• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

ตาราง 1 ต่อ)

2. ความสนใจ

3. เด็กสามารถสังเกตเห็นอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้อื่นได้แต่ยังไม่รู้

สาเหตุว่าอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้อื่นนั้นเกิดจากอะไร

4. เด็กเข้าใจว่า “ผิดและถูก” มีความแตกต่างกัน จึงควรเริ่มสอน จริยธรรมให้แก่เด็ก

5. เด็กมีพัฒนาการทางทักษะที่เป็นพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคิดเลข ครูจึงควรจัดกิจกรรมเหล่านี้ให้เด็กอย่างสม ่าเสมอเพื่อส่งเสริมทักษะดังกล่าว

ทั้งนี้ ในการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความหลากหลายที่ครูผู้สอนต้อง พิจารณาความพร้อมของนักเรียนนั้น ต้องจัดเตรียมและพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(Tomlinson, 1999)

1. ลักษณะและระดับความยากง่ายที่แตกต่างกันในการมอบหมายงานให้นักเรียนแต่

ละคน

2. จัดเตรียมตัวเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายในระดับความยากง่ายที่

แตกต่างกัน

3. การจัดเตรียมระดับความยากง่ายของชิ้นงานให้มีความท้าทายและมีระดับที่

เหมาะสมต่อนักเรียนแต่ละบุคคล

4. การก าหนดชิ้นงานให้นักเรียนโดยค านึงถึงพื้นฐานด้านประสบการณ์และทักษะใน การท างานของนักเรียนแต่ละคนที่อาจเหมือนหรือแตกต่างกัน

5. ใช้รูปแบบการสอนตรงกับนักเรียนกลุ่มย่อย

การเรียนสูงขึ้นเช่นกัน และท าให้การเรียนในชั้นเรียนมีบรรยกาศที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ระยะ ยาวของนักเรียน ดังนั้นหากครูผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหา หรือสื่อการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องต่อสิ่งที่

นักเรียนสนใจย่อมท าให้นักเรียนไม่มีแรงกระตุ้นในการเรียนรู้และอาจก่อความวุ่นวายหรือรบกวน เพื่อในชั้นเรียนท าให้ครูผู้สอนจัดการชั้นเรียนได้ยากล าบากมากยิ่งขึ้น แต่หากครูผู้สอนทราบถึง ความสนใจของผู้เรียน และน าข้อมูลที่ได้มาจัดเตรียมเนื้อหา สื่อการสอน หรือจัดกิจกรรมให้

สอดคล้องกับลักษณะและความสนใจของผู้เรียนย่อมเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพและมีพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียนดี โดยวิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนมี

ความสนใจในกิจกรรมการเรียนนั้นมีหลากหลายวิธี เช่น การให้ผลป้อนกลับ การตั้งค าถาม การ เสริมแรงด้วยค าชม หรือการให้รางวัล รวมถึงการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

ความแตกต่างทางด้านความสนใจของนักเรียนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการ จัดการชั้นเรียนที่ครูผู้สอนต้องค านึงถึง ดังนี้ (Tomlinson และคนอื่น ๆ, 2003)

1. หัวข้อที่จัดในชั้นเรียนมีความเชื่อมโยงหรือเป็นสิ่งที่นักเรียนสนใจ หรือไม่อย่างไร

2. ช่วยให้นักเรียนสามารถค้นพบความสนใจสิ่งใหม่ ๆ โดยการจัดเตรียม เชื่อมโยงกับหลักสูตรการสอน

3. การจัดเตรียมทักษะส าคัญและสื่อการสอนส าหรับสร้างความรู้ความ เข้าใจในหัวข้อการเรียนที่สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน เช่น นักเรียนที่สามารถเรียนรู้เรื่อง วัฒนธรรมหรือยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้ดีโดยการวิเคราะห์ดนตรีในแต่ละยุคสมัย

ในการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความหลากหลายนั้น ครูผู้สอนควรพิจารณา และการจัดการเรียนการสอนตามลักษณะความสนใจ ดังนี้ (Tomlinson และ McTighe, 2006)

1. ให้ผู้ใหญ่หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มีความรู้มาก่อนเป็นผู้ช่วยในการดูแลเพื่อนที่มี

ความสนใจร่วมกัน

2. จัดเตรียมพื้นที่ส าหรับการค้นหาหัวข้อหรือการแสดงออกในการเรียนรู้ให้มีความ หลากหลาย

3. จัดเตรียมการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีให้มีความทั่วถึงส าหรับนักเรียนทุกคน 4. เสนอตัวเลือกในการท างาน รวมทั้งการให้นักเรียนได้ออกแบบตัวเลือกในการ ท างานของตนเองตามความสนใจ

5. กระตุ้นให้นักเรียนได้เกิดการค้นหาหรือแสดงความประสงค์ในหลักการที่เป็นหัวใจ ส าคัญหรือหลักการตามที่นักเรียนมีความสนใจ

6. เชื่อมโยงเนื้อหาด้วยวัฒนธรรม ประสบการณ์ หรือความสามารถพิเศษของ นักเรียนแต่ละคน

