลการทดลองพบว่า 1) ภายหลังการใช้โปรแกรมฯ ครูทั้งหมดมีพฤติกรรมการสอนที่สะท้อนหลักการสอนภาษาแบบ ธรรมชาติอยู่ในระดับ 3 ขึ้นไปทุกรายการ 2) ผลการประเมินในระยะเริ่มการปฏิบัติงานกับหลังการ ใช้โปรแกรมซึ่งมี 20 รายการ พบว่าครูทั้งหมดมีพฤติกรรมการสอนที่สะท้อนหลักการสอนภาษา แบบธรรมชาติสูงขึ้นอย่างน้อยหนึ่งระดับใน 16 รายการ 3) ครูและผู้บริหารทั้งหมดมีความพึงพอใจ เกี่ยวกับการด าเนินการใช้โปรแกรมฯ อยู่ในระดับมาก ลักษณะเด่นของโปรแกรม คือ เน้นให้ครูเป็น ผู้สร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้การสอนภาษา แบบธรรมชาติ

จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนอง ต่อความหลากหลาย ความสามารถทางด้านภาษาไทย และการพัฒนาโปรแกรม ผู้วิจัยเห็นว่า แนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความหลากหลายมีความเหมาะสมและสามารถ น ามาพัฒนาเป็นโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยส าหรับนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ที่นักเรียนมีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความสามารถ ทางภาษาในระยะแรกเริ่มและช่วยลดปัญหาที่จะส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ในรายวิชา ภาษาไทยที่จะมีความยากยิ่งขึ้นต่อไปหรือส่งผลต่อความสามารถในการเรียนในรายวิชาอื่น ๆ อย่างเหมาะสมต่อศักยภาพของนักเรียนแต่ละบุคคล