• Tidak ada hasil yang ditemukan

แบบเขียนตอบอิสระ จ านวน 1 ข้อ ให้คะแนน 4 คะแนน (ส าหรับกรรมการตรวจให้

บทที่ 2

ตาราง 7 ระดับความสามารถทางการอ่าน จากการประเมินความสามารถทางการอ่าน (RT)

3. แบบเขียนตอบอิสระ จ านวน 1 ข้อ ให้คะแนน 4 คะแนน (ส าหรับกรรมการตรวจให้

คะแนนจะมีคะแนน 0, 2, 4 คะแนน)

การตัดสินระดับคุณภาพมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตาราง 8 เกณฑ์ระดับคุณภาพความสามารถทางด้านภาษา ในการทดสอบความสามารถพื้นฐาน ของผู้เรียนระดับชาติ (National Test: NT)

ระดับคุณภาพ ด้านภาษา

คะแนน ร้อยละ

ดีมาก 25.00-35.00 71.42-100

ดี 19.00-24.99 54.28-71.41

พอใช้ 11.00-18.99 31.42-54.27

ปรับปรุง 0-10.99 0-31.41

เห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในประเทศไทยได้ให้ความส าคัญ กับการวัดระดับ ความสามารถทางภาษา จึงได้จัดให้มีการทดสอบและวัดระดับความสามารถทางภาษาไทยในเด็ก ระดับชั้นประถมศึกษาเป็นประจ าอย่างต่อเนื่องทั้งการทดสอบการอ่านของนักเรียนเป็นรายเดือน การประเมินระดับชาติส าหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่

3 เพื่อให้ครูผู้สอนน าผลมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพทางด้าน ภาษาไทยให้แก่เด็ก ซึ่งความสามารถทางภาษานี้ นอกจากจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชา ภาษาไทย ยังส่งผลต่อการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อให้ความสามารถทางด้านภาษาไทย ของนักเรียนอยู่ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นจึงจ าเป็นต้องพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้มีความ เหมาะสมในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพทางภาษาของนักเรียนแต่ละคนอย่างสูงสุด ซึ่งการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความหลากหลายก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม การเรียนรู้ของนักเรียนและพัฒนาความสามารถทางภาษาของนักเรียนตามศักยภาพเป็น รายบุคคล

2.5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถทางภาษาของเด็ก

ความสามารถทางภาษาของนักเรียนที่มีระดับความสามารถที่แตกต่างกันนั้นมี

สาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ซึ่งปัจจัยภายนอก ได้แก่

บุคคลภายนอก การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมของนักเรียน ปัจจัยภายในคือสภาวะ ภายในจิตใจและความบกพร่องของนักเรียนในลักษณะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้

หรือเรียนรู้ทางด้านภาษา อันส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือได้

เท่ากับคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน โดยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และการ พัฒนาความสามารถทางภาษาของนักเรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (วรรณี โสมประยูร, 2539)

1. ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสามารถทางภาษาของนักเรียน 1. ครูผู้สอน

เนื่องจากครูผู้สอนเป็นบุคคลส าคัญในการพัฒนาทักษะทางภาษาให้กับ นักเรียน โดยนักเรียนจะเรียนรู้และเลียนแบบจากสิ่งที่ครูสอนและประพฤติ ดังนั้นบุคลิกลักษณะ และบทบาทของครูจึงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาของนักเรียนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น การฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ความรู้ของครู หากครูมีความรู้เกี่ยวกับหลักการและวิธีการพัฒนา ทักษะทางภาษาของเด็ก ครูจะมีความเข้าใจและสามารถเลือกวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ ทางภาษาได้อย่างเหมาะสมกับวุฒิภาวะของนักเรียนของเด็กแต่ละระดับ โดยค าถึงเด็กแต่ละคน จะส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนสามารถพัฒนาทักษะทางภาษาของนักเรียนได้อย่างมี

ประสิทธิผล และบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

2. เจตคติของครู โดยการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง แววตา และค าพูด ของครูที่แสดงออกมาให้นักเรียนเห็นจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดหรือความรู้ของครูผู้สอน ซึ่งหากครุผู้สอนมีเจตคติที่ดีนักเรียนจะสามารถเห็นคุณค่าของการฝึกทักษะต่าง ๆ และครูที่มีเจต คติที่ดีต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาจะเห็นคุณค่า และมีความพยายามในการหาวิธีการสอน รวมทั้งเวลาส าหรับฝึกให้กับนักเรียน อย่างเอาใจใส่อย่างสม ่าเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งหากครูผู้สอนมี

เจตคติที่ไม่ดีก็จะไม่เห็นคุณค่าของการฝึกทักษะทางภาษา และปล่อยให้เด็กพัฒนาทักษะต่าง ๆ เอาเองตามธรรมชาติ

3. บุคลิกภาพและพฤติกรรมของครู เป็นสิ่งที่นักเรียนพบเห็นและเรียนรู้

จากครูผู้สอนในชั้นเรียนเป็นประจ า จึงเกิดการเรียนรู้และเลียนแบบได้ตลอดเวลา ดังนั้น หาก ครูผู้สอนเป็นผู้ฟังที่ดี มีความสนใจและตั้งใจฟังเมื่อนักเรียนพูด นักเรียนก็จะเห็นและเลียนแบบ พฤติกรรมดังกล่าว ท าให้นักเรียนมีมารยาทในการฟังที่ดีต่อเพื่อน ๆ และครู หากครูมีบุคลิกภาพ หรือต้นแบบที่ไม่ดี เช่น การพูดขณะนักเรียนคุยกัน หรือมีพฤติกรรมที่ไม่สนใจการฟังและการพูด ของนักเรียน จะส่งผลให้นักเรียนเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าว

4. ความสามารถทางการใช้ภาษาของครู เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนา ทักษะทางภาษาของนักเรียน เนื่องจากหากครูมีความสามารถในการใช้ภาษาก็จะสามารถเลือกใช้

ค าหรือประโยคได้ถูกต้องและเหมาะสม และเป็นต้นแบบส าหรับนักเรียนได้เรียนรู้และเอาอย่าง

5. การสอนของครู ครูมีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการก าหนดและจัด กิจกรรมการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน ให้กับนักเรียน หากครูจัดกิจกรรมฝึกทักษะทาง ภาษาไทยให้นักเรียนได้ครบตามความมุ่งหมายและทักษะแต่ละประเภทจะส่งให้การพัฒนาทักษะ ทางภาษาของนักเรียนดีขึ้นและมีประสิทธิผลสูง หากครูฝึกทักษะทางภาษาเพียงบางด้าน ไม่มี

การบูรณาการทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะส่งผลให้พัฒนาทักษะของนักเรียนไม่ครบถ้วน และมีผล ต่อการน าทักษะทางภาษาไปใช้ในชีวิตประจ าวัน ดังนั้น การสอนของครูจึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพล โดยตรงต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาของนักเรียน และมีความส าคัญมากที่สุดอีกประการหนึ่ง