7. ใช้รูปแบบการเรียนในลักษณะของศูนย์การเรียนตามความสนใจ การจัดกลุ่มตาม ความสนใจ กลุ่มพิเศษ หรือกลุ่มที่มีความสามารถเฉพาะ

8. ใช้รูปแบบการสอนแบบจิ๊กซอว์ คือการจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถและ ให้แต่ละคนในกลุ่มศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน และแยกย้ายไปศึกษาร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม อื่น แล้วจึงกลับไปกลุ่มของตนเองเพื่อไปสอนเพื่อนในกลุ่ม

9. น าเสนอตัวเลือกในหัวข้อส าหรับสื่อการอ่าน

10. น าเสนอตัวเลือกในหัวข้อย่อยที่อยู่ในบริบทของเนื้อหาหรือหัวข้อในการเรียน ความสนใจของนักเรียนในการเรียนนั้น ได้มีนักการศึกษาท าการศึกษารูปแบบการเรียน การสอนที่มีความสอดคล้องต่อความสนใจของนักเรียน นั้นคือแนวคิดของกานเย โดยกานเยได้

พัฒนาทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Conditions of Learning) ซึ่งมี 2 ส่วน คือ ทฤษฎีการเรียนรู้และ ทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน โดยปรากฎการณ์การเรียนรู้นั้นมีองค์ประกอบ ดังนี้ (ทิศนา แขม มณี, 2556)

1. ผลการเรียนรู้หรือความสามารถทางด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้แก่ 1) ทักษะทาง ปัญญา (Intellectual skills) ประกอบด้วย การจ าแนกแยกแยะสิ่งต่าง ๆ การสร้างความคิดรวบ ยอด การสร้างกฎ การสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง 2) กลวิธีในการเรียนรู้ (cognitive strategy) 3) ภาษาหรือค าพูด (verbal information) 4) ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) และ 5) เจตคติ

(attitudes)

2. กระบวนการเรียนรู้และจดจ าของมนุษย์ มนุษย์มีกระบวนการจัดกระท าข้อมูลใน การเรียนรู้โดยจะอาศัยข้อมูลที่จดจ าและสะสมไว้ในสมองมาเลือกจัดกระท าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และ ขณะที่สมองได้เกิดกระบวนการจัดกระท าข้อมูล สิ่งต่าง ๆ ภายนอกร่างกายมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อ การส่งเสริมหรือยับยั้งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายใน ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพการเรียนการสอนให้

เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภทและเอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียนซึ่งแต่ละคน มีความแตกต่างกัน

กระบวนการจัดการเรียนการสอนของกานเยนั้นมีล าดับขั้นตอน จ านวน 9 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 การกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน โดยในขั้นตอนนี้จะช่วยส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และรับข้อมูลต่าง ๆ ในการเรียนได้ดี

ขั้นที่ 2 การแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ เป็นการแจ้งเพื่อให้นักเรียน ได้ทราบรายละเอียดและความคาดหวังที่จะเกิดขึ้นในการเรียน

ขั้นที่ 3 การกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดระลึก และ ดึงข้อมูลที่เป็นความรู้เดิมที่อยู่ในหน่วยความจ าระยะยาว (working memory) ของตนเองมาใช้

งาน ซึ่งจะท าให้ผู้เรียนได้เกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมและความรู้ใหม่ที่จะได้เรียนรู้ต่อไป

ขั้นที่ 4 การน าเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาสาระใหม่ เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนด าเนินการจัดสิ่ง เร้าให้ผู้เรียนได้เห็นลักษณะส าคัญของสิ่งเร้าอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสะดวกในการเลือก รับรู้เนื้อหาต่าง ๆ ในการเรียน

ขั้นที่ 5 การให้แนวการเรียนรู้ หรือการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย เป็นขั้นตอนที่

ช่วยให้ผู้เรียนสามารถท าความเข้าใจกับเนื้อหาสาระในการเรียนได้ง่ายและรวดเร็ว

ขั้นที่ 6 การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ เป็นขั้นตอนที่ให้ให้ผู้เรียนได้มีการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือเนื้อหาสาระที่เรียนไป อีกทั้งเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ครูผู้สอนได้ทราบถึงการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นของผู้เรียน

ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลป้อนกลับ เป็นขั้นตอนในการให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียนและข้อมูล ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้รู้ เข้าใจและพร้อมพัฒนาตนเอง

ขั้นที่ 8 การประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบข้อมูลว่า การเรียนรู้ของตนเองนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด

ขั้นที่ 9 การส่งเสริมความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้

มีโอกาสในการฝึกฝนตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งได้ฝึกฝนในสถานการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วย ให้ผู้เรียนเกิดความรู้และเข้าใจในเนื้อหาการเรียนรที่ลึกซึ้ง และสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่

สถานการณ์อื่น ๆ ได้

ซึ่งการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบของกานเยนี้ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้

เนื้อหาสาระและสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถจดจ าสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างคงทน อีกทั้งได้พัฒนา ทักษะในการจัดระบบข้อมูล สร้างความหมายของข้อมูล และได้แสดงความสามารถของตนเอง