• Tidak ada hasil yang ditemukan

ใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน

บทที่ 2

ตาราง 7 ระดับความสามารถทางการอ่าน จากการประเมินความสามารถทางการอ่าน (RT)

13. ใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน

14. แสดงความเอาใจใส่ต่อเด็กด้วยการเดินมาหาเด็ก หรือเรียกชื่อเด็กบ่อย ๆ 15. เสริมแรงเด็กอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์เกิดขึ้นอย่างคงทน 16. แบ่งการสอนเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ

17. ลดบรรยากาศความตึงเครียดในการเรียน โดยหลีกเลี่ยงการก าหนดระยะเวลาใน การส่งงาน และการเรียนในรูปแบบการแข่งขัน ควรเน้นให้เรียนรู้ผ่านการร่วมมือ เพื่อไม่ให้เด็กเกิด ความตึงเครียด

2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางภาษา

สกุณา นองมณี (2549) ได้ท าการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านค าที่มีสระ ประสมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับช่วงชั้นที่ 1 โดยใช้เพลง กลุ่มตัวอย่างที่

ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านค าที่มีประสมด้วยสระ เอีย เอือ อัว ที่ก าลังศึกษาอยู่ในระดับช่วงชั้นที่ 1 ปีการศึกษา 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่

แผนการจัดการเรียนรู้จ านวน 30 แผน เพลงที่ประสมด้วยสระเอีย เอือ อัว และแบบทดสอบ ความสามารถในการอ่านค าที่ประสมด้วยสระเอีย เอือ อัว วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยด้วยค่ามัธยฐาน และพิสัยควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทักษะในการอ่านค าที่ประสมด้วยสระเอีย เอือ อัว ของนักเรียนที่ได้รับการฝึกโดยใช้เพลงอยู่ในระดับดี ความสามารถในการอ่านค าที่ประสมด้วย สระเอีย เอือ อัว ของนักเรียนที่ได้รับการฝึกโดยใช้เพลงสูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

กีรติ กุลบุตร (2553) ได้ท าการวิจัยเรื่อง ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาที่มีความ บกพร่องทางการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือนักเรียนที่ก าลังศึกษาในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่ได้รับการประเมินจากโรงเรียนว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้จ านวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แผนการจัดการเรียนรู้

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ The Wilcoxon Match Pairs Signed-Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน

เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดลง เนื่องจากได้ใกล้ชิดผู้ปกครอง ส่งผลให้เชื่อฟังผู้ปกครองมากขึ้น

ดารณี ศักดิ์ศิริผล (2555) ได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถอ่านและเขียน ค าที่สะกดตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

โดยใช้วิธี P-Lips กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนสะกดค า ก าลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนสังกัดส านักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ก าลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร จ านวน 5 คน เลือกโดยใช้วิธีเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้อ่านและเขียนค าที่มีตัวสะกดตรงตาม มาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้วิธี P-Lips จ านวน 33 แผน ใช้เวลาสอนแผนละ 60 นาที แบบทดสอบวัดความสามารถอ่านและเขียนค าที่มี

ตัวสะกดตรงตามมาตรา แบ่งเป็น 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบวัดความสามารถอ่านค าที่มี

ตัวสะกดตรงตามมาตรา เป็นแบบทดสอบอัตนัย วัดความสามารถอ่านออกเสียงเป็นค า และสะกด ค า ใช้ประเมินเป็นรายบุคคล จ านวน 20 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบทดสอบวัดความสามารถเขียนค าที่มี

ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา เป็นแบบทดสอบอัตนัย วัดความสามารถในการเขียนค าตามที่ผู้

ทดสอบพูด ใช้ประเมินเป็นรายบุคคล จ านวน 20 ข้อ ท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยควอไทล์ การเปรียบเทียบความสามารถอ่านและเขียนค าที่มี

ตัวสะกดตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ก่อนและหลังการสอนโดยใช้วิธี P-Lips โดยการวิเคราะห์คะแนนก่อนและหลังจากการสอน โดยใช้

วิธี P-Lips โดยใช้สถิติทดสอบ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หลังการสอนโดยใช้วิธี P- Lips มีความสามารถอ่านค าที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราอยู่ในระดับดี ความสามารถเขียนค าที่มี

ตัวสะกดตรงตามมาตราอยู่ในระดับดี หลังการสอนโดยใช้วิธี P-Lips นักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้มีความสามารถอ่านค าที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราสูงขึ้น และความสามารถเขียน ค าที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราสูงขึ้น

ศิวพร ธีรลดานนท์ (2556) ได้ท าการวิจัยเรื่องการศึกษาความสามารถอ่านและเขียน ค าที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้จากการสอนโดยใช้วิธีการสอนของแฮร์บาร์ต (HERBART FORMAL STEP) ร่วมกับ

เทคนิค CCC (Copy Cover Compare) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนสะกดค าที่มีระดับสติปัญญาปกติขึ้นไป ซึ่งเป็นนักเรียนที่

ไม่มีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยินหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย ก าลังศึกษาอยู่ใน ระดับชั้นปีที่ 3 โรงเรียนวัดลาดพร้าว จ านวน 6 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการด าเนินการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน และ เขียนค าที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สื่อการสอนประกอบแผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน และเขียนที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสอนของแฮร์บาร์ต ร่วมกับเทคนิค CCC แบบทดสอบความสามารถอ่านค า และแบบทดสอบความสามารถในการเขียค าที่สะกดไม่

ตรงตามมาตราตัวสะกด การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้การหาค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยควอ ไทล์ และสถิตินอนพาราเมตริก The Signed Test for Median: One Sample เพื่อน ามา เปรียบเทียบความสามารถอ่าน และเขียนค าที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนกลุ่ม ตัวอย่าง และท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทดสอบ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Rank Test ในการวิจัยพบว่า ภายหลังการสอนโดยใช้วิธีการสอนของแฮร์บาร์ต ร่วมกับเทคนิค CCC นั้น นักเรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้มีความสามารถอ่านค าที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด อยู่ในระดับดีมาก ความสามารถเขียนค าที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด อยู่ในระดับดีมาก ความสามารถอ่านและเขียนสะกดค าที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด หลังการสอนโดยใช้

วิธีการสอนของแฮร์บาร์ต ร่วมกับเทคนิค CCC สูงขึ้น (T= 0, p < .05)

สุชนินธ์ บัณฑุนันทกุล (2557) ได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการสอนซ่อม เสริมตามแนวประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อ ความเข้าใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนประถมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ภาคปลาย ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือแบบทดสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้

สถิติร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ผลการ พัฒนากระบวนการสอนซ่อมเสริมตามแนวประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ที่

พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดการเรียน การสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นการวินิจฉัยปัญหาการอ่าน ขั้นการสอน ขั้นการประเมินผล และการ ประเมินผล ผลของการใช้กระบวนการสอนซ่อมเสริมฯ คือ หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนน ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เกศรินทร์ ศรีธนะ (2559) ได้ท าการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้

เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวม ตาม กระบวนการอาร์ทีไอ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือครูโรงเรียนสาธิตราชภัฏเชียงราย ผู้อ านวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูภาษาไทย ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา พิเศษ ครูช านาญการพิเศษที่มีประสบการณ์ท างานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและโรงเรียน เรียนรวม นักเรียนที่ก าลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการดูแลชั้นเรียนรวม ชุดเทคนิคการสอนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียน รวมพร้อมคู่มือการใช้ แบบประเมินการอ่าน การเขียน ชุดสื่อและชุดฝึกอบรมการใช้สื่อการสอน พร้อมคู่มือการใช้คู่มือการดูแลนักเรียนในชั้นเรียนรวม แบบประเมินความสามารถด้านการอ่าน การเขียน ชุดเทคนิคการสอนเฉพาะส าหรับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน การเขียน แบบประเมิน ความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การ เขียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบการอ่าน การเขียน และแบบประเมินความเหมาะสมของ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน การวิจัยในเรื่องนี้ท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมส าเร็จรูป SPSS และใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การ เขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวม ตามกระบวนการอาร์ทีไอ อยู่

ในระดับดี 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวม ตามกระบวนการอาร์ทีไอ 2.1 ความสามารถด้าน การอ่าน การเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการอ่าน การเขียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงขึ้น 2.2 ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการช่วยเหลือด้านการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก 3. ความเหมาะสมของ การน ารูปแบบการประเมินความเหมาะของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับดี

อัญชิสา ธนศิริกุล (2559) ได้ท าการวิจัยเรื่อง ผลของการใช้แอพพลิเคชั่นการสอน อ่านสะกดค าภาษาไทยร่วมกับวิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนที่มีต่อความสามารถในการอ่าน สะกดค าภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาทางการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่

ใช้ในการทดลองคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่มีปัญหาการอ่าน ภาคปลาย ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